อะไรคือ จักรวรรดิอเมริกา
ในช่วงที่ผ่านมา มีการวิพากษ์ความคิดของผมมากมาย ปรากฏขึ้นในวงเฟซบุ๊กและวงสนทนาต่างๆ จำนวนมาก
ผมเองต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ รวมทั้งอาจารย์เกษียร และผู้ร่วมวิจารณ์ ที่ให้เกียรติ และให้ “คุณค่า” ต่อคำกล่าวของผม
ผมกล่าวทำนองว่า
มหาวิทยาลัยคอร์เนล มีฐานะเป็น Soft Power ของจักรวรรดิอเมริกา ได้ทำหน้าที่เป็น “ศูนย์” และ “เครือข่าย” ทางปัญญา ซึ่งทำหน้าที่ผลิตทฤษฎี ผลิตผลงานวิชาการ และที่สำคัญ ได้ทำหน้าที่ผลิตนักวิชาการโลกที่สาม
แน่นอนทีเดียว บรรดาอาจารย์ที่เรียนจบจากคอร์เนลจำนวนหนึ่งคงรับแนวคิดนี้ไม่ได้ จึงเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดผมกันอย่างกว้างขวาง
มีเพื่อนคนหนึ่ง ท่านเป็นห่วงเป็นใยผมเอาอย่างมากๆ กลัวว่า ผมจะ “เสียคน” เมื่อแก่
ผมขอตอบให้ท่านคลายกังวลนะครับ ว่า
ผมเสียคนตั้งแต่เป็น “หนุ่ม” มาแล้ว เสียแล้ว... เสียอีก หลายต่อหลายครั้ง จนไม่มีอะไรต้องเสียอีก
แต่อย่างไรก็ตาม ผมต้องขอบคุณเพื่อนๆ จำนวนมาก ที่เป็นห่วงใย ช่วยกันโต้ตอบแทน
มีเพื่อนอาวุโสท่านหนึ่ง โทร.มาบอกว่า “เป็นห่วงมากๆ”
ผมจึงอธิบายความคิดของผมกับท่านว่า
เวลาที่เราออกพูดทางทีวี เปรียบไป จะดูราวกับว่า การพูดแต่ละครั้งนั้นไม่ต่างจากการสร้างฟองสบู่เล็กๆ ทันทีที่พูดจบ ฟองสบู่ก็แตก มลายหายไป ทุกอย่างก็จบ เรื่องราวที่ได้กล่าวไว้ก็ลอยไปตามสายลม ไม่ค่อยมีใครสนใจหรือใส่ใจ
ผมเลยคิดว่า ในการพูดครั้งนี้ คงต้องพูดอะไรที่จะถูกวิจารณ์บ้าง เปิดช่องโหว่ไว้บ้าง อย่างน้อยก็เพื่อให้เกิดการถกกันทางปัญญา
ก่อนอื่น ต้องขอบคุณอาจารย์เกษียรอย่างสูง ที่ช่วยเปิดบทวิวาทะขึ้น และช่วยทำให้ฟองสบู่สามารถดำรงอยู่ได้ยาวกว่าปกติ และมีส่วนกระตุ้นทำให้ผมได้เขียนบทความชิ้นนี้
ผมเห็นด้วยกับอาจารย์เกษียรอย่างมาก ที่ยืนยันว่า แต่ละบุคคลที่จบคอร์เนล มีความเป็นปัจเจก และมีความเป็นตัวของตัวเอง เพราะนักศึกษาไทยที่ถูกส่งไปศึกษาที่นี่ มักเรียนเก่ง และเป็นคนที่มีความสามารถสูง
ตอนที่ผมเรียนที่ธรรมศาสตร์ ผมเองก็เรียนกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งผมเคารพรักท่านมาก ท่านคือ อาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ ท่านก็จบจากคอร์เนลเช่นกัน
ท่านอาจารย์เรียนจากโลกตะวันตก แต่ท่านตระหนักถึง “คุณค่า” ของสถาบันกษัตริย์ไทย อย่างสูง
ความจริงแล้ว ผมไม่คิดว่า มหาวิทยาลัยคอร์เนลเท่านั้น ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ผลิตทฤษฎีตะวันตก แม้แต่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กที่ผมร่ำเรียนก็ทำหน้าที่ไม่ต่างกัน
สมัยที่ผมไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา ผมบอกตัวเองว่า ผมโชคดีอย่างมากๆ ที่เติบโตขึ้นในสายวัฒนธรรมตะวันออก ผมสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม ยิ่งเรียน ผมยิ่งเข้าใจ “ค่า” ของวัฒนธรรมตะวันออก
ผมจึงคิดว่า มีนักเรียนไทยจำนวนไม่น้อยเลย ที่คิดไม่ต่างจากผม
อาจารย์เกษียรเรียนวิชารัฐศาสตร์ ผมเรียนวิชาระบบโลก ดังนั้น การเล่าเรียนแต่ละแห่งจึงมีมิติที่ต่างกันบ้าง
การศึกษาโลกทั้งใบ นั้นถือว่าเป็นการศึกษาเรื่องที่ใหญ่มาก จึงหนีไม่พ้นที่ต้องศึกษาทฤษฎี(ตะวันตก)จำนวนมากมาย
อย่างเช่น ผมจะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “รัฐชายขอบ” ผมก็ถูกบังคับให้ต้องอ่านทฤษฎีเรื่อง “รัฐ” ที่ถูกผลิตขึ้นในโลกตะวันตกทุกทฤษฎี แล้วต้องสังเคราะห์ใหม่
อาจารย์ Hopkins และ Wallerstien จะย้ำเสมอว่า “ระบบโลก ไม่ใช่ทฤษฎี แต่คือ ผลงานทางประวัติศาสตร์ แต่เวลาที่คุณจะผลิตผลงานทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว งานประวัติศาสตร์นี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบูรณาการบรรดาทฤษฎีหลากหลายเข้ามาร่วมกัน”
ชาวระบบโลก จึงเชื่อว่า
“ไม่มีทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งสมบูรณ์ หรือตอบคำถามทุกอย่างได้”
ชาวระบบโลกจึงไม่ใช่นักทฤษฎี แต่คือ ผู้เลือกใช้ทฤษฎีต่างๆ ซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย
นี่คือวิธีคิดของชาวระบบโลก ที่ดูราวจะใช้ทุกทฤษฎี และไม่ติดยึดกับทฤษฎี พร้อมที่จะคิดหรือผลิต หรือสังเคราะห์ทฤษฎีขึ้นมาใหม่
แต่ ผมก็ตระหนักว่า บรรดาทฤษฎีเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ผมได้เล่าเรียน คือ ทฤษฎีที่ผลิตขึ้นจากโลกตะวันตก
วันหนึ่ง อาจารย์ Hopkins สอนผมเรื่อง “ทิศทางโลกอนาคต” ท่านกล่าวทำนองว่า
“ที่สุดแล้ว ในยุคโลกาภิวัตน์ ระบบเศรษฐกิจโลกที่มีอยู่หลายแบบ ทั้งแบบทุนนิยม สังคมนิยม และสังคมรัฐสวัสดิการ จะถูกผนวกกัน รวมเป็นระบบเดียวกัน”
นี่คือ หลักคิดที่สำคัญของสำนักระบบโลก
ผมย้อนอาจารย์ว่า
“หลังจากระบบเศรษฐกิจโลกถูกผนวกเป็นหนึ่งเดียวกัน ระบบทั้งใบก็จะเริ่มทรุด และพังทลายลง”
อาจารย์ถามผมว่า
“ทำไม คิดอย่างนี้”
ผมตอบท่านว่า
“ผมเป็นนักศึกษามาจากโลกตะวันออก แต่อาจารย์เป็นอาจารย์จากโลกตะวันตก
คนตะวันออกจะเชื่อว่า
เมื่อสิ่งหนึ่งก้าวถึงจุดสูงสุด ในที่สุด ก็จะก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมและความตาย ไม่ต่างจากดอกไม้ที่บานเต็มที่แล้วก็ต้องเสื่อมสลาย”
มีเพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียนหลายคนไม่เห็นด้วยกับผม
แต่ อาจารย์ตอบกลับผมว่า
“ที่คิด เข้าท่าดี”
ท่านก็เลยหันไปบรรยายเรื่อง “การคิด” และ “การมองโลก” โดยมีอารยธรรมยุโรปเป็นศูนย์กลาง และท่านกล่าวทำนองว่า
ระบบการศึกษาและวัฒนธรรมโลกในปัจจุบันนั้น ยังวางอยู่บนฐานคิด ฐานวิเคราะห์ ที่มีโลกยุโรปและอเมริกาเป็นศูนย์กลาง จนบางครั้ง เรามองไม่เห็น “ค่า” ของสายวัฒนธรรมอื่นๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันออก
ผมคิดว่า อาจารย์เองก็ตระหนักรู้
นี่คือ จุดอ่อนที่สำคัญของระบบการศึกษาที่มีศูนย์กลางที่โลกตะวันตก
นักวิชาการชาวตะวันตกส่วนใหญ่จะถือว่า “วัฒนธรรมตะวันตกสูงค่ากว่าสายวัฒนธรรมอื่นๆ” และเชื่อว่า “สายตะวันตก เป็นสายที่วัฒนธรรมมีรากเหง้าเฉพาะของตัวเอง” นั่นคือ มีต้นกำเนิดมาจากสายวัฒนธรรมกรีก และโรมัน เท่านั้น
รากของความรู้หรือทฤษฎีตะวันตก จึงมักย้อนไปที่กรีก เริ่มจากนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ถือว่าเป็น “บรมอาจารย์” อย่างคุณโสเครตีส เพลโต้ และอริสโตเติล
เวลาเรียนวิชารัฐศาสตร์ ก่อนอื่นเราจะต้องเรียนความคิดของปรมาจารย์เหล่านั้น
วันหนึ่ง ผมได้ไปสอนเรื่อง “ญาณวิทยา” ให้กับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่แทนที่ผมจะสอนแนวคิดของบรมอาจารย์ชาวกรีก ผมสอนแนวคิดของพระพุทธเจ้า และเต๋า
มีอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นอาจารย์รัฐศาสตร์ กล่าวกับผมทำนองว่า
ที่ผมสอน จัดว่าเป็นการสอนเรื่องธรรมะและอภิปรัชญา ท่านคิดว่า ธรรมะ ไม่ใช่ญาณวิทยา ญาณวิทยามีรากมาจากการคิดอย่างเป็นระบบเหตุผล ซึ่งมีรากกำเนิดจากปรัชญาตะวันตกหรือกรีก
ท่านจึงเชื่อว่า ศาสตร์ทางพุทธ และเต๋า ถือว่าเป็นเพียงอภิปรัชญา หรือเป็นเพียงเรื่องใหญ่กว้างๆ เป็นที่จับต้องไม่ได้ พิสูจน์ว่า “จริง” หรือ “ไม่จริง” ไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่ใช่ญาณวิทยา
คนที่เรียนแบบตะวันตกมักจะยกย่องความเชื่อที่มาจากกรีกเท่านั้น ว่าเป็นรากที่มาของชุดความเชื่อที่เรียกว่า “วิทยาศาสตร์” เพราะมีฐานคิดอยู่กับการสร้างระบบเหตุและผล และเรื่องระบบคิด เรื่อง “ความขัดแย้ง” หรือ “Dialectic”
แนวคิดที่จะถือว่า เป็นวิทยาศาสตร์ได้ ต้องเป็นแนวคิดที่จับต้องได้ พิสูจน์ว่า “จริงแท้แน่นอนได้”
ที่สำคัญ การเรียนรู้ในโลกตะวันตก จึงแยกการศึกษาศาสนาออกจากความรู้ทั่วไป
เวลาที่เราเรียนในโลกตะวันตก เราจะพบความจริงว่า โลกทางวิชาการตะวันตกยิ่งใหญ่มาก คล้ายๆ กับเรากำลังเดินอยู่ใน Super Market ขนาดใหญ่ ที่ซึ่งไม่ได้ผลิตสินค้า แต่มุ่งขายสินค้าทางวิชาการ
ใน Super Market ใหญ่นี้ มีนักคิดตะวันตกที่มีชื่อเสียงมากมาย มีทฤษฎีและตำรานับล้านๆ เล่ม และผลิตเพิ่มขึ้นทุกวัน หากคุณไม่ชอบทฤษฎีแบบขวาๆ ก็มีทฤษฎีแบบซ้ายๆ หรือแบบกลางๆ ให้เลือก
เวลาเราเรียน แค่หนังสือที่ต้องอ่าน ก็มากๆ...มากจนอ่านไม่ทัน เรียกว่า ชีวิตเราทั้งชีวิตต้องจมอยู่กับทฤษฎีและความเชื่อแบบตะวันตก
บางครั้ง ก็เรียนๆ...เรียนจนแทบจะอาเจียนทฤษฎีและความรู้
หลายครั้ง เวลาที่ผมเรียนวิชาระบบโลกและเริ่มเบื่อ...เบื่อสุดๆ เพราะผมคิดว่า บรรดานักคิดในโลกตะวันตกส่วนใหญ่จะคิดได้เพียงแค่การคิดอย่างเป็นระบบที่จับต้องได้ ถ้าเกินกว่านั้น “คิดไม่ออก”
หรือกล่าวง่ายๆ นักคิดตะวันตกจะเชี่ยวชาญการวิเคราะห์โลกในมิติที่เป็นวัตถุ(จับต้องได้) ไม่เชี่ยวชาญในมิติที่เกินกว่าโลกทางวัตถุ อย่างเช่นเรื่อง “จิตใจ” ซึ่งจับต้องได้ยาก
และที่สำคัญ ผมไม่พบว่า มีนักทฤษฎีตะวันตกที่ยกย่องและชื่นชมสายวัฒนธรรมตะวันออก สายแอฟริกา และอื่นๆ มากนัก
มีนักวิชาการตะวันตกจำนวนหนึ่งสนใจสายวัฒนธรรมตะวันออก แต่ก็มักจะมองว่า “วัฒนธรรมตะวันออกล้าหลัง และอำนาจนิยม”
เมื่อมองแบบนี้ ย่อมส่งผลทำให้บรรดาผู้ที่เรียน (วิชาจากโลกตะวันตก) มองไม่เห็น “คุณค่า” ของวัฒนธรรมสายอื่นๆ
เวลาทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ก็หนีไม่พ้นที่ต้องใช้ทฤษฎีตะวันตกเป็นแนวคิดหลักในการผลิตงานวิทยานิพนธ์
ผลงานที่ถูกผลิตขึ้นมาก็กลายเป็นเพียงผลงานที่พิสูจน์และยืนยันความถูกต้องของทฤษฎีตะวันตกที่เรานำมาใช้
ผมคิดว่า เพื่อนๆ ที่เรียนปริญญาเอก เกือบทุกคน ก็คงรู้สึกไม่ต่างจากผม บางครั้งก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ทฤษฎีตะวันตกที่นำมาใช้ จะสามารถใช้อธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แถบตะวันออกได้จริงหรือ
กรณีของผมก็ไม่ต่างกัน ผมจะทำเรื่องเกี่ยวกับรัฐไทย ที่ชาวระบบโลกจะเรียกว่า “รัฐชายขอบ”
ผมก็ต้องอ่านทฤษฎีว่าด้วย “รัฐ” จากนักคิดตะวันตกที่โด่งดังทุกคน ทั้งต้องอ่านและต้องเขียนวิเคราะห์บทวิเคราะห์นำเสนอออกมาก่อน และต้องสอบผ่านงานทางทฤษฎีก่อน
ผมโชคดีจากการศึกษาทฤษฎีว่าด้วยรัฐ ผมพบจุดอ่อนของทฤษฎีรัฐแบบตะวันตก
ผมพบจุดอ่อนหลายประการ จนได้กล่าวความรู้สึกนึกคิดของผมกับอาจารย์ว่า
“คงต้องโยนทฤษฎีรัฐที่ผลิตขึ้นมาก่อนหน้านี้ ทิ้งหมด”
ผมชี้แจงกับอาจารย์ว่า
ประการแรก บรรดาทฤษฎีรัฐที่มีอยู่ต่างๆ ในโลกทางตะวันตก ล้วนสร้างบนฐานวัฒนธรรมตะวันตกเป็นสำคัญ จึงไม่ครอบคลุมเพียงพอ ถือว่า “ผิดพลาด” เกือบหมด เพราะมีนักวิชาการตะวันตกน้อยคนมากที่สนใจศึกษา “รัฐ” ที่เกิดในโลกตะวันออก ทั้งๆ ที่ “ความเป็นรัฐ” ก่อกำเนิดขึ้นในโลกตะวันออก
ประการที่สอง ต้องโยนเรื่อง รัฐ หรือคำว่า State ทิ้ง เพราะ State คำนี้มีรากมาจากคำว่า Nation State ซึ่งเกิดขึ้นที่ยุโรปเป็นสำคัญเท่านั้น
ประการที่สาม จะเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ รัฐ ต้องเข้าใจคำว่า Empire หรือคำว่า จักรวรรดิ ก่อน เพราะจักรวรรดิ หรือ Empire คือระบบการเมืองโลกตัวจริง ซึ่งมีประวัติศาสตร์จริง ที่สามารถรวบอำนาจ(การเมือง)ในยุคโบราณ
ดังนั้น ต้องสร้าง ทฤษฎี Empire ขึ้นแทนที่ ทฤษฎีรัฐ
ประการที่สี่ ทฤษฎีว่าด้วยรัฐ เมื่อเริ่มคิดจากคำว่า State จึงอธิบาย “รัฐ” ในพื้นที่ที่จำกัด หรือมีพรมแดนสังกัดที่แน่นอน
แต่ Empire ไม่ได้มีพื้นที่จำกัด และก่อตัวขึ้นบนฐานของความเป็นระบบโลก
