นายวศิน วณิชย์วรนันต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคากสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารมั่นใจว่าปีนี้จะสามารถปล่อยสินเชื่อขนาดใหญ่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ในระดับ 3.8-3.9 แสนล้านบาท จาก 3.5 แสนล้านบาท ณ สิ้นปี 2554 หรือเติบโตประมาณ 8-9% โดยรับแรงหนุนจากโครงการลงทุนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกสินเชื่อขนาดใหญ่ค่อนข้างทรงตัว มีความสมดุลกันระหว่างยอดเบิกใช้และยอดชำระหนี้ ซึ่งเป็นไปตามสภาวะปกติที่ในช่วงต้นปีจะมียอดสินเชื่อน้อยกว่าช่วง 3 ไตรมาสที่เหลือของปี ประกอบกับธนาคารยังไม่มีดีลที่สรุปได้ในช่วงนี้ จึงทำให้สินเชื่อขนาดใหญ่ไม่ขยับมากนัก
สำหรับการปล่อยสินเชื่อธุรกิจพลังงานนั้น ธนาคารตั้งเป้าถือครองสัดส่วนตลาดสนับสนุนด้านพลังงานแทนที่ 80% ที่จะทำให้ธนาคารสามารถยืนหยัดเป็นเบอร์ 1 ของธุรกิจพลังงานทดแทนได้ โดยมีเป้าสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าวที่ประมาณ 25,600 ล้าน โดยปัจจุบันความต้องการของพลังงานไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณ 5-6% ต่อปี จากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ประมาณ 33,000 – 34,000 MW (เมกกะวัตต์) จะเพิ่มขึ้นถึง 48,000 MW ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือเพิ่มอุปทานของพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบที่ 23,000 MW โดย ประมาณ 4,000 MW จะมาจากการลงทุนของภาครัฐโดย EGAT และส่วนที่เหลือ 19,000 MW จะเป็นการลงทุนของภาคเอกชน โดยคิดเป็นมูลค่าการลงทุนที่ประมาณ 1,020,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ กรณีแนวทางของภาครัฐที่ต้องการลดการพึ่งพิงพลังงานจากแก๊ส จาก 70% ให้เหลือประมาณ 45-50% ในช่วงเวลา 20 ปีข้างหน้า โดยมุ่งเน้นการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทน ดังนั้น ปริมาณการผลิตไฟฟ้าของภาคเอกชนจำนวน 19,000 MW จะเป็นส่วนที่เป็นพลังงานทดแทน 6,500 MW หรือคิดเป็นการลงทุนประมาณ 520,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักส่วนที่เป็นพลังงานทดแทนชีวมวล 2,000 MW แล้ว จะพบว่าเป็นพลังงานทดแทนประเภทพลังงานจากแสงแดด จากลม และจากน้ำ เป็นส่วนใหญ่ ที่มีโครงการที่กสิกรไทยประเมินความเป็นไปได้แล้วประมาณ 2,000 MW ที่มีมูลค่าลงทุนประมาณ 160,000 ล้านบาท
ส่วนพลังงานไฟฟ้าทั่วไปที่เหลือนั้น ที่มีปริมาณความต้องการกำลังการผลิตเพิ่ม 12,500 MW ธนาคารได้เข้าร่วมให้การสนุนประมาณ 8,000 MW โดยมีประมาณกว่า 40 โครงการที่ยังไม่สรุปผล ซึ่งทางธนาคารตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาดพลังงานทั่วไปที่ 75% หรือคิดเป็นสัดส่วนการลงทุนประมาณ 180,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของยอดสินเชื่อพลังงานส่วนนี้ประมาณ 27,000 ล้านบาท
สำหรับการปล่อยสินเชื่อธุรกิจพลังงานนั้น ธนาคารตั้งเป้าถือครองสัดส่วนตลาดสนับสนุนด้านพลังงานแทนที่ 80% ที่จะทำให้ธนาคารสามารถยืนหยัดเป็นเบอร์ 1 ของธุรกิจพลังงานทดแทนได้ โดยมีเป้าสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าวที่ประมาณ 25,600 ล้าน โดยปัจจุบันความต้องการของพลังงานไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณ 5-6% ต่อปี จากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ประมาณ 33,000 – 34,000 MW (เมกกะวัตต์) จะเพิ่มขึ้นถึง 48,000 MW ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือเพิ่มอุปทานของพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบที่ 23,000 MW โดย ประมาณ 4,000 MW จะมาจากการลงทุนของภาครัฐโดย EGAT และส่วนที่เหลือ 19,000 MW จะเป็นการลงทุนของภาคเอกชน โดยคิดเป็นมูลค่าการลงทุนที่ประมาณ 1,020,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ กรณีแนวทางของภาครัฐที่ต้องการลดการพึ่งพิงพลังงานจากแก๊ส จาก 70% ให้เหลือประมาณ 45-50% ในช่วงเวลา 20 ปีข้างหน้า โดยมุ่งเน้นการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทน ดังนั้น ปริมาณการผลิตไฟฟ้าของภาคเอกชนจำนวน 19,000 MW จะเป็นส่วนที่เป็นพลังงานทดแทน 6,500 MW หรือคิดเป็นการลงทุนประมาณ 520,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักส่วนที่เป็นพลังงานทดแทนชีวมวล 2,000 MW แล้ว จะพบว่าเป็นพลังงานทดแทนประเภทพลังงานจากแสงแดด จากลม และจากน้ำ เป็นส่วนใหญ่ ที่มีโครงการที่กสิกรไทยประเมินความเป็นไปได้แล้วประมาณ 2,000 MW ที่มีมูลค่าลงทุนประมาณ 160,000 ล้านบาท
ส่วนพลังงานไฟฟ้าทั่วไปที่เหลือนั้น ที่มีปริมาณความต้องการกำลังการผลิตเพิ่ม 12,500 MW ธนาคารได้เข้าร่วมให้การสนุนประมาณ 8,000 MW โดยมีประมาณกว่า 40 โครงการที่ยังไม่สรุปผล ซึ่งทางธนาคารตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาดพลังงานทั่วไปที่ 75% หรือคิดเป็นสัดส่วนการลงทุนประมาณ 180,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของยอดสินเชื่อพลังงานส่วนนี้ประมาณ 27,000 ล้านบาท