ลูกศิษย์... ผู้ยอมจำนน
อาจารย์เกษียร เล่าให้เพื่อนๆ ฟังว่า ผมเป็นลูกศิษย์ James Petras ผมคงไม่ปฏิเสธว่า ผมทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกโดยมีอาจารย์ Petras เป็นที่ปรึกษาหลัก
สาเหตุที่ผมขอให้อาจารย์เป็นที่ปรึกษาหลัก เพราะท่านเป็นอาจารย์ที่เชี่ยวชาญการเมืองในละตินและการเมืองอเมริกาอย่างมากๆ จนท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก
ส่วนท่านอาจารย์ Wallerstien ท่านชอบสร้างภาพ “รัฐ” แบบหลวมๆ อย่างมากๆ เพราะท่านกลัวว่า ทฤษฎี หรือ กรอบคิด ที่แข็งเกินไป จะไปจำกัดการคิดวิเคราะห์อย่างเช่น เวลาที่ท่านพูดถึง “รัฐศูนย์กลาง” ท่านก็จะใช้หลักง่ายๆ ว่าเป็น “รัฐที่เข้มแข็ง” เท่านั้น ส่วน “รัฐชายขอบ” คือ “รัฐที่อ่อนแอ”
ส่วนอาจารย์ James Petras คิดว่า ต้องวางกรอบแนวคิดให้ชัดเจน ท่านจึงเสนองานเรื่อง “รัฐจักรวรรดินิยม” ขึ้น อย่างลงรายละเอียดค่อนข้างมาก และท่านพยายามเสนอว่า รัฐจักรวรรดิดังกล่าวมีอำนาจครอบงำประเทศในโลกที่สามได้อย่างไร โดยเฉพาะที่ละตินอเมริกา
ผมเองเชื่อว่า ระบบโลกมีระบบเครือข่ายอำนาจรัฐ หรือ Empire ซึ่งสามารถเชื่อมรัฐจักรวรรดิและรัฐชายขอบเข้าเป็นหนึ่งเดียว
ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ Petras มาก และคิดว่า น่าจะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “รัฐทุนนิยมชายขอบ”
แต่พอถึงช่วงจะเขียนวิทยานิพนธ์ ผมเริ่มเปลี่ยนใจ
ผมไปเจออาจารย์ Petras และบอกอาจารย์ว่า เดิมที ผมจะสร้างทฤษฎีว่าด้วยรัฐชายขอบ ซึ่งคงคล้ายๆ กับแนวคิดของอาจารย์ โดยใช้ประเทศไทยเป็นแบบ
แต่ต่อมา หลังจากผมศึกษาทฤษฎีต่างๆ ว่าด้วย “รัฐ” ในโลกตะวันตกแล้ว ผมพบว่า ทฤษฎีว่าด้วยรัฐศูนย์กลางมีข้ออ่อนมาก ผมจึงสนใจคิดสร้างทฤษฎีว่าด้วย “Empire” ขึ้นมาใหม่
อาจารย์ Petras แนะว่า
ผมควรจะทำเรื่อง “รัฐชายขอบ” เพราะถ้าผมทำทฤษฎีว่าด้วยรัฐศูนย์กลาง หรือ Empire ผมต้องใช้เวลาทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 10 ปี แต่ถ้าทำเรื่องรัฐชายขอบ ผมคงใช้เวลาอีกสัก 3 ถึง 4 ปี
ผมแย้งอาจารย์ว่า
“ถ้าเรายังไม่สามารถทำภาพ รัฐที่ศูนย์กลาง ให้ชัดเจน แล้วจะสร้างภาพ รัฐชายขอบ ได้อย่างไร”
อาจารย์บอกให้ผมลองไปคิดดู
อีก 10 ปี ค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก อีกเท่าไหร่ ผมคิด... แล้วก็จนมุม
สาเหตุที่ต้องใช้เวลาอีก 10 ปี ก็เพราะว่าพื้นที่ในการศึกษาเรื่องรัฐแบบ Empire ต้องกว้างมาก และช่วงเวลาศึกษาทางประวัติศาสตร์ก็ต้องยาวมากเช่นกัน
แต่ถึงอย่างไร ผมก็อยากจะศึกษาเรื่องนี้มาก เพราะผมอยากจะพิสูจน์ว่า นักวิชาการโลกที่สามอย่างผม ก็สามารถคิดในระดับทฤษฎี หรือสามารถสร้างทฤษฎีของตัวเองได้
ผมก็...โชคดีอย่างมาก เพราะในช่วงก่อนที่ผมจะทำวิทยานิพนธ์ ผมล้มป่วยหนักมาก เป็น...ตาย เท่ากัน
ไม่รู้จะรักษาตัวเองอย่างไร ผมฝึกนั่งสมาธิเพื่อสงบจิตใจ
การนั่งสมาธิ ช่วยทำให้ผมตระหนักรู้ว่า สาเหตุหลักที่ผมล้มป่วยหนักครั้งนี้ มีรากกำเนิดจาก “ใจ” ของผมเอง ผมเป็นคนที่อหังการมาก จึง “หลง” จมเข้าไปอยู่ในโลกของสงคราม
ผมใช้ชีวิตอยู่ในโลกของสงครามตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลา สืบทอดมาจนถึง 6 ตุลา ในช่วงแรก ผมต้องต่อสู้ทำสงครามล้มรัฐทหาร และต่อมายังต้องหันไปทำสงครามสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ตอนที่ผมเรียนอยู่อเมริกา ผมมีเพื่อนๆ นักศึกษาที่มาจากประเทศโลกที่สาม หลายคนคิดคล้ายๆ กับผม โดยเฉพาะเพื่อนๆ ชาวเกาหลี
เพื่อนชาวเกาหลี ไม่มีใครสักคนที่เรียนจบปริญญาเอก เพราะคนเหล่านี้ล้วนคิดอย่างเป็นตัวของตัวเองมาก
ผมบอกเพื่อนๆ ชาวเกาหลีว่า
ผมเรียนจบ...เพราะผมยอมจำนน ยอมใช้ทฤษฎีของอาจารย์เป็นหลัก
ผมกล่าวกับเพื่อนๆ ทำนองว่า
ที่จริงแล้ว ผมอยากจะสร้างทฤษฎีของตัวเองขึ้นมาบ้าง แต่ในที่สุด ผมก็เปลี่ยนใจ เพราะวันหนึ่ง มีเพื่อนชาวอเมริกันคนหนึ่งท่านชอบเล่นปิงปองกับผม ท่านมีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่น และได้ถ่ายรูปปั้นพระพุทธเจ้าที่ท่านพบมา มอบให้กับผม
ผมจบปริญญาเอกเพราะภาพพระพุทธเจ้าองค์นี้ ซึ่งเป็นภาพของพระพุทธเจ้าผู้นั่งอยู่บนฐานดอกบัว นั่งพนมมือไหว้สิ่งต่างๆ
ภาพนี้เอง ทำให้ผมคิดขึ้นได้ว่า
การเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่ใช่เพื่อหาความรู้ หรือสร้างทฤษฎีใหม่ๆ แต่ต้องเรียนเพื่อ “พบ” และทำลายความ “อหังการ” ของตัวเอง
ภาพนี้ทำให้ผมระลึกถึงคำสอนของท่านพุทธทาส ที่ท่านสอนเสมอว่า “เราต้องตาย ก่อนจะตาย”
หลังจบรับปริญญา ผมยังจำได้ เพื่อนรักชาวเกาหลีคนหนึ่งกล่าวกับผมทำนองว่า
คนโลกที่สาม อย่างคุณ หรือ ผม ไม่มี “ฐานะ” หรือ “สิทธิ์” ที่จะคิดงานระดับสร้างทฤษฎีของตัวเอง และถึงคิดได้ ก็ไม่มีใครสนใจหรอก เพราะบรรดาทฤษฎีที่จะได้รับ “การยอมรับ” ต้องผลิตโดยนักวิชาการตะวันตกที่มีชื่อเสียง
อะไรคือ อำนาจอย่างอ่อนๆ
ดังที่ผมกล่าวมาแล้วว่า ผมคิดว่าระบบจักรวรรดิอเมริกามีอำนาจ 2 อำนาจประกอบกัน คือ อำนาจแข็ง (Hard Power) กับอำนาจอ่อน (Soft Power) เรื่องอำนาจแข็งนั้น ผมคิดว่าเราเข้าใจได้ง่ายกว่าอำนาจอย่างอ่อนๆ
แต่พลังอำนาจอย่างอ่อนๆ (Soft Power) มีพลังแทรกซึมมาก อย่างเช่น สื่อตะวันตก หรือทฤษฎีต่างๆ ที่ผลิตจากมหาวิทยาลัยซึ่งเป็น “แหล่งทฤษฎีตะวันตก” จะถูกมองในมิติค่อนข้างดี และเชิงบวก
สาเหตุหนึ่งเพราะคนไทยทั่วไปมักคิดว่า สิ่งที่สื่อตะวันตกผลิต (ความรู้ หรือ ข่าวสาร) เป็นทั้ง “ความรู้” และ “ความจริง”
ยิ่งบรรดาทฤษฎีตะวันตกได้อ้างว่า “เป็นวิทยาศาสตร์” ด้วยแล้ว ผู้คนจำนวนหนึ่งในโลกที่สามก็ยึดติดหรือหลงใหลว่า “จริงแท้” และ “แน่นอน”
เพื่อนของผมจำนวนหนึ่ง หรือชาวคอมฯ เก่าๆ ยังคงหลงใหลและศรัทธาลัทธิมาร์กซ์ และเหมา อย่างสุดๆ เพราะเชื่อว่า ลัทธิทั้งสองคือ “สัจธรรม” หรือ “เป็นวิทยาศาสตร์”
ความเชื่อเหล่านี้ได้ฝังราก จนกลายเป็นอุดมการณ์ของชีวิต บางคนยอมตายเพื่อการปฏิวัติสังคมนิยม หรือเพื่อสร้างสังคมคอมมิวนิสต์
ยิ่ง...ความเชื่อบางประการ...ก็ผ่านอิทธิพลหรือสิ่งที่เรียกว่า “การโฆษณาชวนเชื่อ” ที่ถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกลายเป็น “ความจริง” ที่ฝังลึกในจิตใต้สำนึก
ไม่ต่างจากการโฆษณาเรื่อง เป๊ปซี่ดีที่สุด เวลาเราไปสั่งอาหาร โดยอัตโนมัติ ก็ต้องสั่งแป๊ปซี่ก่อน
บางครั้งการโฆษณาสามารถก่อรูป “ความเกลียดชัง” อย่างฝังรากลึก อย่างเช่น คนบางคนเกลียดๆๆๆๆ สถาบันฯ เพราะล้าหลัง และอำนาจนิยม
อย่างเช่น ถ้าจะคิดว่า “อะไรคือ ประชาธิปไตย” เราก็จะพูดโดยไม่คิด ว่าคือ “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน”
เราเกือบไม่ต้องคิด เพราะความเข้าใจนี้ฝังรากอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา
ผู้คนทั่วโลก ทั้งโลกตะวันตกและในโลกตะวันออก ล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจของ Soft Powerไม่ต่างกัน
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเราคิด “ถึง” โลกตะวันตก เราก็เชื่อว่า เจริญ ก้าวหน้า และเป็นประชาธิปไตย หากคิด “ถึง” โลกตะวันออก เรามักจะใช้คำว่า ล้าหลัง และอำนาจนิยม
วันหนึ่ง ผมได้อ่านจดหมายจากอธิการบดี...ถึงอธิการบดี ของอาจารย์ชาญวิทย์ โดยไม่ตั้งใจ ผมพบคำว่า “ล้าหลัง และอำนาจนิยม” และใช้คำว่า “ประชาธิปไตย คือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” ผมจึงยกเอาคำเขียนของท่านมาพูดถึง
ผมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ที่กล้าบังอาจกล่าวถึงท่าน
ที่จริงแล้ว ผมเคารพอาจารย์เสมอ
อาจารย์อาจจะเชื่อเช่นนั้นจริงๆ หรือไม่ก็ได้ แต่ผมเองไม่ห่วงว่า อาจารย์จะคิดหรือจะเชื่อ เช่นไร เพราะอาจารย์ท่านฉลาดมาก ท่านอาจจะเพียงใช้ถ้อยคำเหล่านี้มาช่วยเสริมแต่งเหตุผลที่ท่านเสนอให้ดูดี เท่านั้น
แต่ผมกลับเป็นห่วง Soft Power จากโลกตะวันตกแบบนี้ เพราะปัจจุบัน ความเชื่อดังกล่าวถูกใช้ “ปลุกปั่น” ให้นักศึกษาในโลกตะวันออก ลุกขึ้นมาปฏิวัติ ล้มล้างสถาบันอำนาจต่างๆ ในโลกตะวันออก ที่ถือว่าล้าหลัง และอำนาจนิยม
ระบบการเมืองในเอเชียเกือบทั้งหมด ไม่ว่า จีน อาหรับ จะถูกตีตราจากโลกตะวันตกว่า “ล้าหลัง และอำนาจนิยม” และ “ไม่เป็นประชาธิปไตย”
ประชาธิปไตยแบบตะวันตกเท่านั้น คือ “ทางออก” ของสังคม
ในอดีต ได้เกิดเหตุการณ์ “การลุกขึ้นสู้ปฏิวัติประชาธิปไตย” ที่ประเทศจีน จนนำสู่การปราบใหญ่ นองเลือดกลางจัตุรัสเทียนอันเหมิน
ผู้คนล้มตายไปจำนวนมาก
วันนี้ มีการลุกขึ้นสู้ ที่เรียกว่า “อาหรับสปริง” โค่นล้มอำนาจเผด็จการ ในประเทศต่างๆ ผู้คนต้องล้มตายมากมาย เช่นกัน
ผมคิดว่า ทั้ง 2 เหตุการณ์ เป็นผลผลิตจาก “ความเชื่อชุดนี้” เช่นกัน
ตะวันออก คือ ล้าหลัง และอำนาจนิยม
ตะวันตก คือ ประชาธิปไตย และเจริญก้าวหน้า
