ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงชาติยันดอกเบี้ยนโยบาย 3.00% เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจไทย จับตาราคาน้ำมันพุ่งกดดันเงินเฟ้อเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัว
นายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันที่ 3% และกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 0.5-3% มีความเหมาะสมต่อสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่อาจกดดันอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งหากเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางยังคงยืดเยื้อก็อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคได้
นางทรงธรรม กล่าวว่า เศรษฐกิจในระยะต่อไปมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากการอุปโภคบริโภคที่เริ่มฟื้นตัว ขณะที่ภาคการผลิตหลายอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาดำเนินการได้ในบางส่วน
โดยเฉพาะในส่วนของรถยนต์เชิงพาณิชย์ และภาคการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ซึ่งคาดว่าภาคการผลิตทั้งระบบจะกลับมาขยายตัวได้เต็มศักยภาพตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป
นอกจากราคาน้ำมันแล้ว "ปัจจัยเสี่ยงที่ยังคงต้องติดตามในระยะต่อไป คือ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกทั้งสหรัฐฯ และยุโรปที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลก
ก่อนหน้านี้ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3% ว่า เหมาะสมและเพียงพอต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จากการอุปโภคบริโภค ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวเต็มศักยภาพการผลิตในช่วงไตรมาสที่ 3 ประกอบกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ และการใช้จ่ายด้านการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งยังเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อในระยะต่อไป
ทั้งนี้ ธปท.จะนำปัจจัยต่างๆ ไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจ ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2555.
นายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันที่ 3% และกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 0.5-3% มีความเหมาะสมต่อสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่อาจกดดันอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งหากเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางยังคงยืดเยื้อก็อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคได้
นางทรงธรรม กล่าวว่า เศรษฐกิจในระยะต่อไปมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากการอุปโภคบริโภคที่เริ่มฟื้นตัว ขณะที่ภาคการผลิตหลายอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาดำเนินการได้ในบางส่วน
โดยเฉพาะในส่วนของรถยนต์เชิงพาณิชย์ และภาคการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ซึ่งคาดว่าภาคการผลิตทั้งระบบจะกลับมาขยายตัวได้เต็มศักยภาพตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป
นอกจากราคาน้ำมันแล้ว "ปัจจัยเสี่ยงที่ยังคงต้องติดตามในระยะต่อไป คือ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกทั้งสหรัฐฯ และยุโรปที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลก
ก่อนหน้านี้ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3% ว่า เหมาะสมและเพียงพอต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จากการอุปโภคบริโภค ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวเต็มศักยภาพการผลิตในช่วงไตรมาสที่ 3 ประกอบกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ และการใช้จ่ายด้านการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งยังเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อในระยะต่อไป
ทั้งนี้ ธปท.จะนำปัจจัยต่างๆ ไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจ ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2555.