ASTVผู้จัดการรายวัน -“เรกูเลเตอร์”ส่งสัญญาณเบื้องต้นค่าไฟงวดหน้า (พ.ค.-ส.ค.) ต้องปรับขึ้น 18 สตางค์ต่อหน่วยหลัง ”กฟผ.” ประเมินต้องปรับขึ้นกว่า 25สตางค์ต่อหน่วยแถมรอบต่อไป (ก.ย.-ธ.ค.) ขยับอีก 37 สตางค์ต่อหน่วยเหตุน้ำมันแพงดันราคาก๊าซฯพุ่ง หากรัฐตรึงต้องแบกภาระ 4 หมื่นล้านบาทเอาไม่อยู่
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ เรกกูเรเตอร์ เปิดเผยว่า การประชุมของคณะอนุกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ช่วงเดือนเมษายนนี้ จะมีการพิจารณาปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที งวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมซึ่ง คาดว่าจะต้องมีการปรับขึ้นอีกประมาณ 18 สตางค์ต่อหน่วย จากเดิมที่ตรึงค่าเอฟทีตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาเพราะเหตุจากภาวะน้ำท่วม
ทั้งนี้สาเหตุที่แนวโน้มค่าไฟจะต้องปรับขึ้นเนื่องจาก ราคาก๊าซธรรมชาติที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ใช้ผลิตไฟถึง 70% มีราคาสูงขึ้นมากเนื่องจากราคาก๊าซฯจะสะท้อนจากน้ำมันย้อนหลัง 6เดือนซึ่งเป็นช่วงขาขึ้นและน้ำมันยังคงมิทิศทางเพิ่มอีกต่อเนื่อง ประกอบกับการปล่อยน้ำออกจาก 2 เขื่อนหลัก ตามแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล ก็ส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า จากปริมาณน้ำที่ลดลง ซึ่งการปรับค่าเอฟที เชื่อว่าจะบรรเทาภาระของกฟผ. ที่ปัจจุบันมีค่าชดเชยอยู่ที่ 8,000 ล้านบาทจากการตรึงค่าเอฟทีงวดที่ผ่านมา(ม.ค.-เม.ย.55)
แหล่งข่าวจากเรกูเลเตอร์ กล่าวว่า กฟผ. ได้จัดทำข้อมูลประมาณการณ์อัตราค่าเอฟทีในปี 2555 ไว้ในกรณีรัฐบาลจะใช้นโยบายการตรึงค่าเอฟทีต่อไปที่จะส่งผล ต่อภาระสูงถึง 4 หมื่นล้านบาทซึ่งกฟผ.คงไม่สามารถแบกรับภาระได้หมดและหากจะดูแลรัฐคงจะต้องหาเงินมาชดเชยในปริมาณที่สูงเนื่องจากปีนี้ราคาเชื้อเพลิงทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งนี้ค่าเอฟทีในรอบเดือนม.ค.-เม.ย. เดิมต้องปรับขึ้น 16 สตางค์ต่อหน่วย แต่ภาครัฐให้นโยบายการตรึงราคาจึงทำให้เกิดภาระสะสมการชดเชยค่าไฟเป็น 8,000 ล้านบาท ส่วนค่าเอฟทีรอบเดือนพ.ค.-ส.ค. คาดการณ์ต้องปรับขึ้นตามต้นทุนเชื้อเพลิงประมาณ 25 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้เกิดภาระชดเชยค่าไฟเป็น 2 หมื่นล้านบาท และค่าเอฟทีรอบเดือนก.ย.-ธ.ค. ต้องปรับขึ้น 37 สตางค์ต่อหน่วย มีภาระการชดเชยสะสมเป็นประมาณ 4 หมื่นล้านบาท
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่ากฟผ. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับนโยบายจากกระทรวงพลังงานถึงการดูแลค่าเอฟทีในรอบเดือนพ.ค.-ส.ค.55 ว่าจะมีการพิจารณาอย่างไรโดยคงจะต้องอยู่ที่เรกูเลเตอร์ อย่างไรก็ตามอยอมรับว่าค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับขึ้นแน่นอนเพราะราคาเชื้อเพลิงโดยเฉพาะก๊าซฯปรับสูงจากราคาน้ำมัน
ทั้งนี้การคาดการณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในปี 2555 คาดว่าจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(พีค) อยู่ที่ 25,784 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1,884 เมกะวัตต์ หรือ 7.88% ในขณะที่ความต้องการพลังงานไฟฟ้า คาดว่าจะเท่ากับ1.63 แสนล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 4,251 ล้านหน่วย หรือ 2.6% เนื่องจากสภาพอากาศที่เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนเร็วกว่าปกติ โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้อีกครั้ง สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมกราคม ซึ่งขณะนี้มีทิศทางที่ดีขึ้น