ประการที่ห้า ทฤษฎีรัฐของฝ่ายซ้ายที่ยิ่งใหญ่ อย่างเช่น ทฤษฎีของ Lenin ที่เสนอว่า “รัฐ คือกองทัพ และตำรวจ และศาล” การเข้าใจ “รัฐ” ในมิติแบบนี้ ถือว่าเป็นการมองรัฐแบบที่แคบมาก คือสนใจเฉพาะเรื่อง Hard Power (อำนาจแบบแข็งๆ) ทำให้มองข้ามความสำคัญอำนาจรัฐแบบ Soft Power (อำนาจรัฐแบบอ่อนๆ) ซึ่งมีพลังครอบงำยิ่งกว่าอำนาจรัฐแบบ Hard Power เสียอีก
มี นักทฤษฎีเรื่อง “รัฐ” ที่สำคัญมากอีกคนหนึ่งคือ Gramsci ท่านเป็นนักคิดคนสำคัญมาก ที่สนใจเรื่อง Soft Power และเสนอความเชื่อว่า “ชนชั้นนำจะสามารถปกครองได้ต้องสถาปนาฐานะความเป็นจ้าวสูงสุดขึ้น” แต่ถึงอย่างไร Gramsci ก็เข้าใจ “รัฐ” ในมิติของประเทศเท่านั้น
คำว่า อำนาจรัฐอย่างอ่อนๆ (Soft Power) นี้มีที่มาเกินกว่าประเทศ หรือรัฐใดรัฐหนึ่ง หรือกล่าวว่า ทุกรัฐ หรือ Empire ต่างๆ ในโลกตะวันตก ต่างช่วยกันผลิต Soft Power ตัวเดียวกัน เพราะอำนาจรัฐแบบอ่อนนี้มีฐานกำเนิดจากชุดวัฒนธรรมที่เรียกว่า “วัฒนธรรมตะวันตก” ซึ่งมีจุดกำเนิดก่อนการเกิด Empire ต่างๆ ในย่านตะวันตกเสียอีก
การสถาปนา “ความเป็นจ้าวเหนือโลก” จึงไม่ใช่เป็นเพียงการสร้างจักรวรรดิขนาดใหญ่ ซึ่งมีอำนาจทางระบบครอบโลกเท่านั้น ยังต้อง “สถาปนา” วัฒนธรรมตะวันตก รวมทั้งทฤษฎี ปรัชญา และต้อง “สถาปนา” สถาบันการศึกษา สถาปนาบรรดาสื่อตะวันตก ค่านิยมตะวันตก และการบริโภคแบบตะวันตก ให้มีอำนาจเหนือความเชื่อ เหนือจิตใจและความนึกคิดของคนทั่วโลกด้วย
นี่คือทฤษฎีเรื่อง Empire หรือจักรวรรดิ ที่ผมคิดขึ้น
ผมคิดว่า นักศึกษาไทยจำนวนหนึ่งที่เรียนในโลกตะวันตก สามารถคิดทฤษฎีของตัวเองได้
เวลาที่เราศึกษาเรื่อง “จักรวรรดิอเมริกา” (American Empire) เราจึงต้องศึกษาทั้งด้านอำนาจแข็งอย่างเช่น ระบบราชการ กองทัพ ซีไอเอ และอื่นๆ ขณะเดียวกัน เราต้องศึกษาเรื่องอำนาจรัฐแบบอ่อนๆ ด้วย
อำนาจรัฐ 2 แบบนี้ ถูกนำมาประสานและประกอบกันเพื่อสถาปนา “ความสูงสุด” ให้แก่จักรวรรดิอเมริกา และยุโรป
ที่จริงแล้ว การสถาปนาอำนาจรัฐแบบอ่อนๆ มีความสำคัญกว่าอำนาจรัฐแบบแข็งๆ มาก อำนาจแบบอ่อนๆ นี้ จะดูไม่น่ากลัว มักจับต้องไม่ได้ กระทำผ่านการผลิตซ้ำวัฒนธรรมตะวันตก ผลิตซ้ำทฤษฎี ปรัชญา วิธีวิเคราะห์แบบตะวันตก รวมทั้งค่านิยมและวิถีชีวิตแบบตะวันตก
อำนาจแบบอ่อนๆ มีพลังอย่างมาก จนสามารถถอนรากวัฒนธรรมไทยอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนกล่าวว่า คนไทยปัจจุบันไร้รากเดิมทางวัฒนธรรม
หน้าเป็นไทย แต่ใจและพฤติกรรมเป็นฝรั่ง
อำนาจแบบอ่อนๆ สามารถถอนรากระบบการศึกษาไทยแบบสิ้นเชิง ระบบการศึกษาโบราณของไทยสอนเรื่อง “ธรรมะ” เป็นสำคัญ สำคัญกว่าสอนเรื่อง “ความรู้” และสอนนักเรียนให้มีจิตเมตตากรุณา แต่การศึกษาปัจจุบันสอนเด็กให้คิดแต่จะเอาชนะ และเป็นที่หนึ่ง สอนนักเรียนให้ฉลาด แต่ฉลาดเพื่อตัวเอง และให้หลงกับอำนาจของเงินตรา
มองในแง่นี้ สถาบันการศึกษาและสื่อในโลกตะวันตก โดยเฉพาะที่อเมริกาและยุโรป ได้แสดงบทบาทสำคัญมาก และถือว่า ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการสร้าง “ใจ” และการแพร่วัฒนธรรมแบบตะวันตก รวมทั้งช่วยในการสถาปนา “ความเป็นจ้าว” หรือ การสร้าง Hegemony ครอบโลก
เครือข่ายอำนาจครอบโลกแบบอ่อนๆ นี้ มีความลึกและความละเอียด ฟังดูมีเหตุมีผล และไร้พรมแดนมากกว่าอำนาจแบบแข็งๆ
ตัวอย่างง่ายๆ อำนาจของสถาบันการศึกษา (อเมริกา) จึงมีฐานะและอำนาจครอบเหนือสถาบันการศึกษาโลกที่สาม ทั้งโดยตรง และโดยอ้อม เพราะสถาบันการศึกษาอเมริกากลายเป็นศูนย์ผลิตนักวิชาการ นักการทหาร ชั้นยอดสุดของโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาด็อกเตอร์ (ดร.) ที่จบจากอเมริกา และเชี่ยวชาญทฤษฎีตะวันตก มีอิทธิพลมากในการกำหนดทิศทางทางการศึกษา ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม และทิศทางการเมืองประเทศไทย (ยังมีต่อ)
ในช่วงที่ผ่านมา มีการวิพากษ์ความคิดของผมมากมาย ปรากฏขึ้นในวงเฟซบุ๊กและวงสนทนาต่างๆ จำนวนมาก
ผมเองต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ รวมทั้งอาจารย์เกษียร และผู้ร่วมวิจารณ์ ที่ให้เกียรติ และให้ “คุณค่า” ต่อคำกล่าวของผม
ผมกล่าวทำนองว่า
มหาวิทยาลัยคอร์เนล มีฐานะเป็น Soft Power ของจักรวรรดิอเมริกา ได้ทำหน้าที่เป็น “ศูนย์” และ “เครือข่าย” ทางปัญญา ซึ่งทำหน้าที่ผลิตทฤษฎี ผลิตผลงานวิชาการ และที่สำคัญ ได้ทำหน้าที่ผลิตนักวิชาการโลกที่สาม
แน่นอนทีเดียว บรรดาอาจารย์ที่เรียนจบจากคอร์เนลจำนวนหนึ่งคงรับแนวคิดนี้ไม่ได้ จึงเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดผมกันอย่างกว้างขวาง
มีเพื่อนคนหนึ่ง ท่านเป็นห่วงเป็นใยผมเอาอย่างมากๆ กลัวว่า ผมจะ “เสียคน” เมื่อแก่
ผมขอตอบให้ท่านคลายกังวลนะครับ ว่า
ผมเสียคนตั้งแต่เป็น “หนุ่ม” มาแล้ว เสียแล้ว... เสียอีก หลายต่อหลายครั้ง จนไม่มีอะไรต้องเสียอีก
แต่อย่างไรก็ตาม ผมต้องขอบคุณเพื่อนๆ จำนวนมาก ที่เป็นห่วงใย ช่วยกันโต้ตอบแทน
มีเพื่อนอาวุโสท่านหนึ่ง โทร.มาบอกว่า “เป็นห่วงมากๆ”
ผมจึงอธิบายความคิดของผมกับท่านว่า
เวลาที่เราออกพูดทางทีวี เปรียบไป จะดูราวกับว่า การพูดแต่ละครั้งนั้นไม่ต่างจากการสร้างฟองสบู่เล็กๆ ทันทีที่พูดจบ ฟองสบู่ก็แตก มลายหายไป ทุกอย่างก็จบ เรื่องราวที่ได้กล่าวไว้ก็ลอยไปตามสายลม ไม่ค่อยมีใครสนใจหรือใส่ใจ
ผมเลยคิดว่า ในการพูดครั้งนี้ คงต้องพูดอะไรที่จะถูกวิจารณ์บ้าง เปิดช่องโหว่ไว้บ้าง อย่างน้อยก็เพื่อให้เกิดการถกกันทางปัญญา
ก่อนอื่น ต้องขอบคุณอาจารย์เกษียรอย่างสูง ที่ช่วยเปิดบทวิวาทะขึ้น และช่วยทำให้ฟองสบู่สามารถดำรงอยู่ได้ยาวกว่าปกติ และมีส่วนกระตุ้นทำให้ผมได้เขียนบทความชิ้นนี้
ผมเห็นด้วยกับอาจารย์เกษียรอย่างมาก ที่ยืนยันว่า แต่ละบุคคลที่จบคอร์เนล มีความเป็นปัจเจก และมีความเป็นตัวของตัวเอง เพราะนักศึกษาไทยที่ถูกส่งไปศึกษาที่นี่ มักเรียนเก่ง และเป็นคนที่มีความสามารถสูง
ตอนที่ผมเรียนที่ธรรมศาสตร์ ผมเองก็เรียนกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งผมเคารพรักท่านมาก ท่านคือ อาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพ ท่านก็จบจากคอร์เนลเช่นกัน
ท่านอาจารย์เรียนจากโลกตะวันตก แต่ท่านตระหนักถึง “คุณค่า” ของสถาบันกษัตริย์ไทย อย่างสูง
ความจริงแล้ว ผมไม่คิดว่า มหาวิทยาลัยคอร์เนลเท่านั้น ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ผลิตทฤษฎีตะวันตก แม้แต่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กที่ผมร่ำเรียนก็ทำหน้าที่ไม่ต่างกัน
สมัยที่ผมไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา ผมบอกตัวเองว่า ผมโชคดีอย่างมากๆ ที่เติบโตขึ้นในสายวัฒนธรรมตะวันออก ผมสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม ยิ่งเรียน ผมยิ่งเข้าใจ “ค่า” ของวัฒนธรรมตะวันออก
ผมจึงคิดว่า มีนักเรียนไทยจำนวนไม่น้อยเลย ที่คิดไม่ต่างจากผม
อาจารย์เกษียรเรียนวิชารัฐศาสตร์ ผมเรียนวิชาระบบโลก ดังนั้น การเล่าเรียนแต่ละแห่งจึงมีมิติที่ต่างกันบ้าง
การศึกษาโลกทั้งใบ นั้นถือว่าเป็นการศึกษาเรื่องที่ใหญ่มาก จึงหนีไม่พ้นที่ต้องศึกษาทฤษฎี(ตะวันตก)จำนวนมากมาย
อย่างเช่น ผมจะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “รัฐชายขอบ” ผมก็ถูกบังคับให้ต้องอ่านทฤษฎีเรื่อง “รัฐ” ที่ถูกผลิตขึ้นในโลกตะวันตกทุกทฤษฎี แล้วต้องสังเคราะห์ใหม่
อาจารย์ Hopkins และ Wallerstien จะย้ำเสมอว่า “ระบบโลก ไม่ใช่ทฤษฎี แต่คือ ผลงานทางประวัติศาสตร์ แต่เวลาที่คุณจะผลิตผลงานทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว งานประวัติศาสตร์นี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบูรณาการบรรดาทฤษฎีหลากหลายเข้ามาร่วมกัน”
