ASTVผู้จัดการรายวัน - กนง.มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3% หลังเศรษฐกิจไทยดีขึ้นชัดเจน เศรษฐกิจโลกเสี่ยงน้อยลง เว้นแต่เงินเฟ้อครึ่งหลังมีแนวโน้มพุ่ง ชี้นโยบายการเงินยืดหยุ่นคงอัตราดอกเบี้ยได้ ธปท.พร้อมปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้จากเดิม 4.9 เป็น 5.7% พร้อมสรุปปีนี้ยังใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 0.5-3% เหมือนเดิมก่อน
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุมบอร์ด กนง.ว่า ในการประเมินภาวะเศรษฐกิจ กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวในระดับต่ำ แต่มีความเสี่ยงน้อยที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เทียบกับการประชุมครั้งก่อน โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้นจากการจ้างงานและความเชื่อมั่นที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องขณะที่ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินในยุโรปลด
สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในการประชุมครั้งนี้ มีความชัดเจนขึ้น โดยเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นโดยเห็นชัดเจนขึ้นว่า ภาคการผลิตน่าจะกลับสู่ภาวะปกติได้ภายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ อุปสงค์ในประเทศยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจ โดยมีแรงสนับสนุนจากรายได้ การจ้างงาน และความเชื่อมั่นภาคเอกชน
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันที่เร่งตัวเพราะปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง แต่ภาพรวมแรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศยังแนวโน้มทรงตัวในระยะสั้น แต่มีความเสี่ยงที่จะสูงขึ้นได้ในระยะต่อไปจากราคาน้ำมันโลก และผลของการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ นอกจากนี้ การเร่งตัวของการใช้จ่าย และการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีที่เศรษฐกิจจะเติบโตเข้าใกล้ศักยภาพ ก็อาจเป็นปัจจัยเสริมแรงกดดันด้านเงินเฟ้อให้สูงขึ้นได้
กนง.ประเมินว่า ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกเริ่มลดลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดี แม้ว่า จะมีความจำเป็นต้องจับตาแรงกดดันเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเร่งตัวเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป แต่สำหรับเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ กนง.เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พร้อมกับดูแลความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่มีอยู่ได้ในระดับหนึ่ง จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.0 %ต่อปีไปก่อน แต่ในช่วงครึ่งหลังของปีซึ่งอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น กนง.ก็พร้อมที่จะปรับนโยบายการเงินให้ยืดหยุ่นและรองรับการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อตั้งแต่เนิ่นๆ เช่นกัน
จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่เปลี่ยนแปลงชัดเจน ธปท.ได้มีการปรับประมาณการการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ใหม่อีกครั้ง โดยปรับเพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่คาดว่า จะขยายตัวในอัตรา 4.9% ขึ้นเป็น 5.7% ซึ่งเป็นผลจากการหดตัวของเศรษฐกิจไทยในปีที่ผ่านมาจากปัญหาอุกทกภัยสูงกว่าที่ธปท.คาดไว้มาก
ขณะที่การประเมินภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและคู่ค้าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับประมาณการเดิม
ขณะเดียวกัน ปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลให้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปก็เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งในส่วนของราคาน้ำมันดิบดูไบ ซึ่งธปท.ปรับขึ้นสมมติฐานเฉลี่ยทั้งปี ในปีนี้จากประมาณการเดิมที่ 103.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขึ้นเป็น 115 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และปรับขึ้นประมาณการราคาน้ำมันดิบดูไบปีหน้าขึ้นเป็น 110 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 100
เหรียญฯต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 10 เหรียญฯต่อบาร์เรล ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น 0.4% และส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้เพิ่มขึ้น 0.2%
ส่วนการปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงานในวันที่ 1 เม.ย.ที่จะถึงนี้ ซึ่งปรับขึ้นสูงถึง 40% จากฐานเดิมนั้น เป็นอีกส่วนที่จะเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อในปีนี้สูงขึ้น โดยธปท.คาดการณ์ว่า การปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงานจะมีผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปีนี้สูงขึ้น 0.3% จากการประมาณการครั้งก่อน และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 0.2% เนื่องจากค่าจ้างแรงงานจะกระทบต้นทุนการผลิต และราคาสินค้าโดยตรง อย่างไรก็ตาม การประมาณการอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างแรงงานอาจจะสูงกว่าที่เราคาดได้ เพราะเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกของประเทศที่ขึ้นแรงขนาดนี้ ทำให้ต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด
"เหตุผลดังกล่าวทำให้ ธปท.ปรับขึ้นประมาณการอัตราเงินเฟ้อของปีนี้เพิ่มขึ้น โดยปรับขึ้นประมาณการเงินเฟ้อพื้นฐาน เป็น 2.4% จาก 2.2% ในการประมาณการครั้งก่อน และปรับขึ้นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็น 3.4% จาก 2.4% ในการประมาณการครั้งก่อน ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี"
ยังใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐาน
นายไพบูลย์กล่าวด้วยว่า หลังที่ ธปท.และกระทรวงการคลังได้หารือกันล่าสุด ในเรื่อกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินในปีนี้ สรุปได้ว่า กระทรวงการคลังต้องการให้ การพิจารณานโยบายการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่เป็นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานต่อไปก่อน
โดยในการประชุม กนง.วานนี้ ธปท.ได้เสนอเรื่องนี้ให้ คณะกรรมการ กนง.ทราบ ซึ่งคณะกรรมการ ระบุว่า หากจะชะลอการใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เป็นกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปีนี้ และกลับไปใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานต่อไปก็สามารถทำได้ และให้ไปทบทวนการตั้งกรอบเป้าหมายเงินเฟ้ออีกครั้งว่าจะใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป หรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอีกครั้งในการตั้งกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2556
“กรอบเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 0.5-3% เป็นกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อต่อไป โดยพิจารณาแล้วว่า เหมาะสมกับภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปีนี้และกระทรวงการคลังจะเสนอให้ ครม.พิจารณากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อดังกล่าวต่อไป”.
