ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังขยับจีดีพีปี 55 ใหม่เพิ่มจาก 5.0% เป็น 5.5% หลังพบการลงทุนภาครัฐ - เอกชน และการบริโภคภาคครัวเรือนเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เล็งจับตาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นปีแรกเหตุส่งออกชะลอตัวจากวิกฤติหนี้ยุโรปและนำเข้าสินค้าทุน
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กระทรวงการคลังเปิดเผยว่า สศค. ปได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 ใหม่ คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งที่ระดับ 5.5% มีช่วงการคารดการณ์ที่ 5-6% เพิ่มขึ้นจากที่ประเมินไว้เดิม 5%และเป็นการฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติเทียบกับปีก่อนที่ขยายตัว 0.1% เนื่องจากมองว่าการลงทุนทั้งของภาครัฐและภาคเอชนรวมถึงการบริโภคภาคเอกชนจะเป็นตัวขัยเคลื่อนที่สำคัญ
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวจากปีก่อน 3.3% มาอยู่ที่ 11.9% ส่วนการลงทุนภาครัฐจากที่ติดลบ 8.7%ปีก่อนมาขยายตัวที่ระดับ 12.1% ส่วนการบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.3% ปีก่อนมาอยู่ที่ 4.5% เท่ากับการบริโภคของภาครัฐที่ขยายตัว 4.5%
สำหรับการส่งออกคาดว่าจะชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มอ่อนแอต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยเฉพาะยุโรปและต้องจับตาเศรษฐกิจของจันด้วย ส่งผลการส่งออกจะขยายตัวลดลงจากปีก่อนที่ 15% เหลือเพียง 13.5% ขณะที่การนำเข้ายังสูงในระดับ 23.3% จากการลงทุนที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตามจากการเกินดุลการค้าที่จะเกินดุลลดลงในปีนี้จาก 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเหลือ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ปีนี้ไทยจะเริ่มมีปัจจัยเสี่ยงจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ระดับ 0.9% ของจีดีพี หรือประมาณ 3.5 พันล้านเหรียญ
“แม้ว่าตามหลักแล้วการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ควรเกิน0.3%แต่การขาดดุลในปีนี้เป็นผลมาจากาการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อการลงทุน ไม่ใช่ขาดดุลจากการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย จึงไม่ใช่สิ่งเลวร้ายแต่เป็นการติดลบอย่างมีคุณภาพ แม้การขาดดุลจะหมายถึงการมีหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นแต่ก็ถือเป็นการลงทุนที่จะนำมาซึ่งรายได้ในอนาคต” นายสมชัยกล่าวและว่า ปีนี้มั่นใจเศรษฐกิจไทยจะเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดคงไม่เกิน 1-2 ปีนี้ ส่วนเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 3.4% % มาอยู่ที่ 3.6 % โดยคำนึงถึงการปรับเพิ่มค่าแรงและราคามันที่สูงขึ้นไว้แล้ว
นายสมชัย กล่าวถึงเศรษฐกิจเดือนก.พ.ที่ผ่านมาว่า เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในทุกด้านทั้งการ การบริโภคและการลงทุน การจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ ทำให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปีนี้จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้จากที่หดตัว 9.0% ในไตรมาส 4 ของปีก่อน และไตรมาสต่อไปก็จะขยายตัวเป็นบวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสูงสุดในไตรมาส 4 ของปีนี้
SCBชี้ปัจจัยเสี่ยงศก.ราคาน้ำมันพุ่ง
นางสาวสุทธาภา อมรวิวัฒน์ Chief Economist และ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกต่อเศรษฐกิจไทยว่า การที่เศรษฐกิจหลักๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจสหรัฐฯ วิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่งผลดีกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของไทยในระยะสั้น เช่น การที่อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูง หรือ แม้แต่การที่สภาพคล่องของเงินสกุลต่างประเทศมีความตึงตัว มีน้อยลง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกอื่น เช่น การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันจากความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ที่ภาคธุรกิจจะต้องจับตามอง
"เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา ความกังวลจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปผ่อนคลายลงบ้างในระยะสั้นจากมาตรการช่วยเหลือด้านการคลังและสภาพคล่อง เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนอาจไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินอีกรอบ ในส่วนของประเทศจีน ถึงแม้ว่าทางการจะออกมาประกาศลดเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจลง แต่ก็มีมาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนยังสามารถขยายตัวได้ดี"
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กระทรวงการคลังเปิดเผยว่า สศค. ปได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 ใหม่ คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งที่ระดับ 5.5% มีช่วงการคารดการณ์ที่ 5-6% เพิ่มขึ้นจากที่ประเมินไว้เดิม 5%และเป็นการฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติเทียบกับปีก่อนที่ขยายตัว 0.1% เนื่องจากมองว่าการลงทุนทั้งของภาครัฐและภาคเอชนรวมถึงการบริโภคภาคเอกชนจะเป็นตัวขัยเคลื่อนที่สำคัญ
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวจากปีก่อน 3.3% มาอยู่ที่ 11.9% ส่วนการลงทุนภาครัฐจากที่ติดลบ 8.7%ปีก่อนมาขยายตัวที่ระดับ 12.1% ส่วนการบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.3% ปีก่อนมาอยู่ที่ 4.5% เท่ากับการบริโภคของภาครัฐที่ขยายตัว 4.5%
สำหรับการส่งออกคาดว่าจะชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มอ่อนแอต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยเฉพาะยุโรปและต้องจับตาเศรษฐกิจของจันด้วย ส่งผลการส่งออกจะขยายตัวลดลงจากปีก่อนที่ 15% เหลือเพียง 13.5% ขณะที่การนำเข้ายังสูงในระดับ 23.3% จากการลงทุนที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตามจากการเกินดุลการค้าที่จะเกินดุลลดลงในปีนี้จาก 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเหลือ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ปีนี้ไทยจะเริ่มมีปัจจัยเสี่ยงจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ระดับ 0.9% ของจีดีพี หรือประมาณ 3.5 พันล้านเหรียญ
“แม้ว่าตามหลักแล้วการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ควรเกิน0.3%แต่การขาดดุลในปีนี้เป็นผลมาจากาการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อการลงทุน ไม่ใช่ขาดดุลจากการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย จึงไม่ใช่สิ่งเลวร้ายแต่เป็นการติดลบอย่างมีคุณภาพ แม้การขาดดุลจะหมายถึงการมีหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นแต่ก็ถือเป็นการลงทุนที่จะนำมาซึ่งรายได้ในอนาคต” นายสมชัยกล่าวและว่า ปีนี้มั่นใจเศรษฐกิจไทยจะเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดคงไม่เกิน 1-2 ปีนี้ ส่วนเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 3.4% % มาอยู่ที่ 3.6 % โดยคำนึงถึงการปรับเพิ่มค่าแรงและราคามันที่สูงขึ้นไว้แล้ว
นายสมชัย กล่าวถึงเศรษฐกิจเดือนก.พ.ที่ผ่านมาว่า เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในทุกด้านทั้งการ การบริโภคและการลงทุน การจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ ทำให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปีนี้จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้จากที่หดตัว 9.0% ในไตรมาส 4 ของปีก่อน และไตรมาสต่อไปก็จะขยายตัวเป็นบวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสูงสุดในไตรมาส 4 ของปีนี้
SCBชี้ปัจจัยเสี่ยงศก.ราคาน้ำมันพุ่ง
นางสาวสุทธาภา อมรวิวัฒน์ Chief Economist และ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกต่อเศรษฐกิจไทยว่า การที่เศรษฐกิจหลักๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจสหรัฐฯ วิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่งผลดีกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของไทยในระยะสั้น เช่น การที่อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูง หรือ แม้แต่การที่สภาพคล่องของเงินสกุลต่างประเทศมีความตึงตัว มีน้อยลง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกอื่น เช่น การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันจากความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ที่ภาคธุรกิจจะต้องจับตามอง
"เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา ความกังวลจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปผ่อนคลายลงบ้างในระยะสั้นจากมาตรการช่วยเหลือด้านการคลังและสภาพคล่อง เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนอาจไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินอีกรอบ ในส่วนของประเทศจีน ถึงแม้ว่าทางการจะออกมาประกาศลดเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจลง แต่ก็มีมาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนยังสามารถขยายตัวได้ดี"