เหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้เราต้องทบทวนบทบาทของรัฐหลายประการ ที่สำคัญที่สุดคือ การที่รัฐเข้ามาจัดการชีวิตของประชาชนแทบทุกด้าน เพราะยุคแห่งการพัฒนาทำให้รัฐขยายบทบาทมากขึ้น แต่เมื่อเกิดน้ำท่วมซึ่งเป็นภัยธรรมชาติ รัฐก็ไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาขั้นพื้นฐานได้ ประชาชนตกอยู่ในสภาวะธรรมชาติที่ขาดรัฐ ต้องช่วยตนเอง
แต่การช่วยตัวเองของประชาชนนี้ เป็นเพราะไม่มีทางเลือก เพื่อความอยู่รอด คนก็ต้องหันหน้าเข้าหากัน ระดมทรัพยากรทั้งแรงกายและสิ่งของเข้าจัดการกับปัญหา การร่วมมือกันแสดงถึงพลังที่มีอยู่ในชุมชน แต่ไม่ได้นำมาใช้เพราะแต่เดิมเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้จัดการให้ทุกอย่าง
การพัฒนาทำให้รัฐเข้มแข็ง แต่ประชาชนอ่อนแอ ทั้งในแง่ทัศนคติ และในแง่การเป็นพลเมือง ประชาชนมีฐานะไม่ผิดอะไรกับไพร่ฟ้า และมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่คอยพึ่งพิงรัฐ ชุมชนอ่อนแอเพราะการวางแผนและการจัดการแก้ปัญหาที่มาจากภายนอก ดังนั้น การพัฒนาจึงเป็นการพัฒนาด้านวัตถุ ส่วนจิตใจเป็นจิตอาสา ความร่วมมือซึ่งกันและกันก็ไม่เกิดขึ้น เป้าหมายของการพัฒนาต้องการทำให้คนเข้มแข็ง การพัฒนาจึงเป็นการทอนพลังประชาชน
การเพิ่มพลังประชาชน เป็นการพลิกฟื้นชุมชน ซึ่งสามารถทำได้หลายช่องทาง ที่สำคัญก็คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ข้อมูลบางด้านเป็นข้อมูลทางเทคนิค ยากแก่ความเข้าใจ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้มีการถ่ายทอดข้อมูลที่เรียบง่าย เข้าถึงได้
การได้ข้อมูล เป็นการมีส่วนร่วมระดับแรก คือ ร่วมรับรู้ แต่ที่สำคัญก็คือ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ และขั้นสุดท้ายก็คือ การร่วมในการตัดสินใจแก้ปัญหา
การเพิ่มพลังพลเมือง มีบทบาทสำคัญต่อการลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำนี้มีสาเหตุมาจากความขาดแคลน และความไม่เท่าเทียมกัน บางส่วนก็เกิดจากระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน และปัจจัยการผลิต แต่บางส่วนก็เกิดจากการกระทำของรัฐเอง ไม่ว่าจะเป็นการแจกแจงทรัพยากร หรือการใช้กฎหมายโดยมีการเลือกปฏิบัติ ส่วนความไม่เป็นธรรมนั้นเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ แต่รัฐก็มีส่วนก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมเช่นกัน ดังจะเห็นจากการที่รัฐดำเนินการประกาศเขตป่าสงวนพื้นที่ทำกินดั้งเดิมของประชาชน เป็นต้น
การเพิ่มพลังพลเมือง อย่างน้อยก็ช่วยให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ในขั้นแรกก็คือ ทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง การพัฒนาที่ผ่านมาทำให้ประชาชนขาดศรัทธา และความเชื่อมั่นในภูมิปัญญาชาวบ้าน แต่การส่งเสริมปราชญ์ชาวบ้าน และวิถีชุมชนทำให้เกิดความพอเพียง หรือแม้แต่การนำไปสู่นวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นจากประสบการณ์ของชุมชน
ขณะนี้พลเมืองมีความตื่นตัวมากขึ้น เพราะกิจกรรมของรัฐหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านสุขภาพ ได้แปรสภาพจากกิจกรรมของรัฐมาเป็นกิจกรรมของพลเมือง ประชาชนมีโอกาสที่จะร่วมกันพิจารณาปัญหาของตนเอง มีบทบาทในการออกกฎหมายและพัฒนาวิธีการปฏิบัติต่างๆ กิจกรรมเช่นนี้แม้มิใช่กิจกรรมทางการเมืองโดยตรง แต่ก็มีส่วนสำคัญที่จะกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสนใจทางการเมือง
ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรม เป็นสภาพการณ์ที่ปรากฏอยู่ในทุกสังคม สังคมใดที่พลเมืองอ่อนแอ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง สังคมนั้นยิ่งมีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น และไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมได้เลย
แต่การช่วยตัวเองของประชาชนนี้ เป็นเพราะไม่มีทางเลือก เพื่อความอยู่รอด คนก็ต้องหันหน้าเข้าหากัน ระดมทรัพยากรทั้งแรงกายและสิ่งของเข้าจัดการกับปัญหา การร่วมมือกันแสดงถึงพลังที่มีอยู่ในชุมชน แต่ไม่ได้นำมาใช้เพราะแต่เดิมเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้จัดการให้ทุกอย่าง
การพัฒนาทำให้รัฐเข้มแข็ง แต่ประชาชนอ่อนแอ ทั้งในแง่ทัศนคติ และในแง่การเป็นพลเมือง ประชาชนมีฐานะไม่ผิดอะไรกับไพร่ฟ้า และมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่คอยพึ่งพิงรัฐ ชุมชนอ่อนแอเพราะการวางแผนและการจัดการแก้ปัญหาที่มาจากภายนอก ดังนั้น การพัฒนาจึงเป็นการพัฒนาด้านวัตถุ ส่วนจิตใจเป็นจิตอาสา ความร่วมมือซึ่งกันและกันก็ไม่เกิดขึ้น เป้าหมายของการพัฒนาต้องการทำให้คนเข้มแข็ง การพัฒนาจึงเป็นการทอนพลังประชาชน
การเพิ่มพลังประชาชน เป็นการพลิกฟื้นชุมชน ซึ่งสามารถทำได้หลายช่องทาง ที่สำคัญก็คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ข้อมูลบางด้านเป็นข้อมูลทางเทคนิค ยากแก่ความเข้าใจ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้มีการถ่ายทอดข้อมูลที่เรียบง่าย เข้าถึงได้
การได้ข้อมูล เป็นการมีส่วนร่วมระดับแรก คือ ร่วมรับรู้ แต่ที่สำคัญก็คือ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ และขั้นสุดท้ายก็คือ การร่วมในการตัดสินใจแก้ปัญหา
การเพิ่มพลังพลเมือง มีบทบาทสำคัญต่อการลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำนี้มีสาเหตุมาจากความขาดแคลน และความไม่เท่าเทียมกัน บางส่วนก็เกิดจากระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน และปัจจัยการผลิต แต่บางส่วนก็เกิดจากการกระทำของรัฐเอง ไม่ว่าจะเป็นการแจกแจงทรัพยากร หรือการใช้กฎหมายโดยมีการเลือกปฏิบัติ ส่วนความไม่เป็นธรรมนั้นเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ แต่รัฐก็มีส่วนก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมเช่นกัน ดังจะเห็นจากการที่รัฐดำเนินการประกาศเขตป่าสงวนพื้นที่ทำกินดั้งเดิมของประชาชน เป็นต้น
การเพิ่มพลังพลเมือง อย่างน้อยก็ช่วยให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ในขั้นแรกก็คือ ทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง การพัฒนาที่ผ่านมาทำให้ประชาชนขาดศรัทธา และความเชื่อมั่นในภูมิปัญญาชาวบ้าน แต่การส่งเสริมปราชญ์ชาวบ้าน และวิถีชุมชนทำให้เกิดความพอเพียง หรือแม้แต่การนำไปสู่นวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นจากประสบการณ์ของชุมชน
ขณะนี้พลเมืองมีความตื่นตัวมากขึ้น เพราะกิจกรรมของรัฐหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านสุขภาพ ได้แปรสภาพจากกิจกรรมของรัฐมาเป็นกิจกรรมของพลเมือง ประชาชนมีโอกาสที่จะร่วมกันพิจารณาปัญหาของตนเอง มีบทบาทในการออกกฎหมายและพัฒนาวิธีการปฏิบัติต่างๆ กิจกรรมเช่นนี้แม้มิใช่กิจกรรมทางการเมืองโดยตรง แต่ก็มีส่วนสำคัญที่จะกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสนใจทางการเมือง
ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรม เป็นสภาพการณ์ที่ปรากฏอยู่ในทุกสังคม สังคมใดที่พลเมืองอ่อนแอ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง สังคมนั้นยิ่งมีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น และไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมได้เลย