วันก่อนเว็บไซต์ของมติชนออนไลน์ สื่อในเครือที่มีจุดยืนสนับสนุนคนเสื้อแดงได้นำเสนอบทความของนักวิชาการเสื้อแดง 2 คน คือ รศ.มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ร่วมกันเขียนบทความเรื่อง “เหตุผลสำคัญ 3ข้อ ทำไมต้องแก้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน”
พูดง่ายๆ ก็คือว่า นักวิชาการด้านนิติศาสตร์เสื้อแดง 2 คนลงทุนเขียนเหตุผลจำเป็นต้องแก้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่ออ่านแล้วพบว่า ตรรกะอ่อนมาก เพียงแต่อ้างเอาทฤษฎีทางวิชาการมาปะติดปะต่อ แต่ไม่เป็นเหตุเป็นผลเลย เรียกได้ว่า น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
ผู้เขียนทั้งสองคนเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมควรจะต้องแก้ไขด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ 1. รัฐธรรมนูญ ในฐานะของปัจจัยหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม 2. การแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงเวลานี้เหมาะสมและสามารถกระทำได้ 3. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังคงมีปัญหาในเชิงหลักการว่าด้วยความเป็นรัฐธรรมนูญที่แท้จริง
ทั้งสองคนอธิบายเหตุผลทั้งสามประการประกอบด้วยว่า ในฐานะของปัจจัยหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม ปรากฏการณ์ที่สังคมไทยเกิดความขัดแย้งขึ้น ณ ขณะนี้ (และอาจกล่าวได้ว่า ที่ผ่านๆ มาด้วย) อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน (และบางฉบับในอดีต) ที่ได้ผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญบนหลักการที่ผิดพลาด
นี่ไงครับ ถึงแกจะไม่ได้ทำให้น้ำขุ่น แต่พ่อของแกก็เคยทำให้น้ำขุ่น
คำถามของผมก็คือว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นปัจจัยของความขัดแย้งหรือการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำลังกลายเป็นปัจจัยแห่งความขัดแย้งกันแน่ และอะไรคือปัจจัยคือหลักการที่ผิดพลาดในความหมายของนักวิชาการทั้งสอง ถ้าเราเอาปัจจัยของความขัดแย้งมาเป็นตัวตั้งโดยไม่พูดถึงเนื้อหาที่แท้จริง เราจะสลัดพ้นปัจจัยนี้อย่างไร เพราะต่อให้นำไปทำประชามติ เมื่อผลออกมาแล้วกลุ่มคนที่ไม่สนับสนุนก็ไม่ยอมรับมติของเสียงข้างมากอย่างที่รัฐธรรมนูญ 2550 ประสบอยู่
ทั้งสองบอกว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงเวลานี้เหมาะสมและสามารถกระทำได้ ไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาปากท้องก่อน ในแง่ “เงื่อนเวลา” ยังเหมาะสมเพราะประเทศอยู่ในสภาวะปกติ มิได้อยู่ภายใต้การปกครองโดยระบอบเผด็จการ หรือการปกครองโดยทหาร เมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย จึงเหมาะสมและไม่ขัดแย้งต่อหลักการแต่อย่างใดในการดำเนินกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมกติกาสูงสุดของสังคม
ถ้าถามผมนะครับ ผมคิดว่า เวลาที่เหมาะสมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้มีเวลาที่ตายตัว และ “เงื่อนเวลา” ไม่สามารถบอกได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็นประชาธิปไตย แต่อยู่ที่เนื้อหามากกว่า ส่วนบรรยากาศและวิธีการก็เป็นเรื่องจำเป็นแต่ไม่สำคัญเท่ากับ “เนื้อหา” ของรัฐธรรมนูญที่ร่างออกมา สมมติเราอยู่ในช่วงเผด็จการ เราก็อ้างตรรกะแบบนี้เพื่อแก้รัฐธรรมนูญให้ฟังดูเท่ๆ ได้ว่า ขณะนี้ประเทศอยู่ในช่วงเผด็จการจึงเป็น “เงื่อนเวลา” ที่เหมาะสมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย คือ มันดูดีนะครับ
