(เม.ย. ๒๕๕๕) ได้เกิดการแตกแยกของคนไทยออกเป็นฝ่ายเสื้อเหลืองและฝ่ายเสื้อแดง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความคิดเห็นต่างทางการเมือง ผนวกการชุมนุมเรียกร้องจากมวลชนของทั้งสองฝ่าย
ฝ่ายเสื้อเหลืองนั้นไม่นิยมก่อความรุนแรง (อาจยกเว้นครั้งหนึ่งที่ไปบุกสถานีสื่อสารมวลชนแห่งหนึ่ง แต่ก็ไม่มีเลือดตกยางออก) ส่วนใหญ่มักเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำการรุนแรง (โดย “กองกำลังไม่ทราบฝ่าย”) ล้มตายไปหลายศพ
ส่วนฝ่ายแดงชุมนุมแต่ละครั้งมักมีความรุนแรงทั้งวาจาและการกระทำ เช่น ก้าวร้าว หยาบคาย เผารถ เผาอาคาร บุกรุก
รัฐบาลชุดนี้จึงต้องการ “ปรองดอง” เพื่อสมานรอยร้าวของทั้งสองฝ่าย
ข้าพเจ้าเสนอว่า ก่อนอื่นต้องเข้าใจมูลเหตุพื้นฐานให้ตรงกันเสียก่อนว่า การนี้เป็นการปรองดองระหว่างประชาชนพวกเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง ที่มี “ข้อเรียกร้อง” เฉพาะตน แต่ไม่ได้รับการสนองตอบ จนนำไปสู่ความรุนแรง (ของพวกเสื้อแดงเป็นส่วนใหญ่) ที่สังคมยอมรับไม่ได้
โปรดสังเกตอย่างหนักหน่วงว่า “ข้อเรียกร้อง” ของกลุ่มเสื้อแดง ไม่เคยเรียกร้องให้นิรโทษกรรมคดีความของคุณทักษิณ (ชินวัตร) แต่ประการใด
ขอนำข้อเรียกร้อง 4 ข้อของแกนนำเสื้อแดงมาให้ดู (ที่มา นสพ.ไทยโพสต์ ออนไลน์) ดังนี้
ข้อเรียกร้อง 4 ข้อตามที่นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำ นปช.ได้อ่านแถลงการณ์ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล..ประกอบด้วย 1.ดำเนินการกับพันธมิตรฯ ทางกฎหมายภายใน 15 วัน 2.ปลดนายกษิต ภิรมย์ ออกจากการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศภายใน 15 วัน 3. นำรัฐธรรมนูญปี 40 กลับมาใช้ และ 4.ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญให้ยุบสภาคืนอำนาจแก่ประชาชนทันที
แสดงว่าคดีความของคุณทักษิณ (ที่ได้กระทำมาก่อนการแตกแยกของทั้งสองฝ่าย) ไม่เกี่ยวข้องกับการแตกแยกและการปรองดองในคราวนี้แต่ประการใด ดังนั้นกรณีนิรโทษกรรมความผิดคุณทักษิณ จึงเป็นอันตกไป
การนิรโทษกรรมในคดีความต่างๆ เพื่อนำสู่การปรองดองคงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่ว่าจะกำหนดขอบเขตการนิรโทษกรรมเพียงใดเท่านั้นเอง
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าควรนิรโทษกรรมเฉพาะคดีความที่ติดตัวแกนนำการชุมนุมของทั้งสองฝ่าย ส่วนคดีเผาบ้านเมือง เผาสถานที่ราชการของผู้ร่วมชุมนุมนั้น อาจอนุโลมได้ว่าไม่ได้ตริตรองมาก่อน แต่กระทำไปเพราะอารมณ์โทสะที่ถูกกระตุ้นจากการปราศรัยของแกนนำ ดังนั้นอาจมีเหตุอันควรให้นิรโทษกรรมก็เป็นได้
