ศาลปกครองกลาง พิพากษาสั่ง สตช.พิจารณาดำเนินการเรื่องการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนต่อ กตช.ให้แล้วเสร็จใน 120 วัน
วันนี้ (14 ก.พ.) ที่ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาในคดีที่ พ.ต.ท.ดาวเรืองภูมิ สันดี ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 โดยคดีดังกล่าวนี้ พ.ต.ท.ดาวเรืองภูมิ ได้ฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 วรรคหนึ่ง (6) ถึง (11) แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ได้แก่ ตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ และพนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่กำหนดขึ้นใหม่ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ก.ตร.มีหน้าที่ที่จะต้องกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง (6) ถึง (11) แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว และ ผบ.ตร.มีหน้าที่ในการเสนอเรื่องการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนต่อ ก.ตร.ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกัน ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่จัดระบบงานและบริหารงานบุคคลและเป็นฝ่ายเลขานุการของ ก.ตร.ตามมาตรา 5 อนุมาตรา 1(ข) และอนุมาตรา 2(24) แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 และมาตรา 5 ข(3) และ (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ภายหลังจากที่ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 ก.พ.2547 ผบ.ตร.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาโครงสร้างและระบบการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนหลายคำสั่ง แต่ปรากฏว่า การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ ผบ.ตร.จึงยังไม่ได้เสนอเรื่องการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ต่อ ก.ตร.ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติในการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามไม่ได้ดำเนินการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันสมควร โดยไม่มีเหตุผลที่สามารถรับฟังได้ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติล่าช้าเกินสมควร
ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ ผบ.ตร.พิจารณาเสนอเรื่องการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง (6) ถึง (11) แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ต่อ ก.ตร.ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้ ก.ตร.พิจารณากำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง (6) ถึง (11) แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 พร้อมทั้งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอขอความเห็นชอบการกำหนดจำนวนตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง (6) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ต่อคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ ก.ตร.ได้รับเรื่องจาก ผบ.ตร.
วันนี้ (14 ก.พ.) ที่ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาในคดีที่ พ.ต.ท.ดาวเรืองภูมิ สันดี ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 โดยคดีดังกล่าวนี้ พ.ต.ท.ดาวเรืองภูมิ ได้ฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 วรรคหนึ่ง (6) ถึง (11) แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ได้แก่ ตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ และพนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นตำแหน่งพนักงานสอบสวนที่กำหนดขึ้นใหม่ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ก.ตร.มีหน้าที่ที่จะต้องกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง (6) ถึง (11) แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว และ ผบ.ตร.มีหน้าที่ในการเสนอเรื่องการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนต่อ ก.ตร.ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกัน ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่จัดระบบงานและบริหารงานบุคคลและเป็นฝ่ายเลขานุการของ ก.ตร.ตามมาตรา 5 อนุมาตรา 1(ข) และอนุมาตรา 2(24) แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 และมาตรา 5 ข(3) และ (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ภายหลังจากที่ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 ก.พ.2547 ผบ.ตร.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาโครงสร้างและระบบการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนหลายคำสั่ง แต่ปรากฏว่า การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ ผบ.ตร.จึงยังไม่ได้เสนอเรื่องการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ต่อ ก.ตร.ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติในการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามไม่ได้ดำเนินการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันสมควร โดยไม่มีเหตุผลที่สามารถรับฟังได้ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติล่าช้าเกินสมควร
ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ ผบ.ตร.พิจารณาเสนอเรื่องการกำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง (6) ถึง (11) แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ต่อ ก.ตร.ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้ ก.ตร.พิจารณากำหนดตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง (6) ถึง (11) แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 พร้อมทั้งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอขอความเห็นชอบการกำหนดจำนวนตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง (6) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ต่อคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ ก.ตร.ได้รับเรื่องจาก ผบ.ตร.