ส่วนที่ผู้เขียนทั้งสองอ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาในเชิงหลักการว่าด้วยความเป็นรัฐธรรมนูญที่แท้จริงนั้น จำต้องเป็นไปตามวิถีประชาธิปไตยโดยมีจุดเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
คำถามก็คือว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อมเลยหรือ แล้วรัฐธรรมนูญเหล่านี้มาจาก ส.ส.ร.ที่มาจากตัวแทนประชาชน มีการทำประชาพิจารณ์ และเปิดให้รณรงค์ทั้งต่อต้านและสนับสนุนอย่างกว้างขวาง สุดท้ายก็ให้มีการลงประชามติ แล้วไม่ยึดโยงกับประชาชนตรงไหน
นักวิชาการทั้งสองคนบอกว่า รัฐธรรมนูญต้องมีเนื้อหาที่ถูกต้อง มาตรฐานนี้รู้จักกันในนามของ “องค์ประกอบทางด้านเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ” โดยเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญต้องมีเนื้อหาที่ประกอบไปด้วยบทบัญญัติที่วางโครงสร้างในการปกครองประเทศพร้อมกับรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ เนื้อหาที่ว่าด้วยการรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนดังกล่าว หาใช่เพียงแค่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติทำนองนี้ก็เป็นอันต้ององค์ประกอบแล้ว ไม่ หากแต่ต้องพิจารณาด้วยว่า สิทธิเสรีภาพที่อยู่ในรัฐธรรมนูญสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยืนยันว่ารัฐธรรมนูญเข้ามาพิทักษ์รักษา “สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้จริง”
เป็นครั้งแรกที่ทั้งสองอ้างถึง “เนื้อหา” ในบทความ แต่ดูเหมือนทั้งสองคนไม่ได้บอกว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ไม่มีเนื้อหาที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะเป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่า รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นฉบับที่คุ้มครองและให้สิทธิเสรีภาพประชาชนมากที่สุด แต่ทั้งสองเลี่ยงไปบอกว่า ต้องปฏิบัติได้จริง ประเด็นคืออันไหนละครับที่ปฏิบัติได้ไม่จริง ไม่ใช่พูดลอยๆ กว้างๆ สาดโคลนแบบนี้ เพื่อจะได้ถกเถียงกันว่ามันมีเหตุมาจากเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ กฎหมายลูก หรือการปฏิบัติกันแน่
ทั้งสองอ้างว่า รัฐธรรมนูญต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ในฐานะกฎหมายสูงสุดของประเทศ ความศักดิ์สิทธิ์นี้จะปรากฏขึ้นต่อเมื่อรัฐธรรมนูญสามารถลงหลักปักฐาน (Embeddedness) ในสังคมได้ การลงหลักปักฐานดังกล่าวนี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับการสนับสนุนและยอมรับจากสาธารณชน ประชาชนทุกคนรวมถึงผู้นำของประเทศ นักการเมือง ฯลฯ ต้องเคารพและปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ต้องมีองค์กรที่ “ทำหน้าที่ที่ถูกต้องและเหมาะสม” คอยควบคุมตรวจสอบมิให้ผู้ใช้อำนาจรัฐละเมิดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอันเป็นการส่งผลให้เป็นการกระทบต่อการปกครองประเทศในองค์รวม รัฐธรรมนูญต้องได้รับความเคารพนับถือมาอย่างยาวนานเป็น “สัญญาประชาคม”
