"กรณ์" กระทู้แปรรูปปตท. หวั่นถูกกลุ่มชินฯ ฮุบ ด้าน"กิตติรัตน์" ยันรัฐบาลไม่เคยมีแนวคิดแปรรูปปตท.โยนสื่อปั้นกระแส ปัดกลุ่มชิน จ้องฮุบธุรกิจพลังงาน ยันไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทุกอย่างโปร่งใส ขณะที่ปชป. ยื่นตรวจสอบ "ณัฐวุฒิ" ซุกหุ้น
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ (9 ก.พ.) นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กระทู้สดถามนายกรัฐมนตรี เรื่องนโยบายการขายหุ้นปตท.ว่า ประชาชนมีความกังวลต่อข่าวรัฐบาลมีนโยบายจะแปรรูปปตท. เพราะถือว่า มีผลกระทบต่อชีวิตประชาชน เนื่องจากมีอำนาจผูกขาดตลาดพลังงานในประเทศไทย วันนี้ยังมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ประชาชนยังอุ่นใจ ที่ยังต้องเกรงใจเจ้าของที่แท้จริง คือประชาชนอยู่บ้าง และต้องเดินตามนโยบายภาครัฐ
แต่วันนี้เริ่มมีความสับสน ไม่เข้าใจในช่วงที่ผ่านมา ทำไมนโยบายพลังงานและบทบาทของปตท. ไม่สามารถดูแลประชาชนได้เหมือนในอดีต ทำไมถึงมีการลอยตัวก๊าซ ทำไมไม่รักษาระดับราคาดีเซลให้ต่ำกว่าลิตรละ 30 บาทได้ และทำไมรัฐบาลไม่สามารถยกเลิกกองทุนน้ำมันได้ ตามที่หาเสียงไว้ ทำไมครม. มีมติปรับขึ้นราคาก๊าซตามที่ปทต.เสนอ ทำไมยกเลิกสิทธิประชาชนใช้ไฟฟ้าฟรี 4 ล้านครัวเรือน เสียสิทธิ นับแต่รัฐบาลมีนโยบายแปรรูปปตท. เพื่อให้เป็นเอกชนเต็มรูปแบบ โดยมีเป้าหมาย เพื่อหากำไรอย่างเดียว โดยมีคำอธิบายว่า เพื่อลดภาระหนี้สาธารณะ
จึงขอถามว่า รัฐบาลยังยืนยันที่จะแปรรูปปตท.หรือไม่ และทำไมถึงคิดว่า การตกแต่งหนี้สาธารณะ จึงมีความสำคัญกว่าการดูแลค่าครองชีพประชาชน
** ยันรัฐบาลไม่เคยคิดแปรรูปปตท.
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง ชี้แจงว่า รัฐบาลไม่เคยมีนโยบายแปรรูปปตท. และข้อมูลที่ปรากฏในสื่อ เริ่มต้นมาจากคำถามที่ตนพยายามเสาะหาว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร ยืนยันว่าไม่เคยมีการประชุมระดับคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น เป็นเพียงข้อถามของสื่อ ต่อผู้มีแนวคิดทางเศรษฐกิจ ต่อมานำมาถามตนในเรื่องนี้ ก็แสดงความเห็นว่า เป็นความคิดหนึ่งที่คิดได้ แต่ไม่ใช่ความคิดของรัฐบาล ถ้าจะดำนเนินการขอให้นำไปถกเถียงให้เป็นประโยชน์ การที่รัฐบาลถือหุ้นเกินครึ่ง เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ เพราะปตท. ประสบความสำเร็จอย่างดี หลังเปลี่ยนสถานะเป็นมหาชน และมีการระดมทุนจนเข้มแข็งอยู่ทุกวันนี้ จึงไม่ต้องกังวลว่า จะมีการดำเนินการในเรื่องนี้
** อ้างกลไกตลาดขึ้นราคาก๊าซ
ส่วนกรณีของก๊าซเอ็นจีวี มีการกำหนดราคากิโลกรัมละ 8.50 บาท ซึ่งถือว่าต่ำสุดในโลกนี้ แต่ปทต. ที่เป็นมหาชน ก็มีหน้าที่ดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ที่เป็นเอกชนด้วย
ส่วนสาเหตุที่ไม่สามารถขยายสถานีบริหารให้ทั่วถึง เพราะต้องคำนึงถึงผู้ถือหุ้นด้วย หากธุรกิจไม่มีกำไร จะเป็นเรื่องไม่เหมาะสม และกระทบต่อความเชื่อมั่นของการเป็นบริษัทมหาชน ซึ่ง คกก.นโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้ประชุมและมีแผนเพิ่มราคาก๊าซเอ็นจีวี อย่างเป็นขั้นตอน ไม่ให้ผู้ทำธุรกิจด้านรถโดยสารสาธารณะได้รับผลกระทบ
รัฐบาลอยากให้ประชาชนได้ใช้ในราคาถูก แต่ถ้ามันผิดธรรมชาติ จะมีผลเสียผลข้างเคียง ส่วนการใช้ไฟฟ้าฟรี แม้รัฐจะผลักภาระไปให้ภาคธุรกิจแบ่งรับไป แต่เขาก็มีหน้าที่ต้องแข่งขันในทางธุรกิจด้วย และรัฐบาลไม่ได้ดำเนินการเพื่อเอื้อภาคธุรกิจโดยไม่นึกถึงผู้ใช้ไฟ แต่มีข้อมูลบ่งชัดนำไปสู่ความไม่ระวังของคนใช้รายย่อย ซึ่งรัฐบาลก็เข้าใจประชาชนที่มีรายได้น้อย
ดังนั้น เรากำลังดำเนินนโยบายให้มีรายได้สูงขึ้น ดูแลตัวเองได้พอสมควรไม่เดือดร้อน ให้กลไกลต่างๆ ของราคามีความสอดคล้องกับตลาด
** ปตท.ผลประโยชน์ทับซ้อนของ"แม้ว"
นายกรณ์ ถามต่อว่า แม้รัฐบาลไม่เคยพูดเรื่องแนวคิดแปรรูปปตท.ก็จริง แต่ผู้มีอาวุโส ที่ออกมาพูดเรื่องนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะโยงความคิดกับนโยบายรัฐบาลได้
ส่วนเหตุผลที่ปล่อยให้ เอ็นจีวี ราคาสูงขึ้น เพื่อปตท.สามารถลงทุนในสถานีบริหารได้ รัฐบาลต้องใจถึงกว่านี้ ปตท.ได้ประโยชน์จากรัฐสาหกิจจากรัฐบาลหลายอย่าง จึงไม่ควรรอให้ประชาชนจอดรอเติมก๊าซหลายชั่วโมง เพียงข้ออ้างว่าปตท. ยังไม่มีกำไรเพียงพอ จึงควรรีบขยายสถานีบริการเลย
นายกรณ์ กล่าวว่า ประชาชนยังกังวลเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะผู้มีอำนาจเหนือรัฐบาล ก็เคยมีประวัติไม่ดีกับเรื่องนี้มาก่อน มีการส่งสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับปตท.ไม่ค่อยดี และปฏิเสธไม่ได้ว่า เวลานี้กลุ่มชินฯ เข้ามามีบทบาทต่อภาครัฐ ในด้านนโยบายพลังงาน หลังจากมีการแต่งตั้งผู้บริหารในกลุ่มชินฯ มาเป็นกรรมการปตท. และรมว.พลังงาน อีกทั้งมีความเคลื่อนไหวของอดีตนายกฯ ในการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานในตปท. ก็เป็นเรื่องที่กังวลว่า จะส่งผลต่อการมีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนรอบสองเกิดขึ้นหรือไม่ โดยคราวนี้โยกจากอุตสาหกรรมโทรคมนาคม มาเป็นพลังงาน
จึงถามว่ารัฐบาลมีนโยบายอย่างไร จะป้องกันไม่ให้มีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นอีก
