เมื่อกวาดสายตาไปรอบโลก เราคงจะรู้สึกคล้ายๆ กันว่า ปัญหาและวิกฤตยังมีมาก ไม่ต่างจากในอดีต การศึกสงครามยังมีอยู่ให้เห็นเป็นประจำ โดยผู้แสดงเก่าๆ แต่ขณะเดียวกัน เราก็พบว่า ยังมีอีกหลายประเทศที่สามารถ “ลอยตัว” อยู่เหนือวิกฤต ดำเนินการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเองได้ในทุกสถานการณ์ ดูแล้วคล้ายกับว่า สังคมโลกถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนที่ยุ่งกับการแก้วิกฤตกับส่วนที่มุ่งพัฒนาตนเอง
ในสายตาของผู้เขียน ผู้ที่ยังยุ่งอยู่กับการแก้วิกฤต ก็คือกลุ่มประเทศทุนนิยมตะวันตก คือสหรัฐฯ กับอียู ส่วนผู้ที่มุ่งพัฒนาตนเอง ก็คือกลุ่มประเทศ “เกิดใหม่” เช่น จีน อินเดีย บราซิล รัสเซีย แอฟริกาใต้ (ปัจจุบันรวมตัวกันเข้าเป็นกลุ่มประเทศ “BRICS” ) และต่อไปอาจจะรวมถึงอินโดนีเซียด้วย
แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่เวียนว่ายอยู่ในระหว่างสองส่วนนี้ คือโดยสถานภาพของตน จะต้องเร่งพัฒนาตนเอง แต่ก็ยังติดร่างแห ถูกลากเข้าวังวนวิกฤตใกล้ๆ ตัวเราก็เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และอาจรวมถึงเวียดนามด้วย
เหตุที่กลุ่มประเทศตะวันตกยังต้องยุ่งอยู่กับวิกฤตก็เพราะขาดการปรับตัว ยังพยายามดึงดัน “เปลี่ยนโลก” ให้เป็นแบบตะวันตก ทั้งๆ ที่ยุคของตะวันตกได้สิ้นสุดลงแล้วนับตั้งแต่ประเทศจีนกลายเป็นรัฐสังคมนิยม
ความรุ่งโรจน์ของทุนนิยมตะวันตก ที่สืบเนื่องกันมาหลายศตวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล่มสลายของกลุ่มประเทศสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต ทำให้ชาวตะวันตกหรือนักคิดตะวันตกหลงไปว่า ระบอบทุนนิยมคือคำตอบสุดท้ายของมวลมนุษยชาติ ไม่ได้ตระหนักในการขับเคลื่อนของสังคมโลก ที่ได้ก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้ง เมื่อจีนในระบอบสังคมนิยมสามารถปรับ-ปฏิรูปตัวเอง จนผงาดขึ้นมาประชันกับมหาอำนาจตะวันตกในระบอบทุนนิยมได้อย่างเหนือความคาดหมาย
ตัวอย่างแห่งความสำเร็จในการพัฒนาตนเองของประเทศจีน กลายแบบอย่างให้สังคมโลกศึกษา และได้คำตอบไปในทางเดียวกันคือ จีนทำได้เพราะมีการเมืองที่มั่นคง ทรงประสิทธิภาพ เอื้อต่อการได้มาซึ่งคณะผู้บริหารที่ดี มีคุณภาพ สามารถกำหนดแนวทางนโยบายพัฒนาประเทศได้ดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หลุดพ้นจากการเมืองเลือกตั้งที่นักการเมืองถูกตรึงอยู่กับ “คะแนนเสียง” ตกอยู่ในปลักของลัทธิประชานิยม เป้าหมายการพัฒนาประเทศถูกเบี่ยงเบนในทุกขั้นตอน
อุปมารถจีนวิ่งได้ตรงๆ แต่รถตะวันตกวิ่งปัดไปปัดมา ประเทศต่างๆ จึงมีแนวโน้มใช้รถจีน
ทั้งนี้เพราะประชาธิปไตยตะวันตก นับวันจะหลุดลอยจากฐานชีวิตจริงของผู้คนทั่วไป ต่างไปจากอดีตที่ประชาธิปไตยหมายถึงสิ่งที่ก้าวหน้ากว่าเผด็จการโดยชนชั้นนำที่ถือเอาผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มตนเป็นที่ตั้ง ทั้งในรูปของสมบูรณาญาสิทธิราชย์และเผด็จการทหาร แต่ปัจจุบันกลับอยู่ในฐานะเป็นเพียง “แบรนด์” หรือยี่ห้อของประชาธิปไตยตะวันตก ขณะที่ประชาธิปไตยประชาชนที่ดำเนินอยู่ในประเทศจีน กลับสามารถตอบสนองความเรียกร้องต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม กลายเป็น “ประชาธิปไตยกินได้”