คำถามก็คือว่าการยอมรับจากสาธารณชนของทั้งสองคืออะไร คือ การยอมรับจากคนไทยทุกคนหรือการยอมรับจากเสียงข้างมากตามระบอบประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มาจากประชามติได้รับการยอมรับจากเสียงข้างมากหรือไม่ ถ้านักการเมืองไม่เคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญปัญหามันอยู่ที่รัฐธรรมนูญหรืออยู่ที่นักการเมือง
นักวิชาการทั้งสองคนอ้างว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงพึงระลึกอยู่เสมอว่าเราต้องทำให้รัฐธรรมนูญเป็น “กติการ่วมกันของประชาชน” ให้ได้
ผมถามว่า แล้ววิธีการทำให้เป็น “กติการ่วม” คืออะไร การทำ “ประชามติ” เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เป็นกติการ่วมหรือไม่ เพราะดูเหมือนว่า ฝ่ายที่เรียกร้องไม่พยายามพูดเลยว่ารัฐธรรมนูญ 2550 เป็นฉบับเดียวที่มาจากประชามติของประชาชนทั้งประเทศนอกจากอ้างว่ามาจากรัฐประหาร
นักวิชาการทั้งสองอ้างว่า ที่ต้องเขียนบทความชิ้นนี้เพราะสิ่งที่ฝ่ายคัดค้านไม่เคยตอบคือ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยหรือไม่ ทั้งในแง่ที่มา เนื้อหา และกระบวนการรับรอง เอาแต่โฆษณาป่าวร้องท่าเดียวว่า ไม่ควรจะแก้
ผมคิดว่าทั้งสองคนพยายามหาเหตุผลมาโต้แย้งฝ่ายคัดค้านให้มากกว่าที่ป่าวร้องว่าเพราะรัฐธรรมนูญนี้มาจากการรัฐประหาร แต่สุดท้ายอ่านไปอ่านมาก็วนเวียนอยู่แค่นั้น
ผมพยายามอ่านนะครับว่า นักวิชาการทั้งสองพยายามชี้ให้เห็นข้อด้อยของรัฐธรรมนูญ 2550 ในเชิงเนื้อหา หรืออย่างน้อยเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญ 2540 อย่างไร เพื่อจะโน้มน้าวผมได้บ้าง แต่ปรากฏว่าไม่มีเลยครับ วนเวียนอยู่แต่เรื่องที่ป่าวร้องว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีที่มาจากรัฐประหาร
บอกตรงๆ ว่า มองไม่เห็นเหตุผลตรรกะและความชอบธรรมจากการสนับสนุนให้แก้รัฐธรรมนูญจากนักวิชาการทั้งสองเลย นอกจากเห็นความพยายามทำตนเป็น “เนติไพร่” ของระบอบทักษิณเท่านั้นเอง
พูดง่ายๆ ก็คือว่า นักวิชาการด้านนิติศาสตร์เสื้อแดง 2 คนลงทุนเขียนเหตุผลจำเป็นต้องแก้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่ออ่านแล้วพบว่า ตรรกะอ่อนมาก เพียงแต่อ้างเอาทฤษฎีทางวิชาการมาปะติดปะต่อ แต่ไม่เป็นเหตุเป็นผลเลย เรียกได้ว่า น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
ผู้เขียนทั้งสองคนเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมควรจะต้องแก้ไขด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ 1. รัฐธรรมนูญ ในฐานะของปัจจัยหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม 2. การแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงเวลานี้เหมาะสมและสามารถกระทำได้ 3. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังคงมีปัญหาในเชิงหลักการว่าด้วยความเป็นรัฐธรรมนูญที่แท้จริง
ทั้งสองคนอธิบายเหตุผลทั้งสามประการประกอบด้วยว่า ในฐานะของปัจจัยหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม ปรากฏการณ์ที่สังคมไทยเกิดความขัดแย้งขึ้น ณ ขณะนี้ (และอาจกล่าวได้ว่า ที่ผ่านๆ มาด้วย) อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน (และบางฉบับในอดีต) ที่ได้ผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญบนหลักการที่ผิดพลาด
นี่ไงครับ ถึงแกจะไม่ได้ทำให้น้ำขุ่น แต่พ่อของแกก็เคยทำให้น้ำขุ่น
คำถามของผมก็คือว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นปัจจัยของความขัดแย้งหรือการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำลังกลายเป็นปัจจัยแห่งความขัดแย้งกันแน่ และอะไรคือปัจจัยคือหลักการที่ผิดพลาดในความหมายของนักวิชาการทั้งสอง ถ้าเราเอาปัจจัยของความขัดแย้งมาเป็นตัวตั้งโดยไม่พูดถึงเนื้อหาที่แท้จริง เราจะสลัดพ้นปัจจัยนี้อย่างไร เพราะต่อให้นำไปทำประชามติ เมื่อผลออกมาแล้วกลุ่มคนที่ไม่สนับสนุนก็ไม่ยอมรับมติของเสียงข้างมากอย่างที่รัฐธรรมนูญ 2550 ประสบอยู่
ทั้งสองบอกว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงเวลานี้เหมาะสมและสามารถกระทำได้ ไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาปากท้องก่อน ในแง่ “เงื่อนเวลา” ยังเหมาะสมเพราะประเทศอยู่ในสภาวะปกติ มิได้อยู่ภายใต้การปกครองโดยระบอบเผด็จการ หรือการปกครองโดยทหาร เมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย จึงเหมาะสมและไม่ขัดแย้งต่อหลักการแต่อย่างใดในการดำเนินกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมกติกาสูงสุดของสังคม
ถ้าถามผมนะครับ ผมคิดว่า เวลาที่เหมาะสมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้มีเวลาที่ตายตัว และ “เงื่อนเวลา” ไม่สามารถบอกได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็นประชาธิปไตย แต่อยู่ที่เนื้อหามากกว่า ส่วนบรรยากาศและวิธีการก็เป็นเรื่องจำเป็นแต่ไม่สำคัญเท่ากับ “เนื้อหา” ของรัฐธรรมนูญที่ร่างออกมา สมมติเราอยู่ในช่วงเผด็จการ เราก็อ้างตรรกะแบบนี้เพื่อแก้รัฐธรรมนูญให้ฟังดูเท่ๆ ได้ว่า ขณะนี้ประเทศอยู่ในช่วงเผด็จการจึงเป็น “เงื่อนเวลา” ที่เหมาะสมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย คือ มันดูดีนะครับ
ส่วนที่ผู้เขียนทั้งสองอ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาในเชิงหลักการว่าด้วยความเป็นรัฐธรรมนูญที่แท้จริงนั้น จำต้องเป็นไปตามวิถีประชาธิปไตยโดยมีจุดเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
คำถามก็คือว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อมเลยหรือ แล้วรัฐธรรมนูญเหล่านี้มาจาก ส.ส.ร.ที่มาจากตัวแทนประชาชน มีการทำประชาพิจารณ์ และเปิดให้รณรงค์ทั้งต่อต้านและสนับสนุนอย่างกว้างขวาง สุดท้ายก็ให้มีการลงประชามติ แล้วไม่ยึดโยงกับประชาชนตรงไหน
นักวิชาการทั้งสองคนบอกว่า รัฐธรรมนูญต้องมีเนื้อหาที่ถูกต้อง มาตรฐานนี้รู้จักกันในนามของ “องค์ประกอบทางด้านเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ” โดยเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญต้องมีเนื้อหาที่ประกอบไปด้วยบทบัญญัติที่วางโครงสร้างในการปกครองประเทศพร้อมกับรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ เนื้อหาที่ว่าด้วยการรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนดังกล่าว หาใช่เพียงแค่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติทำนองนี้ก็เป็นอันต้ององค์ประกอบแล้ว ไม่ หากแต่ต้องพิจารณาด้วยว่า สิทธิเสรีภาพที่อยู่ในรัฐธรรมนูญสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยืนยันว่ารัฐธรรมนูญเข้ามาพิทักษ์รักษา “สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้จริง”