ที่น่าเป็นห่วงคือ การปรองดอง แม้ทำสำเร็จ อาจไม่ยั่งยืน คือทำงานกันแทบตายเพื่อปรองดอง ออกกฎหมายออกมา พอสองวันก็แตกแยกอีกแล้ว เพราะแกนนำคนโน้นคนนี้ไม่พอใจ ก็ไประดมม็อบมาป่วนอีก ป่วนดีๆ แบบมีจริยธรรมเหมือนพวกเสื้อเหลืองไม่ว่า แต่ป่วนแบบกุ๊ยๆ เผาบ้านเผาเมืองนั้นมันเสียหายภายในและกระจายภาพ(อัป)ลักษณ์ไปทั่วโลก
ดังนั้นข้าพเจ้าขอเสนอว่า ให้ระบุเป็นเงื่อนไขในการปรองดองด้วยว่า บุคคลผู้ได้รับนิรโทษกรรมนั้น ให้ระงับสิทธิสรีภาพในการพูดในที่สาธารณะเป็นเวลาห้าปี (ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม) เพื่อประกันว่าจะไม่สามารถปลุกระดมสร้างความแตกแยกได้อีก (อย่างน้อยก็ในที่แจ้ง)
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าวิธีการปรองดองระหว่างสองฝ่ายนั้น ต้องมีฝ่ายที่สามที่มีความเป็นกลางทำหน้าที่ร่างข้อกำหนดในการปรองดอง โดยรับฟังข้อมูลความเห็นจากคู่กรณีที่ขัดแย้งกัน มิใช่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นคู่กรณีเสียเองเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขในการปรองดอง ดังเช่นที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ในวันนี้
ฝ่ายที่เป็นกลางนี้อาจคือ คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เลือกกันเองให้เหลือ 15 คน
เมื่อผู้เป็นกลางได้ประชุมพิจารณาพอสมควรแล้ว ก็ให้ยกร่างข้อกำหนดในการปรองดอง นำเสนอต่อประชาชนทั้งประเทศเป็นเวลาสามเดือนเพื่อให้ประชาพิจารณ์ผ่านสื่อสารมวลชน ทางจดหมายส่งตรง รวมทั้งมีช่องทางให้พิจารณ์ทางอีเมล และเว็บบอร์ด
จากนั้นคณะกรรมการผู้เป็นกลางพิจารณาโดยสำนึกแห่งความถูกต้องของตนว่าควรปรับ (หรือไม่ปรับ) ร่าง อีกครั้ง ตามข้อมูลเหตุผลที่ได้รับจากการวิจารณ์ แล้วนำเสนอร่างนี้ต่อรัฐสภา เพื่ออภิปราย
การปรับแก้ (หรือไม่แก้) ครั้งสุดท้ายตามการอภิปรายของรัฐสภานี้ ถือเป็นที่สิ้นสุด ให้นำเสนอเป็น พ.ร.บ.ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านการลงมติเห็นชอบของรัฐสภา เพราะถ้าผ่านรัฐสภาก็ “พวกมากลากไป” ก็ไม่อาจปรองดองได้หรอก..เพราะวิญญูชนเขาคงไม่ยอมรับความชอบธรรมของ ปชต.เสียงข้างมากในรัฐสภาที่สร้างกันมาแบบเก๊ๆ หรอก
วิธีที่ “เป็นกลาง” แบบนี้จะช่วยปรองดองได้ดีกว่าแบบอื่น อีกทั้งยังจะเป็นการ “ก้าวพ้นทักษิณ” อีกด้วย เพราะ “ทักษิณไม่เกี่ยว”
วิกฤตของความแตกแยกนี้ความจริงแล้วเป็นโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายจะเรียนรู้อะไรได้มากมาย โดยเอาความรู้ยัดเข้าไปสมานรอยแตกนั่นเอง แต่สังคมไทยเราไม่นิยมการเรียนรู้ ต้องการแต่การกดให้คนโง่เข้าไว้ให้มากที่สุด จะได้ไม่รู้เท่าทันกลโกงของพวกตน ...จึงไม่แปลกอะไรที่ทำไมจึงกระเหี้ยนกระหือรือจะปรองดองกันเสียจริง
ฝ่ายเสื้อเหลืองนั้นไม่นิยมก่อความรุนแรง (อาจยกเว้นครั้งหนึ่งที่ไปบุกสถานีสื่อสารมวลชนแห่งหนึ่ง แต่ก็ไม่มีเลือดตกยางออก) ส่วนใหญ่มักเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำการรุนแรง (โดย “กองกำลังไม่ทราบฝ่าย”) ล้มตายไปหลายศพ
ส่วนฝ่ายแดงชุมนุมแต่ละครั้งมักมีความรุนแรงทั้งวาจาและการกระทำ เช่น ก้าวร้าว หยาบคาย เผารถ เผาอาคาร บุกรุก
รัฐบาลชุดนี้จึงต้องการ “ปรองดอง” เพื่อสมานรอยร้าวของทั้งสองฝ่าย
ข้าพเจ้าเสนอว่า ก่อนอื่นต้องเข้าใจมูลเหตุพื้นฐานให้ตรงกันเสียก่อนว่า การนี้เป็นการปรองดองระหว่างประชาชนพวกเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง ที่มี “ข้อเรียกร้อง” เฉพาะตน แต่ไม่ได้รับการสนองตอบ จนนำไปสู่ความรุนแรง (ของพวกเสื้อแดงเป็นส่วนใหญ่) ที่สังคมยอมรับไม่ได้
โปรดสังเกตอย่างหนักหน่วงว่า “ข้อเรียกร้อง” ของกลุ่มเสื้อแดง ไม่เคยเรียกร้องให้นิรโทษกรรมคดีความของคุณทักษิณ (ชินวัตร) แต่ประการใด
ขอนำข้อเรียกร้อง 4 ข้อของแกนนำเสื้อแดงมาให้ดู (ที่มา นสพ.ไทยโพสต์ ออนไลน์) ดังนี้
ข้อเรียกร้อง 4 ข้อตามที่นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำ นปช.ได้อ่านแถลงการณ์ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล..ประกอบด้วย 1.ดำเนินการกับพันธมิตรฯ ทางกฎหมายภายใน 15 วัน 2.ปลดนายกษิต ภิรมย์ ออกจากการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศภายใน 15 วัน 3. นำรัฐธรรมนูญปี 40 กลับมาใช้ และ 4.ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญให้ยุบสภาคืนอำนาจแก่ประชาชนทันที
แสดงว่าคดีความของคุณทักษิณ (ที่ได้กระทำมาก่อนการแตกแยกของทั้งสองฝ่าย) ไม่เกี่ยวข้องกับการแตกแยกและการปรองดองในคราวนี้แต่ประการใด ดังนั้นกรณีนิรโทษกรรมความผิดคุณทักษิณ จึงเป็นอันตกไป
การนิรโทษกรรมในคดีความต่างๆ เพื่อนำสู่การปรองดองคงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่ว่าจะกำหนดขอบเขตการนิรโทษกรรมเพียงใดเท่านั้นเอง
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าควรนิรโทษกรรมเฉพาะคดีความที่ติดตัวแกนนำการชุมนุมของทั้งสองฝ่าย ส่วนคดีเผาบ้านเมือง เผาสถานที่ราชการของผู้ร่วมชุมนุมนั้น อาจอนุโลมได้ว่าไม่ได้ตริตรองมาก่อน แต่กระทำไปเพราะอารมณ์โทสะที่ถูกกระตุ้นจากการปราศรัยของแกนนำ ดังนั้นอาจมีเหตุอันควรให้นิรโทษกรรมก็เป็นได้
