ASTVผู้จัดการรายวัน-"โมฮัมหมัด คาซาอี"ยังไม่รับสารภาพแผนก่อการร้าย "ปานศิริ"เผยผู้ต้องหายังให้การภาคเสธ พร้อมสั่งเดินหน้าสอบอักษร SEJEAL อัยการมอบบัวแก้วขอตัว "มาซูด"เป็นผู้ร้ายข้ามแดน "เหลิม"โว มาเลย์ส่งตัวให้แน่ "ยุทธศักดิ์"เผยอิสราเอลเตือนไทยอย่ามองเป็นเรื่องเล็ก ระวังจะเกิดเรื่องใหญ่ ด้านผู้นำมุสลิมชีอะห์ในไทยชี้คนร้ายที่ก่อเหตุเป็นสมาชิกเอ็มเคโอ กลุ่มต่อต้านรัฐบาลเตหะราน ขณะที่อิหร่านคาดสายลับอิสราเอลจัดฉาก
วานนี้ (21 ก.พ.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รองผบ.ตร.ในฐานะประธานคณะทำงานสืบสวนสอบสวนคลี่คลายคดีระเบิด 3 จุด บริเวณสุขุมวิท 71 พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ กก.สายตรวจ บก.สปพ.จำนวน 10 นาย คุมตัวนายโมฮัมหมัด คาซาอี (Mohammad Khazaei) อายุ 42 ปี ผู้ต้องหาชาวอิหร่าน มาสอบปากคำเพิ่มเติม โดยนายโมฮัมหมัด สวมเสื้อโปโลลายสีขาว นุ่งกางเกงขาสั้นดำ สวมรองเท้าแตะ และมีสีหน้าที่เรียบเฉย มายังห้องประชุมปารุสกวัน 2 หลังจากเมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีการสอบปากคำไปแล้วส่วนหนึ่ง
พล.ต.อ.ปานศิริ เปิดเผยว่า การนำตัวผู้ต้องหามาสอบปากคำเพิ่มเติมในครั้งนี้ ผู้ต้องหายังให้การภาคเสธเช่นเดิม โดยเจ้าหน้าที่ได้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุ ตามจุดต่างๆ ที่ผู้ต้องหาเคยไป รวมถึงบ้านที่เกิดเหตุระเบิดด้วย ส่วนการออกหมายจับผู้ต้องหาเพิ่มนั้น ยังไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาและออกหมายจับเพิ่มเติม แต่หากให้การพาดพิงและมีพยานหลักฐานเพียงพอสามารถนำไปสู่การออกหมายจับเพิ่มเติมต่อไป
ส่วนการตรวจสอบสติกเกอร์ที่มีตัวอัษร SEJEAL ที่ตรวจพบบริเวณเลียบทางด่วนเพลินจิตฝั่งใต้ ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับที่ตรวจพบในห้องนางไลลา โรฮานี ที่อาคารนาซ่าเวกัส ทาวเวอร์ ถนนรามคำแหง และที่รถจักรยานยนต์ที่กลุ่มผู้ต้องหาเตรียมไปก่อเหตุนั้น พล.ต.อ.ปานศิริ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนกองบังคับการสืบสวนของกองบัญชาการตำรวจนครบาล และตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาลตรวจสอบแล้ว
"การนำตัวนายมาซูด เซดากัตซาเดห์ ผู้ต้องหาอิหร่านที่ถูกทางการมาเลเซียจับกุมอีกคน ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ก.พ.ได้มีการพูดคุยกับอัยการสูงสุดแล้ว ซึ่งทางอัยการระหว่างประเทศได้นำเรื่องดังกล่าวส่งไปยังกระทรวงการต่างประเทศแล้ว และขอให้กระทรวงการต่างประเทศทำเรื่องไปถึงมาเลเซียก่อน ซึ่งยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะต้องใช้ระยะเวลาเท่าใด และในวันนี้ (22 ก.พ.) จะมีการนำตัวนายโมฮัมหมัดไปฝากขัง โดยให้กองปราบปรามร่วมกับ บช.น.คุมตัวไปฝากขังที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ โดย ผบ.ตร.ได้กำชับให้พนักงานสอบสวนตรวจสอบหาพยานหลักฐานเอกสารต่างๆ ด้วยความรอบคอบ” พล.ต.อ.ปานศิริกล่าว
