ASTVผู้จัดการรายวัน - ท่ามกลางราคาน้ำมันที่ทะยานสูงขึ้นอย่างต่อนเนื่องรวมทั้งต้นทุนวัตถุดิบในกรารผลิตสินค้าต่างๆก็ทยอยปรับราคาสูงขึ้นตลอดเช่นกัน ส่งผลให้ผู้ผลิตสินค้าหลายราย ไม่สามารถทนแบกรับภาระต่อไปได้ จำเป็นต้องปรับราคาสินค้าขึ้นตามต้นทุน ซึ่งแน่นอนว่าต้องส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในภาวะที่ค่าครองชีพแพงชนิดที่ว่า ไม่ปราณีใคร “สวนดุสิตโพล” เผยผลสำรวจ 10 อันดับวิธีแก้ของแพง พบร้อยละ 25.28 จี้ภาครัฐควบคุมสินค้า ขณะที่กลุ่มแรงงานวอนคุมพ่อค้าคนกลางไม่ให้เอาเปรียบ ด้านปลัดแรงงานชี้ 1 เม.ย.ปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท รอจนกว่าศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ทาง"ASTVผู้จัดการรายวัน" รวบรวมข้อมูลสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวในการปรับราคาขึ้นในช่วงนี้ พบว่ามีหลากหลายสินค้าและหลากหลายระดับราคาต่างกันไป
สินค้าอาหารการกินอย่าง รังนก รายใหญ่อย่าง สก๊อต ของบริษัท สก๊อต อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ก็ปรับราคารังนกสก๊อตไปแล้วไม่นานนี้เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยขึ้นราคาไป 5% จากราคาเดิม ซึ่งนายสมโภช ชวาลเวชกุล กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สก๊อต อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า เราจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้า เพราะต้นทุนสูงขึ้นอย่างน่ากลัว และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อค่าแรง 300 บาทมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายนนี้ ต้นทุนจะต้องเพิ่มขึ้นอีก และผู้ประกอบการคงต้องปรับราคาขึ้นอีกแน่ หลังจากที่คู่แข่งรังนกรายอื่นปรับราคาไปก่อนเมื่อปลายปีที่แล้ว
ขณะที่เครื่องดื่มนมเปรี้ยวรายใหญ่ของตลาดแบรนด์ ยาคูลท์ ก็ปรับราคาขายปลีกขึ้นอีก 2 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่นมา ส่งผลให้จากราคาเดิมขวดละ 5 บาทเพิ่มเป็น 7 บาททันที หลังจากที่ไม่ได้ปรับราคาจำหน่ายมาหลายปีแล้ว
ค่ายศรีไทย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดผลิตภัณฑ์ภาชนะ ก็ยังอั้นราคาไม่อยู่เช่นกัน เมื่อนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ออกมายอมรับว่า บริษัทฯไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากอีกต่อไปได้แล้ว เพราะราคาวัตถุดิบ รวมทั้งค่าแรงงาน และค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องปรับราคาขายสินค้าของศรีไทยฯทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นอีกอย่างต่ำร้อยละ 10 ในช่วงเดือนเม.ย.นี้
สำหรับสินค้าที่เป็นยากันยุง ก็อยู่ในความเคลื่อนไหวของการขึ้นราคาเช่นกัน นางวรรณี ควรสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย คายาริ ไพรทัม สเปรย์ และยากันยุง คายาริ กล่าวว่า บริษัทฯจะปรับราคาสินค้าขึ้นในเร็วๆนี้ ในกลุ่มของ ยาจุดกันยุงแบบขดคายาริ อีก 2 บาท จากเดิมราคา 15 บาท เป็น 17 บาท ส่วนสินค้าที่เป็นกล่องขนาดบรรจุ 8 ขด และกลุ่มสเปรย์ ยังไม่มีการปรับราคาในครั้งนี้แต่อย่างใด
นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย กล่าวว่า การขึ้นราคาสินค้าจะชัดเจนมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่สองนี้ หลังจากที่ปัจจัยหลักคือ การขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาท ที่จะเริ่มนำร่องก่อนใน 7 จังหวัด ตัวนี้จะเป็นการช่วยทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อขึ้นมาส่วนหนึ่ง ดังนั้นเจ้าของสินค้าก็ต้องเตรียมที่จะใช้จังหวะนี้มาปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน
นอกจากราคาสินค้าที่ปรับขึ้นบางชนิดแล้ว ผู้ประกอบการยังใช้กลยุทธ์การปรับตัวรูปแบบอื่นเช่น การลดขนาดสินค้าหรือปริมาณบรรจุลง แต่จำหน่ายราคาเดิม เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าสินค้าแพงขึ้นน หรือการลดการทำโปรโมชันหรือลด แลก แจก แถม ลง สังเกตุได้ว่า แคมเปญโปรโมชัน ตั้งแต่ต้นปีนมานี้จะน้อยลงไปมากเมื่อเทียบกับช่วงปรกติ
เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น หากยังต้องมาแข่งขันกันเรื่องแคมเปญลดราคาแล้ว ก็ยิ่งทำให้ต้องแบกรับภาระหนักขึ้นไปอีก ดังนั้นหากไม่สามารถจัดการเรื่องราคาวัตถุดิบสูงขึ้นได้ ก็จำเป็นต้องหันมาปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการทำโปรโมชั่นแทนก่อน
อย่างไรก็ตาม แคมเปญลดราคายังพอมีให้เห็นไม่ใช่หายไปหมด โดยเฉพาะช่วงซัมเมอร์นี้ สินค้าเครื่องดื่ม กับค้าปลีกจะทำโปรโมชั่นกันมาก
***โพลชี้ปชช.จี้รัฐคุมราคาสินค้า
วานนี้ (21 มี.ค.) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในแต่ละสาขาอาชีพทั่วประเทศ ประกอบด้วย ข้าราชการ, ทหาร ตำรวจ, พนักงานบริษัท และธนาคาร, นักเรียน นักศึกษา,นักธุรกิจ เจ้าของธุรกิจ, ผู้ค้า, แรงงาน, แม่บ้าน และประชาชนทั่วไป โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกเพื่อให้ได้วิธีการแก้ปัญหาสินค้าแพงในขณะนี้ จำนวน 1,409 คน พบว่า
อันดับ 1 ร้อยละ 25.28 ภาครัฐมีมาตรการในการควบคุมราคาสินค้า พยุงราคาสินค้าอุปโภคบริโภค, อันดับ 2 ร้อยละ 23.76 จะต้องลดต้นทุนการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือและการขนส่ง, อันดับ 3 ร้อยละ 12.10 ต้องแก้ที่ตัวเราเอง วางแผนการใช้จ่าย ประหยัด ยึดหลักพอเพียง, อันดับ 4 ร้อยละ 11.41 ขึ้นเงินเดือน เพิ่มค่าแรง ค่าจ้างให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน, อันดับ 5 ร้อยละ 11.26 ควบคุมดูแลพ่อค้าคนกลางไม่ให้เอาเปรียบหรือโก่งราคาแก่ผู้บริโภค
อันดับ 6 ร้อยละ 7.03 เลือกซื้อสินค้าจากแหล่งจำหน่ายที่มีราคาถูก เช่นร้านธงฟ้า หรือช่วงลดราคา, อันดับ 7 ร้อยละ 3.55 ปรับลดภาษีให้กับผู้ประกอบการเพื่อไม่ให้สินค้ามีราคาสูงเกินไป, อันดับ 8 ร้อยละ 3.04 สนับสนุนให้คนไทยใช้ของไทย เพื่อไม่ให้เงินรั่วไหลไปต่างประเทศ, อันดับ 9 ร้อยละ 1.92 ให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหานี้ให้สำเร็จ และอันดับ 10 ร้อยละ 0.65 แก้ไขภาวะเงินเฟ้อโดยการจำหน่ายพันธบัตรหรือเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก
อย่างไรก็ตาม พบว่ากลุ่มสำรวจอาชีพข้าราชการ, ทหาร ตำรวจ, พนักงานบริษัท, แรงงาน และแม่บ้าน ส่วนใหญ่สนับสนุนให้ภาครัฐมีมาตรการในการควบคุมราคาสินค้า พยุงราคาสินค้า ขณะที่อาชีพนักธุรกิจ นักเรียนนักศึกษา ผู้ค้า และประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่สนับสนุนให้ลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ 29.09% ของผู้ใช้แรงงาน สนับสนุนให้ควบคุมพ่อค้าคนกลางไม่ให้เอาเปรียบราคา ขณะที่ 17.18% ของกลุ่มนักศึกษาเห็นว่าจะต้องแก้ที่ตัวเอง วางแผนการใช้จ่าย ประหยัด และยึดหลักพอเพียง ทางด้านผู้ที่สนับสนุนมาตรการจำหน่ายพันธบัตรหรือเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อแก้ไขภาวะเงินเฟ้อมีเพียงกลุ่มข้าราชการ, นักศึกษา, พนักงานบริษัทและแม่บ้านเท่านั้น
**เตรียมข้อมูลแจงศาลเพิ่มเติม
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง กล่าวว่า กรณีศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเบื้องต้น ที่ออกมาไม่คุ้มครองฉุกเฉินการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเเป็นวันละ 300 บาทในวันที่ 1 เม.ย.นั้น เป็นเพียงมีคำพิพากษาเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่ใช้คำพิพากษาที่ถึงที่สุด ดังนั้น เรื่องนี้ศาลจะมีการพิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตาม ก็จะมีผลทำให้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย.นี้เช่นเดิม ตามประกาศของคณะกรรมการค่าจ้างกลางไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด หลังจากนี้ศาลคงจะเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งในส่วนของคณะกรรมการค่าจ้างและผู้ประกอบการเข้าไปชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัย ซึ่งในส่วนของตนในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลางก็จะเตรียมข้อมูลต่างๆไว้เพื่อชี้แจงต่อศาล.