ที่น่าเป็นห่วงคือ การปรองดอง แม้ทำสำเร็จ อาจไม่ยั่งยืน คือทำงานกันแทบตายเพื่อปรองดอง ออกกฎหมายออกมา พอสองวันก็แตกแยกอีกแล้ว เพราะแกนนำคนโน้นคนนี้ไม่พอใจ ก็ไประดมม็อบมาป่วนอีก ป่วนดีๆ แบบมีจริยธรรมเหมือนพวกเสื้อเหลืองไม่ว่า แต่ป่วนแบบกุ๊ยๆ เผาบ้านเผาเมืองนั้นมันเสียหายภายในและกระจายภาพ(อัป)ลักษณ์ไปทั่วโลก
ดังนั้นข้าพเจ้าขอเสนอว่า ให้ระบุเป็นเงื่อนไขในการปรองดองด้วยว่า บุคคลผู้ได้รับนิรโทษกรรมนั้น ให้ระงับสิทธิสรีภาพในการพูดในที่สาธารณะเป็นเวลาห้าปี (ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม) เพื่อประกันว่าจะไม่สามารถปลุกระดมสร้างความแตกแยกได้อีก (อย่างน้อยก็ในที่แจ้ง)
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าวิธีการปรองดองระหว่างสองฝ่ายนั้น ต้องมีฝ่ายที่สามที่มีความเป็นกลางทำหน้าที่ร่างข้อกำหนดในการปรองดอง โดยรับฟังข้อมูลความเห็นจากคู่กรณีที่ขัดแย้งกัน มิใช่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นคู่กรณีเสียเองเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขในการปรองดอง ดังเช่นที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ในวันนี้
ฝ่ายที่เป็นกลางนี้อาจคือ คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เลือกกันเองให้เหลือ 15 คน
เมื่อผู้เป็นกลางได้ประชุมพิจารณาพอสมควรแล้ว ก็ให้ยกร่างข้อกำหนดในการปรองดอง นำเสนอต่อประชาชนทั้งประเทศเป็นเวลาสามเดือนเพื่อให้ประชาพิจารณ์ผ่านสื่อสารมวลชน ทางจดหมายส่งตรง รวมทั้งมีช่องทางให้พิจารณ์ทางอีเมล และเว็บบอร์ด
จากนั้นคณะกรรมการผู้เป็นกลางพิจารณาโดยสำนึกแห่งความถูกต้องของตนว่าควรปรับ (หรือไม่ปรับ) ร่าง อีกครั้ง ตามข้อมูลเหตุผลที่ได้รับจากการวิจารณ์ แล้วนำเสนอร่างนี้ต่อรัฐสภา เพื่ออภิปราย
การปรับแก้ (หรือไม่แก้) ครั้งสุดท้ายตามการอภิปรายของรัฐสภานี้ ถือเป็นที่สิ้นสุด ให้นำเสนอเป็น พ.ร.บ.ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านการลงมติเห็นชอบของรัฐสภา เพราะถ้าผ่านรัฐสภาก็ “พวกมากลากไป” ก็ไม่อาจปรองดองได้หรอก..เพราะวิญญูชนเขาคงไม่ยอมรับความชอบธรรมของ ปชต.เสียงข้างมากในรัฐสภาที่สร้างกันมาแบบเก๊ๆ หรอก
วิธีที่ “เป็นกลาง” แบบนี้จะช่วยปรองดองได้ดีกว่าแบบอื่น อีกทั้งยังจะเป็นการ “ก้าวพ้นทักษิณ” อีกด้วย เพราะ “ทักษิณไม่เกี่ยว”
วิกฤตของความแตกแยกนี้ความจริงแล้วเป็นโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายจะเรียนรู้อะไรได้มากมาย โดยเอาความรู้ยัดเข้าไปสมานรอยแตกนั่นเอง แต่สังคมไทยเราไม่นิยมการเรียนรู้ ต้องการแต่การกดให้คนโง่เข้าไว้ให้มากที่สุด จะได้ไม่รู้เท่าทันกลโกงของพวกตน ...จึงไม่แปลกอะไรที่ทำไมจึงกระเหี้ยนกระหือรือจะปรองดองกันเสียจริง