**"เหลิม"โวตำรวจรู้เรื่องทั้งหมด**
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าทางการมาเลเซียจะส่งตัวผู้ต้องหาชาวอิหร่านมาให้ทางการไทยดำเนินคดีว่า ไทยกับมาเลเซียไม่มีสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน แต่ทางมาเลเซียคงต้องยึดสนธิสัญญาเดิมที่เคยทำไว้ตั้งแต่อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ แต่ตนได้ย้ำกับทางตำรวจแล้วว่า ไม่ให้พูดเรื่องนี้ ขอให้ทำงานอย่างเดียว ส่วนที่มีการตรวจพบป้ายสติ๊กเกอร์ ตัวอักษร SEJEAL ตามสถานที่ต่างๆ บนถนนเพลินจิต ในขณะที่มีการข่าวว่า นายเอฮุด บารัก รมว.กลาโหม อิสราเอล มีกำหนดเดินทางมาเยือนกรุงเทพฯ ในวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา ทำให้มีการวิจารณ์ว่าเป็นการบอกเป้าหมายการก่อการร้ายนั้น ยืนยันว่า ตำรวจรู้เรื่องทั้งหมด
**อิสราเอลชื่นชมไทย**
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยและคณะเข้าพบเมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า เป็นการมาเพื่อแสดงความชื่นชมการทำงานของตำรวจไทยต่อเหตุการณ์ระเบิด 3 จุดในครั้งนี้เพราะกลุ่มผู้ต้องหาที่ไทยจับและสืบได้นั้น ไม่ใช่ข่าวที่เขารู้มาก่อนล่วงหน้าโดยสายข่าวของเขา แต่ทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นก็เพิ่งเป็นเรื่องที่เขารู้ และเขาเห็นว่าตำรวจไทยทำงานได้อย่างรวดเร็ว สามารถจับคนร้ายได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถประสานกับทางมาเลเซียให้จับกุมคนร้ายเอาไว้ได้ ซึ่งทำให้อิสราเอลสามารถมองเห็นภาพอีกภาพหนึ่งของความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายจากเดิมพุ่งไปที่นักท่องเที่ยวชาวอิสราเอลเมื่อครั้งนายอาทริส ฮุสเซน มาเป็นบุคคลระดับทูต เอกอัครราชทูต และบุคคลสำคัญ
รองนายกฯ กล่าวว่า อิสราเอลขอขอบคุณทางการไทยและขอให้ไทยดำเนินการเข้มข้นแบบนี้ต่อไป ให้ไทยสืบสวนและสอบสวนต่อไปเพื่อก้าวไปสู่สิ่งที่ไม่รู้อีกในอนาคต และเขาได้ให้ข้อมูลกับทางการไทยเพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นว่าโยงใยอย่างไร ทั้งนี้ อิสราเอลบอกว่าทางการไทยอย่าได้มองภาพบางภาพว่าไม่สำคัญหรือไม่ใช่การก่อการร้าย เพราะบางทีเราอาจมองเป็นเรื่องเล็ก เช่น กรณีที่เกิดขึ้นในอาร์เจนตินาที่เคยเกิดเหตุลักษณะคล้ายกัน คือ เกิดเหตุการณ์เล็กๆ ก่อน แต่หลังจากนั้นไม่นานก็กลายเป็นเรื่องใหญ่
เมื่อถามว่าแสดงว่าจะมีเรื่องใหญ่เกิดขึ้นอีกใช่หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า หากเรามีความเข้มงวดกวดขันอย่างเข้มข้น และดำเนินการอย่างรัดกุม กลุ่มที่เคลื่อนไหวต่างๆ ก็จะไม่กล้าใช้พื้นที่ประเทศไทยก่อเหตุ แต่ถ้าเราปล่อยปละละเลยก็จะเกิดเหตุแบบนี้ขึ้นได้อีกในอนาคต
**อัยการมอบบัวแก้วขอตัว"มาซูด"**
นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ กล่าวถึงความคืบหน้าการขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนนาย มาซูด เซดากาห์ ซาเดห์ ชาวอิหร่านที่หลบหนีไปจนถูกจับกุมตัวได้ที่ประเทศมาเลเซียว่า คณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานอัยการฝ่ายต่างประเทศ พนักงานสอบสวน สตช. เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ได้ตรวจพยานหลักฐาน เอกสารสำคัญทางคดี การแปลเอกสาร รวมทั้งร่างคำร้องขอตัวนายมาซูด เสร็จเรียบร้อยให้นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ลงนาม และดำเนินการส่งให้กระทรวงการต่างประเทศแล้ว หลังจากนี้ ก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ที่จะดำเนินการทางวิถีการทูต ส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ยื่นคำร้องขอให้ศาลมาเลเซีย พิจารณา และมีคำสั่งส่งตัวนายมาซูดเป็นผู้ร้ายข้ามแดนต่อไป
"คณะทำงานมีความมั่นใจในพยานหลักฐานมากพอสมควร อย่างไรก็ตาม หากทางการมาเลเซียเห็นว่าพยานหลักฐานยังไม่เพียงพอ ต้องการพยานหลักฐานในส่วนใดเพิ่มเติมก็สามารถแจ้งมาได้”นายวันชัยกล่าว
**บอกไม่ได้ใช้เวลานานแค่ไหน
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ในหลักการของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย จะรีบนำส่งไปยังมาเลเซีย โดยช่องทางทางการทูต ผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย แล้วจึงทำหนังสือพร้อมกับนำเอกสารประกอบการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อขอตัวนายมาซูด เซดากัดซาเดห์ ยื่นต่อกระทรวงต่างประเทศของมาเลเซีย ทั้งนี้ หลังจากนี้ คงเป็นกระบวนการภายในของมาเลเซียที่คล้ายกับไทย ซึ่งทางกระทรวงต่างประเทศมาเลเซียจะนำหนังสือส่งไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดของมาเลเซีย
ในขั้นตอนการส่งหนังสือขอตัวผู้ร้าย คงใช้เวลาไม่นาน แต่ในกระบวนการพิจารณาของฝ่ายมาเลเซียอาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ที่ไม่สามารถระบุได้ว่านานเท่าไร ขึ้นอยู่กับระบบยุติธรรมของมาเลเซียที่ต้องมีการไต่สวน และรอคำตัดสินของศาลมาเลเซีย คงต้องติดตามกันต่อไป และล่าสุด ในการเยือนประเทศมาเลเซียอย่างเป็นทางการของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ได้หยิบยกเรื่องนี้หารือกับนายนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย โดยได้รับการตอบรับที่ดีที่จะเป็นสัญญาณเชิงบวกในการดำเนินการเรื่องนี้
**ชี้คนร้ายเป็น MKO กลุ่มต่อต้านรัฐบาล**
สำนักข่าวฟาร์สของอิหร่านรายงานว่า ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี ประธานสถาบันศึกษาอัล-มะห์ดีย์ ผู้นำศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ไทย ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ผู้ต้องสงสัยร่วมกันก่อเหตุระเบิดเมื่อวันอังคารที่ 14 ก.พ.2555 ทั้ง 4 ราย เป็นสมาชิกขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่าน
ฮูซัยนี ระบุว่า กลุ่มเอ็มเคโอไม่เป็นที่รู้จักสำหรับหน่วยงานความมั่นคงไทย แต่เอ็มเคโออยู่ในรายชื่อกลุ่มก่อการร้ายของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 1997 และมีประวัติเคยก่อเหตุหวังโค่นล้มการสถาปนารัฐอิสลามอิหร่าน ดูเหมือนกลุ่มนี้พยายามก่อเหตุเพื่อโยนความผิดให้อิหร่าน
นักวิชาการอิสลามนิกายชีอะห์รายนี้ ยังอ้างถึงรายงานลับของหน่วยความมั่นคงอิหร่าน ซึ่งระบุตรงกันว่า บุคคลเหล่านี้เป็นสมาชิกกลุ่มเอ็มเคโอ
ทั้งนี้ เหตุระเบิดบริเวณซอยปรีดีพนมยงค์ 31 เกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากการลอบวางระเบิดในอินเดียและจอร์เจีย โดยมีเป้าหมายเป็นนักการทูตอิสราเอล ทางการอิหร่านได้ออกมาประณามผู้อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดในไทย และกล่าวหาสายลับอิสราเอล ว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมทั้งปฏิเสธข้อกล่าวหาจากรัฐยิวที่ว่าเตหะรานคือตัวการ
