คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์คัดค้านกระบวนการแก้ รธน. ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของประชาชน แต่เป็นข้ออ้างที่นักการเมืองไม่ยอมรับในกระบวนการยุติธรรม ซ้ำเติมวิกฤตความขัดแย้งในสังคม ยืนยันยืนเคียงข้างภาคประชาชนต่อต้านการยึดประเทศของทุนสามานย์
วันนี้ (26 ก.พ.) นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย หรือ ครป. ได้ออกแถลงการณ์เรื่องท่าทีและข้อเรียกร้องต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ว่า ตามที่มีการประชุมร่วมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ อันประกอบด้วย ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย และของพรรคชาติไทยพัฒนา โดยมีการเสนอให้แก้ไขมาตรา 291 เพื่อเปิดช่องให้มีการจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) โดยที่ประชุมร่วมของรัฐสภา ได้มีมติเห็นชอบหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ด้วยคะแนน 399 ต่อ 199 งดออกเสียง 14 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมานั้น คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอแถลงท่าทีและข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์ ดังต่อไปนี้
1. เราเห็นว่า การขอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ของพรรคร่วมรัฐบาลในครั้งนี้ไม่ยืนอยู่บนประโยชน์ของประเทศและประชาชน ไม่ได้อธิบายให้สังคมรู้ว่า การขอแก้รัฐธรรมนูญนอกจากเป็นข้อขัดข้องที่ทำให้นักการเมืองถูกจำกัดการใช้อำนาจจากกลไกการตรวจสอบในรัฐธรรมนูญ และต้องการช่วยคนผิดไม่ให้ต้องรับโทษแล้ว ประชาชนจะได้อะไรจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ข้ออ้างที่พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็คือ การไม่เคารพการมีส่วนร่วมและการลงประชามติของประชาชน และการอ้างว่าไม่รับความเป็นธรรมเพราะทำผิดกฎหมายเลือกตั้งจนถูกยุบพรรคตามรัฐธรรมนูญ คือการไม่เคารพกระบวนการยุติธรรมของนักการเมือง
2. เราเห็นว่า ในสถานการณ์ประเทศเป็นประชาธิปไตยปกติ ไม่มีสถานการณ์วิกฤติความขัดแย้งในสังคม อันเนื่องมาจากปัญหาที่มาจากรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การขอแก้รัฐธรรมนูญของนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล จึงเสมือนเป็นการเติมเชื้อไฟความขัดแย้งให้แก่สังคม เพื่อหวังประโยชน์จากสถานการณ์วิกฤตของประเทศ โดยเอาอนาคตของประเทศชาติประชาชนเป็นเดิมพัน ตามแผนการทำลายความมั่นคงแล้วยึดครองประเทศของกลุ่มทุนสามานย์
3. ประการสำคัญ การบริหารประเทศของรัฐบาลที่ผ่านมา ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ความทุกข์ยากของผู้ประสบอุทกภัย ปัญหาความยากจนของประเทศ คนที่ไร้ที่ดินทำกิน หนี้สินเกษตรกร ค่าแรงถูกค่าครองชีพแพงและอื่นๆ ก็ยังไม่ได้รับแก้ไขปัญหาเท่าที่ควร ไม่มีความยั่งยืนและเป็นไปอย่างฉาบฉวย เพื่อประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น ซึ่งปัญหาของประชาชนทั้งหมดทั้งปวงที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขนี้ ก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับรัฐธรรมนูญ
4. ครป.ขอคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อเปิดช่องให้มีการจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ซึ่งท้ายที่สุด การได้มาซึ่ง ส.ส.ร.ก็จะเป็นได้แค่เพียงนอมินีของนักการเมืองการร่างรัฐธรรมนูญก็จะถูกล็อกสเปกด้วยความต้องการของนักการเมือง สุดท้ายนักการเมืองก็จะนำการเมืองไปสู่วงจรความเลวร้ายที่ไม่มีจุดสิ้นสุดเหมือนเดิม การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ก็ยิ่งจะซ้ำเติมวิกฤติให้หนักยิ่งขึ้น
ท้ายที่สุด ครป.ขอประกาศปฏิเสธการเข้าร่วมการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกกระบวนการ แต่จะสร้างเวทีคู่ขนานตรวจสอบการร่างรัฐธรรมนูญของนักการเมืองอย่างเข้มข้น โดยจะได้ประสานงานกับเครือข่ายประชาชนส่วนต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชนต่อต้านการยึดประเทศของทุนสามานย์ผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนถึงที่สุด
วันนี้ (26 ก.พ.) นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย หรือ ครป. ได้ออกแถลงการณ์เรื่องท่าทีและข้อเรียกร้องต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ว่า ตามที่มีการประชุมร่วมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ อันประกอบด้วย ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย และของพรรคชาติไทยพัฒนา โดยมีการเสนอให้แก้ไขมาตรา 291 เพื่อเปิดช่องให้มีการจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) โดยที่ประชุมร่วมของรัฐสภา ได้มีมติเห็นชอบหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ด้วยคะแนน 399 ต่อ 199 งดออกเสียง 14 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมานั้น คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอแถลงท่าทีและข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์ ดังต่อไปนี้
1. เราเห็นว่า การขอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ของพรรคร่วมรัฐบาลในครั้งนี้ไม่ยืนอยู่บนประโยชน์ของประเทศและประชาชน ไม่ได้อธิบายให้สังคมรู้ว่า การขอแก้รัฐธรรมนูญนอกจากเป็นข้อขัดข้องที่ทำให้นักการเมืองถูกจำกัดการใช้อำนาจจากกลไกการตรวจสอบในรัฐธรรมนูญ และต้องการช่วยคนผิดไม่ให้ต้องรับโทษแล้ว ประชาชนจะได้อะไรจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ข้ออ้างที่พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็คือ การไม่เคารพการมีส่วนร่วมและการลงประชามติของประชาชน และการอ้างว่าไม่รับความเป็นธรรมเพราะทำผิดกฎหมายเลือกตั้งจนถูกยุบพรรคตามรัฐธรรมนูญ คือการไม่เคารพกระบวนการยุติธรรมของนักการเมือง
2. เราเห็นว่า ในสถานการณ์ประเทศเป็นประชาธิปไตยปกติ ไม่มีสถานการณ์วิกฤติความขัดแย้งในสังคม อันเนื่องมาจากปัญหาที่มาจากรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การขอแก้รัฐธรรมนูญของนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล จึงเสมือนเป็นการเติมเชื้อไฟความขัดแย้งให้แก่สังคม เพื่อหวังประโยชน์จากสถานการณ์วิกฤตของประเทศ โดยเอาอนาคตของประเทศชาติประชาชนเป็นเดิมพัน ตามแผนการทำลายความมั่นคงแล้วยึดครองประเทศของกลุ่มทุนสามานย์
3. ประการสำคัญ การบริหารประเทศของรัฐบาลที่ผ่านมา ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ความทุกข์ยากของผู้ประสบอุทกภัย ปัญหาความยากจนของประเทศ คนที่ไร้ที่ดินทำกิน หนี้สินเกษตรกร ค่าแรงถูกค่าครองชีพแพงและอื่นๆ ก็ยังไม่ได้รับแก้ไขปัญหาเท่าที่ควร ไม่มีความยั่งยืนและเป็นไปอย่างฉาบฉวย เพื่อประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น ซึ่งปัญหาของประชาชนทั้งหมดทั้งปวงที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขนี้ ก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับรัฐธรรมนูญ
4. ครป.ขอคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อเปิดช่องให้มีการจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ซึ่งท้ายที่สุด การได้มาซึ่ง ส.ส.ร.ก็จะเป็นได้แค่เพียงนอมินีของนักการเมืองการร่างรัฐธรรมนูญก็จะถูกล็อกสเปกด้วยความต้องการของนักการเมือง สุดท้ายนักการเมืองก็จะนำการเมืองไปสู่วงจรความเลวร้ายที่ไม่มีจุดสิ้นสุดเหมือนเดิม การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ก็ยิ่งจะซ้ำเติมวิกฤติให้หนักยิ่งขึ้น
ท้ายที่สุด ครป.ขอประกาศปฏิเสธการเข้าร่วมการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกกระบวนการ แต่จะสร้างเวทีคู่ขนานตรวจสอบการร่างรัฐธรรมนูญของนักการเมืองอย่างเข้มข้น โดยจะได้ประสานงานกับเครือข่ายประชาชนส่วนต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชนต่อต้านการยึดประเทศของทุนสามานย์ผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนถึงที่สุด