ทาง"ASTVผู้จัดการรายวัน" รวบรวมข้อมูลสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวในการปรับราคาขึ้นในช่วงนี้ พบว่ามีหลากหลายสินค้าและหลากหลายระดับราคาต่างกันไป
สินค้าอาหารการกินอย่าง รังนก รายใหญ่อย่าง สก๊อต ของบริษัท สก๊อต อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ก็ปรับราคารังนกสก๊อตไปแล้วไม่นานนี้เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยขึ้นราคาไป 5% จากราคาเดิม ซึ่งนายสมโภช ชวาลเวชกุล กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สก๊อต อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า เราจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้า เพราะต้นทุนสูงขึ้นอย่างน่ากลัว และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อค่าแรง 300 บาทมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายนนี้ ต้นทุนจะต้องเพิ่มขึ้นอีก และผู้ประกอบการคงต้องปรับราคาขึ้นอีกแน่ หลังจากที่คู่แข่งรังนกรายอื่นปรับราคาไปก่อนเมื่อปลายปีที่แล้ว
ขณะที่เครื่องดื่มนมเปรี้ยวรายใหญ่ของตลาดแบรนด์ ยาคูลท์ ก็ปรับราคาขายปลีกขึ้นอีก 2 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่นมา ส่งผลให้จากราคาเดิมขวดละ 5 บาทเพิ่มเป็น 7 บาททันที หลังจากที่ไม่ได้ปรับราคาจำหน่ายมาหลายปีแล้ว
ค่ายศรีไทย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดผลิตภัณฑ์ภาชนะ ก็ยังอั้นราคาไม่อยู่เช่นกัน เมื่อนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ออกมายอมรับว่า บริษัทฯไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากอีกต่อไปได้แล้ว เพราะราคาวัตถุดิบ รวมทั้งค่าแรงงาน และค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องปรับราคาขายสินค้าของศรีไทยฯทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นอีกอย่างต่ำร้อยละ 10 ในช่วงเดือนเม.ย.นี้
สำหรับสินค้าที่เป็นยากันยุง ก็อยู่ในความเคลื่อนไหวของการขึ้นราคาเช่นกัน นางวรรณี ควรสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย คายาริ ไพรทัม สเปรย์ และยากันยุง คายาริ กล่าวว่า บริษัทฯจะปรับราคาสินค้าขึ้นในเร็วๆนี้ ในกลุ่มของ ยาจุดกันยุงแบบขดคายาริ อีก 2 บาท จากเดิมราคา 15 บาท เป็น 17 บาท ส่วนสินค้าที่เป็นกล่องขนาดบรรจุ 8 ขด และกลุ่มสเปรย์ ยังไม่มีการปรับราคาในครั้งนี้แต่อย่างใด
นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย กล่าวว่า การขึ้นราคาสินค้าจะชัดเจนมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่สองนี้ หลังจากที่ปัจจัยหลักคือ การขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาท ที่จะเริ่มนำร่องก่อนใน 7 จังหวัด ตัวนี้จะเป็นการช่วยทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อขึ้นมาส่วนหนึ่ง ดังนั้นเจ้าของสินค้าก็ต้องเตรียมที่จะใช้จังหวะนี้มาปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน
นอกจากราคาสินค้าที่ปรับขึ้นบางชนิดแล้ว ผู้ประกอบการยังใช้กลยุทธ์การปรับตัวรูปแบบอื่นเช่น การลดขนาดสินค้าหรือปริมาณบรรจุลง แต่จำหน่ายราคาเดิม เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าสินค้าแพงขึ้นน หรือการลดการทำโปรโมชันหรือลด แลก แจก แถม ลง สังเกตุได้ว่า แคมเปญโปรโมชัน ตั้งแต่ต้นปีนมานี้จะน้อยลงไปมากเมื่อเทียบกับช่วงปรกติ
เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น หากยังต้องมาแข่งขันกันเรื่องแคมเปญลดราคาแล้ว ก็ยิ่งทำให้ต้องแบกรับภาระหนักขึ้นไปอีก ดังนั้นหากไม่สามารถจัดการเรื่องราคาวัตถุดิบสูงขึ้นได้ ก็จำเป็นต้องหันมาปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการทำโปรโมชั่นแทนก่อน
