วานนี้(21 ก.พ.55)นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงแนวคิดการสร้างอพาทเม้นต์คร่อมคลองของนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่สาธารณะว่า ในทางหลักการแล้วถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี แต่คิดว่าคงไม่สามารถทำได้ เพราะผิดกฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ที่ห้ามก่อสร้างอาคารในพื้นที่สาธารณะ แต่หากจะทำรัฐบาลก็ต้องแก้ที่กฎหมาย อาจทำเป็นกฎหมายเฉพาะกิจ
ทั้งนี้ กทม.ไม่สามารถสร้างเองได้อยู่แล้ว รัฐบาลต้องเป็นผู้ดำเนินการ ตนเห็นว่ารัฐบาลควรสร้างที่อยู่อาศัยในลักษณะอพาทเมนต์นี้ในพื้นที่ของรัฐ อาทิ บริเวณคลองเปรมประชากร ก็มีพื้นที่ของกรมธนารักษ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก็มีพื้นที่ที่กรมเจ้าท่าดูแล หรือจะในพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พื้นที่ราชพัสดุ เป็นต้น โดยต้องสร้างในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร ของถิ่นฐานเดิม ซึ่งในต่างประเทศก็มีการใช้วิธีการนี้ โดยมีตัวเลือกให้ประชาชน 2 ทางคือรับเงินชดเชยแล้วย้ายออกหรือจะย้ายไปอาศัยในที่ที่จัดไว้ให้
“หากรัฐบาลจะทำ ก็ควรทำในพื้นที่่ที่เป็นปัญหาด้วย ไม่ใช่แค่พื้นที่ตามแนวคลอง อย่างพื้นที่ท่าเรือคลองเตย เป็นต้น ซึ่งหากทำได้ก็จะสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียว อย่างสวนสาธารณะได้ด้วย”นายธีระชน กล่าว
ด้านนายวสันต์ มีวงษ์ โฆษกกทม. กล่าวว่า แนวคิดการสร้างอพาทเม้นต์คร่อมคลองเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ซึ่งการจะก่อสร้างอาคารใดๆ ต้องดูที่ข้อกฎหมายด้วย แต่เมื่อประกาศออกมาแล้ว ประชาชนก็คาดหวัง ดังนั้นก็ต้องทำให้ได้ แต่การแก้ปัญหาเรื่องผู้บุกรุกพื้นที่สาธารณะก็มีวิธีอื่นที่ทำได้ดีกว่านี้ อาทิ การจัดที่อยู่อาศัยและที่ดินของการเคหะแห่งชาติ เป็นต้น
"ช่วงน้ำท่วมที่ออกมาประกาศก็ทำให้ประชาชนผิดหวัง ก็เลยเอาเรื่องนี้มาเรียกคะแนน ในขณะที่ประชาชนก็ถูกนักการเมืองหลอก ดังนั้นเมื่อประกาศอะไรออกมาก็ต้องทำให้ได้ อย่าทำให้ประชาชนผิดหวัง ไม่ควรสร้างความสับสับหรือคิดเอามันส์ เพราะที่ผ่านมาประชาชนก็หวาดหวั่นกับน้ำท่วมมามากแล้ว " นายวสันต์ กล่าว
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง กรณีที่รัฐบาลเตรียมทูลเกล้าเสนอแผนบริหารจัดการน้ำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อทรงขอพระบรมราชวินิจฉัยว่า คิดว่าจริงๆแล้วตัวแผนเองยังไม่ทราบสถานะของมัน แต่ปกติแผนๆต่างมีการระบุตามกฎหมายอยู่แล้ว ถ้าจะบรรจุเป็นแผนพัฒนาเพิ่มเติมอะไรก็ต้องไปผ่านกระบวนการอื่นๆ เช่นสภาที่ปรึกษา
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านทรงให้คำแนะนำ และคำปรึกษาอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ท่านนายกฯก็ต้องถวายรายงานอยู่แล้ว แต่สมควรที่จะทำอย่างเป็นเรื่องภายใน เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดคำถามขึ้นมาอีกมากมายทั้งเรื่องพระราชอำนาจ เพราะรัฐบาลเองหรือผู้สนับสนุนกลับเป็นคนที่ดึงเอาเรื่องของเงื่อนไขของสถาบันพระมหากษัตริย์ เข้ามาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่สมควร” นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า พระองค์ท่านทรงเมตตา พระราชทานข้อคิดต่างๆอยู่แล้ว นายกฯเข้าถวายรายงานเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามระบบ และเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องภายใน
วันเดียวกันพล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 เดินทางตรวจเยี่ยมความคืบหน้าโครงการฟื้นฟูขุดลอกคลอง ลำรางในพื้นที่ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง โดยกองทัพบก ได้รับงบประมาณดำเนินการจากรัฐบาลจำนวน 770 ล้านบาท ซึ่งกองทัพภาคที่ 1 รับผิดชอบขุดคลองทั้งหมด 7 เขต ประกอบด้วย เขตหลักสี่ บางเขน ลาดพร้าว บึงกุ่ม สะพานสูง มีนบุรี และลาดกระบัง รวมทั้งหมดจำนวน 98 คลอง ซึ่งกองทัพบกได้รับผิดชอบจำนวน 277 คลองใน 27 เขต โดยจะใช้เวลา 3 เดือนครึ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของหน่วยอื่น