เป็นครั้งแรกที่ทั้งสองอ้างถึง “เนื้อหา” ในบทความ แต่ดูเหมือนทั้งสองคนไม่ได้บอกว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ไม่มีเนื้อหาที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะเป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่า รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นฉบับที่คุ้มครองและให้สิทธิเสรีภาพประชาชนมากที่สุด แต่ทั้งสองเลี่ยงไปบอกว่า ต้องปฏิบัติได้จริง ประเด็นคืออันไหนละครับที่ปฏิบัติได้ไม่จริง ไม่ใช่พูดลอยๆ กว้างๆ สาดโคลนแบบนี้ เพื่อจะได้ถกเถียงกันว่ามันมีเหตุมาจากเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ กฎหมายลูก หรือการปฏิบัติกันแน่
ทั้งสองอ้างว่า รัฐธรรมนูญต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ในฐานะกฎหมายสูงสุดของประเทศ ความศักดิ์สิทธิ์นี้จะปรากฏขึ้นต่อเมื่อรัฐธรรมนูญสามารถลงหลักปักฐาน (Embeddedness) ในสังคมได้ การลงหลักปักฐานดังกล่าวนี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับการสนับสนุนและยอมรับจากสาธารณชน ประชาชนทุกคนรวมถึงผู้นำของประเทศ นักการเมือง ฯลฯ ต้องเคารพและปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ต้องมีองค์กรที่ “ทำหน้าที่ที่ถูกต้องและเหมาะสม” คอยควบคุมตรวจสอบมิให้ผู้ใช้อำนาจรัฐละเมิดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอันเป็นการส่งผลให้เป็นการกระทบต่อการปกครองประเทศในองค์รวม รัฐธรรมนูญต้องได้รับความเคารพนับถือมาอย่างยาวนานเป็น “สัญญาประชาคม”
คำถามก็คือว่าการยอมรับจากสาธารณชนของทั้งสองคืออะไร คือ การยอมรับจากคนไทยทุกคนหรือการยอมรับจากเสียงข้างมากตามระบอบประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มาจากประชามติได้รับการยอมรับจากเสียงข้างมากหรือไม่ ถ้านักการเมืองไม่เคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญปัญหามันอยู่ที่รัฐธรรมนูญหรืออยู่ที่นักการเมือง
นักวิชาการทั้งสองคนอ้างว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงพึงระลึกอยู่เสมอว่าเราต้องทำให้รัฐธรรมนูญเป็น “กติการ่วมกันของประชาชน” ให้ได้
ผมถามว่า แล้ววิธีการทำให้เป็น “กติการ่วม” คืออะไร การทำ “ประชามติ” เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เป็นกติการ่วมหรือไม่ เพราะดูเหมือนว่า ฝ่ายที่เรียกร้องไม่พยายามพูดเลยว่ารัฐธรรมนูญ 2550 เป็นฉบับเดียวที่มาจากประชามติของประชาชนทั้งประเทศนอกจากอ้างว่ามาจากรัฐประหาร
นักวิชาการทั้งสองอ้างว่า ที่ต้องเขียนบทความชิ้นนี้เพราะสิ่งที่ฝ่ายคัดค้านไม่เคยตอบคือ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยหรือไม่ ทั้งในแง่ที่มา เนื้อหา และกระบวนการรับรอง เอาแต่โฆษณาป่าวร้องท่าเดียวว่า ไม่ควรจะแก้
ผมคิดว่าทั้งสองคนพยายามหาเหตุผลมาโต้แย้งฝ่ายคัดค้านให้มากกว่าที่ป่าวร้องว่าเพราะรัฐธรรมนูญนี้มาจากการรัฐประหาร แต่สุดท้ายอ่านไปอ่านมาก็วนเวียนอยู่แค่นั้น
ผมพยายามอ่านนะครับว่า นักวิชาการทั้งสองพยายามชี้ให้เห็นข้อด้อยของรัฐธรรมนูญ 2550 ในเชิงเนื้อหา หรืออย่างน้อยเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญ 2540 อย่างไร เพื่อจะโน้มน้าวผมได้บ้าง แต่ปรากฏว่าไม่มีเลยครับ วนเวียนอยู่แต่เรื่องที่ป่าวร้องว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีที่มาจากรัฐประหาร
บอกตรงๆ ว่า มองไม่เห็นเหตุผลตรรกะและความชอบธรรมจากการสนับสนุนให้แก้รัฐธรรมนูญจากนักวิชาการทั้งสองเลย นอกจากเห็นความพยายามทำตนเป็น “เนติไพร่” ของระบอบทักษิณเท่านั้นเอง