ASTVผู้จัดการรายวัน-"พาณิชย์"เล็งชง “บุญทรง” ไฟเขียวเกณฑ์ควบรวมกิจการ หลังใช้กฎหมายมาแล้ว 12 ปี หวังใช้ป้องกันธุรกิจใหญ่ต่างชาติเอาเปรียบ กลืนรายเล็ก หลัง AEC มีผลบังคับใช้ ด้านทีดีอาร์ไอเห็นด้วย
นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่อง "การรวมธุรกิจ : สร้างความเข้มแข็งหรือการผูกขาด?” เพื่อรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 จัดโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้หลายประเทศให้ความสำคัญกับการออกหลักเกณฑ์และปรับปรุงเงื่อนไขของพ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า เพื่อใช้ดูแลการเข้ามาลงทุนของบริษัทต่างชาติหลังประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEc) จะมีผลบังคับใช้ในปี 2558 เพราะจะทำให้ประเทศในอาเซียนเข้ามาลงทุน และร่วมทุนทำธุรกิจในไทยมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันทำธุรกิจ
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ไทยอยู่ระหว่างการทบทวนข้อมูลโครงสร้างธุรกิจ และแนวปฏิบัติของต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์ควบรวมกิจการ ภายใต้พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าของไทย เพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจมีความซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงหลังจากที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้มา 12 ปี แต่ยังไม่มีเกณฑ์ควบรวมกิจการบังคับใช้เลย โดยจะนำเสนอต่อคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ที่มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เป็นประธานพิจารณาในเร็วๆ นี้
สำหรับเกณฑ์ควบรวมดังกล่าว ได้แก่ 1.ธุรกิจทั่วไปทุกประเภท หลังควบรวมกิจการจะมีส่วนแบ่งการตลาดเกิน 1 ใน 3 และยอดเงินขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป และ2.ธุรกิจการเงิน หลังควบรวมมีส่วนแบ่งการตลาดเกิน 1 ใน 3 และยอดขายตั้งแต่ 100,000 ล้านบาท (รวมยอดขายและยอดปล่อยสินเชื่อของธนาคาร) นอกจากนี้ จะพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบเพิ่มเติมด้วย เช่น จำนวนทุน จำนวนหุ้น หรือจำนวนสินทรัพย์
"เมื่อเกณฑ์ดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว หากธุรกิจใดต้องการควบรวมกิจการ และเข้าตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ซึ่งคณะกรรมการฯ จะอนุมัติหรือไม่ก็ได้แล้วแต่กรณี เช่น หากเห็นว่าเมื่อควบรวมกันแล้วไม่ผูกขาดทางธุรกิจมากเกินไปก็อาจอนุมัติให้ แต่ธุรกิจใดที่ต้องการควบรวม และไม่เข้าตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดก็สามารถควบรวมกันเองได้เลย ไม่ต้องขออนุญาต” นายสันติชัยกล่าว
นายสันติชัยกล่าวว่า ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา หลังจากการบังคับใช้พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า กรมฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบการผูกขาดตลาดของธุรกิจ 77 เรื่อง โดยในจำนวนนี้ มีเรื่องอยู่ระหว่างการคัดค้านอัยการที่ขอให้ส่งฟ้องบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ที่มีการขายพ่วง และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการสอบสวน 3-4 เรื่อง
นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ฝ่ายวิจัยแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา สถานบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการออกหลักเกณฑ์การควบรวมกิจการ โดยควรบังคับใช้กับธุรกิจทุกประเภททุกกรณีเหมือนกัน ซึ่งหลังจาก AEC มีผลบังคับใช้จะมีผลกระทบต่อธุรกิจไทยมาก เพราะบริษัทไทยจะหันมาควบรวมกิจการกันมากขึ้น เพื่อให้แข่งขันกับบริษัทจากชาติอาเซียนที่เข้ามาลงทุนในไทย รวมถึงเพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกซื้อกิจการ ทั้งนี้ เห็นว่า เกณฑ์ควบรวมกิจการที่เหมาะสม ควรดูจากรายได้หรือทรัพย์สินขั้นต่ำในไทยประมาณ 100 ล้านบาทขึ้นไป หรือรายได้ ทรัพย์สินจากการประกอบธุรกิจทั่วโลกมากกว่า 3,000 ล้านบาท รวมถึงปัจจัยด้านการเข้าสู่ตลาด ประสิทธิภาพ ลักษณะของกิจการที่มีการควบรวมเป็นคู่แข่งเดิมหรือไม่ เป็นต้น
นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่อง "การรวมธุรกิจ : สร้างความเข้มแข็งหรือการผูกขาด?” เพื่อรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 จัดโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้หลายประเทศให้ความสำคัญกับการออกหลักเกณฑ์และปรับปรุงเงื่อนไขของพ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า เพื่อใช้ดูแลการเข้ามาลงทุนของบริษัทต่างชาติหลังประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEc) จะมีผลบังคับใช้ในปี 2558 เพราะจะทำให้ประเทศในอาเซียนเข้ามาลงทุน และร่วมทุนทำธุรกิจในไทยมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันทำธุรกิจ
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ไทยอยู่ระหว่างการทบทวนข้อมูลโครงสร้างธุรกิจ และแนวปฏิบัติของต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์ควบรวมกิจการ ภายใต้พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าของไทย เพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจมีความซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงหลังจากที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้มา 12 ปี แต่ยังไม่มีเกณฑ์ควบรวมกิจการบังคับใช้เลย โดยจะนำเสนอต่อคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ที่มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เป็นประธานพิจารณาในเร็วๆ นี้
สำหรับเกณฑ์ควบรวมดังกล่าว ได้แก่ 1.ธุรกิจทั่วไปทุกประเภท หลังควบรวมกิจการจะมีส่วนแบ่งการตลาดเกิน 1 ใน 3 และยอดเงินขายตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป และ2.ธุรกิจการเงิน หลังควบรวมมีส่วนแบ่งการตลาดเกิน 1 ใน 3 และยอดขายตั้งแต่ 100,000 ล้านบาท (รวมยอดขายและยอดปล่อยสินเชื่อของธนาคาร) นอกจากนี้ จะพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบเพิ่มเติมด้วย เช่น จำนวนทุน จำนวนหุ้น หรือจำนวนสินทรัพย์
"เมื่อเกณฑ์ดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว หากธุรกิจใดต้องการควบรวมกิจการ และเข้าตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ซึ่งคณะกรรมการฯ จะอนุมัติหรือไม่ก็ได้แล้วแต่กรณี เช่น หากเห็นว่าเมื่อควบรวมกันแล้วไม่ผูกขาดทางธุรกิจมากเกินไปก็อาจอนุมัติให้ แต่ธุรกิจใดที่ต้องการควบรวม และไม่เข้าตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดก็สามารถควบรวมกันเองได้เลย ไม่ต้องขออนุญาต” นายสันติชัยกล่าว
นายสันติชัยกล่าวว่า ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา หลังจากการบังคับใช้พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า กรมฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบการผูกขาดตลาดของธุรกิจ 77 เรื่อง โดยในจำนวนนี้ มีเรื่องอยู่ระหว่างการคัดค้านอัยการที่ขอให้ส่งฟ้องบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ที่มีการขายพ่วง และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการสอบสวน 3-4 เรื่อง
นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ฝ่ายวิจัยแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา สถานบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการออกหลักเกณฑ์การควบรวมกิจการ โดยควรบังคับใช้กับธุรกิจทุกประเภททุกกรณีเหมือนกัน ซึ่งหลังจาก AEC มีผลบังคับใช้จะมีผลกระทบต่อธุรกิจไทยมาก เพราะบริษัทไทยจะหันมาควบรวมกิจการกันมากขึ้น เพื่อให้แข่งขันกับบริษัทจากชาติอาเซียนที่เข้ามาลงทุนในไทย รวมถึงเพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกซื้อกิจการ ทั้งนี้ เห็นว่า เกณฑ์ควบรวมกิจการที่เหมาะสม ควรดูจากรายได้หรือทรัพย์สินขั้นต่ำในไทยประมาณ 100 ล้านบาทขึ้นไป หรือรายได้ ทรัพย์สินจากการประกอบธุรกิจทั่วโลกมากกว่า 3,000 ล้านบาท รวมถึงปัจจัยด้านการเข้าสู่ตลาด ประสิทธิภาพ ลักษณะของกิจการที่มีการควบรวมเป็นคู่แข่งเดิมหรือไม่ เป็นต้น