ด้วยเหตุนี้ การใช้กำลังบังคับเปลี่ยนแปลงอำนาจปกครองในบางประเทศ เช่น ในอิรัก อัฟกานิสถาน และลิเบีย โดยถือเอาการสร้างประชาธิปไตยแบบตะวันตกเป็นเป้าหมาย จึงไม่ประสบความสำเร็จ ไม่อาจแก้ไขปัญหาของประชาชน หนำซ้ำยังนำความทุกข์ยาก อัตคัดขาดแคลน และความไม่ปลอดภัยรอบด้านมาสู่ประชาชนของประเทศเหล่านั้น
น่าขำตรงที่ในอดีต ยุคสงครามเย็น ผู้ที่คลั่งไคล้ในลัทธิความเชื่อคือฝ่ายสังคมนิยม ที่มุ่งปฏิวัติสังคมนิยมทั่วโลก
แต่มาถึงวันนี้ ยุคโลกาภิวัตน์ ผู้ที่คลั่งไคล้ในลัทธิความเชื่อกลับกลายเป็นกลุ่มประเทศทุนนิยมตะวันตก ที่กำลังพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลกกลายเป็นประเทศทุนนิยม มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในรูประบบรัฐสภา โดยถือเอาการเลือกตั้งเป็นหัวใจ หากประเทศใดผิดไปจากนี้ จะถือว่ายังไม่เป็นประเทศประชาธิปไตย และจะต้องใช้มาตรการพิเศษปฏิบัติต่อประเทศนั้นๆ ต่อไป
จนถึงวันนี้ พวกเขาก็ยังถือว่าจีนไม่มีประชาธิปไตย และเศรษฐกิจตลาดแบบจีนก็ยังไม่ใช่เศรษฐกิจตลาดอย่างแท้จริง ยังใช้มาตรการพิเศษปฏิบัติต่อประเทศจีน ทั้งๆ ที่ตลาดจีนเป็นแหล่งทำมาหากินสำคัญยิ่งของบริษัทยักษ์ใหญ่ทุนนิยมทั่วโลก และมีแนวโน้มก้าวขึ้นเป็นตลาดอันดับหนึ่งของโลกอยู่รอมร่อแล้ว
ผู้เขียนขอฟันธงเลยว่า ตราบใดที่กลุ่มประเทศทุนนิยมตะวันตกยัง “หลง” ในตัวเอง ก็จะยังคง “ติด” อยู่ในห้วงวิกฤตแบบถอนตัวไม่ขึ้น และจะอ้าปากค้างเมื่อเห็นจีนและบรรดาประเทศเกิดใหม่ทั้งหลาย ก้าวผ่านเลยไปทีละก้าวๆ
ในสายตาของผู้เขียน ผู้ที่ยังยุ่งอยู่กับการแก้วิกฤต ก็คือกลุ่มประเทศทุนนิยมตะวันตก คือสหรัฐฯ กับอียู ส่วนผู้ที่มุ่งพัฒนาตนเอง ก็คือกลุ่มประเทศ “เกิดใหม่” เช่น จีน อินเดีย บราซิล รัสเซีย แอฟริกาใต้ (ปัจจุบันรวมตัวกันเข้าเป็นกลุ่มประเทศ “BRICS” ) และต่อไปอาจจะรวมถึงอินโดนีเซียด้วย
แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่เวียนว่ายอยู่ในระหว่างสองส่วนนี้ คือโดยสถานภาพของตน จะต้องเร่งพัฒนาตนเอง แต่ก็ยังติดร่างแห ถูกลากเข้าวังวนวิกฤตใกล้ๆ ตัวเราก็เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และอาจรวมถึงเวียดนามด้วย
เหตุที่กลุ่มประเทศตะวันตกยังต้องยุ่งอยู่กับวิกฤตก็เพราะขาดการปรับตัว ยังพยายามดึงดัน “เปลี่ยนโลก” ให้เป็นแบบตะวันตก ทั้งๆ ที่ยุคของตะวันตกได้สิ้นสุดลงแล้วนับตั้งแต่ประเทศจีนกลายเป็นรัฐสังคมนิยม
ความรุ่งโรจน์ของทุนนิยมตะวันตก ที่สืบเนื่องกันมาหลายศตวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล่มสลายของกลุ่มประเทศสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต ทำให้ชาวตะวันตกหรือนักคิดตะวันตกหลงไปว่า ระบอบทุนนิยมคือคำตอบสุดท้ายของมวลมนุษยชาติ ไม่ได้ตระหนักในการขับเคลื่อนของสังคมโลก ที่ได้ก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้ง เมื่อจีนในระบอบสังคมนิยมสามารถปรับ-ปฏิรูปตัวเอง จนผงาดขึ้นมาประชันกับมหาอำนาจตะวันตกในระบอบทุนนิยมได้อย่างเหนือความคาดหมาย
