เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งหรือคำพิพากษา คู่ความฝ่ายที่ประสงค์จะโต้แย้งหรือคัดค้านกับคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลสามารถใช้สิทธิในการอุทธรณ์ต่อศาลที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า ได้แก่ ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี เพื่อให้พิจารณาและพิพากษาหรือสั่งคดีนั้นใหม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายห้ามมิให้อุทธรณ์ เช่น ในคดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ห้ามคู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดที่ไม่ร้ายแรง ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือในคดีแพ่ง ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 บัญญัติห้ามคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท เป็นต้น เช่นเดียวกับการใช้สิทธิเพื่อฎีกาคำพิพากษา ซึ่งต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะเช่นกัน
ทั้งนี้ ในการใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกา คู่ความต้องยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งรับอุทธรณ์หรือฎีกา กฎหมายวิธีพิจารณาความก็กำหนดกระบวนการพิจารณาคดีในศาลสูงไว้โดยเฉพาะ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นการพิจารณาตามสำนวนการพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลสูงจะทำหน้าที่ตรวจสำนวนแล้วมีความเห็นออกมาเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่หากศาลสูงเห็นว่ามีความจำเป็นแก่คดีอาจกำหนดให้มีการสืบพยาน หรือฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจา ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาก็ได้ เว้นแต่คดีเลือกตั้ง หรือคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ศาลสูงจะนั่งพิจารณาคดีเอง
ภายหลังจากที่ศาลสูงมีความเห็นออกมาเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งอาจเป็นกรณีให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกา พิพากษายืน พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล่าง หรือแก้คำพิพากษา ก็จะต้องมีการอ่านคำพิพากษาซึ่งศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะอ่านคำพิพากษาเองก็ได้ หรือจะส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่านก็ได้ สำหรับคดีแพ่งก็เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 244 และมาตรา 247 ส่วนคดีอาญาก็จะเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 209 และมาตรา 225
อย่างไรก็ดี ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาส่งคำพิพากษาไปให้ศาลชั้นต้นอ่าน และมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการประการใดประการหนึ่งก่อนการอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวก่อนที่จะอ่านคำพิพากษานั้นให้คู่ความฟัง ดังคำพิพากษาฎีกาที่ 560/2540 ศาลอุทธรณ์ส่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟังโดยสั่งว่าก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ถูกต้องหากโจทก์ไม่ยอมชำระให้ส่งคำพิพากษาและสำนวนคืนเพื่อดำเนินการต่อไปปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและปรากฏเหตุที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ศาลชั้นต้นต้องปฎิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบศาลฎีกาจึงให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นปฎิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ครบถ้วนถูกต้องโดยให้คืนฎีกาแก่โจทก์ก่อน
แต่ถ้าศาลสูงเห็นว่าควรอ่านคำพิพากษาเองก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะในคดีบางประเภทที่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ศาลฎีกา เช่น คำพิพากษาฎีกาที่11102/2551 (ประชุมใหญ่) ระหว่างบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ร้อง กับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้คัดค้าน ซึ่งศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษาความว่า การนำข้อพิพาทที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วโดยอนุญาโตตุลาการชุดก่อนซึ่งคำชี้ขาดเป็นที่สุดและยังคงมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่ไปรื้อร้องขอต่ออนุญาโตตุลาการชุดหลังให้พิจารณาชี้ขาดซ้ำอีก ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือได้ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดหลังขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดได้ และการที่อนุญาโตตุลาการชุดหลังได้รับคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องไว้พิจารณาแล้วมีคำชี้ขาดใหม่ ฉบับลงวันที่ 3 ธันวาคม 2544 เป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 23 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 อันเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีคำชี้ขาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดหลังในวันที่ 5 มิถุนายน 2545 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันที่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มีผลใช้บังคับแล้ว กรณีย่อมต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่ให้อำนาจศาลที่จะทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ถ้าปรากฏต่อศาลว่าการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ทั้งนี้เป็นไปตาม “ระเบียบศาลฎีกา ว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกา พ.ศ. 2550” ซึ่งกำหนดให้ทำการนัดอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในคดีดังต่อไปนี้
(1)คดีที่คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันได้และมาขอทำยอมที่ศาลฎีกา
(2)คดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป และประธานศาลฎีกาเห็นสมควรให้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกาที่ศาลฎีกา
(3)คดีที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือเป็นที่สนใจของประชาชนหรือคดีอื่นใดซึ่งประธานศาลฎีกาเห็นสมควรให้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกาที่ศาลฎีกา
แม้ว่าศาลสูงจะเห็นว่าคดีที่พิจารณาและจะมีการอ่านคำพิพากษานั้นเป็นคดีสำคัญดังที่กำหนดไว้ในระเบียบศาลฎีกา ว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกา พ.ศ. 2550 และควรอ่านที่ศาลสูง แต่การบังคับให้คู่ความต้องเดินทางมาศาลโดยเฉพาะในคดีอาญา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182 กำหนดให้ในการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้น “โจทก์ที่ไม่มา จะอ่านโดยโจทก์ไม่อยู่ก็ได้ ในกรณีที่จำเลยไม่อยู่ โดยไม่มีเหตุสงสัยว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟัง ก็ให้ศาลรอการอ่านไว้จนกว่าจำเลยจะมาศาล แต่ถ้ามีเหตุสงสัยว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟัง ให้ศาลออกหมายจับจำเลย เมื่อได้ออกหมายจับแล้วไม่ได้ตัวจำเลยมาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันออกหมายจับ ก็ให้ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งลับหลังจำเลยได้ และให้ถือว่าโจทก์หรือจำเลยแล้วแต่กรณีได้ฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นแล้ว”
การที่กฎหมายบังคับให้จำเลยต้องมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษา แม้จะไม่บังคับให้คู่ความอื่นต้องเดินทางมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษาด้วยตนเองก็ตาม แต่อาจทำให้คู่ความไม่สะดวกและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มมากขึ้นกว่าการเดินทางไปฟังคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นที่มีอยู่ทุกจังหวัดอยู่แล้ว ในขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาคมีที่ตั้งประจำอยู่เพียงแห่งเดียวในแต่ละภาค เช่น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง และศาลอุทธรณ์ภาค 5 ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนศาลฎีกาก็มีที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียว เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ศาลสูงจึงได้มีแนวทางปฏิบัติในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งผ่านทางระบบสื่อสารทางจอภาพ มาใช้ในการปฏิบัติงาน
ดังเช่นที่ปรากฏในการอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 707/2555 หรือคดีลอบสังหารองคมนตรีและอดีตประธานศาลฎีกา ซึ่งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่มีคำพิพากษาว่าเป็นจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิดฐานฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่ความผิดยังมิได้กระทำลง จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ประกอบมาตรา 84 วรรคสอง ประกอบมาตรา 52(1) และ 53 และลดโทษให้หนึ่งในสาม แล้วให้จำคุกคนละ 16 ปี 8 เดือน โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้อ่านคำพิพากษาโดยระบบสื่อสารทางไกลผ่านจอภาพ ไปให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ฟังที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ทุกข้อฟังไม่ขึ้น และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ดังนั้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งผ่านทางระบบสื่อสารทางจอภาพ ย่อมทำให้ศาลสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นวิธีการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกันอีกประการหนึ่งด้วย
นายสราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ทั้งนี้ ในการใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกา คู่ความต้องยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งรับอุทธรณ์หรือฎีกา กฎหมายวิธีพิจารณาความก็กำหนดกระบวนการพิจารณาคดีในศาลสูงไว้โดยเฉพาะ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นการพิจารณาตามสำนวนการพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลสูงจะทำหน้าที่ตรวจสำนวนแล้วมีความเห็นออกมาเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่หากศาลสูงเห็นว่ามีความจำเป็นแก่คดีอาจกำหนดให้มีการสืบพยาน หรือฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจา ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาก็ได้ เว้นแต่คดีเลือกตั้ง หรือคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ศาลสูงจะนั่งพิจารณาคดีเอง
ภายหลังจากที่ศาลสูงมีความเห็นออกมาเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งอาจเป็นกรณีให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกา พิพากษายืน พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล่าง หรือแก้คำพิพากษา ก็จะต้องมีการอ่านคำพิพากษาซึ่งศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะอ่านคำพิพากษาเองก็ได้ หรือจะส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่านก็ได้ สำหรับคดีแพ่งก็เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 244 และมาตรา 247 ส่วนคดีอาญาก็จะเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 209 และมาตรา 225
อย่างไรก็ดี ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาส่งคำพิพากษาไปให้ศาลชั้นต้นอ่าน และมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการประการใดประการหนึ่งก่อนการอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวก่อนที่จะอ่านคำพิพากษานั้นให้คู่ความฟัง ดังคำพิพากษาฎีกาที่ 560/2540 ศาลอุทธรณ์ส่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟังโดยสั่งว่าก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ถูกต้องหากโจทก์ไม่ยอมชำระให้ส่งคำพิพากษาและสำนวนคืนเพื่อดำเนินการต่อไปปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและปรากฏเหตุที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ศาลชั้นต้นต้องปฎิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบศาลฎีกาจึงให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นปฎิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ครบถ้วนถูกต้องโดยให้คืนฎีกาแก่โจทก์ก่อน
แต่ถ้าศาลสูงเห็นว่าควรอ่านคำพิพากษาเองก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะในคดีบางประเภทที่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ศาลฎีกา เช่น คำพิพากษาฎีกาที่11102/2551 (ประชุมใหญ่) ระหว่างบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ร้อง กับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้คัดค้าน ซึ่งศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษาความว่า การนำข้อพิพาทที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วโดยอนุญาโตตุลาการชุดก่อนซึ่งคำชี้ขาดเป็นที่สุดและยังคงมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่ไปรื้อร้องขอต่ออนุญาโตตุลาการชุดหลังให้พิจารณาชี้ขาดซ้ำอีก ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือได้ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดหลังขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดได้ และการที่อนุญาโตตุลาการชุดหลังได้รับคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องไว้พิจารณาแล้วมีคำชี้ขาดใหม่ ฉบับลงวันที่ 3 ธันวาคม 2544 เป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 23 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 อันเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีคำชี้ขาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดหลังในวันที่ 5 มิถุนายน 2545 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันที่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มีผลใช้บังคับแล้ว กรณีย่อมต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่ให้อำนาจศาลที่จะทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ถ้าปรากฏต่อศาลว่าการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ทั้งนี้เป็นไปตาม “ระเบียบศาลฎีกา ว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกา พ.ศ. 2550” ซึ่งกำหนดให้ทำการนัดอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในคดีดังต่อไปนี้
(1)คดีที่คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันได้และมาขอทำยอมที่ศาลฎีกา
(2)คดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป และประธานศาลฎีกาเห็นสมควรให้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกาที่ศาลฎีกา
(3)คดีที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือเป็นที่สนใจของประชาชนหรือคดีอื่นใดซึ่งประธานศาลฎีกาเห็นสมควรให้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกาที่ศาลฎีกา
แม้ว่าศาลสูงจะเห็นว่าคดีที่พิจารณาและจะมีการอ่านคำพิพากษานั้นเป็นคดีสำคัญดังที่กำหนดไว้ในระเบียบศาลฎีกา ว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลฎีกา พ.ศ. 2550 และควรอ่านที่ศาลสูง แต่การบังคับให้คู่ความต้องเดินทางมาศาลโดยเฉพาะในคดีอาญา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182 กำหนดให้ในการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้น “โจทก์ที่ไม่มา จะอ่านโดยโจทก์ไม่อยู่ก็ได้ ในกรณีที่จำเลยไม่อยู่ โดยไม่มีเหตุสงสัยว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟัง ก็ให้ศาลรอการอ่านไว้จนกว่าจำเลยจะมาศาล แต่ถ้ามีเหตุสงสัยว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟัง ให้ศาลออกหมายจับจำเลย เมื่อได้ออกหมายจับแล้วไม่ได้ตัวจำเลยมาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันออกหมายจับ ก็ให้ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งลับหลังจำเลยได้ และให้ถือว่าโจทก์หรือจำเลยแล้วแต่กรณีได้ฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นแล้ว”
การที่กฎหมายบังคับให้จำเลยต้องมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษา แม้จะไม่บังคับให้คู่ความอื่นต้องเดินทางมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษาด้วยตนเองก็ตาม แต่อาจทำให้คู่ความไม่สะดวกและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มมากขึ้นกว่าการเดินทางไปฟังคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นที่มีอยู่ทุกจังหวัดอยู่แล้ว ในขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาคมีที่ตั้งประจำอยู่เพียงแห่งเดียวในแต่ละภาค เช่น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง และศาลอุทธรณ์ภาค 5 ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนศาลฎีกาก็มีที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียว เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ศาลสูงจึงได้มีแนวทางปฏิบัติในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งผ่านทางระบบสื่อสารทางจอภาพ มาใช้ในการปฏิบัติงาน
ดังเช่นที่ปรากฏในการอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 707/2555 หรือคดีลอบสังหารองคมนตรีและอดีตประธานศาลฎีกา ซึ่งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่มีคำพิพากษาว่าเป็นจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิดฐานฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่ความผิดยังมิได้กระทำลง จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ประกอบมาตรา 84 วรรคสอง ประกอบมาตรา 52(1) และ 53 และลดโทษให้หนึ่งในสาม แล้วให้จำคุกคนละ 16 ปี 8 เดือน โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้อ่านคำพิพากษาโดยระบบสื่อสารทางไกลผ่านจอภาพ ไปให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ฟังที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ทุกข้อฟังไม่ขึ้น และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ดังนั้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งผ่านทางระบบสื่อสารทางจอภาพ ย่อมทำให้ศาลสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นวิธีการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกันอีกประการหนึ่งด้วย
นายสราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม