ASTVผู้จัดการรายวัน-"เหลิม"ลั่นฟ้อง ASTVผู้จัดการ พ่วง 6 หนังสือพิมพ์ แถมด้วย "รังสิมา-บุญยอด-เทพไท" โดนถ้วนหน้า เว้น "ไทยรัฐ" ที่เตรียมกันไว้เป็นพยาน อ้างฟ้องเพื่อรักษาสิทธิ ไม่คิดข่มขู่สื่อ ระบุเดินเซ เพราะไม่สบาย พร้อมโชว์ใบรับรองแพทย์ ก้านหูอักเสบ ด้านกลุ่มสตรีฯ จี้กรรมการจริยธรรมสอบ "เหลิม" ที่เดินปรี่ เข้าไปชี้หน้าหาเรื่อง "รังสิมา" ในสภาฯ พร้อมส่งเรื่องให้วุฒิฯ ดำเนินการถอดถอน
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีการฟ้องร้องน.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ที่ระบุว่าตนเมาสุราระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อคืนวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า ได้มอบหมายทนายความไปดำเนินการแล้ว จากเดิมน.ส.รังสิมา พูดในสภามีเอกสิทธิ์คุ้มครอง แต่วันรุ่งขึ้นยังออกมาพูดนอกสภาอีก ก็เลยต้องฉลองศรัทธา รวมทั้งนายเทพไท เสนพงศ์ นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.ประชาธิปัตย์ ที่ไปเจอขวดโซดาที่ไหน เป็นสิบเป็นร้อย แล้วมาโยนให้ตน ก็ต้องไปเป็นผู้ต้องหาด้วย
ส่วนหนังสือพิมพ์ ที่ตนตั้งใจฟ้องจริงๆ คือ ผู้จัดการ แนวหน้า สยามรัฐ และไทยโพสต์ อีก 2 ฉบับ เป็นอาสามัคร คือ กรุงเทพธุรกิจ คมชัดลึก ส่วนไทยรัฐ ตนไม่เต็มใจฟ้อง หากไทยรัฐไปให้การว่า ที่ลงข้อความว่า ใครให้สัมภาษณ์ ตนก็พร้อมจะถอนฟ้องให้ ตนเป็นตำรวจเป็นนักกฎหมาย และอ่านหนังสือพิมพ์ ที่บอกว่าตนข่มขู่สื่อนั้น ก็ไม่ใช่ ตนรักษาสิทธิของตน รู้ว่าเรื่องไม่จริง ไปลงได้อย่างไร ตนไปเอาใบรองแพทย์โรงพยาบาลพระมงกุฎ ที่บอกว่า ก้านหูอักเสบ อาจจะสัปดาห์ 2 สัปดาห์ มีอาการที เดินเซจริงๆ คนเดินเซ คนหน้าแดง ไม่ใช่คนเมาเหล้า แล้วมาวัดแอลกอฮอล์ ตนไว้หรือ
ส่วนเรื่องกระทู้ถามสดนั้น เชิญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้าน ต้องยื่นเอง แสดงเอง
"หน้าที่ฝ่ายค้าน ต้องพิสูจน์ เพราะคุณกล่าวหา ผมถึงฟ้อง ผมบอกว่า ผมไม่เมา มายืนยันว่า ผมเมา ก็ต้องพิสูจน์ ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ ก็ต้องถูกดำเนินคดีไป ไม่มีปัญหา จะมาดิสเครดิตอะไร และที่บอกว่านายกฯ ก็บอกว่าไปพบนักธุรกิจ เพราะเคยเป็นนักธุรกิจ มันไม่เหมือนนักการเมืองที่ไม่เคยทำกิน ถึงไม่พบใคร การพบนักธุรกิจ มันผิดอะไร"ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
**กลุ่มสตรีฯจี้สอบจริยธรรม"เหลิม"
วันเดียวกันนี้ กลุ่มสตรีพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน นำโดยนางกาญจนี วัลยะเสวี นางชุมศิลป์ โสตถิปรีดาวงศ์ และคณะ ได้เข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมการจริยธรรม ของรัฐสภา ให้ดำเนินการตรวจสอบพฤติการณ์ของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ว่า ได้กระทำการขัดต่อจริยธรรมของข้าราชการการเมือง โดยมีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เลขานุการคณะกรรมการจริยธรรมของรัฐสภา เป็นผู้รับเรื่อง
กลุ่มสตรีพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน ระบุพฤติการณ์ของร.ต.อ.เฉลิม ที่ได้เดินไปที่นั่งของน.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และชี้นิ้ว พร้อมทั้งเรียกชื่อในระหว่างการประชุมร่วมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น ตามข้อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 ข้อ 6.ระบุว่า ข้าราชการการเมืองมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย รักษาประโยชน์ส่วนรวม ยึดหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดหลักในค่านิยมหลัก คือ ยึดมั่นในคุณธรรม และจริยธรรม และหลักจรรยา ข้อ 10.ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรม และศีลธรรม ทั้งส่วนตัวและหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน และต้องวางตนเป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน และข้อ 11.ข้าราชการการเมืองต้องเคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่น ไม่แสดงกิริยา หรือวาจาอันไม่สุภาพ อาฆาตมาดร้าย หรือใส่ร้าย หรือเสียดสีบุคคลใด
กลุ่มสตรีพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน ยังกล่าวอีกว่า ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ พ.ศ.2553 ข้อ 14.ระบุว่า สมาชิกและกรรมาธิการ จะต้องเคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่น ไม่แสดงกิริยา หรือใช้วาจาไม่สุภาพในลักษณะดูหมิ่น เสียดสี หรือใส่ร้ายป้ายสีบุคคลใด โดยไม่มีพยานหลักฐานหรือเอาเรื่องเท็จมาอภิปราย ซึ่งพฤติการณ์ของร.ต.อ.เฉลิม เป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เป็นการคุกคามต่อสิทธิสตรี เป็นการอาศัยความเป็นบุรุษเพศ กล่าววาจาที่ไม่เหมาะสมต่อสตรีเพศ อีกทั้งอยู่ในระหว่างการประชุมร่วมของรัฐสภาอันทรงเกียรติ การแสดงกริยาเช่นนี้ไม่ใช่วิสัยของผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐสภา เสื่อมเสียด้วย
ดังนั้น ทางกลุ่มสตรีพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน ของให้ทางคณะกรรมาธิการได้พิจารณา และดำเนินการยื่นเรื่องต่อวุฒิสภา เพื่อให้ดำเนินการถอดถอน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ออกจากการเป็นข้าราชการการเมือง ตามมาตรา 270 และมาตรา 274 ของรัฐธรรมนูญ
** กรรมการจริยธรรมฯชี้ยื่นถอดถอนได้
คุณหญิงกัลยา กล่าวว่า ตนจะยื่นเรื่องนี้ส่งต่อไปยังประธานคณะกรรมการจริยธรรมของรัฐสภาอย่างเร็วที่สุดเพื่อดำเนินการตรวจสอบในเรื่องนี้
นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย ในฐานะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่โดยหลักการแล้ว ถ้าหากมีพฤติกรรมเช่นนั้นจริง ก็ถือว่าผิดประมวลจริยธรรม และ ส.ส.สามารถเสนอชื่อถอดถอนออกจากตำแหน่งส.ส.ได้ อย่างไรก็ตาม ตนไม่เคยเห็นใครเคยดื่มสุราในรัฐสภา เพราะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมหากใครคิดจะกระทำ
** ฝ่ายค้านตั้งกระทู้ถามสด
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ในการประชุมสภาสัปดาห์นี้ ฝ่ายค้านจะตั้งกระทู้ถามสดกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี มีอาการมึนเมาในการเข้าร่วมประชุมสภา เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ของรองนายกฯ และอยู่ในความสนใจของประชาชน ซึ่งท่าทีของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่แสดงออกมานั้น ไม่ได้สะท้อนให้เห็นว่าให้ความสนใจในเรื่องจริยธรรมของสมาชิกเลย
"กรณีที่นายสมศักดิ์ ระบุว่า หากจะให้คณะกรรมการจริยธรรมฯ ตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว ต้องมีผู้ร้องเข้ามา ผมเห็นว่าเรื่องนี้ ไม่จำเป็นต้องรอผู้ร้อง นายสมศักดิ์ ก็สามารถตรวจสอบได้ โดยให้คณะกรรมการจริยธรรม ดำเนินการพิจารณา ซึ่งทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับสำนึก และความรับผิดชอบ ของประธานสภา ที่จะทำการปกป้องเกียรติศักดิ์ของสภา พวกเรามีความรู้สึกว่า ท่านทำตัวเหมือนเป็นผงซักฟอกให้แก่คนในรัฐบาล ทั้งนี้ ในระหว่างที่เกิดเหตุในวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา น.ส.รังสิมา ก็ได้ร้องต่อประธานสภาด้วยวาจาไปแล้วเช่นกัน ผมเห็นด้วยที่คณะกรรมาธิการกิจการสภาฯ ในการที่จะหามาตรการในการป้องกันการนำเครื่องดื่มมึนเมา เข้ามายังรัฐสภา" นายจุรินทร์กล่าว
**"เพื่อไทย"ป้อง"เหลิม"ไม่เมา
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังการประชุมพรรคว่า ที่ประชุมมีการหารือเรื่อง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และนายอนันต์ ศรีพันธุ์ ส.ส. อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ถูกกล่าวหาว่าเมาสุราระหว่างการประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยที่ประชุมไม่ติดใจกับกรณีดังกล่าว เนื่องจากบุคคลทั้ง 2 ได้ชี้แจงว่า ปฏิบัติตามหน้าที่ และไม่ได้มีอาการมึนเมา
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีการฟ้องร้องน.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ที่ระบุว่าตนเมาสุราระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อคืนวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า ได้มอบหมายทนายความไปดำเนินการแล้ว จากเดิมน.ส.รังสิมา พูดในสภามีเอกสิทธิ์คุ้มครอง แต่วันรุ่งขึ้นยังออกมาพูดนอกสภาอีก ก็เลยต้องฉลองศรัทธา รวมทั้งนายเทพไท เสนพงศ์ นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.ประชาธิปัตย์ ที่ไปเจอขวดโซดาที่ไหน เป็นสิบเป็นร้อย แล้วมาโยนให้ตน ก็ต้องไปเป็นผู้ต้องหาด้วย
ส่วนหนังสือพิมพ์ ที่ตนตั้งใจฟ้องจริงๆ คือ ผู้จัดการ แนวหน้า สยามรัฐ และไทยโพสต์ อีก 2 ฉบับ เป็นอาสามัคร คือ กรุงเทพธุรกิจ คมชัดลึก ส่วนไทยรัฐ ตนไม่เต็มใจฟ้อง หากไทยรัฐไปให้การว่า ที่ลงข้อความว่า ใครให้สัมภาษณ์ ตนก็พร้อมจะถอนฟ้องให้ ตนเป็นตำรวจเป็นนักกฎหมาย และอ่านหนังสือพิมพ์ ที่บอกว่าตนข่มขู่สื่อนั้น ก็ไม่ใช่ ตนรักษาสิทธิของตน รู้ว่าเรื่องไม่จริง ไปลงได้อย่างไร ตนไปเอาใบรองแพทย์โรงพยาบาลพระมงกุฎ ที่บอกว่า ก้านหูอักเสบ อาจจะสัปดาห์ 2 สัปดาห์ มีอาการที เดินเซจริงๆ คนเดินเซ คนหน้าแดง ไม่ใช่คนเมาเหล้า แล้วมาวัดแอลกอฮอล์ ตนไว้หรือ
ส่วนเรื่องกระทู้ถามสดนั้น เชิญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้าน ต้องยื่นเอง แสดงเอง
"หน้าที่ฝ่ายค้าน ต้องพิสูจน์ เพราะคุณกล่าวหา ผมถึงฟ้อง ผมบอกว่า ผมไม่เมา มายืนยันว่า ผมเมา ก็ต้องพิสูจน์ ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ ก็ต้องถูกดำเนินคดีไป ไม่มีปัญหา จะมาดิสเครดิตอะไร และที่บอกว่านายกฯ ก็บอกว่าไปพบนักธุรกิจ เพราะเคยเป็นนักธุรกิจ มันไม่เหมือนนักการเมืองที่ไม่เคยทำกิน ถึงไม่พบใคร การพบนักธุรกิจ มันผิดอะไร"ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
**กลุ่มสตรีฯจี้สอบจริยธรรม"เหลิม"
วันเดียวกันนี้ กลุ่มสตรีพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน นำโดยนางกาญจนี วัลยะเสวี นางชุมศิลป์ โสตถิปรีดาวงศ์ และคณะ ได้เข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมการจริยธรรม ของรัฐสภา ให้ดำเนินการตรวจสอบพฤติการณ์ของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ว่า ได้กระทำการขัดต่อจริยธรรมของข้าราชการการเมือง โดยมีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เลขานุการคณะกรรมการจริยธรรมของรัฐสภา เป็นผู้รับเรื่อง
กลุ่มสตรีพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน ระบุพฤติการณ์ของร.ต.อ.เฉลิม ที่ได้เดินไปที่นั่งของน.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และชี้นิ้ว พร้อมทั้งเรียกชื่อในระหว่างการประชุมร่วมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น ตามข้อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 ข้อ 6.ระบุว่า ข้าราชการการเมืองมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย รักษาประโยชน์ส่วนรวม ยึดหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดหลักในค่านิยมหลัก คือ ยึดมั่นในคุณธรรม และจริยธรรม และหลักจรรยา ข้อ 10.ข้าราชการการเมืองต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรม และศีลธรรม ทั้งส่วนตัวและหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน และต้องวางตนเป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน และข้อ 11.ข้าราชการการเมืองต้องเคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่น ไม่แสดงกิริยา หรือวาจาอันไม่สุภาพ อาฆาตมาดร้าย หรือใส่ร้าย หรือเสียดสีบุคคลใด