**โยนสายลับอิสราเอลจัดฉาก**
รอมิน เมห์มันปารัสต์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศอิหร่าน แถลงถึงพฤติกรรมของอิสราเอลว่า สายลับยิวมักก่อเหตุก่อการร้ายลักษณะนี้บ่อยครั้ง
ขณะเดียวกัน มาจิด บิซมาร์ก เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศไทย ก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า หากเราติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและชาญฉลาด เราจะรู้ว่าใครอยู่เบื้องหลัง ผู้ต้องสงสัยรายสำคัญ คือ อิสราเอล โดยเตหะรานปฏิเสธคำกล่าวหาว่าผู้ต้องสงสัยถือสัญชาติอิหร่าน โดยระบุว่าบัตรประจำตัวที่พบในจุดเกิดเหตุอาจถูกสายลับอิสราเอลจัดฉากขึ้นมา
มาจิด บิซมาร์ก กล่าวว่า สถานเอกอัครราชทูตอิหร่านมีความเคลือบแคลงใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับสัญชาติที่แท้จริงของคนร้ายที่ถูกจับในไทยและมาเลเซีย หลังพบว่าคนกลุ่มนี้พกหนังสือเดินทางของอิหร่าน และตั้งคำถามทิ้งไว้ว่า พวกเขาเป็นพลเรือนอิหร่านจริงหรือไม่
อนึ่ง กลุ่มเอ็มเคโอมีฐานที่มั่นตั้งอยู่ในอิรัก และถูกหลายๆ ประเทศขึ้นบัญชีดำเป็นกลุ่มก่อการร้าย
เอ็มเคโอเริ่มปฏิบัติการลอบสังหารพลเรือนและเจ้าหน้าที่อิหร่าน ไม่นานหลังจากการปฏิวัติอิสลามประสบผลสำเร็จ โดยมีผู้นำอิหร่านหลายรายถูกเอ็มเคโอลอบสังหารไปแล้ว เช่น ประธานาธิบดี โมฮัมหมัด อาลี ราจายี, นายกรัฐมนตรี โมฮัมหมัด จาวัด บาโฮนาร์ และอธิบดีผู้พิพากษา โมฮัมหมัด ฮัสเซน เบเฮชติ ซึ่งต่างเสียชีวิตในเหตุการณ์ลอบวางระเบิดเมื่อปี 1981
ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านลี้ภัยไปยังอิรักในปี 1986 ที่นั่น กลุ่มนี้ได้รับการปกป้องจากประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งต้องการให้เอ็มเคโอช่วยจัดการกับชาวเคิร์ดและชาวชีอะห์ในอิรัก เอ็มเคโอยังได้เข้าร่วมกองทัพอิรักในช่วงทำสงครามกับอิหร่าน ระหว่างปี 1980-1988 ซึ่งอิรักยังคงได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ
**"สุนัย"พบฑูตอิหร่าน**
นายสุนัย จุลพงศธร ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังเดินทางเข้าพบกับนายมา จิด บิซมาร์ก เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศไทย ตามมติการประชุมเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ที่มีหน้าที่ออกเยี่ยมสถานทูตประเทศต่างๆ ตามวาระและโอกาส ว่า เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศไทย ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ซึ่งเรื่องที่หารือกันนั้นจะเน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอิหร่านที่ระยะหลังข้าราชการระดับสูงของไทยขาดการสานสัมพันธ์มานานกว่า 6 ปี ทำให้การค้าการลงทุนรวมถึงการท่องเที่ยวได้ซบเซาเป็นอย่างมาก
ก่อนหน้านี้นักท่องเที่ยวชาวอิหร่านเข้ามาในไทยปีละ 1.5 แสนคน รวมไปถึงสายการบินอิหร่านแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินของรัฐ ได้หยุดบินไปแล้วกว่า 6 เดือน เนื่องจากไม่สามารถหาที่เติมน้ำมันในประเทศไทยได้ ส่วนสายการบินที่บินอยู่ในขณะนี้มีเพียงมาฮาร์นแอร์เท่านั้น ส่วนในเรื่องการก่อการร้ายที่เกิดขึ้น ทางสถานทูตอิหร่านจะให้ความร่วมมือ ส่วนคนร้ายชาวอิหร่านที่ถูกจับกุมได้นั้น ยืนยันเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เอกอัครราชทูตชื่นชมการทำหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่ให้ข่าวไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
วานนี้ (21 ก.พ.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รองผบ.ตร.ในฐานะประธานคณะทำงานสืบสวนสอบสวนคลี่คลายคดีระเบิด 3 จุด บริเวณสุขุมวิท 71 พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ กก.สายตรวจ บก.สปพ.จำนวน 10 นาย คุมตัวนายโมฮัมหมัด คาซาอี (Mohammad Khazaei) อายุ 42 ปี ผู้ต้องหาชาวอิหร่าน มาสอบปากคำเพิ่มเติม โดยนายโมฮัมหมัด สวมเสื้อโปโลลายสีขาว นุ่งกางเกงขาสั้นดำ สวมรองเท้าแตะ และมีสีหน้าที่เรียบเฉย มายังห้องประชุมปารุสกวัน 2 หลังจากเมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีการสอบปากคำไปแล้วส่วนหนึ่ง
พล.ต.อ.ปานศิริ เปิดเผยว่า การนำตัวผู้ต้องหามาสอบปากคำเพิ่มเติมในครั้งนี้ ผู้ต้องหายังให้การภาคเสธเช่นเดิม โดยเจ้าหน้าที่ได้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุ ตามจุดต่างๆ ที่ผู้ต้องหาเคยไป รวมถึงบ้านที่เกิดเหตุระเบิดด้วย ส่วนการออกหมายจับผู้ต้องหาเพิ่มนั้น ยังไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาและออกหมายจับเพิ่มเติม แต่หากให้การพาดพิงและมีพยานหลักฐานเพียงพอสามารถนำไปสู่การออกหมายจับเพิ่มเติมต่อไป
ส่วนการตรวจสอบสติกเกอร์ที่มีตัวอัษร SEJEAL ที่ตรวจพบบริเวณเลียบทางด่วนเพลินจิตฝั่งใต้ ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับที่ตรวจพบในห้องนางไลลา โรฮานี ที่อาคารนาซ่าเวกัส ทาวเวอร์ ถนนรามคำแหง และที่รถจักรยานยนต์ที่กลุ่มผู้ต้องหาเตรียมไปก่อเหตุนั้น พล.ต.อ.ปานศิริ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนกองบังคับการสืบสวนของกองบัญชาการตำรวจนครบาล และตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาลตรวจสอบแล้ว
"การนำตัวนายมาซูด เซดากัตซาเดห์ ผู้ต้องหาอิหร่านที่ถูกทางการมาเลเซียจับกุมอีกคน ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ก.พ.ได้มีการพูดคุยกับอัยการสูงสุดแล้ว ซึ่งทางอัยการระหว่างประเทศได้นำเรื่องดังกล่าวส่งไปยังกระทรวงการต่างประเทศแล้ว และขอให้กระทรวงการต่างประเทศทำเรื่องไปถึงมาเลเซียก่อน ซึ่งยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะต้องใช้ระยะเวลาเท่าใด และในวันนี้ (22 ก.พ.) จะมีการนำตัวนายโมฮัมหมัดไปฝากขัง โดยให้กองปราบปรามร่วมกับ บช.น.คุมตัวไปฝากขังที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ โดย ผบ.ตร.ได้กำชับให้พนักงานสอบสวนตรวจสอบหาพยานหลักฐานเอกสารต่างๆ ด้วยความรอบคอบ” พล.ต.อ.ปานศิริกล่าว
**"เหลิม"โวตำรวจรู้เรื่องทั้งหมด**
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าทางการมาเลเซียจะส่งตัวผู้ต้องหาชาวอิหร่านมาให้ทางการไทยดำเนินคดีว่า ไทยกับมาเลเซียไม่มีสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน แต่ทางมาเลเซียคงต้องยึดสนธิสัญญาเดิมที่เคยทำไว้ตั้งแต่อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ แต่ตนได้ย้ำกับทางตำรวจแล้วว่า ไม่ให้พูดเรื่องนี้ ขอให้ทำงานอย่างเดียว ส่วนที่มีการตรวจพบป้ายสติ๊กเกอร์ ตัวอักษร SEJEAL ตามสถานที่ต่างๆ บนถนนเพลินจิต ในขณะที่มีการข่าวว่า นายเอฮุด บารัก รมว.กลาโหม อิสราเอล มีกำหนดเดินทางมาเยือนกรุงเทพฯ ในวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา ทำให้มีการวิจารณ์ว่าเป็นการบอกเป้าหมายการก่อการร้ายนั้น ยืนยันว่า ตำรวจรู้เรื่องทั้งหมด