ส่วนการใช้ไฟฟ้าเดือนม.ค.อยู่ที่ 13,039 ล้านหน่วย ขยายตัว 5.93% ส่วนเดือนก.พ. อยู่ที่ 13,565 ล้านหน่วย ขยายตัว 6.6% ซึ่งเฉลี่ย 2 เดือน การใช้ไฟฟ้าจะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 6-7% ถือว่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่ผ่านมา หากตัวเลขการใช้ไฟฟ้ายังสูงเช่นนี้ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต้องกลับมาวางแผนการผลิตไฟฟ้าในระยะยาวกันใหม่เนื่องจากรูปแบบการใช้พลังงานจะเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้ามากขึ้น เช่นระบบขนส่งมวลชน ก็มีโครงการรถไฟฟ้าจำนวนมาก หรือรถยนต์ที่มีการผลิตในรูปแบบของเชื้อเพลิงไฟฟ้าแทนน้ำมัน จึงมีความเป็นไปได้ว่าการใช้ไฟฟ้าในอนาคตต้องมีการขยายตัวต่อเนื่องแน่นอน
“ทางออกของการแผนการผลิตไฟฟ้าตอนนี้คือการกระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงเพื่อลดสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เริ่มจะสูงขึ้น โดยเฉพาะการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ที่มีราคาแพงขึ้นในช่วงนี้ ดังนั้นควรเลือกเชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน และ การซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังน้ำของประเทศเพื่อนบ้านควบคู่กันไปด้วย ในขณะที่เชื้อเพลิงประเภทพลังงานหมุนเวียนยังมีข้อจำกัดในเรื่องต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงและยังไม่มีความต่อเนื่องในการผลิตไฟฟ้าออกมา”นายสุทัศน์ กล่าว.
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ เรกกูเรเตอร์ เปิดเผยว่า การประชุมของคณะอนุกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ช่วงเดือนเมษายนนี้ จะมีการพิจารณาปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที งวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมซึ่ง คาดว่าจะต้องมีการปรับขึ้นอีกประมาณ 18 สตางค์ต่อหน่วย จากเดิมที่ตรึงค่าเอฟทีตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาเพราะเหตุจากภาวะน้ำท่วม
ทั้งนี้สาเหตุที่แนวโน้มค่าไฟจะต้องปรับขึ้นเนื่องจาก ราคาก๊าซธรรมชาติที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ใช้ผลิตไฟถึง 70% มีราคาสูงขึ้นมากเนื่องจากราคาก๊าซฯจะสะท้อนจากน้ำมันย้อนหลัง 6เดือนซึ่งเป็นช่วงขาขึ้นและน้ำมันยังคงมิทิศทางเพิ่มอีกต่อเนื่อง ประกอบกับการปล่อยน้ำออกจาก 2 เขื่อนหลัก ตามแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล ก็ส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า จากปริมาณน้ำที่ลดลง ซึ่งการปรับค่าเอฟที เชื่อว่าจะบรรเทาภาระของกฟผ. ที่ปัจจุบันมีค่าชดเชยอยู่ที่ 8,000 ล้านบาทจากการตรึงค่าเอฟทีงวดที่ผ่านมา(ม.ค.-เม.ย.55)
