ASTVผู้จัดการรายวัน- "กิตติรัตน์" ชี้ รัฐบาลพร้อมหนุนการควบรวมกิจการเพื่อบริษัทมีการเติบโตสร้างความน่าสนใจลงทุน แจง ร่าง พ.ร.บ.การส่งเสริมการควบรวมกิจการในตลาดทุนเข้าสู่การพิจารณาของกฤษฎีกา คาด 2-3 เดือนนี้น่ามีความคืบหน้า ขณะด้านกระทรวงการคลังเตรียมปลดล็อกภาษีที่เป็นอุปสรรคในการควบรวม ด้าน ผู้บริหาร บ้านปู แนะ บจ.ขนาดกลางเล็กกว่า 300 บริษัทควบรวมเพื่อเพิ่มแวลู -สภาพคล่องซื้อขายมากขึ้น ทำให้นักลงทุนเข้าซื้อขายมากขึ้น
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ “การควบรวมกิจการ วาระแห่งชาติและทางรอดธุรกิจไทย” ในงานเสวนา “M&A: ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจไทย ว่า การควบรวมกิจการนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้บริษัทมีขนาดและธุรกิจมีเติบโตมากขึ้นและทำให้บริษัทมีความแข็งแกร่งและมีศักยภาพสูงสร้างความน่าสนใจนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ปัจจุบันยังมีข้อติดขัดที่ทำให้การดำเนินการดังกล่าวมีไม่มาก ซึ่งทางคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติเห็นชอบร่าง พระราชบัญญัติ ( พ.ร.บ.)การส่งเสริมการควบรวมกิจการในตลาดทุน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
"ร่างพ.ร.บ.การส่งเสริมการควบรวมขณะนี้อยู่ในขั้นพิจารณาของกฤษฎีกา ซึ่งตอนนี้เป็นเรื่องที่ภาคเอกชนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยในการระดมความเห็นเพื่อให้ข้อมูลแก่กฤษฎีกาในการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว โดยคาดว่าจะมีความคืบหน้า 2-3 เดือน ซึ่งทางกระทรวงคลังได้รับมอบหมายให้พิจารณาเรื่องภาษีว่ามีภาษีอะไรที่เป็นอุปสรรคในการควบรวม เพื่อให้การควบรวมกิจการเกิดขึ้นโดยเร็ว "นายกิตติรัตน์ กล่าว
สำหรับเรื่องดังกล่าวนั้นตอนนี้ถือว่าได้เร่งดำเนินการอยู่ แต่อยากให้มีการพิจารณาให้รอบคอบเพราะ อะไรที่เร่งด่วนมากหากขาดความรอบคอบก็จะเกิดความเสียหาย โดยการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมการควบรวมนั้นจะส่งผลดีกับธุรกิจต่างมีการควบรวมมากขึ้น แต่อาจจะไม่เห็นการควบรวมกิจการของธนาคารพาณิชย์ของไทย เนื่องจากปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ของไทยมีจำนวนไม่มาก และมีขนาดที่ใหญ่
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.การส่งเสริมการควบรวมกิจการในตลาดทุนแสดงถึงนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจใช้กลไกการควบรวมกิจการเป็นเครื่องมือในการเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯและผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนเห็นพ้องกันว่าควรจะเร่งผลักดันให้ร่างกฎหมายนี้ออกมาใช้บังคับโดยเร็วและปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนให้มีความชัดเจน สมบูรณ์ และสอดคล้องกับการปฏิบัติมากขึ้น ก.ล.ต.จึงได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการขับเคลื่อนการควบรวมกิจการเพื่อพัฒนาธุรกิจและตลาดทุน"ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาวิชาชีพมาร่วมระดมความเห็นและเสนอแนะเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว โดย ก.ล.ต.เชื่อว่าเมื่อสามารถขจัดอุปสรรคที่เกี่ยวข้องได้ ภาคธุรกิจจะมีการควบรวมกิจการกันมากขึ้นทำให้มีความแข็งแกร่งและสามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับสากล
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)กล่าวว่า ปัจจุบันการที่ธุรกิจที่มีศักยภาพจะเติบโตจากการดำเนินธุรกิจปกติ ( organic growth)เท่านั้นอาจไม่ทันต่อสถานการณ์การแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นการควบรวมกิจการจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับภาคธุรกิจที่จะเลือกใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าของกิจการจากการประหยัดในเชิงขนาด (economy of scale) เช่น ในบางธุรกิจที่สามารถขยายช่องทางการค้าได้อย่างรวดเร็วส่งผลต่อการบริหารจัดการ ทำให้บริษัทเข้มแข็ง เติบโตซึ่งในกรณีของบริษัทจดทะเบียนจะสะท้อนมาสู่มูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) และสภาพคล่องโดยรวมที่เพิ่มขึ้น ตลาดหลักทรัพย์ฯซึ่งเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนภาคตลาดทุนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมจึงพร้อมให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการผลักดันให้การควบรวมกิจการเป็นวาระสำคัญในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสร้างโอกาสให้แก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงผู้ลงทุนด้วย
