จากกระแสพระราชดำรัสและพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 5-7 จะเห็นได้ว่าทรงระมัดระวังการจัดให้มีรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ทรงแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของแต่ละพระองค์ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 อำนาจอธิปไตยที่ประชาชนได้รับก็เนื่องด้วยเป็นมรดกตกทอดมาจากอำนาจ แม้พูดกันตรงๆ ก็คือการลดทอนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่เราเรียกว่าอาชญาสิทธิ์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้แก่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าของแผ่นดินและเจ้าชีวิต มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและใช้พระราชอำนาจโดยผ่านฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าก่อนมีการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 พระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ได้ทรงวางรากฐานการพระราชทานการปกครองแบบประชาธิปไตยอยู่แล้วด้วย อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมว่าเมื่อมีการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ของคณะราษฎร เราได้เห็นพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 7 ที่มีแก่ประชาชนโดยทรงยอมตามความประสงค์ของคณะราษฎรเพื่อไม่ให้มีการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อของคนไทย ไม่มีการต่อสู้หรือขัดขวางแต่ประการใด ทรงยอมประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราวและฉบับถาวร
เมื่อประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยมาจนถึงปัจจุบันกลับปรากฏว่า อำนาจนั้นตกอยู่ในมือของข้าราชการและนักการเมือง เกิดมีการปฏิวัติรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ร่างขึ้นใหม่ แล้วฉีกกันอีก ร่างใหม่กันอีก เป็นวัฏจักรวนเวียนเช่นนี้ จนมีรัฐธรรมนูญใช้ถึง 17 ฉบับ ตามที่เราได้ทราบกัน
รัฐธรรมนูญของไทยทั้ง 17 ฉบับ บัญญัติให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผ่านร้อนผ่านหนาวมาสารพัด ส่วนใหญ่มาจากนักการเมืองและข้าราชการที่ลุแก่อำนาจ ทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาที่ตามมาจึงเป็นเหตุให้มีการพึ่งพระบารมีเพื่อยุติปัญหาทางการเมืองอยู่หลายครั้ง จนทำให้ภาระการปกครองประเทศแทนที่จะเป็นหน้าที่ของประชาชน กลับไปทำให้ “ในหลวง” ทรงหนักพระทัย และทรงห่วงใยบ้านเมือง จนถึงทุกวันนี้ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้แทนของนิตยสาร National Geographic เมื่อหลายปีก่อน ตอนหนึ่งว่า
“...เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า ราชอาณาจักรนั้นเปรียบเสมือนพีระมิด มีพระมหากษัตริย์อยู่บนยอดและมีประชาชนอยู่ข้างล่าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ดูเหมือนทุกอย่างจะตรงกันข้าม นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกปวดคอและบริเวณไหล่อยู่เสมอ…”
เนื่องจากพระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นประมุขของประเทศ จะต้องวางพระองค์ไว้ให้เป็นกลางทางการเมือง ดังคำพระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าววิทยุ โทรทัศน์ บีบีซี หลายสิบปีที่ผ่านมาว่า
“เราพยายามวางตัวให้เป็นกลางและร่วมมือโดยสันติวิธีกับทุกฝ่าย เพราะเชื่อว่าความเป็นกลางนี้ จำเป็นสำหรับเรา ประชาชนบางคนอาจสังกัดกลุ่มการเมือง หรือมีผลประโยชน์ที่ต้องคอยพิทักษ์ป้องกัน แต่คนจำนวนมากไม่มีโอกาสเช่นนั้น เขาไม่สามารถแสดงความประสงค์ของเขาให้ปรากฏชัดเจนได้ เราจึงต้องคำนึงถึงคนเหล่านี้ให้มาก”
“...กรณีของข้าพเจ้า ซึ่งถูกเรียกโดยคนทั่วไปว่าเป็นพระมหากษัตริย์ แต่โดยหน้าที่ที่แท้จริงแล้วดูจะห่างไกล หน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่เคยรู้จักหรือเข้าใจกันมาแต่ก่อน หน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนั้น ก็คือ ทำอะไรก็ตามที่เป็นประโยชน์…เราไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปภายภาคหน้า แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เราก็จะเลือกทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์...”
บทพระราชทานสัมภาษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่องค์ปัจจุบันของเรา แสดงให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยของพระองค์ท่านที่มีต่อประชาชน และคงไม่จำเป็นที่จะต้องไปตอบปัญหาของ “พวกนิติราษฎร์” คนพวกนี้ล้วนแล้วแต่มีปัญญาคิดแต่ไม่เคยใส่ใจต่อประโยชน์ของส่วนรวม อยากสานต่อความคิดของคณะราษฎรที่เคยบังคับพระบรมราชวงศ์จนฉุดให้ตกต่ำดุจสามัญชน จึงอยู่ด้วยบุญญาธิการของพระมหากษัตริย์ และพระบรมราชวงศ์จักรีในเวลานั้น ทำให้บุคคลในคณะราษฎรหลายคนได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรับเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ แต่คณะนิติราษฎร์คณะนี้ไปหยิบเอาบางประเด็นขึ้นมาใช้ เป็นการตลบตะแลงปลิ้นปล้อนไปเท่านั้น ผมจึงคิดว่าเป็นเรื่องกฎแห่งกรรม “กรรมใครก็กรรมมัน” ผมจึงสันนิษฐานว่าคณะของบุคคลเหล่านี้ก็คงพบจุดจบอีกไม่นานเกินรอ
“ด้วยเหตุว่าคนในเมืองไทยเคยรวบรวมกันเป็นความคิดอันหนึ่งอันเดียว คือ เอากระแสพระราชดำริพระเจ้าแผ่นดินเป็นประมาณ เมื่อกระแสพระราชดำริเป็นไปอย่างไร คนทั้งปวงเห็นตามโดยจริง เป็นตกลงไปได้โดยง่าย เป็นธรรมยั่งยืนเคยฝึกมาหลายชั่วคนแล้ว…อาศัยพระเมตตากรุณาต่อประชาราษฎรอันแรงกล้า เป็นที่นิยมยินดีชอบใจของราษฎรทั้งหลายทั้งปวง จึงได้เป็นที่เชื่อใจวางใจของคนทั้งปวง เคยออมชอมยอมตามมาไม่มีผู้ใดจะคิดฝ่าฝืน ไม่เหมือนในประเทศยุโรปซึ่งมีพระเจ้าแผ่นดินประพฤติต่างๆ รุนแรงไปตามอัธยาศัย มีบังคับเรื่องศาสนา เป็นต้น จนคนทั้งปวงมีความเบื่อหน่าย คิดอ่านต่อสู้ลดหย่อนอำนาจพระเจ้าแผ่นดิน”
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าก่อนมีการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 พระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ได้ทรงวางรากฐานการพระราชทานการปกครองแบบประชาธิปไตยอยู่แล้วด้วย อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมว่าเมื่อมีการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ของคณะราษฎร เราได้เห็นพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 7 ที่มีแก่ประชาชนโดยทรงยอมตามความประสงค์ของคณะราษฎรเพื่อไม่ให้มีการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อของคนไทย ไม่มีการต่อสู้หรือขัดขวางแต่ประการใด ทรงยอมประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราวและฉบับถาวร
เมื่อประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยมาจนถึงปัจจุบันกลับปรากฏว่า อำนาจนั้นตกอยู่ในมือของข้าราชการและนักการเมือง เกิดมีการปฏิวัติรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ร่างขึ้นใหม่ แล้วฉีกกันอีก ร่างใหม่กันอีก เป็นวัฏจักรวนเวียนเช่นนี้ จนมีรัฐธรรมนูญใช้ถึง 17 ฉบับ ตามที่เราได้ทราบกัน
รัฐธรรมนูญของไทยทั้ง 17 ฉบับ บัญญัติให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผ่านร้อนผ่านหนาวมาสารพัด ส่วนใหญ่มาจากนักการเมืองและข้าราชการที่ลุแก่อำนาจ ทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาที่ตามมาจึงเป็นเหตุให้มีการพึ่งพระบารมีเพื่อยุติปัญหาทางการเมืองอยู่หลายครั้ง จนทำให้ภาระการปกครองประเทศแทนที่จะเป็นหน้าที่ของประชาชน กลับไปทำให้ “ในหลวง” ทรงหนักพระทัย และทรงห่วงใยบ้านเมือง จนถึงทุกวันนี้ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้แทนของนิตยสาร National Geographic เมื่อหลายปีก่อน ตอนหนึ่งว่า
“...เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า ราชอาณาจักรนั้นเปรียบเสมือนพีระมิด มีพระมหากษัตริย์อยู่บนยอดและมีประชาชนอยู่ข้างล่าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ดูเหมือนทุกอย่างจะตรงกันข้าม นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกปวดคอและบริเวณไหล่อยู่เสมอ…”
เนื่องจากพระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นประมุขของประเทศ จะต้องวางพระองค์ไว้ให้เป็นกลางทางการเมือง ดังคำพระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าววิทยุ โทรทัศน์ บีบีซี หลายสิบปีที่ผ่านมาว่า
“เราพยายามวางตัวให้เป็นกลางและร่วมมือโดยสันติวิธีกับทุกฝ่าย เพราะเชื่อว่าความเป็นกลางนี้ จำเป็นสำหรับเรา ประชาชนบางคนอาจสังกัดกลุ่มการเมือง หรือมีผลประโยชน์ที่ต้องคอยพิทักษ์ป้องกัน แต่คนจำนวนมากไม่มีโอกาสเช่นนั้น เขาไม่สามารถแสดงความประสงค์ของเขาให้ปรากฏชัดเจนได้ เราจึงต้องคำนึงถึงคนเหล่านี้ให้มาก”
“...กรณีของข้าพเจ้า ซึ่งถูกเรียกโดยคนทั่วไปว่าเป็นพระมหากษัตริย์ แต่โดยหน้าที่ที่แท้จริงแล้วดูจะห่างไกล หน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่เคยรู้จักหรือเข้าใจกันมาแต่ก่อน หน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนั้น ก็คือ ทำอะไรก็ตามที่เป็นประโยชน์…เราไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปภายภาคหน้า แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เราก็จะเลือกทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์...”
บทพระราชทานสัมภาษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่องค์ปัจจุบันของเรา แสดงให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยของพระองค์ท่านที่มีต่อประชาชน และคงไม่จำเป็นที่จะต้องไปตอบปัญหาของ “พวกนิติราษฎร์” คนพวกนี้ล้วนแล้วแต่มีปัญญาคิดแต่ไม่เคยใส่ใจต่อประโยชน์ของส่วนรวม อยากสานต่อความคิดของคณะราษฎรที่เคยบังคับพระบรมราชวงศ์จนฉุดให้ตกต่ำดุจสามัญชน จึงอยู่ด้วยบุญญาธิการของพระมหากษัตริย์ และพระบรมราชวงศ์จักรีในเวลานั้น ทำให้บุคคลในคณะราษฎรหลายคนได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรับเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ แต่คณะนิติราษฎร์คณะนี้ไปหยิบเอาบางประเด็นขึ้นมาใช้ เป็นการตลบตะแลงปลิ้นปล้อนไปเท่านั้น ผมจึงคิดว่าเป็นเรื่องกฎแห่งกรรม “กรรมใครก็กรรมมัน” ผมจึงสันนิษฐานว่าคณะของบุคคลเหล่านี้ก็คงพบจุดจบอีกไม่นานเกินรอ
“ด้วยเหตุว่าคนในเมืองไทยเคยรวบรวมกันเป็นความคิดอันหนึ่งอันเดียว คือ เอากระแสพระราชดำริพระเจ้าแผ่นดินเป็นประมาณ เมื่อกระแสพระราชดำริเป็นไปอย่างไร คนทั้งปวงเห็นตามโดยจริง เป็นตกลงไปได้โดยง่าย เป็นธรรมยั่งยืนเคยฝึกมาหลายชั่วคนแล้ว…อาศัยพระเมตตากรุณาต่อประชาราษฎรอันแรงกล้า เป็นที่นิยมยินดีชอบใจของราษฎรทั้งหลายทั้งปวง จึงได้เป็นที่เชื่อใจวางใจของคนทั้งปวง เคยออมชอมยอมตามมาไม่มีผู้ใดจะคิดฝ่าฝืน ไม่เหมือนในประเทศยุโรปซึ่งมีพระเจ้าแผ่นดินประพฤติต่างๆ รุนแรงไปตามอัธยาศัย มีบังคับเรื่องศาสนา เป็นต้น จนคนทั้งปวงมีความเบื่อหน่าย คิดอ่านต่อสู้ลดหย่อนอำนาจพระเจ้าแผ่นดิน”