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุมบอร์ด กนง.ว่า ในการประเมินภาวะเศรษฐกิจ กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวในระดับต่ำ แต่มีความเสี่ยงน้อยที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เทียบกับการประชุมครั้งก่อน โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้นจากการจ้างงานและความเชื่อมั่นที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องขณะที่ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินในยุโรปลด
สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในการประชุมครั้งนี้ มีความชัดเจนขึ้น โดยเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นโดยเห็นชัดเจนขึ้นว่า ภาคการผลิตน่าจะกลับสู่ภาวะปกติได้ภายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ อุปสงค์ในประเทศยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจ โดยมีแรงสนับสนุนจากรายได้ การจ้างงาน และความเชื่อมั่นภาคเอกชน
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันที่เร่งตัวเพราะปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง แต่ภาพรวมแรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศยังแนวโน้มทรงตัวในระยะสั้น แต่มีความเสี่ยงที่จะสูงขึ้นได้ในระยะต่อไปจากราคาน้ำมันโลก และผลของการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ นอกจากนี้ การเร่งตัวของการใช้จ่าย และการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีที่เศรษฐกิจจะเติบโตเข้าใกล้ศักยภาพ ก็อาจเป็นปัจจัยเสริมแรงกดดันด้านเงินเฟ้อให้สูงขึ้นได้
กนง.ประเมินว่า ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกเริ่มลดลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดี แม้ว่า จะมีความจำเป็นต้องจับตาแรงกดดันเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเร่งตัวเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป แต่สำหรับเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ กนง.เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พร้อมกับดูแลความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่มีอยู่ได้ในระดับหนึ่ง จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.0 %ต่อปีไปก่อน แต่ในช่วงครึ่งหลังของปีซึ่งอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น กนง.ก็พร้อมที่จะปรับนโยบายการเงินให้ยืดหยุ่นและรองรับการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อตั้งแต่เนิ่นๆ เช่นกัน
จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่เปลี่ยนแปลงชัดเจน ธปท.ได้มีการปรับประมาณการการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ใหม่อีกครั้ง โดยปรับเพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่คาดว่า จะขยายตัวในอัตรา 4.9% ขึ้นเป็น 5.7% ซึ่งเป็นผลจากการหดตัวของเศรษฐกิจไทยในปีที่ผ่านมาจากปัญหาอุกทกภัยสูงกว่าที่ธปท.คาดไว้มาก
ขณะที่การประเมินภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและคู่ค้าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับประมาณการเดิม
ขณะเดียวกัน ปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลให้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปก็เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งในส่วนของราคาน้ำมันดิบดูไบ ซึ่งธปท.ปรับขึ้นสมมติฐานเฉลี่ยทั้งปี ในปีนี้จากประมาณการเดิมที่ 103.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขึ้นเป็น 115 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และปรับขึ้นประมาณการราคาน้ำมันดิบดูไบปีหน้าขึ้นเป็น 110 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 100
เหรียญฯต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 10 เหรียญฯต่อบาร์เรล ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น 0.4% และส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้เพิ่มขึ้น 0.2%
ส่วนการปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงานในวันที่ 1 เม.ย.ที่จะถึงนี้ ซึ่งปรับขึ้นสูงถึง 40% จากฐานเดิมนั้น เป็นอีกส่วนที่จะเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อในปีนี้สูงขึ้น โดยธปท.คาดการณ์ว่า การปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงานจะมีผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปีนี้สูงขึ้น 0.3% จากการประมาณการครั้งก่อน และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 0.2% เนื่องจากค่าจ้างแรงงานจะกระทบต้นทุนการผลิต และราคาสินค้าโดยตรง อย่างไรก็ตาม การประมาณการอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างแรงงานอาจจะสูงกว่าที่เราคาดได้ เพราะเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกของประเทศที่ขึ้นแรงขนาดนี้ ทำให้ต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด
"เหตุผลดังกล่าวทำให้ ธปท.ปรับขึ้นประมาณการอัตราเงินเฟ้อของปีนี้เพิ่มขึ้น โดยปรับขึ้นประมาณการเงินเฟ้อพื้นฐาน เป็น 2.4% จาก 2.2% ในการประมาณการครั้งก่อน และปรับขึ้นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็น 3.4% จาก 2.4% ในการประมาณการครั้งก่อน ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี"
ยังใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐาน
นายไพบูลย์กล่าวด้วยว่า หลังที่ ธปท.และกระทรวงการคลังได้หารือกันล่าสุด ในเรื่อกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินในปีนี้ สรุปได้ว่า กระทรวงการคลังต้องการให้ การพิจารณานโยบายการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่เป็นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานต่อไปก่อน
โดยในการประชุม กนง.วานนี้ ธปท.ได้เสนอเรื่องนี้ให้ คณะกรรมการ กนง.ทราบ ซึ่งคณะกรรมการ ระบุว่า หากจะชะลอการใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เป็นกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปีนี้ และกลับไปใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานต่อไปก็สามารถทำได้ และให้ไปทบทวนการตั้งกรอบเป้าหมายเงินเฟ้ออีกครั้งว่าจะใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป หรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอีกครั้งในการตั้งกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2556
“กรอบเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 0.5-3% เป็นกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อต่อไป โดยพิจารณาแล้วว่า เหมาะสมกับภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปีนี้และกระทรวงการคลังจะเสนอให้ ครม.พิจารณากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อดังกล่าวต่อไป”.