** อ้างปตท.โปร่งใสเพราะอยู่ในตลท.
นายกิตติรัตน์ ชี้แจงว่า รัฐบาลเห็นถึงปัญหาที่ประชาชนต้องเข้าคิวรอ จึงมีการหารือที่จะเพิ่มสถานีบริการมากขึ้น โดยไม่ต้องกระทบต่อผู้ถือหุ้นเรื่องขาดทุน
ส่วนเรื่องการตั้งบุคคลต่างๆ ต้องยอมรับว่า แต่ละคนต่างก็มีคุณสมบัติเคยทำงานในองค์กรต่างๆ การตั้งเข้าไปเป็นกรรมการ ไม่ได้ยึดหลักใครเคยทำหน้าที่อะไรมาก่อน แต่รัฐบาลมีหน้าที่ส่งเสริมให้กับองค์กรที่เป็นธุรกิจ ดังนั้นการทำธุรกิจพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้านของปตท. ก็สามารถทำได้ เพื่อนำประโยชน์ของบริษัท และประเทศ จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลส่งเสริม ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้ใดทั้งสิ้น ทุกอย่างมีความโปร่งใสภายใต้การบริหารงานของปตท. ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
** ปชป.ยื่นตรวจสอบ"ณัฐวุฒิ"
ในวันเดียวกันนี้ น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคปชป. พร้อมด้วยนายแทนคุณ จิตอิสสระ อดีตผู้สมัคร ส.ส. เขตดอนเมือง ปชป. เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายมนตรี ปาน้อยนนท์ ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฏร ขอให้มีการพิจารณาตรวจสอบกรณี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ บริษัทไทย คอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค วีเลชั่น และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับงานจาก ปตท. จำนวน 14 โครงการ
โดยน.ส.มัลลิกา กล่าวว่า บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจ เมื่อจะมีการว่าจ้าง หรือจัดซื้อจัดจ้าง การเสนอราคาจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 และจากข้อเท็จจริง ปตท.ได้ว่าจ้างบริษัทดังกล่าว ซึ่งในอดีต นายณัฐวุฒิ เป็นที่ปรึกษามวลชนสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซนั้น ใช้วิธีประกวดราคาอย่างน้อย 3 โครงการ จากทั้งหมด 14 โครงการ มูลค่าสิบล้านบาท
น.ส.มัลลิกา กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่น จำกัด กับอีก 2 บริษัท คือ บริษัท แม็ส มีเดีย แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และบริษัท แอคทีฟ คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน และมีที่ตั้งเดียวกัน เพียงแต่อยู่คนละชั้นของอาคาร อีกทั้งยังมีผู้ถือหุ้นที่เชื่อมโยง
ทั้งนี้จะต้องมีการตรวจสอบว่า ในช่วงที่นายณัฐวุฒิ บริหารอยู่นั้นได้ตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งในวันนี้ตนมายื่นเรื่องไว้ เพื่อให้ทางกมธ.พลังงาน บรรจุเป็นวาระการประชุม เพื่อพิจารณาเป็นการเร่งด่วน และหากพบว่ามีความผิดจริง ก็ให้ดำเนินการ
ด้านนายแทนคุณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในสัปดาห์หน้า จะยื่นหนังสือต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เพื่อตรวจสอบการแสดงบัญชีทรัพย์สิน ต่อไป
ด้านนายมนตรี บอกว่า ทางกมธ.จะรีบบรรจุเป็นวาระในอีกสองสัปดาห์ และจะเชิญนายณัฐวุฒิมาชี้แจง
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ (9 ก.พ.) นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กระทู้สดถามนายกรัฐมนตรี เรื่องนโยบายการขายหุ้นปตท.ว่า ประชาชนมีความกังวลต่อข่าวรัฐบาลมีนโยบายจะแปรรูปปตท. เพราะถือว่า มีผลกระทบต่อชีวิตประชาชน เนื่องจากมีอำนาจผูกขาดตลาดพลังงานในประเทศไทย วันนี้ยังมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ประชาชนยังอุ่นใจ ที่ยังต้องเกรงใจเจ้าของที่แท้จริง คือประชาชนอยู่บ้าง และต้องเดินตามนโยบายภาครัฐ
แต่วันนี้เริ่มมีความสับสน ไม่เข้าใจในช่วงที่ผ่านมา ทำไมนโยบายพลังงานและบทบาทของปตท. ไม่สามารถดูแลประชาชนได้เหมือนในอดีต ทำไมถึงมีการลอยตัวก๊าซ ทำไมไม่รักษาระดับราคาดีเซลให้ต่ำกว่าลิตรละ 30 บาทได้ และทำไมรัฐบาลไม่สามารถยกเลิกกองทุนน้ำมันได้ ตามที่หาเสียงไว้ ทำไมครม. มีมติปรับขึ้นราคาก๊าซตามที่ปทต.เสนอ ทำไมยกเลิกสิทธิประชาชนใช้ไฟฟ้าฟรี 4 ล้านครัวเรือน เสียสิทธิ นับแต่รัฐบาลมีนโยบายแปรรูปปตท. เพื่อให้เป็นเอกชนเต็มรูปแบบ โดยมีเป้าหมาย เพื่อหากำไรอย่างเดียว โดยมีคำอธิบายว่า เพื่อลดภาระหนี้สาธารณะ
จึงขอถามว่า รัฐบาลยังยืนยันที่จะแปรรูปปตท.หรือไม่ และทำไมถึงคิดว่า การตกแต่งหนี้สาธารณะ จึงมีความสำคัญกว่าการดูแลค่าครองชีพประชาชน
** ยันรัฐบาลไม่เคยคิดแปรรูปปตท.
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง ชี้แจงว่า รัฐบาลไม่เคยมีนโยบายแปรรูปปตท. และข้อมูลที่ปรากฏในสื่อ เริ่มต้นมาจากคำถามที่ตนพยายามเสาะหาว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร ยืนยันว่าไม่เคยมีการประชุมระดับคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น เป็นเพียงข้อถามของสื่อ ต่อผู้มีแนวคิดทางเศรษฐกิจ ต่อมานำมาถามตนในเรื่องนี้ ก็แสดงความเห็นว่า เป็นความคิดหนึ่งที่คิดได้ แต่ไม่ใช่ความคิดของรัฐบาล ถ้าจะดำนเนินการขอให้นำไปถกเถียงให้เป็นประโยชน์ การที่รัฐบาลถือหุ้นเกินครึ่ง เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ เพราะปตท. ประสบความสำเร็จอย่างดี หลังเปลี่ยนสถานะเป็นมหาชน และมีการระดมทุนจนเข้มแข็งอยู่ทุกวันนี้ จึงไม่ต้องกังวลว่า จะมีการดำเนินการในเรื่องนี้
** อ้างกลไกตลาดขึ้นราคาก๊าซ
ส่วนกรณีของก๊าซเอ็นจีวี มีการกำหนดราคากิโลกรัมละ 8.50 บาท ซึ่งถือว่าต่ำสุดในโลกนี้ แต่ปทต. ที่เป็นมหาชน ก็มีหน้าที่ดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ที่เป็นเอกชนด้วย
ส่วนสาเหตุที่ไม่สามารถขยายสถานีบริหารให้ทั่วถึง เพราะต้องคำนึงถึงผู้ถือหุ้นด้วย หากธุรกิจไม่มีกำไร จะเป็นเรื่องไม่เหมาะสม และกระทบต่อความเชื่อมั่นของการเป็นบริษัทมหาชน ซึ่ง คกก.นโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้ประชุมและมีแผนเพิ่มราคาก๊าซเอ็นจีวี อย่างเป็นขั้นตอน ไม่ให้ผู้ทำธุรกิจด้านรถโดยสารสาธารณะได้รับผลกระทบ
รัฐบาลอยากให้ประชาชนได้ใช้ในราคาถูก แต่ถ้ามันผิดธรรมชาติ จะมีผลเสียผลข้างเคียง ส่วนการใช้ไฟฟ้าฟรี แม้รัฐจะผลักภาระไปให้ภาคธุรกิจแบ่งรับไป แต่เขาก็มีหน้าที่ต้องแข่งขันในทางธุรกิจด้วย และรัฐบาลไม่ได้ดำเนินการเพื่อเอื้อภาคธุรกิจโดยไม่นึกถึงผู้ใช้ไฟ แต่มีข้อมูลบ่งชัดนำไปสู่ความไม่ระวังของคนใช้รายย่อย ซึ่งรัฐบาลก็เข้าใจประชาชนที่มีรายได้น้อย
ดังนั้น เรากำลังดำเนินนโยบายให้มีรายได้สูงขึ้น ดูแลตัวเองได้พอสมควรไม่เดือดร้อน ให้กลไกลต่างๆ ของราคามีความสอดคล้องกับตลาด
** ปตท.ผลประโยชน์ทับซ้อนของ"แม้ว"
นายกรณ์ ถามต่อว่า แม้รัฐบาลไม่เคยพูดเรื่องแนวคิดแปรรูปปตท.ก็จริง แต่ผู้มีอาวุโส ที่ออกมาพูดเรื่องนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะโยงความคิดกับนโยบายรัฐบาลได้
ส่วนเหตุผลที่ปล่อยให้ เอ็นจีวี ราคาสูงขึ้น เพื่อปตท.สามารถลงทุนในสถานีบริหารได้ รัฐบาลต้องใจถึงกว่านี้ ปตท.ได้ประโยชน์จากรัฐสาหกิจจากรัฐบาลหลายอย่าง จึงไม่ควรรอให้ประชาชนจอดรอเติมก๊าซหลายชั่วโมง เพียงข้ออ้างว่าปตท. ยังไม่มีกำไรเพียงพอ จึงควรรีบขยายสถานีบริการเลย
นายกรณ์ กล่าวว่า ประชาชนยังกังวลเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะผู้มีอำนาจเหนือรัฐบาล ก็เคยมีประวัติไม่ดีกับเรื่องนี้มาก่อน มีการส่งสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับปตท.ไม่ค่อยดี และปฏิเสธไม่ได้ว่า เวลานี้กลุ่มชินฯ เข้ามามีบทบาทต่อภาครัฐ ในด้านนโยบายพลังงาน หลังจากมีการแต่งตั้งผู้บริหารในกลุ่มชินฯ มาเป็นกรรมการปตท. และรมว.พลังงาน อีกทั้งมีความเคลื่อนไหวของอดีตนายกฯ ในการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานในตปท. ก็เป็นเรื่องที่กังวลว่า จะส่งผลต่อการมีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนรอบสองเกิดขึ้นหรือไม่ โดยคราวนี้โยกจากอุตสาหกรรมโทรคมนาคม มาเป็นพลังงาน
จึงถามว่ารัฐบาลมีนโยบายอย่างไร จะป้องกันไม่ให้มีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นอีก
** อ้างปตท.โปร่งใสเพราะอยู่ในตลท.
นายกิตติรัตน์ ชี้แจงว่า รัฐบาลเห็นถึงปัญหาที่ประชาชนต้องเข้าคิวรอ จึงมีการหารือที่จะเพิ่มสถานีบริการมากขึ้น โดยไม่ต้องกระทบต่อผู้ถือหุ้นเรื่องขาดทุน
ส่วนเรื่องการตั้งบุคคลต่างๆ ต้องยอมรับว่า แต่ละคนต่างก็มีคุณสมบัติเคยทำงานในองค์กรต่างๆ การตั้งเข้าไปเป็นกรรมการ ไม่ได้ยึดหลักใครเคยทำหน้าที่อะไรมาก่อน แต่รัฐบาลมีหน้าที่ส่งเสริมให้กับองค์กรที่เป็นธุรกิจ ดังนั้นการทำธุรกิจพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้านของปตท. ก็สามารถทำได้ เพื่อนำประโยชน์ของบริษัท และประเทศ จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลส่งเสริม ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้ใดทั้งสิ้น ทุกอย่างมีความโปร่งใสภายใต้การบริหารงานของปตท. ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
** ปชป.ยื่นตรวจสอบ"ณัฐวุฒิ"
ในวันเดียวกันนี้ น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคปชป. พร้อมด้วยนายแทนคุณ จิตอิสสระ อดีตผู้สมัคร ส.ส. เขตดอนเมือง ปชป. เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายมนตรี ปาน้อยนนท์ ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฏร ขอให้มีการพิจารณาตรวจสอบกรณี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ บริษัทไทย คอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค วีเลชั่น และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับงานจาก ปตท. จำนวน 14 โครงการ
โดยน.ส.มัลลิกา กล่าวว่า บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจ เมื่อจะมีการว่าจ้าง หรือจัดซื้อจัดจ้าง การเสนอราคาจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 และจากข้อเท็จจริง ปตท.ได้ว่าจ้างบริษัทดังกล่าว ซึ่งในอดีต นายณัฐวุฒิ เป็นที่ปรึกษามวลชนสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซนั้น ใช้วิธีประกวดราคาอย่างน้อย 3 โครงการ จากทั้งหมด 14 โครงการ มูลค่าสิบล้านบาท
น.ส.มัลลิกา กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่น จำกัด กับอีก 2 บริษัท คือ บริษัท แม็ส มีเดีย แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และบริษัท แอคทีฟ คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน และมีที่ตั้งเดียวกัน เพียงแต่อยู่คนละชั้นของอาคาร อีกทั้งยังมีผู้ถือหุ้นที่เชื่อมโยง
ทั้งนี้จะต้องมีการตรวจสอบว่า ในช่วงที่นายณัฐวุฒิ บริหารอยู่นั้นได้ตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งในวันนี้ตนมายื่นเรื่องไว้ เพื่อให้ทางกมธ.พลังงาน บรรจุเป็นวาระการประชุม เพื่อพิจารณาเป็นการเร่งด่วน และหากพบว่ามีความผิดจริง ก็ให้ดำเนินการ
ด้านนายแทนคุณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในสัปดาห์หน้า จะยื่นหนังสือต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เพื่อตรวจสอบการแสดงบัญชีทรัพย์สิน ต่อไป
ด้านนายมนตรี บอกว่า ทางกมธ.จะรีบบรรจุเป็นวาระในอีกสองสัปดาห์ และจะเชิญนายณัฐวุฒิมาชี้แจง