**อิสราเอลชื่นชมไทย**
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยและคณะเข้าพบเมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า เป็นการมาเพื่อแสดงความชื่นชมการทำงานของตำรวจไทยต่อเหตุการณ์ระเบิด 3 จุดในครั้งนี้เพราะกลุ่มผู้ต้องหาที่ไทยจับและสืบได้นั้น ไม่ใช่ข่าวที่เขารู้มาก่อนล่วงหน้าโดยสายข่าวของเขา แต่ทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นก็เพิ่งเป็นเรื่องที่เขารู้ และเขาเห็นว่าตำรวจไทยทำงานได้อย่างรวดเร็ว สามารถจับคนร้ายได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถประสานกับทางมาเลเซียให้จับกุมคนร้ายเอาไว้ได้ ซึ่งทำให้อิสราเอลสามารถมองเห็นภาพอีกภาพหนึ่งของความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายจากเดิมพุ่งไปที่นักท่องเที่ยวชาวอิสราเอลเมื่อครั้งนายอาทริส ฮุสเซน มาเป็นบุคคลระดับทูต เอกอัครราชทูต และบุคคลสำคัญ
รองนายกฯ กล่าวว่า อิสราเอลขอขอบคุณทางการไทยและขอให้ไทยดำเนินการเข้มข้นแบบนี้ต่อไป ให้ไทยสืบสวนและสอบสวนต่อไปเพื่อก้าวไปสู่สิ่งที่ไม่รู้อีกในอนาคต และเขาได้ให้ข้อมูลกับทางการไทยเพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นว่าโยงใยอย่างไร ทั้งนี้ อิสราเอลบอกว่าทางการไทยอย่าได้มองภาพบางภาพว่าไม่สำคัญหรือไม่ใช่การก่อการร้าย เพราะบางทีเราอาจมองเป็นเรื่องเล็ก เช่น กรณีที่เกิดขึ้นในอาร์เจนตินาที่เคยเกิดเหตุลักษณะคล้ายกัน คือ เกิดเหตุการณ์เล็กๆ ก่อน แต่หลังจากนั้นไม่นานก็กลายเป็นเรื่องใหญ่
เมื่อถามว่าแสดงว่าจะมีเรื่องใหญ่เกิดขึ้นอีกใช่หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า หากเรามีความเข้มงวดกวดขันอย่างเข้มข้น และดำเนินการอย่างรัดกุม กลุ่มที่เคลื่อนไหวต่างๆ ก็จะไม่กล้าใช้พื้นที่ประเทศไทยก่อเหตุ แต่ถ้าเราปล่อยปละละเลยก็จะเกิดเหตุแบบนี้ขึ้นได้อีกในอนาคต
**อัยการมอบบัวแก้วขอตัว"มาซูด"**
นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ กล่าวถึงความคืบหน้าการขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนนาย มาซูด เซดากาห์ ซาเดห์ ชาวอิหร่านที่หลบหนีไปจนถูกจับกุมตัวได้ที่ประเทศมาเลเซียว่า คณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานอัยการฝ่ายต่างประเทศ พนักงานสอบสวน สตช. เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ได้ตรวจพยานหลักฐาน เอกสารสำคัญทางคดี การแปลเอกสาร รวมทั้งร่างคำร้องขอตัวนายมาซูด เสร็จเรียบร้อยให้นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ลงนาม และดำเนินการส่งให้กระทรวงการต่างประเทศแล้ว หลังจากนี้ ก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ที่จะดำเนินการทางวิถีการทูต ส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ยื่นคำร้องขอให้ศาลมาเลเซีย พิจารณา และมีคำสั่งส่งตัวนายมาซูดเป็นผู้ร้ายข้ามแดนต่อไป
"คณะทำงานมีความมั่นใจในพยานหลักฐานมากพอสมควร อย่างไรก็ตาม หากทางการมาเลเซียเห็นว่าพยานหลักฐานยังไม่เพียงพอ ต้องการพยานหลักฐานในส่วนใดเพิ่มเติมก็สามารถแจ้งมาได้”นายวันชัยกล่าว
**บอกไม่ได้ใช้เวลานานแค่ไหน
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ในหลักการของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย จะรีบนำส่งไปยังมาเลเซีย โดยช่องทางทางการทูต ผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย แล้วจึงทำหนังสือพร้อมกับนำเอกสารประกอบการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อขอตัวนายมาซูด เซดากัดซาเดห์ ยื่นต่อกระทรวงต่างประเทศของมาเลเซีย ทั้งนี้ หลังจากนี้ คงเป็นกระบวนการภายในของมาเลเซียที่คล้ายกับไทย ซึ่งทางกระทรวงต่างประเทศมาเลเซียจะนำหนังสือส่งไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดของมาเลเซีย
ในขั้นตอนการส่งหนังสือขอตัวผู้ร้าย คงใช้เวลาไม่นาน แต่ในกระบวนการพิจารณาของฝ่ายมาเลเซียอาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ที่ไม่สามารถระบุได้ว่านานเท่าไร ขึ้นอยู่กับระบบยุติธรรมของมาเลเซียที่ต้องมีการไต่สวน และรอคำตัดสินของศาลมาเลเซีย คงต้องติดตามกันต่อไป และล่าสุด ในการเยือนประเทศมาเลเซียอย่างเป็นทางการของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ได้หยิบยกเรื่องนี้หารือกับนายนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย โดยได้รับการตอบรับที่ดีที่จะเป็นสัญญาณเชิงบวกในการดำเนินการเรื่องนี้
**ชี้คนร้ายเป็น MKO กลุ่มต่อต้านรัฐบาล**
สำนักข่าวฟาร์สของอิหร่านรายงานว่า ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี ประธานสถาบันศึกษาอัล-มะห์ดีย์ ผู้นำศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ไทย ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ผู้ต้องสงสัยร่วมกันก่อเหตุระเบิดเมื่อวันอังคารที่ 14 ก.พ.2555 ทั้ง 4 ราย เป็นสมาชิกขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่าน
ฮูซัยนี ระบุว่า กลุ่มเอ็มเคโอไม่เป็นที่รู้จักสำหรับหน่วยงานความมั่นคงไทย แต่เอ็มเคโออยู่ในรายชื่อกลุ่มก่อการร้ายของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 1997 และมีประวัติเคยก่อเหตุหวังโค่นล้มการสถาปนารัฐอิสลามอิหร่าน ดูเหมือนกลุ่มนี้พยายามก่อเหตุเพื่อโยนความผิดให้อิหร่าน
นักวิชาการอิสลามนิกายชีอะห์รายนี้ ยังอ้างถึงรายงานลับของหน่วยความมั่นคงอิหร่าน ซึ่งระบุตรงกันว่า บุคคลเหล่านี้เป็นสมาชิกกลุ่มเอ็มเคโอ
ทั้งนี้ เหตุระเบิดบริเวณซอยปรีดีพนมยงค์ 31 เกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากการลอบวางระเบิดในอินเดียและจอร์เจีย โดยมีเป้าหมายเป็นนักการทูตอิสราเอล ทางการอิหร่านได้ออกมาประณามผู้อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดในไทย และกล่าวหาสายลับอิสราเอล ว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมทั้งปฏิเสธข้อกล่าวหาจากรัฐยิวที่ว่าเตหะรานคือตัวการ
**โยนสายลับอิสราเอลจัดฉาก**
รอมิน เมห์มันปารัสต์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศอิหร่าน แถลงถึงพฤติกรรมของอิสราเอลว่า สายลับยิวมักก่อเหตุก่อการร้ายลักษณะนี้บ่อยครั้ง
