ดังได้ย้ำเสมอมาว่า “ขบวนการลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ” พวกเขาคิดกันได้สองแนวทางคือ หนึ่ง รัฐประหาร สอง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือแก้ไข
พรรคเพื่อไทยยืนยันหนักแน่นว่าไม่สามารถยอมรับรัฐธรรมนูญ 2550 ได้ ต้องเดินหน้ายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ตามนโยบายของพรรคและของรัฐบาลที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาและตามเจตนารมณ์ของคนเสื้อแดง
เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 55 สมาชิกรัฐสภาก็ได้รับหลักการทั้ง 3 ร่างด้วยคะแนนเสียง 399 ต่อ 199 และงดออกเสียง 14 โดยยึดร่างของรัฐบาลหรือพรรคเพื่อไทยเป็นหลักและได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 291 จำนวน 45 คน โดยแบ่งไปตามสัดส่วนของพรรคต่างๆ และวุฒิสภา กำหนดแปรญัตติ 30 วัน
เราขอยืนยันว่า นี่เป็นกระบวนการของลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ ที่ในใจของพวกเขามีแต่รัฐธรรมนูญ โดยเห็นผิด คิดผิด และทำผิด มาตั้งแต่ครั้งแรกคือ รัฐประหารรัฐบาลสมเด็จพระปกเกล้าฯ แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
ซึ่งต่างจากแนวทางสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงคิดจะสถาปนา “หลัก Democracy” ก่อนแล้วจึงคิดร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง คือ ต้องมีหลักการปกครองหรือตัวระบอบการปกครองก่อน หลักการปกครองเป็นเช่นไร ระบอบก็เป็นเช่นนั้น แนวคิดที่ถูกต้องนี้ต้องพ่ายแพ้ต่อแนวคิดคณะราษฎร “ลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ” เมื่อลัทธิเผด็จการดังกล่าว ใช้ระบบรัฐสภา จึงเรียกว่า “เผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา”
ในขบวนการลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญยังแตกออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ หนึ่ง ฝ่ายทหาร สอง ฝ่ายพลเรือน ฝ่ายพลเรือนก็แตกออกเป็น 2 ฝ่าย ระหว่าง นายปรีดี พนมยงค์ กับ นายควง อภัยวงศ์ นี่คือภาพในอดีตกับภาพในปัจจุบันความขัดแย้งก็ยังคงเช่นเดิม ตัวแทนฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ คือพรรคเพื่อไทย แกนนำเสื้อแดง ที่ยึดรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 หรือเรียกว่าฝ่ายซ้ายเพราะมีแกนนำคอมมิวนิสต์แอบอิงอยู่มากและเป็นตัวชี้นำทางการเมือง
ส่วนฝ่ายตัวแทนของนายควง คือ พรรคประชาธิปัตย์และฝ่ายที่ยึดรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 เรียกกันว่าเป็นฝ่ายขวา นี่คือภาพโดยย่อของลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ ที่อ้างและโฆษณาชวนเชื่อว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่เคยได้ประชาธิปไตยสักที เพราะพวกเขาเห็นผิดอันใหญ่โต คือ ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตย เราขอย้ำว่า วิธีการนี้ ทำไปๆ สักร้อยครั้ง พันฉบับ สิบชาติ ประชาชนก็ไม่ได้ระบอบประชาธิปไตยพอบริหารประเทศล้มเหลวก็คิดแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นข้ออ้างเพื่อประชาธิปไตย หรือหากคิดแก้ไขไม่ทันก็จะถูกรัฐประหาร ฝ่ายรัฐประหารเอง พอรัฐประหารเสร็จก็ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มันก็เป็นพวกลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันนั่นเอง
ลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญจึงเป็นลัทธิที่หลอกประชาชนให้เป็นทาสรับใช้ทางการเมืองของพวกกลุ่มทุนทางการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั่นเอง ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่อิงแอบทำแนวร่วมอยู่ก็หวังอยู่ลึกๆ ว่าเมื่อระบอบนี้อ่อนแอลงก็จะยึดอำนาจเอาอย่างง่ายดาย ดังที่แกนนำฝ่ายคอมฯ เคยพูดไว้ “หลอกทักษิณให้โค่นเจ้า” หรือ “ทักษิณเท่านั้นที่จะโค่นเจ้าได้” เป็นต้น
ลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญที่ทั้งสองฝ่ายยึดถือ เป็นลัทธิที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย หรือไม่มีระบอบ พวกเขาเอารัฐธรรมนูญเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นความผิดพลาดอย่างร้าย มีลักษณะแตกแยก ไม่เป็นเอกภาพ ไปกันคนละทิศละทาง ประชาชนแตกแยก ยุ่งเหยิงดุจดังฝอยขัดหม้อ
ดังนั้นแกนนำพรรคเพื่อไทย จึงเป็นพวกเห็นผิดซ้ำรอยเดิมในการร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่ 19 หรือ 20 ทั้งเป็นการหลอกลวงและไม่มีประโยชน์อันใดต่อประชาชนเลย รังแต่ยึดรั้งให้เกิดความเห็นผิด ทำผิดให้ยาวนานออกไปจาก 80 ปี เป็น 100 ปี และที่ร้ายกาจมากคือสร้างกระแสปลูกฝังความเห็นผิดให้แก่แกนนำนักศึกษาเยาวชนคนรุ่นใหม่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ เมื่อพรรคเพื่อไทยทำผิด อีกไม่นานพวกเขาจะต้องถูกสาปแช่งชั่วกัลปาวสาน
เราจึงต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อความถูกต้อง ถือว่าเราได้ทำหน้าที่ที่ถูกต้องต่อแผ่นดิน แนวทางที่ถูกต้อง ไม่หลอกลวงประชาชน คือ ร่วมกันรู้รักสามัคคีธรรม เสนอ ผลักดัน ประชาสัมพันธ์ ให้รู้เรื่องการสร้างระบอบประชาธิปไตยโดยธรรมอย่างเปิดเผย เพื่อเป็นเหตุให้ทรงเป็นพระราชภารกิจ สถาปนาหลักการปกครองโดยธรรมขึ้นมาก่อน หากรัฐบาลนี้จะทำถูก ก็ให้รัฐสภามีมติเสนอหลักการปกครองโดยธรรมขึ้นมาก่อน จึงจะหยุดยั้งความเห็นผิดมายาวนาน 80 ปี แต่เชื่อว่าเป็นไปไม่ได้เพราะพวกเขาถือลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ
หลักคิดและวิธีการง่ายๆ “เมื่อเราต้องการจะไปวัดพระแก้ว วัดพระแก้วมีอยู่ก่อนแล้ว เราจึงไปได้ ซึ่งวิธีการไปนั้นแตกต่างหลากหลาย ทหารก็ไปอย่างหนึ่ง นักการเมือง ประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ ก็ไปกันคนละอย่างกัน แตกต่างหลากหลายแต่ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน ฉันใด
การสร้างระบอบการเมืองที่ถูกต้อง ก่อนอื่นก็จะต้องมีหลักการปกครอง(Principle of Government) เสียก่อน ฉันนั้น “ระบอบต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ หรือจุดมุ่งหมายต้องมาก่อนหรือเกิดก่อนวิธีการเสมอไป”
ไม่หลอกลวงเป็นหลักประกันและเป็นสัญญาประชาคม (Social Contract) ต่อปวงชนในชาติ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตยคือลักษณะพิเศษของชาติไทย โดยย่อคือ (1) หลักธรรมาธิปไตย (2) หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ (3) หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน (4) หลักเสรีภาพบริบูรณ์ (5) หลักความเสมอภาคทางโอกาส (6) หลักภราดรภาพ (7) หลักดุลยภาพ (8) หลักเอกภาพ (9) หลักนิติธรรม (เป็นทั้งหลักการปกครอง เป็นกฎหมายสูงสุด เป็นหลักนิติธรรม ฯลฯ)
จากนั้นจึงปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดและมาตราต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการปกครอง (Means of Government) ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองทั้ง 9 เพียงเท่านี้ประเทศไทยก็จะเข้าสู่ก้าวแรกที่ถูกต้องระบอบโดยธรรมก็จะแผ่ความดี ความเป็นธรรมออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด นี่คือแนวทางที่จะแก้เหตุวิกฤตชาติทั้งปวง จึงมีภาพลักษณะที่เป็นเอกภาพ “แตกต่างหลากหลายไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน และลักษณะแผ่กระจายกับรวมศูนย์ เกิดดุลยภาพดุจดังพระธรรมจักร” ดังรูป
พรรคเพื่อไทยยืนยันหนักแน่นว่าไม่สามารถยอมรับรัฐธรรมนูญ 2550 ได้ ต้องเดินหน้ายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ตามนโยบายของพรรคและของรัฐบาลที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาและตามเจตนารมณ์ของคนเสื้อแดง
เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 55 สมาชิกรัฐสภาก็ได้รับหลักการทั้ง 3 ร่างด้วยคะแนนเสียง 399 ต่อ 199 และงดออกเสียง 14 โดยยึดร่างของรัฐบาลหรือพรรคเพื่อไทยเป็นหลักและได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 291 จำนวน 45 คน โดยแบ่งไปตามสัดส่วนของพรรคต่างๆ และวุฒิสภา กำหนดแปรญัตติ 30 วัน
เราขอยืนยันว่า นี่เป็นกระบวนการของลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ ที่ในใจของพวกเขามีแต่รัฐธรรมนูญ โดยเห็นผิด คิดผิด และทำผิด มาตั้งแต่ครั้งแรกคือ รัฐประหารรัฐบาลสมเด็จพระปกเกล้าฯ แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
ซึ่งต่างจากแนวทางสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงคิดจะสถาปนา “หลัก Democracy” ก่อนแล้วจึงคิดร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง คือ ต้องมีหลักการปกครองหรือตัวระบอบการปกครองก่อน หลักการปกครองเป็นเช่นไร ระบอบก็เป็นเช่นนั้น แนวคิดที่ถูกต้องนี้ต้องพ่ายแพ้ต่อแนวคิดคณะราษฎร “ลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ” เมื่อลัทธิเผด็จการดังกล่าว ใช้ระบบรัฐสภา จึงเรียกว่า “เผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา”
ในขบวนการลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญยังแตกออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ หนึ่ง ฝ่ายทหาร สอง ฝ่ายพลเรือน ฝ่ายพลเรือนก็แตกออกเป็น 2 ฝ่าย ระหว่าง นายปรีดี พนมยงค์ กับ นายควง อภัยวงศ์ นี่คือภาพในอดีตกับภาพในปัจจุบันความขัดแย้งก็ยังคงเช่นเดิม ตัวแทนฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ คือพรรคเพื่อไทย แกนนำเสื้อแดง ที่ยึดรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 หรือเรียกว่าฝ่ายซ้ายเพราะมีแกนนำคอมมิวนิสต์แอบอิงอยู่มากและเป็นตัวชี้นำทางการเมือง
ส่วนฝ่ายตัวแทนของนายควง คือ พรรคประชาธิปัตย์และฝ่ายที่ยึดรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 เรียกกันว่าเป็นฝ่ายขวา นี่คือภาพโดยย่อของลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ ที่อ้างและโฆษณาชวนเชื่อว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่เคยได้ประชาธิปไตยสักที เพราะพวกเขาเห็นผิดอันใหญ่โต คือ ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตย เราขอย้ำว่า วิธีการนี้ ทำไปๆ สักร้อยครั้ง พันฉบับ สิบชาติ ประชาชนก็ไม่ได้ระบอบประชาธิปไตยพอบริหารประเทศล้มเหลวก็คิดแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นข้ออ้างเพื่อประชาธิปไตย หรือหากคิดแก้ไขไม่ทันก็จะถูกรัฐประหาร ฝ่ายรัฐประหารเอง พอรัฐประหารเสร็จก็ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มันก็เป็นพวกลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันนั่นเอง
ลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญจึงเป็นลัทธิที่หลอกประชาชนให้เป็นทาสรับใช้ทางการเมืองของพวกกลุ่มทุนทางการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั่นเอง ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่อิงแอบทำแนวร่วมอยู่ก็หวังอยู่ลึกๆ ว่าเมื่อระบอบนี้อ่อนแอลงก็จะยึดอำนาจเอาอย่างง่ายดาย ดังที่แกนนำฝ่ายคอมฯ เคยพูดไว้ “หลอกทักษิณให้โค่นเจ้า” หรือ “ทักษิณเท่านั้นที่จะโค่นเจ้าได้” เป็นต้น
ลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญที่ทั้งสองฝ่ายยึดถือ เป็นลัทธิที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย หรือไม่มีระบอบ พวกเขาเอารัฐธรรมนูญเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นความผิดพลาดอย่างร้าย มีลักษณะแตกแยก ไม่เป็นเอกภาพ ไปกันคนละทิศละทาง ประชาชนแตกแยก ยุ่งเหยิงดุจดังฝอยขัดหม้อ
ดังนั้นแกนนำพรรคเพื่อไทย จึงเป็นพวกเห็นผิดซ้ำรอยเดิมในการร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่ 19 หรือ 20 ทั้งเป็นการหลอกลวงและไม่มีประโยชน์อันใดต่อประชาชนเลย รังแต่ยึดรั้งให้เกิดความเห็นผิด ทำผิดให้ยาวนานออกไปจาก 80 ปี เป็น 100 ปี และที่ร้ายกาจมากคือสร้างกระแสปลูกฝังความเห็นผิดให้แก่แกนนำนักศึกษาเยาวชนคนรุ่นใหม่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ เมื่อพรรคเพื่อไทยทำผิด อีกไม่นานพวกเขาจะต้องถูกสาปแช่งชั่วกัลปาวสาน
เราจึงต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อความถูกต้อง ถือว่าเราได้ทำหน้าที่ที่ถูกต้องต่อแผ่นดิน แนวทางที่ถูกต้อง ไม่หลอกลวงประชาชน คือ ร่วมกันรู้รักสามัคคีธรรม เสนอ ผลักดัน ประชาสัมพันธ์ ให้รู้เรื่องการสร้างระบอบประชาธิปไตยโดยธรรมอย่างเปิดเผย เพื่อเป็นเหตุให้ทรงเป็นพระราชภารกิจ สถาปนาหลักการปกครองโดยธรรมขึ้นมาก่อน หากรัฐบาลนี้จะทำถูก ก็ให้รัฐสภามีมติเสนอหลักการปกครองโดยธรรมขึ้นมาก่อน จึงจะหยุดยั้งความเห็นผิดมายาวนาน 80 ปี แต่เชื่อว่าเป็นไปไม่ได้เพราะพวกเขาถือลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ
หลักคิดและวิธีการง่ายๆ “เมื่อเราต้องการจะไปวัดพระแก้ว วัดพระแก้วมีอยู่ก่อนแล้ว เราจึงไปได้ ซึ่งวิธีการไปนั้นแตกต่างหลากหลาย ทหารก็ไปอย่างหนึ่ง นักการเมือง ประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ ก็ไปกันคนละอย่างกัน แตกต่างหลากหลายแต่ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน ฉันใด
การสร้างระบอบการเมืองที่ถูกต้อง ก่อนอื่นก็จะต้องมีหลักการปกครอง(Principle of Government) เสียก่อน ฉันนั้น “ระบอบต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ หรือจุดมุ่งหมายต้องมาก่อนหรือเกิดก่อนวิธีการเสมอไป”
ไม่หลอกลวงเป็นหลักประกันและเป็นสัญญาประชาคม (Social Contract) ต่อปวงชนในชาติ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตยคือลักษณะพิเศษของชาติไทย โดยย่อคือ (1) หลักธรรมาธิปไตย (2) หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ (3) หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน (4) หลักเสรีภาพบริบูรณ์ (5) หลักความเสมอภาคทางโอกาส (6) หลักภราดรภาพ (7) หลักดุลยภาพ (8) หลักเอกภาพ (9) หลักนิติธรรม (เป็นทั้งหลักการปกครอง เป็นกฎหมายสูงสุด เป็นหลักนิติธรรม ฯลฯ)
จากนั้นจึงปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดและมาตราต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการปกครอง (Means of Government) ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองทั้ง 9 เพียงเท่านี้ประเทศไทยก็จะเข้าสู่ก้าวแรกที่ถูกต้องระบอบโดยธรรมก็จะแผ่ความดี ความเป็นธรรมออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด นี่คือแนวทางที่จะแก้เหตุวิกฤตชาติทั้งปวง จึงมีภาพลักษณะที่เป็นเอกภาพ “แตกต่างหลากหลายไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน และลักษณะแผ่กระจายกับรวมศูนย์ เกิดดุลยภาพดุจดังพระธรรมจักร” ดังรูป