แต่ที่น่าสังเกตคือ “คลื่นปฏิวัติประชาธิปไตย” ที่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน และโลกอาหรับ ไม่ได้จบลงด้วยการได้มาซึ่งประชาธิปไตยอย่างที่นึกฝัน แต่จบลงด้วยวิกฤตใหญ่แบบต่อเนื่อง และสงครามกลางเมือง
เรามักจะมอง “การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” ในแง่เดียว คือ “ดี” เท่านั้น
หากเราศึกษาประวัติศาสตร์โลกที่สาม จะพบว่า หลายประเทศ อย่างเช่น เฮติ พม่า บางประเทศในโลกอาหรับ และแอฟริกา ที่พยายามล้ม “เผด็จการ” แทนที่จะได้ “ประชาธิปไตย” แต่กลับต้องจมอยู่กับ “สงครามกลางเมือง” บางแห่งเกิดสภาวะสงครามที่ต่อเนื่อง บางครั้งยาวเป็นสิบๆ ปี
ผมคิดว่า สภาวการณ์ดังกล่าว เปิดเงื่อนไขให้บรรดาจักรวรรดิมหาอำนาจตะวันตกแสวงหาผลประโยชน์จากสภาวะสงครามเหล่านี้
นี่คืออำนาจที่มองไม่เห็นของ Soft Power
ที่กล่าวข้างต้น ก็ไม่ได้หมายความว่า ผมชอบเผด็จการ แต่ผมคิดว่า การเคลื่อนไหวประชาธิปไตย ต้องระวัง “ผลลัพธ์” ที่จะติดตามมาด้วย
ในกรณีประเทศไทย ผมกลับไม่กังวลเรื่องอำนาจของ Soft Power ของฝ่ายที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยมากนัก เพราะปัจจุบันบ้านเมืองไทยก็อยู่ในระบอบการเลือกตั้ง หรือประชาธิปไตยตามความเข้าใจของนักวิชาการในโลกตะวันตก ดังนั้น ผมจึงไม่กังวลมากนักที่มีนักวิชาการจำนวนหนึ่งมาเคลื่อนไหว ขอแก้กฎหมาย ม. 112
แต่ที่ผมกังวลกว่าก็คือ หากฝ่ายที่เรียกตัวเองว่า “พลังประชาธิปไตย” เคลื่อนไหวขอแก้กฎหมาย ม. 112 อีกฝ่ายหนึ่ง คือ “ฝ่ายเสื้อแดง” ก็ต้องออกมาสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง เพราะมีคนของฝ่ายเสื้อแดงเองถูกจับติดคุกเนื่องจากกฎหมายข้อนี้
ผมจึงต้องยอม “เสียคน” เมื่อแก่...อีกครั้งหนึ่ง เพื่อขวางการเคลื่อนไหวดังกล่าว
ผมไม่ได้เห็นว่า กฎหมายดังกล่าวแก้ไม่ได้ แต่ห่วงว่า ถ้าพลังเสื้อแดงเคลื่อนกำลังหนุนฝ่ายประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ การเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้น และเลือดก็จะนองแผ่นดินอีกครั้ง
ผมเองเชื่อว่า ท่านอาจารย์ชาญวิทย์ และอาจารย์วรเจตน์ เป็นคนดี มีจิตใจที่รักประชาธิปไตย แต่ผมขอยืนอยู่ฝ่ายตรงกันข้าม เพราะผมเชื่อว่า การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในโลกปัจจุบันมักจะมีจุดจบที่น่าสะพรึงกลัวมากๆ
สมมติว่า พลังเสื้อแดงเคลื่อนเข้าสมทบกับพลังบรรดาอาจารย์ที่รักประชาธิปไตย การเผชิญหน้าระหว่างประชาชนแดงเหลือง ก็จะเกิดขึ้นอีก
ถ้าเกิดการปะทะ และการ “ฆ่า” กัน จุดจบของการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยก็คือ รัฐประหาร
ที่สำคัญ ฝ่ายแดงยังยึดมั่นในทฤษฎีฝ่ายซ้ายซึ่งมาจากโลกตะวันตกเหมือนกัน แต่ยังคงเชื่อเรื่อง “การปฏิวัติที่รุนแรง” เพราะทฤษฎีพื้นฐานของฝ่ายนี้จะเชื่อว่า “สถาบันในอดีต ไม่เพียงแต่ล้าหลัง อำนาจนิยม” เท่านั้น ยังถือว่า “ชั่วร้าย และขัดขวางการพัฒนาการ” จึงต้องถูกทำลาย หรือโค่นล้ม (ยังมีต่อ)
