xs
xsm
sm
md
lg

ระดม!“หมู่บ้านแดง”รับปูสัญจร จับตา “เหลิม”ประกาศปรองดอง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้(19 ก.พ.55)ที่สนามทุ่งศรีเมือง จ.อุดรธานี มีการตั้งเวทีของ นปช.

หมู่บ้านเสื้อแดง และกองทัพประชาชนสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน

พร้อมกับมีเต้นท์สำหรับผู้ที่เดินทางมาพักค้างแรม ในวันที่ 19-22 ก.พ

.เพื่อต้อนรับการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร โดยมีการกางเต็นท์ใน

สนามทุ่งศรีเมือง กว่า 100 เต็นท์
ทั้งนี้ มีประชาชน “นปช.”สวมใส่เสื้อสีแดง และผู้ที่สนใจ เดินทางมา

ร่วมติดตามรับชมรับฟังจำนวน
โดยกิจกรรมดังกล่าว นายขวัญชัย ไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดรฯ

แสดงออกด้วยดารรับลูก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ “

ปลุกกระแส” พ.ร.บ.ปรองดอง
รายงานข่าวแจ้งว่า งานดังกล่าว ร.ต.อ.เฉลิม เตรียมแจ้งข่าวถึงการจะ

เดินทางไปพบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่เมืองปักกิ่ง เมื่อ

เร็วๆนี้ด้วย
รวมทั้งจะเปิดร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ในวันที่ 21 ก.พ. ก่อนการประชุม

ครม.สัญจร บนเวทีปราศรัยที่ จ.อุดรธานี โดย ร.ต.อ.เฉลิม จะขึ้นป้าย

เวที เขียนว่า “ทำไมพ.ต.ท.ทักษิณจึงยังกลับบ้านไม่ได้”
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรระหว่างวันที่

21-22 กุมภาพันธ์ 2555 คณะรัฐมนตรี จะลงพื้นที่ติดตาม และรับ

ทราบปัญหาจากประชาชน และรับฟังความเห็นจากภาครัฐและเอกชน

หรือกรอ. ภูมิภาค ในวันที่ 21 กพ 55 มีการแบ่งกลุ่มที่คณะรัฐมนตรีจะ

ลงพื้นที่เป็น 3 กลุ่ม 12 จังหวัด ได้แก่
1. กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนกลุ่มแรก จ.อุดรธานี จ

.หนองคาย จ.บึงกาฬ จ.เลย จ.หนองบัวลำภู
2.กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนกลุ่มสอง จ.มุกดาหาร จ

.สกลนคร จ.นครพนม
3.กลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง จ.ขอนแก่น จ.มหาสารคาม จ

.ร้อยเอ็ด จ.กาฬสิน และจะมีการประชุม คณะกรรมการร่วมภาครัฐและ

เอกชนหรือ กรอ.ภูมิภาคในวันที่ 21 ก.พ. ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุดรธานี เพื่อหารือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภูมิภาค
ส่วนโครงการที่ลงพื้นที่ของรัฐมนตรี เช่น ที่ จ.อุดรธานี การเพิ่ม

ประสิทธิภาพการจัดเก็บน้ำและระบายน้ำเขื่อนห้วยหลวง งบประมาณ

572,000 ล้านบาท เพื่อป้องกันภัยแล้งและบรรเทาปัญหาอุทกภัย

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงหมายเลข 2115 ตอนแยกท่ง

หลวงกมายเลข 201 อ.ท่าลี่ จ.เลย งบประมาณ 385,000 ล้านบาท
โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างถาวร ทั้งแก้ภัยน้ำท่วมและภัยแล้ง โดย

จะมีการหยิบยกตังอย่างของ “เขตทุ่งกุลารร้องให้” จ.ร้อยเอ็ด แหล่ง

ผลิตข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุดของไทย เนื้อที่ 2.9 ล้านไร่ มาพิจารณา

โดบคาดจะใช้งบ 15,000 ล้านบาท เพื่อให้สามารถทำนาได้ 2 ครั้งต่อปี
สอดคล้องกับที่ คณะกรรมการภาครัฐร่วมเอกชนเพื่อแก้

ปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) จะเสนอการพัฒนาโครงสร้างการคมนาคม

ขนส่ง การส่งเสริมการค้าการลงทุน การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร

ซึ่งเน้นศึกษาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อนำมาเป็นพื้นที่เก็บน้ำ

ไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง กระตุ้นการท่องเที่ยวและส่งเสริมให้เกิดการค้า

ชายแดนระหว่างกันภายในภูมิภาค การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ส่วนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ จะมีการสเนอ