***บ้านปูแนะบจ.ขนาดกลางเล็กควบรวม
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท .บ้านปู จำกัด (มหาชน)หรือ BANPU กล่าวถึงการควบรวมกิจการในไทยว่า อยากให้มีมากกว่านี้โดยเฉพาะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีขนาดกลางและเล็กที่มีกว่า 300 บริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์(มาร์เก็ตแคป)รวมกันประมาณ 16% ของตลาดรวม หากมีการควบรวมกิจการกัน จะทำให้มีความน่าสนใจลงทุนมากขึ้น และนักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ “การควบรวมกิจการ วาระแห่งชาติและทางรอดธุรกิจไทย” ในงานเสวนา “M&A: ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจไทย ว่า การควบรวมกิจการนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้บริษัทมีขนาดและธุรกิจมีเติบโตมากขึ้นและทำให้บริษัทมีความแข็งแกร่งและมีศักยภาพสูงสร้างความน่าสนใจนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ปัจจุบันยังมีข้อติดขัดที่ทำให้การดำเนินการดังกล่าวมีไม่มาก ซึ่งทางคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติเห็นชอบร่าง พระราชบัญญัติ ( พ.ร.บ.)การส่งเสริมการควบรวมกิจการในตลาดทุน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
"ร่างพ.ร.บ.การส่งเสริมการควบรวมขณะนี้อยู่ในขั้นพิจารณาของกฤษฎีกา ซึ่งตอนนี้เป็นเรื่องที่ภาคเอกชนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยในการระดมความเห็นเพื่อให้ข้อมูลแก่กฤษฎีกาในการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว โดยคาดว่าจะมีความคืบหน้า 2-3 เดือน ซึ่งทางกระทรวงคลังได้รับมอบหมายให้พิจารณาเรื่องภาษีว่ามีภาษีอะไรที่เป็นอุปสรรคในการควบรวม เพื่อให้การควบรวมกิจการเกิดขึ้นโดยเร็ว "นายกิตติรัตน์ กล่าว
สำหรับเรื่องดังกล่าวนั้นตอนนี้ถือว่าได้เร่งดำเนินการอยู่ แต่อยากให้มีการพิจารณาให้รอบคอบเพราะ อะไรที่เร่งด่วนมากหากขาดความรอบคอบก็จะเกิดความเสียหาย โดยการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมการควบรวมนั้นจะส่งผลดีกับธุรกิจต่างมีการควบรวมมากขึ้น แต่อาจจะไม่เห็นการควบรวมกิจการของธนาคารพาณิชย์ของไทย เนื่องจากปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ของไทยมีจำนวนไม่มาก และมีขนาดที่ใหญ่
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.การส่งเสริมการควบรวมกิจการในตลาดทุนแสดงถึงนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจใช้กลไกการควบรวมกิจการเป็นเครื่องมือในการเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯและผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนเห็นพ้องกันว่าควรจะเร่งผลักดันให้ร่างกฎหมายนี้ออกมาใช้บังคับโดยเร็วและปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนให้มีความชัดเจน สมบูรณ์ และสอดคล้องกับการปฏิบัติมากขึ้น ก.ล.ต.จึงได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการขับเคลื่อนการควบรวมกิจการเพื่อพัฒนาธุรกิจและตลาดทุน"ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาวิชาชีพมาร่วมระดมความเห็นและเสนอแนะเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว โดย ก.ล.ต.เชื่อว่าเมื่อสามารถขจัดอุปสรรคที่เกี่ยวข้องได้ ภาคธุรกิจจะมีการควบรวมกิจการกันมากขึ้นทำให้มีความแข็งแกร่งและสามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับสากล
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)กล่าวว่า ปัจจุบันการที่ธุรกิจที่มีศักยภาพจะเติบโตจากการดำเนินธุรกิจปกติ ( organic growth)เท่านั้นอาจไม่ทันต่อสถานการณ์การแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นการควบรวมกิจการจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับภาคธุรกิจที่จะเลือกใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าของกิจการจากการประหยัดในเชิงขนาด (economy of scale) เช่น ในบางธุรกิจที่สามารถขยายช่องทางการค้าได้อย่างรวดเร็วส่งผลต่อการบริหารจัดการ ทำให้บริษัทเข้มแข็ง เติบโตซึ่งในกรณีของบริษัทจดทะเบียนจะสะท้อนมาสู่มูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) และสภาพคล่องโดยรวมที่เพิ่มขึ้น ตลาดหลักทรัพย์ฯซึ่งเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนภาคตลาดทุนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมจึงพร้อมให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการผลักดันให้การควบรวมกิจการเป็นวาระสำคัญในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสร้างโอกาสให้แก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงผู้ลงทุนด้วย
***บ้านปูแนะบจ.ขนาดกลางเล็กควบรวม
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท .บ้านปู จำกัด (มหาชน)หรือ BANPU กล่าวถึงการควบรวมกิจการในไทยว่า อยากให้มีมากกว่านี้โดยเฉพาะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีขนาดกลางและเล็กที่มีกว่า 300 บริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์(มาร์เก็ตแคป)รวมกันประมาณ 16% ของตลาดรวม หากมีการควบรวมกิจการกัน จะทำให้มีความน่าสนใจลงทุนมากขึ้น และนักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น