ขณะเดียวกัน มาจิด บิซมาร์ก เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศไทย ก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า หากเราติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและชาญฉลาด เราจะรู้ว่าใครอยู่เบื้องหลัง ผู้ต้องสงสัยรายสำคัญ คือ อิสราเอล โดยเตหะรานปฏิเสธคำกล่าวหาว่าผู้ต้องสงสัยถือสัญชาติอิหร่าน โดยระบุว่าบัตรประจำตัวที่พบในจุดเกิดเหตุอาจถูกสายลับอิสราเอลจัดฉากขึ้นมา
มาจิด บิซมาร์ก กล่าวว่า สถานเอกอัครราชทูตอิหร่านมีความเคลือบแคลงใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับสัญชาติที่แท้จริงของคนร้ายที่ถูกจับในไทยและมาเลเซีย หลังพบว่าคนกลุ่มนี้พกหนังสือเดินทางของอิหร่าน และตั้งคำถามทิ้งไว้ว่า พวกเขาเป็นพลเรือนอิหร่านจริงหรือไม่
อนึ่ง กลุ่มเอ็มเคโอมีฐานที่มั่นตั้งอยู่ในอิรัก และถูกหลายๆ ประเทศขึ้นบัญชีดำเป็นกลุ่มก่อการร้าย
เอ็มเคโอเริ่มปฏิบัติการลอบสังหารพลเรือนและเจ้าหน้าที่อิหร่าน ไม่นานหลังจากการปฏิวัติอิสลามประสบผลสำเร็จ โดยมีผู้นำอิหร่านหลายรายถูกเอ็มเคโอลอบสังหารไปแล้ว เช่น ประธานาธิบดี โมฮัมหมัด อาลี ราจายี, นายกรัฐมนตรี โมฮัมหมัด จาวัด บาโฮนาร์ และอธิบดีผู้พิพากษา โมฮัมหมัด ฮัสเซน เบเฮชติ ซึ่งต่างเสียชีวิตในเหตุการณ์ลอบวางระเบิดเมื่อปี 1981
ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านลี้ภัยไปยังอิรักในปี 1986 ที่นั่น กลุ่มนี้ได้รับการปกป้องจากประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งต้องการให้เอ็มเคโอช่วยจัดการกับชาวเคิร์ดและชาวชีอะห์ในอิรัก เอ็มเคโอยังได้เข้าร่วมกองทัพอิรักในช่วงทำสงครามกับอิหร่าน ระหว่างปี 1980-1988 ซึ่งอิรักยังคงได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ
**"สุนัย"พบฑูตอิหร่าน**
นายสุนัย จุลพงศธร ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังเดินทางเข้าพบกับนายมา จิด บิซมาร์ก เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศไทย ตามมติการประชุมเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ที่มีหน้าที่ออกเยี่ยมสถานทูตประเทศต่างๆ ตามวาระและโอกาส ว่า เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศไทย ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ซึ่งเรื่องที่หารือกันนั้นจะเน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอิหร่านที่ระยะหลังข้าราชการระดับสูงของไทยขาดการสานสัมพันธ์มานานกว่า 6 ปี ทำให้การค้าการลงทุนรวมถึงการท่องเที่ยวได้ซบเซาเป็นอย่างมาก
ก่อนหน้านี้นักท่องเที่ยวชาวอิหร่านเข้ามาในไทยปีละ 1.5 แสนคน รวมไปถึงสายการบินอิหร่านแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินของรัฐ ได้หยุดบินไปแล้วกว่า 6 เดือน เนื่องจากไม่สามารถหาที่เติมน้ำมันในประเทศไทยได้ ส่วนสายการบินที่บินอยู่ในขณะนี้มีเพียงมาฮาร์นแอร์เท่านั้น ส่วนในเรื่องการก่อการร้ายที่เกิดขึ้น ทางสถานทูตอิหร่านจะให้ความร่วมมือ ส่วนคนร้ายชาวอิหร่านที่ถูกจับกุมได้นั้น ยืนยันเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เอกอัครราชทูตชื่นชมการทำหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่ให้ข่าวไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