แหล่งข่าวจากเรกูเลเตอร์ กล่าวว่า กฟผ. ได้จัดทำข้อมูลประมาณการณ์อัตราค่าเอฟทีในปี 2555 ไว้ในกรณีรัฐบาลจะใช้นโยบายการตรึงค่าเอฟทีต่อไปที่จะส่งผล ต่อภาระสูงถึง 4 หมื่นล้านบาทซึ่งกฟผ.คงไม่สามารถแบกรับภาระได้หมดและหากจะดูแลรัฐคงจะต้องหาเงินมาชดเชยในปริมาณที่สูงเนื่องจากปีนี้ราคาเชื้อเพลิงทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งนี้ค่าเอฟทีในรอบเดือนม.ค.-เม.ย. เดิมต้องปรับขึ้น 16 สตางค์ต่อหน่วย แต่ภาครัฐให้นโยบายการตรึงราคาจึงทำให้เกิดภาระสะสมการชดเชยค่าไฟเป็น 8,000 ล้านบาท ส่วนค่าเอฟทีรอบเดือนพ.ค.-ส.ค. คาดการณ์ต้องปรับขึ้นตามต้นทุนเชื้อเพลิงประมาณ 25 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้เกิดภาระชดเชยค่าไฟเป็น 2 หมื่นล้านบาท และค่าเอฟทีรอบเดือนก.ย.-ธ.ค. ต้องปรับขึ้น 37 สตางค์ต่อหน่วย มีภาระการชดเชยสะสมเป็นประมาณ 4 หมื่นล้านบาท
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่ากฟผ. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับนโยบายจากกระทรวงพลังงานถึงการดูแลค่าเอฟทีในรอบเดือนพ.ค.-ส.ค.55 ว่าจะมีการพิจารณาอย่างไรโดยคงจะต้องอยู่ที่เรกูเลเตอร์ อย่างไรก็ตามอยอมรับว่าค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับขึ้นแน่นอนเพราะราคาเชื้อเพลิงโดยเฉพาะก๊าซฯปรับสูงจากราคาน้ำมัน
ทั้งนี้การคาดการณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในปี 2555 คาดว่าจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(พีค) อยู่ที่ 25,784 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1,884 เมกะวัตต์ หรือ 7.88% ในขณะที่ความต้องการพลังงานไฟฟ้า คาดว่าจะเท่ากับ1.63 แสนล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 4,251 ล้านหน่วย หรือ 2.6% เนื่องจากสภาพอากาศที่เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนเร็วกว่าปกติ โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้อีกครั้ง สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมกราคม ซึ่งขณะนี้มีทิศทางที่ดีขึ้น
ส่วนการใช้ไฟฟ้าเดือนม.ค.อยู่ที่ 13,039 ล้านหน่วย ขยายตัว 5.93% ส่วนเดือนก.พ. อยู่ที่ 13,565 ล้านหน่วย ขยายตัว 6.6% ซึ่งเฉลี่ย 2 เดือน การใช้ไฟฟ้าจะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 6-7% ถือว่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่ผ่านมา หากตัวเลขการใช้ไฟฟ้ายังสูงเช่นนี้ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต้องกลับมาวางแผนการผลิตไฟฟ้าในระยะยาวกันใหม่เนื่องจากรูปแบบการใช้พลังงานจะเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้ามากขึ้น เช่นระบบขนส่งมวลชน ก็มีโครงการรถไฟฟ้าจำนวนมาก หรือรถยนต์ที่มีการผลิตในรูปแบบของเชื้อเพลิงไฟฟ้าแทนน้ำมัน จึงมีความเป็นไปได้ว่าการใช้ไฟฟ้าในอนาคตต้องมีการขยายตัวต่อเนื่องแน่นอน
“ทางออกของการแผนการผลิตไฟฟ้าตอนนี้คือการกระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงเพื่อลดสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เริ่มจะสูงขึ้น โดยเฉพาะการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ที่มีราคาแพงขึ้นในช่วงนี้ ดังนั้นควรเลือกเชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน และ การซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังน้ำของประเทศเพื่อนบ้านควบคู่กันไปด้วย ในขณะที่เชื้อเพลิงประเภทพลังงานหมุนเวียนยังมีข้อจำกัดในเรื่องต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงและยังไม่มีความต่อเนื่องในการผลิตไฟฟ้าออกมา”นายสุทัศน์ กล่าว.