เชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านคงจะเคยได้ยินคำว่า "เงินเฟ้อ" กันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะลดลง เนื่องจากอุปสงค์ต่อสินค้าลดลง รวมทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชะลอตัวลงอีก แต่ก็มีการกังวลเช่นกันว่า ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะเพิ่มสูงขึ้นนั้นจะส่งผลให้ต้นทุนค่าจ้างเพิ่มขึ้น และจะส่งผลไปยังเงินเฟ้อให้สูงขึ้นหรือไม่
คำว่า "เงินเฟ้อ" หรือ "Inflation" นั้นเดิมมีความหมายถึงการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในระบบ ซึ่งเมื่อมีเงินอยู่จำนวนมาก เหมือนกับว่ามีความต้องการที่มาก ทำให้ราคาของสินค้าเพิ่มสูงขึ้นหรือที่เรียกว่า Price Inflation แต่ในปัจจุบันมักจะใช้กันไปในความหมายอย่างหลังว่าเป็น ภาวะที่ราคาสินค้าในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงเหมือนว่าค่าของเงินที่เรามีอยู่นั้นลดลงตามกันไป เช่น ก่อนหน้านี้เราสามารถซื้อข้าวราดแกงได้ด้วยเงิน 30 บาท แต่ในช่วงภาวะเงินเฟ้อนั้น เงิน 30 บาทไม่สามารถซื้อข้าวราดแกงได้อีกต่อไปแล้ว แต่เราจะต้องมีเงินถึง 40 บาท จึงจะได้ข้าวราดแกงจานเดิม สำหรับภาวะเงินเฟ้อที่พูดกันนั้นจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปหรือ Headline Inflation เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไป ซึ่งหมายรวมถึงสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มอีกด้วย ประเภทที่สองเป็น อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน หรือ Core Inflation จะไม่รวมสินค้าในหมวดอาหารสด เนื่องจากมีความผันผวนจากปัจจัยด้านฤดูกาล และไม่รวมหมวดพลังงาน เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีการรวมกลุ่มของผู้ผลิต ทำให้การใช้นโยบายจะไม่มีผลต่อหมวดดังกล่าว
จากย่อหน้าแรก หลายท่านอาจจะสงสัยว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นหรือจะลดลงกันแน่....เนื่องจาก ตัวแปรที่สำคัญในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อมาจากราคา ดังนั้น จึงมี 2 สาเหตุหลักที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น โดยสาเหตุแรกก็คือ การเพิ่มขึ้นจากทางด้านอุปสงค์ หรือที่รู้จักกันว่า Demand-pull inflation เกิดจากความต้องการของสินค้าและบริการสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่สอดคล้องกับการผลิตและการบริการของผู้ผลิต ซึ่งเมื่อความต้องการสูงขึ้นเกินกว่าผลิตผลที่มี ตามกลไกราคาแล้ว เหตุการณ์นี้จะทำให้ราคาสินค้าและบริการนั้นเพิ่มสูงขึ้น สำหรับ อีกสาเหตุหนึ่งเป็นทางด้านอุปทาน หรือที่เรียกว่า Cost-push inflation ซึ่งก็คือ การที่ราคาของปัจจัยต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลให้ราคาสินค้าจะต้องปรับตัวเพิ่มขึ้นตามด้วย
หลังจากที่เราพอจะทราบแล้วว่า อัตราเงินเฟ้อ จะเกิดได้จากสิ่งใด และพิจารณาสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบอยู่เรื่อยๆในปัจจุบันนั้น ก็อาจจะพอคาดคะเนได้ว่าราคาสินค้าในประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก น้ำมัน หรือ พลังงาน นั้นดูจะเป็นปัจจัยหลักของทุกภาคอุตสาหกรรมไปเสียแล้ว และอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าระดับกรอบที่คาดการณ์ไว้ก็เป็นได้ โดยทางศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจของ TMB ได้เคยศึกษาพบว่า เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะทำให้เงินเฟ้อทั่วไปในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และถ้ามองเป็นภาคธุรกิจ แน่นอนว่ากลุ่มธุรกิจการขนส่งจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.9 และสำหรับกลุ่มเกษตรกรรมจะได้รับผลกระทบประมาณร้อยละ 2.7
การปรับตัวของราคาน้ำมันตอนนี้ยังมีความไม่แน่นอนเท่าไหร่นัก เหตุจากผู้นำในกลุ่มโอเปคออกมาแถลงว่าสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ เพื่อชะลอความขาดแคลนของน้ำมันและลดความแรงของการพุ่งตัวของราคา (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. น้ำมันดิบปิดร่วงเกือบ 3 ดอลล์หลังซาอุฯเพิ่มผลิต. [ออนไลน์]. www.bangkokbiznews.com. วันที่ 21 มีนาคม 2555 ) แต่สำหรับกลุ่มธุรกิจแล้ว ยังคงต้องจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะความไม่แน่นอนในการขึ้นลงของราคานั้นจะทำให้การวางแผนการผลิต หรือการดำเนินธุรกิจมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงได้มากขึ้น และสำหรับผู้บริโภคอย่างเราๆ อาจจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่คงจะโดนสะเก็ดมาบ้างจากการกระทบของอัตราเงินเฟ้อ...เราคงต้องมาลุ้นกันว่า ข้าวแกงจะแพงขึ้นต่อไปอีกหรือไม่