ตัวอย่างแห่งความสำเร็จในการพัฒนาตนเองของประเทศจีน กลายแบบอย่างให้สังคมโลกศึกษา และได้คำตอบไปในทางเดียวกันคือ จีนทำได้เพราะมีการเมืองที่มั่นคง ทรงประสิทธิภาพ เอื้อต่อการได้มาซึ่งคณะผู้บริหารที่ดี มีคุณภาพ สามารถกำหนดแนวทางนโยบายพัฒนาประเทศได้ดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หลุดพ้นจากการเมืองเลือกตั้งที่นักการเมืองถูกตรึงอยู่กับ “คะแนนเสียง” ตกอยู่ในปลักของลัทธิประชานิยม เป้าหมายการพัฒนาประเทศถูกเบี่ยงเบนในทุกขั้นตอน
อุปมารถจีนวิ่งได้ตรงๆ แต่รถตะวันตกวิ่งปัดไปปัดมา ประเทศต่างๆ จึงมีแนวโน้มใช้รถจีน
ทั้งนี้เพราะประชาธิปไตยตะวันตก นับวันจะหลุดลอยจากฐานชีวิตจริงของผู้คนทั่วไป ต่างไปจากอดีตที่ประชาธิปไตยหมายถึงสิ่งที่ก้าวหน้ากว่าเผด็จการโดยชนชั้นนำที่ถือเอาผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มตนเป็นที่ตั้ง ทั้งในรูปของสมบูรณาญาสิทธิราชย์และเผด็จการทหาร แต่ปัจจุบันกลับอยู่ในฐานะเป็นเพียง “แบรนด์” หรือยี่ห้อของประชาธิปไตยตะวันตก ขณะที่ประชาธิปไตยประชาชนที่ดำเนินอยู่ในประเทศจีน กลับสามารถตอบสนองความเรียกร้องต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม กลายเป็น “ประชาธิปไตยกินได้”
ด้วยเหตุนี้ การใช้กำลังบังคับเปลี่ยนแปลงอำนาจปกครองในบางประเทศ เช่น ในอิรัก อัฟกานิสถาน และลิเบีย โดยถือเอาการสร้างประชาธิปไตยแบบตะวันตกเป็นเป้าหมาย จึงไม่ประสบความสำเร็จ ไม่อาจแก้ไขปัญหาของประชาชน หนำซ้ำยังนำความทุกข์ยาก อัตคัดขาดแคลน และความไม่ปลอดภัยรอบด้านมาสู่ประชาชนของประเทศเหล่านั้น
น่าขำตรงที่ในอดีต ยุคสงครามเย็น ผู้ที่คลั่งไคล้ในลัทธิความเชื่อคือฝ่ายสังคมนิยม ที่มุ่งปฏิวัติสังคมนิยมทั่วโลก
แต่มาถึงวันนี้ ยุคโลกาภิวัตน์ ผู้ที่คลั่งไคล้ในลัทธิความเชื่อกลับกลายเป็นกลุ่มประเทศทุนนิยมตะวันตก ที่กำลังพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลกกลายเป็นประเทศทุนนิยม มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในรูประบบรัฐสภา โดยถือเอาการเลือกตั้งเป็นหัวใจ หากประเทศใดผิดไปจากนี้ จะถือว่ายังไม่เป็นประเทศประชาธิปไตย และจะต้องใช้มาตรการพิเศษปฏิบัติต่อประเทศนั้นๆ ต่อไป
จนถึงวันนี้ พวกเขาก็ยังถือว่าจีนไม่มีประชาธิปไตย และเศรษฐกิจตลาดแบบจีนก็ยังไม่ใช่เศรษฐกิจตลาดอย่างแท้จริง ยังใช้มาตรการพิเศษปฏิบัติต่อประเทศจีน ทั้งๆ ที่ตลาดจีนเป็นแหล่งทำมาหากินสำคัญยิ่งของบริษัทยักษ์ใหญ่ทุนนิยมทั่วโลก และมีแนวโน้มก้าวขึ้นเป็นตลาดอันดับหนึ่งของโลกอยู่รอมร่อแล้ว
ผู้เขียนขอฟันธงเลยว่า ตราบใดที่กลุ่มประเทศทุนนิยมตะวันตกยัง “หลง” ในตัวเอง ก็จะยังคง “ติด” อยู่ในห้วงวิกฤตแบบถอนตัวไม่ขึ้น และจะอ้าปากค้างเมื่อเห็นจีนและบรรดาประเทศเกิดใหม่ทั้งหลาย ก้าวผ่านเลยไปทีละก้าวๆ