กลุ่มสตรีพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน ยังกล่าวอีกว่า ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ พ.ศ.2553 ข้อ 14.ระบุว่า สมาชิกและกรรมาธิการ จะต้องเคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่น ไม่แสดงกิริยา หรือใช้วาจาไม่สุภาพในลักษณะดูหมิ่น เสียดสี หรือใส่ร้ายป้ายสีบุคคลใด โดยไม่มีพยานหลักฐานหรือเอาเรื่องเท็จมาอภิปราย ซึ่งพฤติการณ์ของร.ต.อ.เฉลิม เป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เป็นการคุกคามต่อสิทธิสตรี เป็นการอาศัยความเป็นบุรุษเพศ กล่าววาจาที่ไม่เหมาะสมต่อสตรีเพศ อีกทั้งอยู่ในระหว่างการประชุมร่วมของรัฐสภาอันทรงเกียรติ การแสดงกริยาเช่นนี้ไม่ใช่วิสัยของผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐสภา เสื่อมเสียด้วย
ดังนั้น ทางกลุ่มสตรีพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน ของให้ทางคณะกรรมาธิการได้พิจารณา และดำเนินการยื่นเรื่องต่อวุฒิสภา เพื่อให้ดำเนินการถอดถอน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ออกจากการเป็นข้าราชการการเมือง ตามมาตรา 270 และมาตรา 274 ของรัฐธรรมนูญ
** กรรมการจริยธรรมฯชี้ยื่นถอดถอนได้
คุณหญิงกัลยา กล่าวว่า ตนจะยื่นเรื่องนี้ส่งต่อไปยังประธานคณะกรรมการจริยธรรมของรัฐสภาอย่างเร็วที่สุดเพื่อดำเนินการตรวจสอบในเรื่องนี้
นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย ในฐานะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่โดยหลักการแล้ว ถ้าหากมีพฤติกรรมเช่นนั้นจริง ก็ถือว่าผิดประมวลจริยธรรม และ ส.ส.สามารถเสนอชื่อถอดถอนออกจากตำแหน่งส.ส.ได้ อย่างไรก็ตาม ตนไม่เคยเห็นใครเคยดื่มสุราในรัฐสภา เพราะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมหากใครคิดจะกระทำ
** ฝ่ายค้านตั้งกระทู้ถามสด
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ในการประชุมสภาสัปดาห์นี้ ฝ่ายค้านจะตั้งกระทู้ถามสดกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี มีอาการมึนเมาในการเข้าร่วมประชุมสภา เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ของรองนายกฯ และอยู่ในความสนใจของประชาชน ซึ่งท่าทีของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่แสดงออกมานั้น ไม่ได้สะท้อนให้เห็นว่าให้ความสนใจในเรื่องจริยธรรมของสมาชิกเลย
"กรณีที่นายสมศักดิ์ ระบุว่า หากจะให้คณะกรรมการจริยธรรมฯ ตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว ต้องมีผู้ร้องเข้ามา ผมเห็นว่าเรื่องนี้ ไม่จำเป็นต้องรอผู้ร้อง นายสมศักดิ์ ก็สามารถตรวจสอบได้ โดยให้คณะกรรมการจริยธรรม ดำเนินการพิจารณา ซึ่งทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับสำนึก และความรับผิดชอบ ของประธานสภา ที่จะทำการปกป้องเกียรติศักดิ์ของสภา พวกเรามีความรู้สึกว่า ท่านทำตัวเหมือนเป็นผงซักฟอกให้แก่คนในรัฐบาล ทั้งนี้ ในระหว่างที่เกิดเหตุในวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา น.ส.รังสิมา ก็ได้ร้องต่อประธานสภาด้วยวาจาไปแล้วเช่นกัน ผมเห็นด้วยที่คณะกรรมาธิการกิจการสภาฯ ในการที่จะหามาตรการในการป้องกันการนำเครื่องดื่มมึนเมา เข้ามายังรัฐสภา" นายจุรินทร์กล่าว
**"เพื่อไทย"ป้อง"เหลิม"ไม่เมา
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังการประชุมพรรคว่า ที่ประชุมมีการหารือเรื่อง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และนายอนันต์ ศรีพันธุ์ ส.ส. อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ถูกกล่าวหาว่าเมาสุราระหว่างการประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยที่ประชุมไม่ติดใจกับกรณีดังกล่าว เนื่องจากบุคคลทั้ง 2 ได้ชี้แจงว่า ปฏิบัติตามหน้าที่ และไม่ได้มีอาการมึนเมา