อาจารย์เกษียร เล่าให้เพื่อนๆ ฟังว่า ผมเป็นลูกศิษย์ James Petras ผมคงไม่ปฏิเสธว่า ผมทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกโดยมีอาจารย์ Petras เป็นที่ปรึกษาหลัก
สาเหตุที่ผมขอให้อาจารย์เป็นที่ปรึกษาหลัก เพราะท่านเป็นอาจารย์ที่เชี่ยวชาญการเมืองในละตินและการเมืองอเมริกาอย่างมากๆ จนท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก
ส่วนท่านอาจารย์ Wallerstien ท่านชอบสร้างภาพ “รัฐ” แบบหลวมๆ อย่างมากๆ เพราะท่านกลัวว่า ทฤษฎี หรือ กรอบคิด ที่แข็งเกินไป จะไปจำกัดการคิดวิเคราะห์อย่างเช่น เวลาที่ท่านพูดถึง “รัฐศูนย์กลาง” ท่านก็จะใช้หลักง่ายๆ ว่าเป็น “รัฐที่เข้มแข็ง” เท่านั้น ส่วน “รัฐชายขอบ” คือ “รัฐที่อ่อนแอ”
ส่วนอาจารย์ James Petras คิดว่า ต้องวางกรอบแนวคิดให้ชัดเจน ท่านจึงเสนองานเรื่อง “รัฐจักรวรรดินิยม” ขึ้น อย่างลงรายละเอียดค่อนข้างมาก และท่านพยายามเสนอว่า รัฐจักรวรรดิดังกล่าวมีอำนาจครอบงำประเทศในโลกที่สามได้อย่างไร โดยเฉพาะที่ละตินอเมริกา
ผมเองเชื่อว่า ระบบโลกมีระบบเครือข่ายอำนาจรัฐ หรือ Empire ซึ่งสามารถเชื่อมรัฐจักรวรรดิและรัฐชายขอบเข้าเป็นหนึ่งเดียว
ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ Petras มาก และคิดว่า น่าจะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “รัฐทุนนิยมชายขอบ”
แต่พอถึงช่วงจะเขียนวิทยานิพนธ์ ผมเริ่มเปลี่ยนใจ
ผมไปเจออาจารย์ Petras และบอกอาจารย์ว่า เดิมที ผมจะสร้างทฤษฎีว่าด้วยรัฐชายขอบ ซึ่งคงคล้ายๆ กับแนวคิดของอาจารย์ โดยใช้ประเทศไทยเป็นแบบ
แต่ต่อมา หลังจากผมศึกษาทฤษฎีต่างๆ ว่าด้วย “รัฐ” ในโลกตะวันตกแล้ว ผมพบว่า ทฤษฎีว่าด้วยรัฐศูนย์กลางมีข้ออ่อนมาก ผมจึงสนใจคิดสร้างทฤษฎีว่าด้วย “Empire” ขึ้นมาใหม่
อาจารย์ Petras แนะว่า
ผมควรจะทำเรื่อง “รัฐชายขอบ” เพราะถ้าผมทำทฤษฎีว่าด้วยรัฐศูนย์กลาง หรือ Empire ผมต้องใช้เวลาทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 10 ปี แต่ถ้าทำเรื่องรัฐชายขอบ ผมคงใช้เวลาอีกสัก 3 ถึง 4 ปี
ผมแย้งอาจารย์ว่า
“ถ้าเรายังไม่สามารถทำภาพ รัฐที่ศูนย์กลาง ให้ชัดเจน แล้วจะสร้างภาพ รัฐชายขอบ ได้อย่างไร”
อาจารย์บอกให้ผมลองไปคิดดู
อีก 10 ปี ค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก อีกเท่าไหร่ ผมคิด... แล้วก็จนมุม
สาเหตุที่ต้องใช้เวลาอีก 10 ปี ก็เพราะว่าพื้นที่ในการศึกษาเรื่องรัฐแบบ Empire ต้องกว้างมาก และช่วงเวลาศึกษาทางประวัติศาสตร์ก็ต้องยาวมากเช่นกัน
แต่ถึงอย่างไร ผมก็อยากจะศึกษาเรื่องนี้มาก เพราะผมอยากจะพิสูจน์ว่า นักวิชาการโลกที่สามอย่างผม ก็สามารถคิดในระดับทฤษฎี หรือสามารถสร้างทฤษฎีของตัวเองได้
ผมก็...โชคดีอย่างมาก เพราะในช่วงก่อนที่ผมจะทำวิทยานิพนธ์ ผมล้มป่วยหนักมาก เป็น...ตาย เท่ากัน
ไม่รู้จะรักษาตัวเองอย่างไร ผมฝึกนั่งสมาธิเพื่อสงบจิตใจ
การนั่งสมาธิ ช่วยทำให้ผมตระหนักรู้ว่า สาเหตุหลักที่ผมล้มป่วยหนักครั้งนี้ มีรากกำเนิดจาก “ใจ” ของผมเอง ผมเป็นคนที่อหังการมาก จึง “หลง” จมเข้าไปอยู่ในโลกของสงคราม
ผมใช้ชีวิตอยู่ในโลกของสงครามตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลา สืบทอดมาจนถึง 6 ตุลา ในช่วงแรก ผมต้องต่อสู้ทำสงครามล้มรัฐทหาร และต่อมายังต้องหันไปทำสงครามสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ตอนที่ผมเรียนอยู่อเมริกา ผมมีเพื่อนๆ นักศึกษาที่มาจากประเทศโลกที่สาม หลายคนคิดคล้ายๆ กับผม โดยเฉพาะเพื่อนๆ ชาวเกาหลี
เพื่อนชาวเกาหลี ไม่มีใครสักคนที่เรียนจบปริญญาเอก เพราะคนเหล่านี้ล้วนคิดอย่างเป็นตัวของตัวเองมาก
ผมบอกเพื่อนๆ ชาวเกาหลีว่า
ผมเรียนจบ...เพราะผมยอมจำนน ยอมใช้ทฤษฎีของอาจารย์เป็นหลัก
ผมกล่าวกับเพื่อนๆ ทำนองว่า
ที่จริงแล้ว ผมอยากจะสร้างทฤษฎีของตัวเองขึ้นมาบ้าง แต่ในที่สุด ผมก็เปลี่ยนใจ เพราะวันหนึ่ง มีเพื่อนชาวอเมริกันคนหนึ่งท่านชอบเล่นปิงปองกับผม ท่านมีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่น และได้ถ่ายรูปปั้นพระพุทธเจ้าที่ท่านพบมา มอบให้กับผม
ผมจบปริญญาเอกเพราะภาพพระพุทธเจ้าองค์นี้ ซึ่งเป็นภาพของพระพุทธเจ้าผู้นั่งอยู่บนฐานดอกบัว นั่งพนมมือไหว้สิ่งต่างๆ
ภาพนี้เอง ทำให้ผมคิดขึ้นได้ว่า
การเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่ใช่เพื่อหาความรู้ หรือสร้างทฤษฎีใหม่ๆ แต่ต้องเรียนเพื่อ “พบ” และทำลายความ “อหังการ” ของตัวเอง
ภาพนี้ทำให้ผมระลึกถึงคำสอนของท่านพุทธทาส ที่ท่านสอนเสมอว่า “เราต้องตาย ก่อนจะตาย”
หลังจบรับปริญญา ผมยังจำได้ เพื่อนรักชาวเกาหลีคนหนึ่งกล่าวกับผมทำนองว่า
คนโลกที่สาม อย่างคุณ หรือ ผม ไม่มี “ฐานะ” หรือ “สิทธิ์” ที่จะคิดงานระดับสร้างทฤษฎีของตัวเอง และถึงคิดได้ ก็ไม่มีใครสนใจหรอก เพราะบรรดาทฤษฎีที่จะได้รับ “การยอมรับ” ต้องผลิตโดยนักวิชาการตะวันตกที่มีชื่อเสียง
อะไรคือ อำนาจอย่างอ่อนๆ
ดังที่ผมกล่าวมาแล้วว่า ผมคิดว่าระบบจักรวรรดิอเมริกามีอำนาจ 2 อำนาจประกอบกัน คือ อำนาจแข็ง (Hard Power) กับอำนาจอ่อน (Soft Power) เรื่องอำนาจแข็งนั้น ผมคิดว่าเราเข้าใจได้ง่ายกว่าอำนาจอย่างอ่อนๆ
แต่พลังอำนาจอย่างอ่อนๆ (Soft Power) มีพลังแทรกซึมมาก อย่างเช่น สื่อตะวันตก หรือทฤษฎีต่างๆ ที่ผลิตจากมหาวิทยาลัยซึ่งเป็น “แหล่งทฤษฎีตะวันตก” จะถูกมองในมิติค่อนข้างดี และเชิงบวก
สาเหตุหนึ่งเพราะคนไทยทั่วไปมักคิดว่า สิ่งที่สื่อตะวันตกผลิต (ความรู้ หรือ ข่าวสาร) เป็นทั้ง “ความรู้” และ “ความจริง”
ยิ่งบรรดาทฤษฎีตะวันตกได้อ้างว่า “เป็นวิทยาศาสตร์” ด้วยแล้ว ผู้คนจำนวนหนึ่งในโลกที่สามก็ยึดติดหรือหลงใหลว่า “จริงแท้” และ “แน่นอน”
เพื่อนของผมจำนวนหนึ่ง หรือชาวคอมฯ เก่าๆ ยังคงหลงใหลและศรัทธาลัทธิมาร์กซ์ และเหมา อย่างสุดๆ เพราะเชื่อว่า ลัทธิทั้งสองคือ “สัจธรรม” หรือ “เป็นวิทยาศาสตร์”
ความเชื่อเหล่านี้ได้ฝังราก จนกลายเป็นอุดมการณ์ของชีวิต บางคนยอมตายเพื่อการปฏิวัติสังคมนิยม หรือเพื่อสร้างสังคมคอมมิวนิสต์
ยิ่ง...ความเชื่อบางประการ...ก็ผ่านอิทธิพลหรือสิ่งที่เรียกว่า “การโฆษณาชวนเชื่อ” ที่ถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกลายเป็น “ความจริง” ที่ฝังลึกในจิตใต้สำนึก
ไม่ต่างจากการโฆษณาเรื่อง เป๊ปซี่ดีที่สุด เวลาเราไปสั่งอาหาร โดยอัตโนมัติ ก็ต้องสั่งแป๊ปซี่ก่อน
บางครั้งการโฆษณาสามารถก่อรูป “ความเกลียดชัง” อย่างฝังรากลึก อย่างเช่น คนบางคนเกลียดๆๆๆๆ สถาบันฯ เพราะล้าหลัง และอำนาจนิยม
อย่างเช่น ถ้าจะคิดว่า “อะไรคือ ประชาธิปไตย” เราก็จะพูดโดยไม่คิด ว่าคือ “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน”
เราเกือบไม่ต้องคิด เพราะความเข้าใจนี้ฝังรากอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา
ผู้คนทั่วโลก ทั้งโลกตะวันตกและในโลกตะวันออก ล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจของ Soft Powerไม่ต่างกัน
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเราคิด “ถึง” โลกตะวันตก เราก็เชื่อว่า เจริญ ก้าวหน้า และเป็นประชาธิปไตย หากคิด “ถึง” โลกตะวันออก เรามักจะใช้คำว่า ล้าหลัง และอำนาจนิยม
วันหนึ่ง ผมได้อ่านจดหมายจากอธิการบดี...ถึงอธิการบดี ของอาจารย์ชาญวิทย์ โดยไม่ตั้งใจ ผมพบคำว่า “ล้าหลัง และอำนาจนิยม” และใช้คำว่า “ประชาธิปไตย คือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” ผมจึงยกเอาคำเขียนของท่านมาพูดถึง
ผมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ที่กล้าบังอาจกล่าวถึงท่าน
ที่จริงแล้ว ผมเคารพอาจารย์เสมอ
อาจารย์อาจจะเชื่อเช่นนั้นจริงๆ หรือไม่ก็ได้ แต่ผมเองไม่ห่วงว่า อาจารย์จะคิดหรือจะเชื่อ เช่นไร เพราะอาจารย์ท่านฉลาดมาก ท่านอาจจะเพียงใช้ถ้อยคำเหล่านี้มาช่วยเสริมแต่งเหตุผลที่ท่านเสนอให้ดูดี เท่านั้น
แต่ผมกลับเป็นห่วง Soft Power จากโลกตะวันตกแบบนี้ เพราะปัจจุบัน ความเชื่อดังกล่าวถูกใช้ “ปลุกปั่น” ให้นักศึกษาในโลกตะวันออก ลุกขึ้นมาปฏิวัติ ล้มล้างสถาบันอำนาจต่างๆ ในโลกตะวันออก ที่ถือว่าล้าหลัง และอำนาจนิยม
ระบบการเมืองในเอเชียเกือบทั้งหมด ไม่ว่า จีน อาหรับ จะถูกตีตราจากโลกตะวันตกว่า “ล้าหลัง และอำนาจนิยม” และ “ไม่เป็นประชาธิปไตย”
ประชาธิปไตยแบบตะวันตกเท่านั้น คือ “ทางออก” ของสังคม
ในอดีต ได้เกิดเหตุการณ์ “การลุกขึ้นสู้ปฏิวัติประชาธิปไตย” ที่ประเทศจีน จนนำสู่การปราบใหญ่ นองเลือดกลางจัตุรัสเทียนอันเหมิน
ผู้คนล้มตายไปจำนวนมาก
วันนี้ มีการลุกขึ้นสู้ ที่เรียกว่า “อาหรับสปริง” โค่นล้มอำนาจเผด็จการ ในประเทศต่างๆ ผู้คนต้องล้มตายมากมาย เช่นกัน
ผมคิดว่า ทั้ง 2 เหตุการณ์ เป็นผลผลิตจาก “ความเชื่อชุดนี้” เช่นกัน
ตะวันออก คือ ล้าหลัง และอำนาจนิยม
ตะวันตก คือ ประชาธิปไตย และเจริญก้าวหน้า
แต่ที่น่าสังเกตคือ “คลื่นปฏิวัติประชาธิปไตย” ที่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน และโลกอาหรับ ไม่ได้จบลงด้วยการได้มาซึ่งประชาธิปไตยอย่างที่นึกฝัน แต่จบลงด้วยวิกฤตใหญ่แบบต่อเนื่อง และสงครามกลางเมือง
เรามักจะมอง “การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” ในแง่เดียว คือ “ดี” เท่านั้น
หากเราศึกษาประวัติศาสตร์โลกที่สาม จะพบว่า หลายประเทศ อย่างเช่น เฮติ พม่า บางประเทศในโลกอาหรับ และแอฟริกา ที่พยายามล้ม “เผด็จการ” แทนที่จะได้ “ประชาธิปไตย” แต่กลับต้องจมอยู่กับ “สงครามกลางเมือง” บางแห่งเกิดสภาวะสงครามที่ต่อเนื่อง บางครั้งยาวเป็นสิบๆ ปี
ผมคิดว่า สภาวการณ์ดังกล่าว เปิดเงื่อนไขให้บรรดาจักรวรรดิมหาอำนาจตะวันตกแสวงหาผลประโยชน์จากสภาวะสงครามเหล่านี้
นี่คืออำนาจที่มองไม่เห็นของ Soft Power
ที่กล่าวข้างต้น ก็ไม่ได้หมายความว่า ผมชอบเผด็จการ แต่ผมคิดว่า การเคลื่อนไหวประชาธิปไตย ต้องระวัง “ผลลัพธ์” ที่จะติดตามมาด้วย
ในกรณีประเทศไทย ผมกลับไม่กังวลเรื่องอำนาจของ Soft Power ของฝ่ายที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยมากนัก เพราะปัจจุบันบ้านเมืองไทยก็อยู่ในระบอบการเลือกตั้ง หรือประชาธิปไตยตามความเข้าใจของนักวิชาการในโลกตะวันตก ดังนั้น ผมจึงไม่กังวลมากนักที่มีนักวิชาการจำนวนหนึ่งมาเคลื่อนไหว ขอแก้กฎหมาย ม. 112
แต่ที่ผมกังวลกว่าก็คือ หากฝ่ายที่เรียกตัวเองว่า “พลังประชาธิปไตย” เคลื่อนไหวขอแก้กฎหมาย ม. 112 อีกฝ่ายหนึ่ง คือ “ฝ่ายเสื้อแดง” ก็ต้องออกมาสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง เพราะมีคนของฝ่ายเสื้อแดงเองถูกจับติดคุกเนื่องจากกฎหมายข้อนี้
ผมจึงต้องยอม “เสียคน” เมื่อแก่...อีกครั้งหนึ่ง เพื่อขวางการเคลื่อนไหวดังกล่าว
ผมไม่ได้เห็นว่า กฎหมายดังกล่าวแก้ไม่ได้ แต่ห่วงว่า ถ้าพลังเสื้อแดงเคลื่อนกำลังหนุนฝ่ายประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ การเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้น และเลือดก็จะนองแผ่นดินอีกครั้ง
ผมเองเชื่อว่า ท่านอาจารย์ชาญวิทย์ และอาจารย์วรเจตน์ เป็นคนดี มีจิตใจที่รักประชาธิปไตย แต่ผมขอยืนอยู่ฝ่ายตรงกันข้าม เพราะผมเชื่อว่า การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในโลกปัจจุบันมักจะมีจุดจบที่น่าสะพรึงกลัวมากๆ
สมมติว่า พลังเสื้อแดงเคลื่อนเข้าสมทบกับพลังบรรดาอาจารย์ที่รักประชาธิปไตย การเผชิญหน้าระหว่างประชาชนแดงเหลือง ก็จะเกิดขึ้นอีก
ถ้าเกิดการปะทะ และการ “ฆ่า” กัน จุดจบของการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยก็คือ รัฐประหาร
ที่สำคัญ ฝ่ายแดงยังยึดมั่นในทฤษฎีฝ่ายซ้ายซึ่งมาจากโลกตะวันตกเหมือนกัน แต่ยังคงเชื่อเรื่อง “การปฏิวัติที่รุนแรง” เพราะทฤษฎีพื้นฐานของฝ่ายนี้จะเชื่อว่า “สถาบันในอดีต ไม่เพียงแต่ล้าหลัง อำนาจนิยม” เท่านั้น ยังถือว่า “ชั่วร้าย และขัดขวางการพัฒนาการ” จึงต้องถูกทำลาย หรือโค่นล้ม (ยังมีต่อ)