อย่างไรก็ตาม แคมเปญลดราคายังพอมีให้เห็นไม่ใช่หายไปหมด โดยเฉพาะช่วงซัมเมอร์นี้ สินค้าเครื่องดื่ม กับค้าปลีกจะทำโปรโมชั่นกันมาก
***โพลชี้ปชช.จี้รัฐคุมราคาสินค้า
วานนี้ (21 มี.ค.) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในแต่ละสาขาอาชีพทั่วประเทศ ประกอบด้วย ข้าราชการ, ทหาร ตำรวจ, พนักงานบริษัท และธนาคาร, นักเรียน นักศึกษา,นักธุรกิจ เจ้าของธุรกิจ, ผู้ค้า, แรงงาน, แม่บ้าน และประชาชนทั่วไป โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกเพื่อให้ได้วิธีการแก้ปัญหาสินค้าแพงในขณะนี้ จำนวน 1,409 คน พบว่า
อันดับ 1 ร้อยละ 25.28 ภาครัฐมีมาตรการในการควบคุมราคาสินค้า พยุงราคาสินค้าอุปโภคบริโภค, อันดับ 2 ร้อยละ 23.76 จะต้องลดต้นทุนการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือและการขนส่ง, อันดับ 3 ร้อยละ 12.10 ต้องแก้ที่ตัวเราเอง วางแผนการใช้จ่าย ประหยัด ยึดหลักพอเพียง, อันดับ 4 ร้อยละ 11.41 ขึ้นเงินเดือน เพิ่มค่าแรง ค่าจ้างให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน, อันดับ 5 ร้อยละ 11.26 ควบคุมดูแลพ่อค้าคนกลางไม่ให้เอาเปรียบหรือโก่งราคาแก่ผู้บริโภค
อันดับ 6 ร้อยละ 7.03 เลือกซื้อสินค้าจากแหล่งจำหน่ายที่มีราคาถูก เช่นร้านธงฟ้า หรือช่วงลดราคา, อันดับ 7 ร้อยละ 3.55 ปรับลดภาษีให้กับผู้ประกอบการเพื่อไม่ให้สินค้ามีราคาสูงเกินไป, อันดับ 8 ร้อยละ 3.04 สนับสนุนให้คนไทยใช้ของไทย เพื่อไม่ให้เงินรั่วไหลไปต่างประเทศ, อันดับ 9 ร้อยละ 1.92 ให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหานี้ให้สำเร็จ และอันดับ 10 ร้อยละ 0.65 แก้ไขภาวะเงินเฟ้อโดยการจำหน่ายพันธบัตรหรือเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก
อย่างไรก็ตาม พบว่ากลุ่มสำรวจอาชีพข้าราชการ, ทหาร ตำรวจ, พนักงานบริษัท, แรงงาน และแม่บ้าน ส่วนใหญ่สนับสนุนให้ภาครัฐมีมาตรการในการควบคุมราคาสินค้า พยุงราคาสินค้า ขณะที่อาชีพนักธุรกิจ นักเรียนนักศึกษา ผู้ค้า และประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่สนับสนุนให้ลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ 29.09% ของผู้ใช้แรงงาน สนับสนุนให้ควบคุมพ่อค้าคนกลางไม่ให้เอาเปรียบราคา ขณะที่ 17.18% ของกลุ่มนักศึกษาเห็นว่าจะต้องแก้ที่ตัวเอง วางแผนการใช้จ่าย ประหยัด และยึดหลักพอเพียง ทางด้านผู้ที่สนับสนุนมาตรการจำหน่ายพันธบัตรหรือเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อแก้ไขภาวะเงินเฟ้อมีเพียงกลุ่มข้าราชการ, นักศึกษา, พนักงานบริษัทและแม่บ้านเท่านั้น
**เตรียมข้อมูลแจงศาลเพิ่มเติม
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง กล่าวว่า กรณีศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเบื้องต้น ที่ออกมาไม่คุ้มครองฉุกเฉินการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเเป็นวันละ 300 บาทในวันที่ 1 เม.ย.นั้น เป็นเพียงมีคำพิพากษาเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่ใช้คำพิพากษาที่ถึงที่สุด ดังนั้น เรื่องนี้ศาลจะมีการพิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตาม ก็จะมีผลทำให้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย.นี้เช่นเดิม ตามประกาศของคณะกรรมการค่าจ้างกลางไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด หลังจากนี้ศาลคงจะเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งในส่วนของคณะกรรมการค่าจ้างและผู้ประกอบการเข้าไปชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัย ซึ่งในส่วนของตนในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลางก็จะเตรียมข้อมูลต่างๆไว้เพื่อชี้แจงต่อศาล.