ชาวระบบโลก จึงเชื่อว่า
“ไม่มีทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งสมบูรณ์ หรือตอบคำถามทุกอย่างได้”
ชาวระบบโลกจึงไม่ใช่นักทฤษฎี แต่คือ ผู้เลือกใช้ทฤษฎีต่างๆ ซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย
นี่คือวิธีคิดของชาวระบบโลก ที่ดูราวจะใช้ทุกทฤษฎี และไม่ติดยึดกับทฤษฎี พร้อมที่จะคิดหรือผลิต หรือสังเคราะห์ทฤษฎีขึ้นมาใหม่
แต่ ผมก็ตระหนักว่า บรรดาทฤษฎีเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ผมได้เล่าเรียน คือ ทฤษฎีที่ผลิตขึ้นจากโลกตะวันตก
วันหนึ่ง อาจารย์ Hopkins สอนผมเรื่อง “ทิศทางโลกอนาคต” ท่านกล่าวทำนองว่า
“ที่สุดแล้ว ในยุคโลกาภิวัตน์ ระบบเศรษฐกิจโลกที่มีอยู่หลายแบบ ทั้งแบบทุนนิยม สังคมนิยม และสังคมรัฐสวัสดิการ จะถูกผนวกกัน รวมเป็นระบบเดียวกัน”
นี่คือ หลักคิดที่สำคัญของสำนักระบบโลก
ผมย้อนอาจารย์ว่า
“หลังจากระบบเศรษฐกิจโลกถูกผนวกเป็นหนึ่งเดียวกัน ระบบทั้งใบก็จะเริ่มทรุด และพังทลายลง”
อาจารย์ถามผมว่า
“ทำไม คิดอย่างนี้”
ผมตอบท่านว่า
“ผมเป็นนักศึกษามาจากโลกตะวันออก แต่อาจารย์เป็นอาจารย์จากโลกตะวันตก
คนตะวันออกจะเชื่อว่า
เมื่อสิ่งหนึ่งก้าวถึงจุดสูงสุด ในที่สุด ก็จะก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมและความตาย ไม่ต่างจากดอกไม้ที่บานเต็มที่แล้วก็ต้องเสื่อมสลาย”
มีเพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียนหลายคนไม่เห็นด้วยกับผม
แต่ อาจารย์ตอบกลับผมว่า
“ที่คิด เข้าท่าดี”
ท่านก็เลยหันไปบรรยายเรื่อง “การคิด” และ “การมองโลก” โดยมีอารยธรรมยุโรปเป็นศูนย์กลาง และท่านกล่าวทำนองว่า
ระบบการศึกษาและวัฒนธรรมโลกในปัจจุบันนั้น ยังวางอยู่บนฐานคิด ฐานวิเคราะห์ ที่มีโลกยุโรปและอเมริกาเป็นศูนย์กลาง จนบางครั้ง เรามองไม่เห็น “ค่า” ของสายวัฒนธรรมอื่นๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันออก
ผมคิดว่า อาจารย์เองก็ตระหนักรู้
นี่คือ จุดอ่อนที่สำคัญของระบบการศึกษาที่มีศูนย์กลางที่โลกตะวันตก
นักวิชาการชาวตะวันตกส่วนใหญ่จะถือว่า “วัฒนธรรมตะวันตกสูงค่ากว่าสายวัฒนธรรมอื่นๆ” และเชื่อว่า “สายตะวันตก เป็นสายที่วัฒนธรรมมีรากเหง้าเฉพาะของตัวเอง” นั่นคือ มีต้นกำเนิดมาจากสายวัฒนธรรมกรีก และโรมัน เท่านั้น
รากของความรู้หรือทฤษฎีตะวันตก จึงมักย้อนไปที่กรีก เริ่มจากนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ถือว่าเป็น “บรมอาจารย์” อย่างคุณโสเครตีส เพลโต้ และอริสโตเติล
เวลาเรียนวิชารัฐศาสตร์ ก่อนอื่นเราจะต้องเรียนความคิดของปรมาจารย์เหล่านั้น
วันหนึ่ง ผมได้ไปสอนเรื่อง “ญาณวิทยา” ให้กับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่แทนที่ผมจะสอนแนวคิดของบรมอาจารย์ชาวกรีก ผมสอนแนวคิดของพระพุทธเจ้า และเต๋า
มีอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นอาจารย์รัฐศาสตร์ กล่าวกับผมทำนองว่า
ที่ผมสอน จัดว่าเป็นการสอนเรื่องธรรมะและอภิปรัชญา ท่านคิดว่า ธรรมะ ไม่ใช่ญาณวิทยา ญาณวิทยามีรากมาจากการคิดอย่างเป็นระบบเหตุผล ซึ่งมีรากกำเนิดจากปรัชญาตะวันตกหรือกรีก
ท่านจึงเชื่อว่า ศาสตร์ทางพุทธ และเต๋า ถือว่าเป็นเพียงอภิปรัชญา หรือเป็นเพียงเรื่องใหญ่กว้างๆ เป็นที่จับต้องไม่ได้ พิสูจน์ว่า “จริง” หรือ “ไม่จริง” ไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่ใช่ญาณวิทยา
คนที่เรียนแบบตะวันตกมักจะยกย่องความเชื่อที่มาจากกรีกเท่านั้น ว่าเป็นรากที่มาของชุดความเชื่อที่เรียกว่า “วิทยาศาสตร์” เพราะมีฐานคิดอยู่กับการสร้างระบบเหตุและผล และเรื่องระบบคิด เรื่อง “ความขัดแย้ง” หรือ “Dialectic”
แนวคิดที่จะถือว่า เป็นวิทยาศาสตร์ได้ ต้องเป็นแนวคิดที่จับต้องได้ พิสูจน์ว่า “จริงแท้แน่นอนได้”
ที่สำคัญ การเรียนรู้ในโลกตะวันตก จึงแยกการศึกษาศาสนาออกจากความรู้ทั่วไป
เวลาที่เราเรียนในโลกตะวันตก เราจะพบความจริงว่า โลกทางวิชาการตะวันตกยิ่งใหญ่มาก คล้ายๆ กับเรากำลังเดินอยู่ใน Super Market ขนาดใหญ่ ที่ซึ่งไม่ได้ผลิตสินค้า แต่มุ่งขายสินค้าทางวิชาการ
ใน Super Market ใหญ่นี้ มีนักคิดตะวันตกที่มีชื่อเสียงมากมาย มีทฤษฎีและตำรานับล้านๆ เล่ม และผลิตเพิ่มขึ้นทุกวัน หากคุณไม่ชอบทฤษฎีแบบขวาๆ ก็มีทฤษฎีแบบซ้ายๆ หรือแบบกลางๆ ให้เลือก
เวลาเราเรียน แค่หนังสือที่ต้องอ่าน ก็มากๆ...มากจนอ่านไม่ทัน เรียกว่า ชีวิตเราทั้งชีวิตต้องจมอยู่กับทฤษฎีและความเชื่อแบบตะวันตก
บางครั้ง ก็เรียนๆ...เรียนจนแทบจะอาเจียนทฤษฎีและความรู้
หลายครั้ง เวลาที่ผมเรียนวิชาระบบโลกและเริ่มเบื่อ...เบื่อสุดๆ เพราะผมคิดว่า บรรดานักคิดในโลกตะวันตกส่วนใหญ่จะคิดได้เพียงแค่การคิดอย่างเป็นระบบที่จับต้องได้ ถ้าเกินกว่านั้น “คิดไม่ออก”
หรือกล่าวง่ายๆ นักคิดตะวันตกจะเชี่ยวชาญการวิเคราะห์โลกในมิติที่เป็นวัตถุ(จับต้องได้) ไม่เชี่ยวชาญในมิติที่เกินกว่าโลกทางวัตถุ อย่างเช่นเรื่อง “จิตใจ” ซึ่งจับต้องได้ยาก
และที่สำคัญ ผมไม่พบว่า มีนักทฤษฎีตะวันตกที่ยกย่องและชื่นชมสายวัฒนธรรมตะวันออก สายแอฟริกา และอื่นๆ มากนัก
มีนักวิชาการตะวันตกจำนวนหนึ่งสนใจสายวัฒนธรรมตะวันออก แต่ก็มักจะมองว่า “วัฒนธรรมตะวันออกล้าหลัง และอำนาจนิยม”
เมื่อมองแบบนี้ ย่อมส่งผลทำให้บรรดาผู้ที่เรียน (วิชาจากโลกตะวันตก) มองไม่เห็น “คุณค่า” ของวัฒนธรรมสายอื่นๆ
เวลาทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ก็หนีไม่พ้นที่ต้องใช้ทฤษฎีตะวันตกเป็นแนวคิดหลักในการผลิตงานวิทยานิพนธ์
ผลงานที่ถูกผลิตขึ้นมาก็กลายเป็นเพียงผลงานที่พิสูจน์และยืนยันความถูกต้องของทฤษฎีตะวันตกที่เรานำมาใช้
ผมคิดว่า เพื่อนๆ ที่เรียนปริญญาเอก เกือบทุกคน ก็คงรู้สึกไม่ต่างจากผม บางครั้งก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ทฤษฎีตะวันตกที่นำมาใช้ จะสามารถใช้อธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แถบตะวันออกได้จริงหรือ
กรณีของผมก็ไม่ต่างกัน ผมจะทำเรื่องเกี่ยวกับรัฐไทย ที่ชาวระบบโลกจะเรียกว่า “รัฐชายขอบ”
ผมก็ต้องอ่านทฤษฎีว่าด้วย “รัฐ” จากนักคิดตะวันตกที่โด่งดังทุกคน ทั้งต้องอ่านและต้องเขียนวิเคราะห์บทวิเคราะห์นำเสนอออกมาก่อน และต้องสอบผ่านงานทางทฤษฎีก่อน
ผมโชคดีจากการศึกษาทฤษฎีว่าด้วยรัฐ ผมพบจุดอ่อนของทฤษฎีรัฐแบบตะวันตก
ผมพบจุดอ่อนหลายประการ จนได้กล่าวความรู้สึกนึกคิดของผมกับอาจารย์ว่า
“คงต้องโยนทฤษฎีรัฐที่ผลิตขึ้นมาก่อนหน้านี้ ทิ้งหมด”
ผมชี้แจงกับอาจารย์ว่า
ประการแรก บรรดาทฤษฎีรัฐที่มีอยู่ต่างๆ ในโลกทางตะวันตก ล้วนสร้างบนฐานวัฒนธรรมตะวันตกเป็นสำคัญ จึงไม่ครอบคลุมเพียงพอ ถือว่า “ผิดพลาด” เกือบหมด เพราะมีนักวิชาการตะวันตกน้อยคนมากที่สนใจศึกษา “รัฐ” ที่เกิดในโลกตะวันออก ทั้งๆ ที่ “ความเป็นรัฐ” ก่อกำเนิดขึ้นในโลกตะวันออก
ประการที่สอง ต้องโยนเรื่อง รัฐ หรือคำว่า State ทิ้ง เพราะ State คำนี้มีรากมาจากคำว่า Nation State ซึ่งเกิดขึ้นที่ยุโรปเป็นสำคัญเท่านั้น
ประการที่สาม จะเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ รัฐ ต้องเข้าใจคำว่า Empire หรือคำว่า จักรวรรดิ ก่อน เพราะจักรวรรดิ หรือ Empire คือระบบการเมืองโลกตัวจริง ซึ่งมีประวัติศาสตร์จริง ที่สามารถรวบอำนาจ(การเมือง)ในยุคโบราณ
ดังนั้น ต้องสร้าง ทฤษฎี Empire ขึ้นแทนที่ ทฤษฎีรัฐ
ประการที่สี่ ทฤษฎีว่าด้วยรัฐ เมื่อเริ่มคิดจากคำว่า State จึงอธิบาย “รัฐ” ในพื้นที่ที่จำกัด หรือมีพรมแดนสังกัดที่แน่นอน
แต่ Empire ไม่ได้มีพื้นที่จำกัด และก่อตัวขึ้นบนฐานของความเป็นระบบโลก
ประการที่ห้า ทฤษฎีรัฐของฝ่ายซ้ายที่ยิ่งใหญ่ อย่างเช่น ทฤษฎีของ Lenin ที่เสนอว่า “รัฐ คือกองทัพ และตำรวจ และศาล” การเข้าใจ “รัฐ” ในมิติแบบนี้ ถือว่าเป็นการมองรัฐแบบที่แคบมาก คือสนใจเฉพาะเรื่อง Hard Power (อำนาจแบบแข็งๆ) ทำให้มองข้ามความสำคัญอำนาจรัฐแบบ Soft Power (อำนาจรัฐแบบอ่อนๆ) ซึ่งมีพลังครอบงำยิ่งกว่าอำนาจรัฐแบบ Hard Power เสียอีก
มี นักทฤษฎีเรื่อง “รัฐ” ที่สำคัญมากอีกคนหนึ่งคือ Gramsci ท่านเป็นนักคิดคนสำคัญมาก ที่สนใจเรื่อง Soft Power และเสนอความเชื่อว่า “ชนชั้นนำจะสามารถปกครองได้ต้องสถาปนาฐานะความเป็นจ้าวสูงสุดขึ้น” แต่ถึงอย่างไร Gramsci ก็เข้าใจ “รัฐ” ในมิติของประเทศเท่านั้น
คำว่า อำนาจรัฐอย่างอ่อนๆ (Soft Power) นี้มีที่มาเกินกว่าประเทศ หรือรัฐใดรัฐหนึ่ง หรือกล่าวว่า ทุกรัฐ หรือ Empire ต่างๆ ในโลกตะวันตก ต่างช่วยกันผลิต Soft Power ตัวเดียวกัน เพราะอำนาจรัฐแบบอ่อนนี้มีฐานกำเนิดจากชุดวัฒนธรรมที่เรียกว่า “วัฒนธรรมตะวันตก” ซึ่งมีจุดกำเนิดก่อนการเกิด Empire ต่างๆ ในย่านตะวันตกเสียอีก
การสถาปนา “ความเป็นจ้าวเหนือโลก” จึงไม่ใช่เป็นเพียงการสร้างจักรวรรดิขนาดใหญ่ ซึ่งมีอำนาจทางระบบครอบโลกเท่านั้น ยังต้อง “สถาปนา” วัฒนธรรมตะวันตก รวมทั้งทฤษฎี ปรัชญา และต้อง “สถาปนา” สถาบันการศึกษา สถาปนาบรรดาสื่อตะวันตก ค่านิยมตะวันตก และการบริโภคแบบตะวันตก ให้มีอำนาจเหนือความเชื่อ เหนือจิตใจและความนึกคิดของคนทั่วโลกด้วย
นี่คือทฤษฎีเรื่อง Empire หรือจักรวรรดิ ที่ผมคิดขึ้น
ผมคิดว่า นักศึกษาไทยจำนวนหนึ่งที่เรียนในโลกตะวันตก สามารถคิดทฤษฎีของตัวเองได้
เวลาที่เราศึกษาเรื่อง “จักรวรรดิอเมริกา” (American Empire) เราจึงต้องศึกษาทั้งด้านอำนาจแข็งอย่างเช่น ระบบราชการ กองทัพ ซีไอเอ และอื่นๆ ขณะเดียวกัน เราต้องศึกษาเรื่องอำนาจรัฐแบบอ่อนๆ ด้วย
อำนาจรัฐ 2 แบบนี้ ถูกนำมาประสานและประกอบกันเพื่อสถาปนา “ความสูงสุด” ให้แก่จักรวรรดิอเมริกา และยุโรป
ที่จริงแล้ว การสถาปนาอำนาจรัฐแบบอ่อนๆ มีความสำคัญกว่าอำนาจรัฐแบบแข็งๆ มาก อำนาจแบบอ่อนๆ นี้ จะดูไม่น่ากลัว มักจับต้องไม่ได้ กระทำผ่านการผลิตซ้ำวัฒนธรรมตะวันตก ผลิตซ้ำทฤษฎี ปรัชญา วิธีวิเคราะห์แบบตะวันตก รวมทั้งค่านิยมและวิถีชีวิตแบบตะวันตก
อำนาจแบบอ่อนๆ มีพลังอย่างมาก จนสามารถถอนรากวัฒนธรรมไทยอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนกล่าวว่า คนไทยปัจจุบันไร้รากเดิมทางวัฒนธรรม
หน้าเป็นไทย แต่ใจและพฤติกรรมเป็นฝรั่ง
อำนาจแบบอ่อนๆ สามารถถอนรากระบบการศึกษาไทยแบบสิ้นเชิง ระบบการศึกษาโบราณของไทยสอนเรื่อง “ธรรมะ” เป็นสำคัญ สำคัญกว่าสอนเรื่อง “ความรู้” และสอนนักเรียนให้มีจิตเมตตากรุณา แต่การศึกษาปัจจุบันสอนเด็กให้คิดแต่จะเอาชนะ และเป็นที่หนึ่ง สอนนักเรียนให้ฉลาด แต่ฉลาดเพื่อตัวเอง และให้หลงกับอำนาจของเงินตรา
มองในแง่นี้ สถาบันการศึกษาและสื่อในโลกตะวันตก โดยเฉพาะที่อเมริกาและยุโรป ได้แสดงบทบาทสำคัญมาก และถือว่า ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการสร้าง “ใจ” และการแพร่วัฒนธรรมแบบตะวันตก รวมทั้งช่วยในการสถาปนา “ความเป็นจ้าว” หรือ การสร้าง Hegemony ครอบโลก
เครือข่ายอำนาจครอบโลกแบบอ่อนๆ นี้ มีความลึกและความละเอียด ฟังดูมีเหตุมีผล และไร้พรมแดนมากกว่าอำนาจแบบแข็งๆ
ตัวอย่างง่ายๆ อำนาจของสถาบันการศึกษา (อเมริกา) จึงมีฐานะและอำนาจครอบเหนือสถาบันการศึกษาโลกที่สาม ทั้งโดยตรง และโดยอ้อม เพราะสถาบันการศึกษาอเมริกากลายเป็นศูนย์ผลิตนักวิชาการ นักการทหาร ชั้นยอดสุดของโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาด็อกเตอร์ (ดร.) ที่จบจากอเมริกา และเชี่ยวชาญทฤษฎีตะวันตก มีอิทธิพลมากในการกำหนดทิศทางทางการศึกษา ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม และทิศทางการเมืองประเทศไทย (ยังมีต่อ)