ASTVผู้จัดการรายวัน–บอร์ดไทยออยล์สั่ง”สุรงค์”สางปัญหาประมูลระบบคอมพิวเตอร์ฯฉาวมูลค่ากว่าพันล้านบาทให้เสร็จภายในเม.ย.นี้ ก่อนโยกย้ายไปกินตำแหน่งCFO ที่ปตท. อ้างปัญหาดังกล่าวเกิดจากความเห็นแตกต่าง ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องหรือใบสั่งการเมือง ระบุไม่ล้มประมูลโครงการจัดซื้อ เหตุไม่ยุติธรรมต่อผู้เข้าประมูล
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริษัท วานนี้ (27 มี.ค.)ว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้ตนเองดูแลและตัดสินใจโครงการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมและป้องกันการกลั่น มูลค่า 1,600 ล้านบาท โดยคำนึงผลประโยชน์ของบริษัทเป็นที่ตั้ง โดยให้แล้วเสร็จภายในเดือนเม.ย.นี้ ก่อนที่ตนเองจะย้ายไปดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ.ปตท.ในต้นเดือนพ.ค.นี้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อผู้บริหารคนใหม่ที่จะเข้ามารับตำแหน่งนี้
ทั้งนี้ ตนมั่นใจว่าจะได้ข้อสรุปโครงการประมูลซื้อระบบคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมและป้องกันการกลั่นได้ทันเสนอบอร์ดไทยออยล์ พิจารณาอนุมัติในการประชุมฯนัดหน้าในเดือนเม.ย.นี้ หลังการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทฯในวันที่ 5 เม.ย.2555 โดยขั้นตอนการพิจารณาต้องถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล เนื่องจากไทยออยล์เป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ส่วนการล้มประมูลโครงการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์ฯหรือไม่นั้น นายสุรงค์ กล่าวว่า คงไม่เป็นการยุติธรรมต่อผู้ที่เข้าประมูลฯ หากจะมีการจัดประมูลโครงการดังกล่าวใหม่ แต่ทั้งนี้ ทางฝ่ายจัดการของบริษัทฯจะหารือกันภายในอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไร
ทั้งนี้ โครงการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์ฯ มีผู้ยื่นประมูลเข้ามาและผ่านการคัดเลือก คือ บริษัท ฮันนีเวลและบริษัท Invensys จากสหรัฐฯเสนอราคามา 1,083 ล้านบาท และบริษัท โยโกกาว่า จากญี่ปุ่นเสนอราคารวม 1,740 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าบริษัทสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นราคาที่รวมอุปกรณ์เสริมไว้แล้ว
“ปัญหาโครงการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมและป้องกันการกลั่นนี้ เกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางด้านเทคนิค ไม่เกี่ยวกับทุจริตดังที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ ซึ่งไทยออยล์เป็นองค์กรที่อยู่มานาน 50ปีก็มีกฎกติกาที่แตกต่างไปบ้าง โดยประธานบริษัทฯ (นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน) และรองประธาน (นายพิชัย ชุณหวชิร)ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเรื่องนี้
และยืนยันว่าไม่มีการเมืองสั่ง ดังนั้นที่ประชุมฯจึงได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง โดยยืนยันว่าตนเองคงไม่เอาชีวิตการทำงานมาเสี่ยง ดังนั้นการตัดสินใจอะไรต้องอยู่ภายใต้ผลประโยชน์สูงสุดและเป็นประโยขน์ต่อองค์กร”
นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯ 3 คนแทนกรรมการเดิมที่หมดวาระลง โดยก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่านายสมเกียรติ หัตถโกศล อดีตผู้อำนวยการใหญ่ ไทยออยล์ที่ใกล้ชิดรองประธานบอร์ดไทยออยล์ได้รับการเสนอชื่อรวมอยู่ด้วย
นายสุรงค์ กล่าวถึงการโยกย้ายตำแหน่งไปอยู่เป็นCFO บมจ.ปตท.ว่า แนวทางการโยกย้ายตำแหน่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเหมาะสม ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาก็ต้องทำตามคำสั่ง ไม่มีปัญหาอะไร และพร้อมที่จะทำงานในตำแหน่งนั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ตนก็เคยทำงานอยู่ในสายงานการเงินมาก่อนเมื่อ 20กว่าปี ตอนนี้ก็กลับไปบ้านเดิม โดยอายุการทำงานที่เหลืออยู่ก่อนเกษียณก็คงทำให้ดีที่สุด
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการบริษัทปตท. จำกัดมีมติโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงของปตท.และบริษัทในเครือฯว่า การโยกย้ายตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงปตท.เป็นข้อเสนอของตนเอง เนื่องจากตำแหน่ง CEO ปตท.ยังมีเทอมวาระ ดังนั้น ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงก็ควรมีเทอมวาระเช่นกันซึ่งสมัยนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตCEOปตท.ก็เคยบอกว่า เทอมวาระผู้บริหารควรอยู่ที่ 3-4 ปี โดยนายสุรงค์ บูลกุล ก็อยู่ไทยออยล์มา 3 ปี นายเทวินทร์ วงศ์วานิช อยู่ในวาระ 5ปี นายวีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล 3 ปีและนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ 4 ปี ซึ่งการโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงนี้ เชื่อว่าไม่ว่าใครจะอยู่ตำแหน่งใดก็สามารถทำงานได้ทั้งนั้น อาทิ นายเทวินทร์ CFOปตท.เองก็ไม่เคยมีประสบการณ์ ทางการเงินมาก่อนก็ยังทำงานตำแหน่งนี้ได้ดี ขณะที่นายสุรงค์เองก็เคยทำงานการเงินมาก่อนหน้านี้ เชื่อว่าไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน
โดยผู้บริหารระดับสูงทั้ง 4 คน ที่ถูกโยกย้ายมีผลบังคับในเดือนพ.ค.นี้ ได้แก่ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ. ปตท. ไปดำรงตำแหน่งCEO บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยออยล์ ไปดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ.ปตท. , นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล ย้ายไปดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยออยล์ และนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สผ. ย้ายไปดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริษัท วานนี้ (27 มี.ค.)ว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้ตนเองดูแลและตัดสินใจโครงการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมและป้องกันการกลั่น มูลค่า 1,600 ล้านบาท โดยคำนึงผลประโยชน์ของบริษัทเป็นที่ตั้ง โดยให้แล้วเสร็จภายในเดือนเม.ย.นี้ ก่อนที่ตนเองจะย้ายไปดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ.ปตท.ในต้นเดือนพ.ค.นี้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อผู้บริหารคนใหม่ที่จะเข้ามารับตำแหน่งนี้
ทั้งนี้ ตนมั่นใจว่าจะได้ข้อสรุปโครงการประมูลซื้อระบบคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมและป้องกันการกลั่นได้ทันเสนอบอร์ดไทยออยล์ พิจารณาอนุมัติในการประชุมฯนัดหน้าในเดือนเม.ย.นี้ หลังการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทฯในวันที่ 5 เม.ย.2555 โดยขั้นตอนการพิจารณาต้องถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล เนื่องจากไทยออยล์เป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ส่วนการล้มประมูลโครงการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์ฯหรือไม่นั้น นายสุรงค์ กล่าวว่า คงไม่เป็นการยุติธรรมต่อผู้ที่เข้าประมูลฯ หากจะมีการจัดประมูลโครงการดังกล่าวใหม่ แต่ทั้งนี้ ทางฝ่ายจัดการของบริษัทฯจะหารือกันภายในอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไร
ทั้งนี้ โครงการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์ฯ มีผู้ยื่นประมูลเข้ามาและผ่านการคัดเลือก คือ บริษัท ฮันนีเวลและบริษัท Invensys จากสหรัฐฯเสนอราคามา 1,083 ล้านบาท และบริษัท โยโกกาว่า จากญี่ปุ่นเสนอราคารวม 1,740 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าบริษัทสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นราคาที่รวมอุปกรณ์เสริมไว้แล้ว
“ปัญหาโครงการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมและป้องกันการกลั่นนี้ เกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางด้านเทคนิค ไม่เกี่ยวกับทุจริตดังที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ ซึ่งไทยออยล์เป็นองค์กรที่อยู่มานาน 50ปีก็มีกฎกติกาที่แตกต่างไปบ้าง โดยประธานบริษัทฯ (นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน) และรองประธาน (นายพิชัย ชุณหวชิร)ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเรื่องนี้
และยืนยันว่าไม่มีการเมืองสั่ง ดังนั้นที่ประชุมฯจึงได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง โดยยืนยันว่าตนเองคงไม่เอาชีวิตการทำงานมาเสี่ยง ดังนั้นการตัดสินใจอะไรต้องอยู่ภายใต้ผลประโยชน์สูงสุดและเป็นประโยขน์ต่อองค์กร”
นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯ 3 คนแทนกรรมการเดิมที่หมดวาระลง โดยก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่านายสมเกียรติ หัตถโกศล อดีตผู้อำนวยการใหญ่ ไทยออยล์ที่ใกล้ชิดรองประธานบอร์ดไทยออยล์ได้รับการเสนอชื่อรวมอยู่ด้วย
นายสุรงค์ กล่าวถึงการโยกย้ายตำแหน่งไปอยู่เป็นCFO บมจ.ปตท.ว่า แนวทางการโยกย้ายตำแหน่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเหมาะสม ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาก็ต้องทำตามคำสั่ง ไม่มีปัญหาอะไร และพร้อมที่จะทำงานในตำแหน่งนั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ตนก็เคยทำงานอยู่ในสายงานการเงินมาก่อนเมื่อ 20กว่าปี ตอนนี้ก็กลับไปบ้านเดิม โดยอายุการทำงานที่เหลืออยู่ก่อนเกษียณก็คงทำให้ดีที่สุด
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการบริษัทปตท. จำกัดมีมติโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงของปตท.และบริษัทในเครือฯว่า การโยกย้ายตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงปตท.เป็นข้อเสนอของตนเอง เนื่องจากตำแหน่ง CEO ปตท.ยังมีเทอมวาระ ดังนั้น ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงก็ควรมีเทอมวาระเช่นกันซึ่งสมัยนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตCEOปตท.ก็เคยบอกว่า เทอมวาระผู้บริหารควรอยู่ที่ 3-4 ปี โดยนายสุรงค์ บูลกุล ก็อยู่ไทยออยล์มา 3 ปี นายเทวินทร์ วงศ์วานิช อยู่ในวาระ 5ปี นายวีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล 3 ปีและนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ 4 ปี ซึ่งการโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงนี้ เชื่อว่าไม่ว่าใครจะอยู่ตำแหน่งใดก็สามารถทำงานได้ทั้งนั้น อาทิ นายเทวินทร์ CFOปตท.เองก็ไม่เคยมีประสบการณ์ ทางการเงินมาก่อนก็ยังทำงานตำแหน่งนี้ได้ดี ขณะที่นายสุรงค์เองก็เคยทำงานการเงินมาก่อนหน้านี้ เชื่อว่าไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน
โดยผู้บริหารระดับสูงทั้ง 4 คน ที่ถูกโยกย้ายมีผลบังคับในเดือนพ.ค.นี้ ได้แก่ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ. ปตท. ไปดำรงตำแหน่งCEO บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยออยล์ ไปดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ.ปตท. , นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล ย้ายไปดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยออยล์ และนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สผ. ย้ายไปดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล