ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติติดตามราคาน้ำมันดิบ หวั่นกระทบเงินเฟ้อ-จีดีพีในประเทศ ส่วนการกู้เงินตาม พ.ร.ก. และเงินขาดดุลงบประมาณที่จะเข้าระบบประมาณ 6-7 แสนล้านบาท ไม่น่าหนักใจเพราะเป็นการทยอยจ่าย หนุนรัฐบาลลงทุนโครงการพื้นฐาน และโครงการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มศักยภาพประเทศ
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในขณะนี้ ธปท.กำลังติดตามผลกระทบของราคาน้ำมันดิบโลกที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและโลกตะวันตก ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีในปีนี้สูงกว่าที่ ธปท.ประมาณการไว้ รวมทั้งติดตามผลกระทบดังกล่าวที่จะมีต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในประเทศและการขยายตัวต่อเศรษฐกิจไทยด้วย
“ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น จะต้องติดตามว่า จะเป็นเพียงผลระยะสั้น หรือเกิดขึ้นต่อเนื่องในระยะเวลายาว ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับขึ้นไปสูงกว่าประมาณการของธปท.ที่ประมาณการไว้เฉลี่ยทั้งปีที่ 104 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งในส่วนนี้ ธปท.กำลังติดตาม และอาจจะต้องปรับประมาณการในส่วนของราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปี ในการประมาณการเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อขึ้นจากระดับปัจจุบัน ขึ้นจากระดับที่ประมาณการไว้เดิม โดยราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นความเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อของประเทศให้ปรับเพิ่มขึ้นได้”
ส่วนกรณีการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลในปีนี้ และงบประมาณปี 2556 ซึ่งจะจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากภาวะน้ำท่วมใหญ่ในปีที่2554 ที่ผ่านมานั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน กล่าวว่า หลังจากที่พรก.กู้เงิน 350,000 ล้านบาท ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ในช่วงต่อไปรัฐบาลคงจะค่อยๆ ทยอยจ่ายเงินในส่วนนี้ออกมา และเมื่อรวมกับการขาดดุลงบประมาณปี 2555 ที่ตั้งเป็นงบขาดดุล 400,000 ล้านบาท และในงบประมาณปีหน้าตั้งขาดดุล 300,000 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีเงินจ่ายในแต่ละปีสูงมาก 600,000-700,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะใช้จ่ายเงินออกมาจริงเท่าไรนั้น ขึ้นกับโครงการลงทุนที่จะออกมา ทั้งโครงการบริหารจัดการน้ำ ป้องกันน้ำท่วม และโครงการใหญ่อื่นๆ ซึ่งเท่าที่ประเมิน ในส่วนของการกู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็น 2 ปี ส่วนโครงการตามงยประมาณก็จะเป็นการทยอยกู้ และทยอยลงทุน จึงน่าจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไปไม่สูงนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากโครงการของลงทุนของรัฐบาลเป็นโครงการเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดีให้ประเทศและโครงการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่ดีในแง่การขยายตัวของเศรษฐกิจ
“ประเทศไทยต้องการการลงทุนเพิ่มขึ้น หากการลงทุนของภาครัฐที่จะออกมาเป็นโครงการที่จะช่วยให้เกิดผลตอบแทนที่ดี และเสริมศักยภาพในการผลิต และการแข่งขันของประเทศ ธปท.เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี และเงินที่ออกมาน่าจะเป็นการทยอยลงทุน จึงไม่กระทบมากนักต่ออัตราเงินเฟ้อของไทยในระยะต่อไป” นายไพบูลย์กล่าว.
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในขณะนี้ ธปท.กำลังติดตามผลกระทบของราคาน้ำมันดิบโลกที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและโลกตะวันตก ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีในปีนี้สูงกว่าที่ ธปท.ประมาณการไว้ รวมทั้งติดตามผลกระทบดังกล่าวที่จะมีต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในประเทศและการขยายตัวต่อเศรษฐกิจไทยด้วย
“ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น จะต้องติดตามว่า จะเป็นเพียงผลระยะสั้น หรือเกิดขึ้นต่อเนื่องในระยะเวลายาว ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับขึ้นไปสูงกว่าประมาณการของธปท.ที่ประมาณการไว้เฉลี่ยทั้งปีที่ 104 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งในส่วนนี้ ธปท.กำลังติดตาม และอาจจะต้องปรับประมาณการในส่วนของราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปี ในการประมาณการเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อขึ้นจากระดับปัจจุบัน ขึ้นจากระดับที่ประมาณการไว้เดิม โดยราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นความเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อของประเทศให้ปรับเพิ่มขึ้นได้”
ส่วนกรณีการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลในปีนี้ และงบประมาณปี 2556 ซึ่งจะจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากภาวะน้ำท่วมใหญ่ในปีที่2554 ที่ผ่านมานั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน กล่าวว่า หลังจากที่พรก.กู้เงิน 350,000 ล้านบาท ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ในช่วงต่อไปรัฐบาลคงจะค่อยๆ ทยอยจ่ายเงินในส่วนนี้ออกมา และเมื่อรวมกับการขาดดุลงบประมาณปี 2555 ที่ตั้งเป็นงบขาดดุล 400,000 ล้านบาท และในงบประมาณปีหน้าตั้งขาดดุล 300,000 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีเงินจ่ายในแต่ละปีสูงมาก 600,000-700,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะใช้จ่ายเงินออกมาจริงเท่าไรนั้น ขึ้นกับโครงการลงทุนที่จะออกมา ทั้งโครงการบริหารจัดการน้ำ ป้องกันน้ำท่วม และโครงการใหญ่อื่นๆ ซึ่งเท่าที่ประเมิน ในส่วนของการกู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็น 2 ปี ส่วนโครงการตามงยประมาณก็จะเป็นการทยอยกู้ และทยอยลงทุน จึงน่าจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไปไม่สูงนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากโครงการของลงทุนของรัฐบาลเป็นโครงการเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดีให้ประเทศและโครงการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่ดีในแง่การขยายตัวของเศรษฐกิจ
“ประเทศไทยต้องการการลงทุนเพิ่มขึ้น หากการลงทุนของภาครัฐที่จะออกมาเป็นโครงการที่จะช่วยให้เกิดผลตอบแทนที่ดี และเสริมศักยภาพในการผลิต และการแข่งขันของประเทศ ธปท.เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี และเงินที่ออกมาน่าจะเป็นการทยอยลงทุน จึงไม่กระทบมากนักต่ออัตราเงินเฟ้อของไทยในระยะต่อไป” นายไพบูลย์กล่าว.