ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้ว่าแบงก์ชาติเห็นใจรัฐบาลต้องกู้เพิ่มเพราะน้ำท่วม แต่หลังจากกู้ต้องให้ความสำคัญกับวินัยการคลังด้วยการลดการขาดดุล-ขึ้นภาษีหารายได้เพิ่ม หากเน้นประชานิยมกระตุ้น ศก.ปล่อยขาดดุลติดต่อกันหนี้สาธารณะอาจทะลุ 60% ยันเศรษฐกิจไทยปีนี้โตใกล้เคียง 6% แต่ห่วงเงินเฟ้อ ต้องตามติดราคาน้ำมันใกล้ชิด เผยทุก 10% น้ำมันแพง เงินเฟ้อพุ่ง 0.3-0.4%
กรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแผนการรับปรุงการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2555 ครั้งที่ 2 จากเดิมมีการก่อหนี้อยู่ที่ 1.7 ล้านล้านบาท เป็น 2.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อจีดีพีอยู่ที่ 48.6% โดยมีการก่อหนี้ใหม่ในประเทศ เพิ่มเติมจากเดิมอยู่ที่ 350,000 ล้านบาท เป็น 800,000 ล้านบาท นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน 2012 The Institute of International Finance หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) CEO summit ว่า ระยะ 2 ปีนี้ การก่อหนี้เพิ่มถือว่ายังเป็นเรื่องจำเป็น เนื่องจากเป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่เมื่อความจำป็นดังกล่าวหมดไป รัฐบาลก็ควรทยอยปรับการขาดดุลงบประมาณลง โดยในปีงบปรมาณ 2556 การขาดดุลดก็ควรอยู่ในกรอบ 300,000 ล้านบาท และทยอยลดลงเพื่อให้เข้าสู่สมดุลในการจัดทำงบประมาณในระยะต่อไป
“การหารือระหว่าง ธปท.สำนักงบปรมาณ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการคลัง ก็เข้าใจตรงกันว่า จะทยอยลดการปรับลดการขาดดุลงบประมาณลง เพื่อรักษาวินยทางการคลัง รัฐบาลต้องพิจารณาให้ดีในการใช้จ่าย และการลงทุนในระยะนี้ และระยะต่อไปด้วยว่า ควรจะลงทุนในโครงการที่เพิ่มศักยภาพของประเทศ ลงทุนให้มีผลตอบแทนกลับคืน”
นายประสารกล่าวว่า รัฐบาลควรจะคิดในเรื่องการหารายได้เพิ่ม เช่น การเพิ่มภาษีบางประเภท เพื่อให้รายได้สอดคล้องกับการใช้จ่าย นอกจากนั้น ในการชี้แจงตัวเลขหนี้าธารณะควรจะทำอย่างโปร่งใส โดยในส่วนของสถาบันการเงินของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ หากมีภาระหรือหนี้สินส่วนใด ก็ควรจะแสดงหนี้สินดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากนโยบายรัฐออ่างโปร่งใสด้วย เพราะแม้ว่า ในขณะนี้ตัวเลขหนี้สาธารณะจะอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก แต่หากปล่อยให้ขาดุลงบประมาณต่อไปเรื่อยๆ ในระดับ 2.4% ของจีดีพี ประมาณ 7-8 ปี จากนี้ไป หนี้สาธารณะของไทยจะเกินตัวเลข 60% ของจีดีพี
"ส่วนการกระตุ้น และการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยในระยะต่อไป เชื่อว่า การใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของภาครัฐ รวมทั้งนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งอยู่ระดับต่ำกว่าเงินเฟ้อและการดูแลให้สภาพคล่องในระบบเพียงพอเหมาะสมนั้น ช่วยให้เกิดการปล่อสินเชื่อฟื้นฟูภาคธุรกิจ"
ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ ธปท.ก็ได้มีการหารือให้มีการปล่อยสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมเพื่อการฟื้นฟู และการขยายกิจารของภาคธุรกิจมากขึ้น นอกเหนือจากการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน (ซอฟต์โลน) ช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนที่เดือดร้อนจากน้ำท่วม 300,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ธปท.คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้ 5.9%หรือใกล้เคียง 6%
"การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และสินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งค่าครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้น ขณะนี้ ธปท.ได้ติดตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันที่กระทบประชาชนและอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด โดยทุกๆ 10% ที่ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น 0.3-0.4% จากปัจจุบัน"
ผู้ว่าการ ธปท.ระบุว่า เท่าที่ประเมินในการประชุม กนง.ในวันที่ 21 มี.ค.นี้ คาดว่าหากราคาน้ำมันดิบยังไม่สูงเกินกว่า 140 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ก็ยังไม่เกินกรอบเงินเฟ้อ หรือกดดันให้ต้องปรับนโยบายการเงินให้เข้มขึ้นโดยเร็ว ธปท.ไม่มีแนวคิดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพราะนโบายการเงินยังสนับสุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ฉะนั้นภาคเอกชนไม่ควรจะเพิ่มต้นทุนและปรับขึ้นราคาสินค้า.
กรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแผนการรับปรุงการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2555 ครั้งที่ 2 จากเดิมมีการก่อหนี้อยู่ที่ 1.7 ล้านล้านบาท เป็น 2.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อจีดีพีอยู่ที่ 48.6% โดยมีการก่อหนี้ใหม่ในประเทศ เพิ่มเติมจากเดิมอยู่ที่ 350,000 ล้านบาท เป็น 800,000 ล้านบาท นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน 2012 The Institute of International Finance หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) CEO summit ว่า ระยะ 2 ปีนี้ การก่อหนี้เพิ่มถือว่ายังเป็นเรื่องจำเป็น เนื่องจากเป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่เมื่อความจำป็นดังกล่าวหมดไป รัฐบาลก็ควรทยอยปรับการขาดดุลงบประมาณลง โดยในปีงบปรมาณ 2556 การขาดดุลดก็ควรอยู่ในกรอบ 300,000 ล้านบาท และทยอยลดลงเพื่อให้เข้าสู่สมดุลในการจัดทำงบประมาณในระยะต่อไป
“การหารือระหว่าง ธปท.สำนักงบปรมาณ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการคลัง ก็เข้าใจตรงกันว่า จะทยอยลดการปรับลดการขาดดุลงบประมาณลง เพื่อรักษาวินยทางการคลัง รัฐบาลต้องพิจารณาให้ดีในการใช้จ่าย และการลงทุนในระยะนี้ และระยะต่อไปด้วยว่า ควรจะลงทุนในโครงการที่เพิ่มศักยภาพของประเทศ ลงทุนให้มีผลตอบแทนกลับคืน”
นายประสารกล่าวว่า รัฐบาลควรจะคิดในเรื่องการหารายได้เพิ่ม เช่น การเพิ่มภาษีบางประเภท เพื่อให้รายได้สอดคล้องกับการใช้จ่าย นอกจากนั้น ในการชี้แจงตัวเลขหนี้าธารณะควรจะทำอย่างโปร่งใส โดยในส่วนของสถาบันการเงินของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ หากมีภาระหรือหนี้สินส่วนใด ก็ควรจะแสดงหนี้สินดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากนโยบายรัฐออ่างโปร่งใสด้วย เพราะแม้ว่า ในขณะนี้ตัวเลขหนี้สาธารณะจะอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก แต่หากปล่อยให้ขาดุลงบประมาณต่อไปเรื่อยๆ ในระดับ 2.4% ของจีดีพี ประมาณ 7-8 ปี จากนี้ไป หนี้สาธารณะของไทยจะเกินตัวเลข 60% ของจีดีพี
"ส่วนการกระตุ้น และการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยในระยะต่อไป เชื่อว่า การใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของภาครัฐ รวมทั้งนโยบายการเงินที่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งอยู่ระดับต่ำกว่าเงินเฟ้อและการดูแลให้สภาพคล่องในระบบเพียงพอเหมาะสมนั้น ช่วยให้เกิดการปล่อสินเชื่อฟื้นฟูภาคธุรกิจ"
ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ ธปท.ก็ได้มีการหารือให้มีการปล่อยสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมเพื่อการฟื้นฟู และการขยายกิจารของภาคธุรกิจมากขึ้น นอกเหนือจากการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน (ซอฟต์โลน) ช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนที่เดือดร้อนจากน้ำท่วม 300,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ธปท.คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้ 5.9%หรือใกล้เคียง 6%
"การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และสินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งค่าครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้น ขณะนี้ ธปท.ได้ติดตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันที่กระทบประชาชนและอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด โดยทุกๆ 10% ที่ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น 0.3-0.4% จากปัจจุบัน"
ผู้ว่าการ ธปท.ระบุว่า เท่าที่ประเมินในการประชุม กนง.ในวันที่ 21 มี.ค.นี้ คาดว่าหากราคาน้ำมันดิบยังไม่สูงเกินกว่า 140 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ก็ยังไม่เกินกรอบเงินเฟ้อ หรือกดดันให้ต้องปรับนโยบายการเงินให้เข้มขึ้นโดยเร็ว ธปท.ไม่มีแนวคิดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพราะนโบายการเงินยังสนับสุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ฉะนั้นภาคเอกชนไม่ควรจะเพิ่มต้นทุนและปรับขึ้นราคาสินค้า.