คำว่า "เงินเฟ้อ" หรือ "Inflation" นั้นเดิมมีความหมายถึงการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในระบบ ซึ่งเมื่อมีเงินอยู่จำนวนมาก เหมือนกับว่ามีความต้องการที่มาก ทำให้ราคาของสินค้าเพิ่มสูงขึ้นหรือที่เรียกว่า Price Inflation แต่ในปัจจุบันมักจะใช้กันไปในความหมายอย่างหลังว่าเป็น ภาวะที่ราคาสินค้าในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงเหมือนว่าค่าของเงินที่เรามีอยู่นั้นลดลงตามกันไป เช่น ก่อนหน้านี้เราสามารถซื้อข้าวราดแกงได้ด้วยเงิน 30 บาท แต่ในช่วงภาวะเงินเฟ้อนั้น เงิน 30 บาทไม่สามารถซื้อข้าวราดแกงได้อีกต่อไปแล้ว แต่เราจะต้องมีเงินถึง 40 บาท จึงจะได้ข้าวราดแกงจานเดิม สำหรับภาวะเงินเฟ้อที่พูดกันนั้นจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปหรือ Headline Inflation เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไป ซึ่งหมายรวมถึงสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มอีกด้วย ประเภทที่สองเป็น อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน หรือ Core Inflation จะไม่รวมสินค้าในหมวดอาหารสด เนื่องจากมีความผันผวนจากปัจจัยด้านฤดูกาล และไม่รวมหมวดพลังงาน เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีการรวมกลุ่มของผู้ผลิต ทำให้การใช้นโยบายจะไม่มีผลต่อหมวดดังกล่าว
จากย่อหน้าแรก หลายท่านอาจจะสงสัยว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นหรือจะลดลงกันแน่....เนื่องจาก ตัวแปรที่สำคัญในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อมาจากราคา ดังนั้น จึงมี 2 สาเหตุหลักที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น โดยสาเหตุแรกก็คือ การเพิ่มขึ้นจากทางด้านอุปสงค์ หรือที่รู้จักกันว่า Demand-pull inflation เกิดจากความต้องการของสินค้าและบริการสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่สอดคล้องกับการผลิตและการบริการของผู้ผลิต ซึ่งเมื่อความต้องการสูงขึ้นเกินกว่าผลิตผลที่มี ตามกลไกราคาแล้ว เหตุการณ์นี้จะทำให้ราคาสินค้าและบริการนั้นเพิ่มสูงขึ้น สำหรับ อีกสาเหตุหนึ่งเป็นทางด้านอุปทาน หรือที่เรียกว่า Cost-push inflation ซึ่งก็คือ การที่ราคาของปัจจัยต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลให้ราคาสินค้าจะต้องปรับตัวเพิ่มขึ้นตามด้วย
หลังจากที่เราพอจะทราบแล้วว่า อัตราเงินเฟ้อ จะเกิดได้จากสิ่งใด และพิจารณาสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบอยู่เรื่อยๆในปัจจุบันนั้น ก็อาจจะพอคาดคะเนได้ว่าราคาสินค้าในประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก น้ำมัน หรือ พลังงาน นั้นดูจะเป็นปัจจัยหลักของทุกภาคอุตสาหกรรมไปเสียแล้ว และอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าระดับกรอบที่คาดการณ์ไว้ก็เป็นได้ โดยทางศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจของ TMB ได้เคยศึกษาพบว่า เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะทำให้เงินเฟ้อทั่วไปในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และถ้ามองเป็นภาคธุรกิจ แน่นอนว่ากลุ่มธุรกิจการขนส่งจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.9 และสำหรับกลุ่มเกษตรกรรมจะได้รับผลกระทบประมาณร้อยละ 2.7
การปรับตัวของราคาน้ำมันตอนนี้ยังมีความไม่แน่นอนเท่าไหร่นัก เหตุจากผู้นำในกลุ่มโอเปคออกมาแถลงว่าสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ เพื่อชะลอความขาดแคลนของน้ำมันและลดความแรงของการพุ่งตัวของราคา (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. น้ำมันดิบปิดร่วงเกือบ 3 ดอลล์หลังซาอุฯเพิ่มผลิต. [ออนไลน์]. www.bangkokbiznews.com. วันที่ 21 มีนาคม 2555 ) แต่สำหรับกลุ่มธุรกิจแล้ว ยังคงต้องจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะความไม่แน่นอนในการขึ้นลงของราคานั้นจะทำให้การวางแผนการผลิต หรือการดำเนินธุรกิจมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงได้มากขึ้น และสำหรับผู้บริโภคอย่างเราๆ อาจจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่คงจะโดนสะเก็ดมาบ้างจากการกระทบของอัตราเงินเฟ้อ...เราคงต้องมาลุ้นกันว่า ข้าวแกงจะแพงขึ้นต่อไปอีกหรือไม่