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า จะประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด 12 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ได้แก่ ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ถึงแนวทางการปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัยเฉพาะพื้นที่ และการสื่อสารสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงในวันศุกร์ที่ 24 ก.พ.นี้
ทั้งนี้ กทม.ไม่สามารถสร้างเองได้อยู่แล้ว รัฐบาลต้องเป็นผู้ดำเนินการ ตนเห็นว่ารัฐบาลควรสร้างที่อยู่อาศัยในลักษณะอพาทเมนต์นี้ในพื้นที่ของรัฐ อาทิ บริเวณคลองเปรมประชากร ก็มีพื้นที่ของกรมธนารักษ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก็มีพื้นที่ที่กรมเจ้าท่าดูแล หรือจะในพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พื้นที่ราชพัสดุ เป็นต้น โดยต้องสร้างในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร ของถิ่นฐานเดิม ซึ่งในต่างประเทศก็มีการใช้วิธีการนี้ โดยมีตัวเลือกให้ประชาชน 2 ทางคือรับเงินชดเชยแล้วย้ายออกหรือจะย้ายไปอาศัยในที่ที่จัดไว้ให้
“หากรัฐบาลจะทำ ก็ควรทำในพื้นที่่ที่เป็นปัญหาด้วย ไม่ใช่แค่พื้นที่ตามแนวคลอง อย่างพื้นที่ท่าเรือคลองเตย เป็นต้น ซึ่งหากทำได้ก็จะสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียว อย่างสวนสาธารณะได้ด้วย”นายธีระชน กล่าว
ด้านนายวสันต์ มีวงษ์ โฆษกกทม. กล่าวว่า แนวคิดการสร้างอพาทเม้นต์คร่อมคลองเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ซึ่งการจะก่อสร้างอาคารใดๆ ต้องดูที่ข้อกฎหมายด้วย แต่เมื่อประกาศออกมาแล้ว ประชาชนก็คาดหวัง ดังนั้นก็ต้องทำให้ได้ แต่การแก้ปัญหาเรื่องผู้บุกรุกพื้นที่สาธารณะก็มีวิธีอื่นที่ทำได้ดีกว่านี้ อาทิ การจัดที่อยู่อาศัยและที่ดินของการเคหะแห่งชาติ เป็นต้น
"ช่วงน้ำท่วมที่ออกมาประกาศก็ทำให้ประชาชนผิดหวัง ก็เลยเอาเรื่องนี้มาเรียกคะแนน ในขณะที่ประชาชนก็ถูกนักการเมืองหลอก ดังนั้นเมื่อประกาศอะไรออกมาก็ต้องทำให้ได้ อย่าทำให้ประชาชนผิดหวัง ไม่ควรสร้างความสับสับหรือคิดเอามันส์ เพราะที่ผ่านมาประชาชนก็หวาดหวั่นกับน้ำท่วมมามากแล้ว " นายวสันต์ กล่าว
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง กรณีที่รัฐบาลเตรียมทูลเกล้าเสนอแผนบริหารจัดการน้ำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อทรงขอพระบรมราชวินิจฉัยว่า คิดว่าจริงๆแล้วตัวแผนเองยังไม่ทราบสถานะของมัน แต่ปกติแผนๆต่างมีการระบุตามกฎหมายอยู่แล้ว ถ้าจะบรรจุเป็นแผนพัฒนาเพิ่มเติมอะไรก็ต้องไปผ่านกระบวนการอื่นๆ เช่นสภาที่ปรึกษา
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านทรงให้คำแนะนำ และคำปรึกษาอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ท่านนายกฯก็ต้องถวายรายงานอยู่แล้ว แต่สมควรที่จะทำอย่างเป็นเรื่องภายใน เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดคำถามขึ้นมาอีกมากมายทั้งเรื่องพระราชอำนาจ เพราะรัฐบาลเองหรือผู้สนับสนุนกลับเป็นคนที่ดึงเอาเรื่องของเงื่อนไขของสถาบันพระมหากษัตริย์ เข้ามาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่สมควร” นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า พระองค์ท่านทรงเมตตา พระราชทานข้อคิดต่างๆอยู่แล้ว นายกฯเข้าถวายรายงานเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามระบบ และเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องภายใน
วันเดียวกันพล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 เดินทางตรวจเยี่ยมความคืบหน้าโครงการฟื้นฟูขุดลอกคลอง ลำรางในพื้นที่ประสบภัย ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง โดยกองทัพบก ได้รับงบประมาณดำเนินการจากรัฐบาลจำนวน 770 ล้านบาท ซึ่งกองทัพภาคที่ 1 รับผิดชอบขุดคลองทั้งหมด 7 เขต ประกอบด้วย เขตหลักสี่ บางเขน ลาดพร้าว บึงกุ่ม สะพานสูง มีนบุรี และลาดกระบัง รวมทั้งหมดจำนวน 98 คลอง ซึ่งกองทัพบกได้รับผิดชอบจำนวน 277 คลองใน 27 เขต โดยจะใช้เวลา 3 เดือนครึ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของหน่วยอื่น
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า จะประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด 12 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ได้แก่ ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ถึงแนวทางการปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัยเฉพาะพื้นที่ และการสื่อสารสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงในวันศุกร์ที่ 24 ก.พ.นี้