สร้างถนน 4 ช่องจราจร ประกอบด้วย ถนนสาย 202 จากสีดา-ยโสธร

ร้อยเอ็ด -ยโสธร ร้อยเอ็ด-กาฬสินธุ์ เพื่อเชื่อม East-west Coridor ซึ่ง

เป็นโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว ชูทุ่งกุลาร้องให้ เป็นแหล่งท่อง

เที่ยวที่สำคัญเพราะเป็นดินแดนทะเลดึกดำบรรพ์
จะมีการเสนอเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ กรุงเทพฯ – หนองคาย

ให้แล้วเสร็จในปี 62 สนับสนุนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง

จากกรุงเทพฯ – หนองคาย ดำเนินโครงการปรับปรุงขยายช่องทางเพื่อ

การคมนาคมและท่องเที่ยวเลียบแม่น้ำโขง เส้นทางหมายเลข 211 และ

212 และผลักดันโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟบ้านไผ่ –

มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม
การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ต้องการให้รัฐจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ

พิเศษที่จังหวัดมุกดาหาร และนครพนม สนับสนุนการพัฒนาเมือง

อุตสาหกรรม มุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวด

ล้อม ที่จังหวัดอุดรธานี และขอนแก่น โดยให้เป็นพื้นที่สิทธิประโยชน์

ทางภาษีพิเศษ เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ไม่จำกัดวงเงิน

และขยายเวลาเปิดด่านสากล ชายแดนไทยลาวนครพนม-ท่าแขก

สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ตั้งแต่เวลา 06.00 – 22.00 น. จากเดิมที่

ปิดเวลา 18.00 น.
จะมีการเสนอขอจัดตั้งสวนสัตว์เปิดใกล้กับท้องฟ้าจำลอง ที่อำเภอธวัช

บุรี
ส่วนจังหวัดในภูมิภาคอีสานตอนบน เช่น จ.หนองบัวลำภู เตรียมเสนอ

โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 8,227 ล้านบาท 10

โครงการ คือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะเนียงเพื่อป้องกันปัญหา

อุทกภัยและปัญหาภัยแล้ง ในพื้นที่จ.หนองบัวลำภู งบ 1,800ล้านบาท

โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำและบำบัดน้ำเสีย ในเขตเทศบาล

เมืองหนองบัวลำภู 98 ล้านบาท และเทศบาลตำบลโนนสัง 15 ล้าน

บาท,โครงการก่อสร้างถนน 4 ช่อง ทางหลวงหมายเลข 228 ชุมแพ-ศรี

บุญเรือง-หนองบัวลำภู 2,550 ล้านบาท โครงการขุดสระน้ำ/บ่อบาดาล

เพื่อการเกษตรในไร่นา คือ ขุดสระน้ำ 13,208 บ่อ 227,838 บาท และ

ขุดบ่อบาดาล 2,300 บ่อ 202,400 บาท โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโค่โล่

ต.ดงสวรรค์ อ.นากลาง 274,500 บาท
โครงการพัฒนาศักยภาพการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มผลผลิตต่อไร่

คือ ส่งเสริมเกษตรผสมผสานทฤษฎีใหม่ 30 ล้านบาท ส่งเสริมการ

เลี้ยงไก่พื้นเมือง ไก่สามสายพันธ์ 20 ล้านบาท ส่งเสริมการเลี้ยง

โค-กระบือ 30 ล้านบาท ส่งเสริมเลี้ยงไก่ไข่เสริมไอโอดีน 20 ล้านบาท

ส่งเสริมการเลี้ยงปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ 20 ล้านบาท พัฒนาตลาด

กลางสินค้าเกษตร 10 ล้านบาท โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยประจำ

จังหวัดฯ 1,000 ล้านบาท โครงการสำรวจออกแบบและก่อสร้าง

สถานีสูบน้ำด้วยระบบไฟฟ้า 350 ล้านบาทโครงการก่อสร้างถนน 4

ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 2097 ตอนนาคำไฮ-บ้านผือ 46

กิโลเมตร 1,380 ล้านบาท และ โครงการขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการ

เกษตรแก้ไขปัญหาความยากจน 200 ล้านบาท
ขณะที่ จ.บึงกาฬ เตรียมอนุมัติมี 10 โครงการ วงเงินงบประมาณ 15,000

ล้านบาท อาทิ โครงการพัฒนา-ปรับปรุงถนนภายในเขตจังหวัด ซึ่งเป็น

เส้นทางสำคัญในการขนส่งสินค้าและการคมนาคม โครงการแก้ไข

ปัญหาน้ำทั้งระบบ โครงการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5

เพื่อผลักดันการค้าชายแดน เตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูป

แบบในปี 2558
โครงการก่อสร้างตลาดกลางยางพาราแบบครบวงจร ซึ่ง จ

.บึงกาฬ มีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 1 ล้านไร่ มากที่สุดในภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสามารถสร้างเงินหมุนเวียนเข้าจังหวัด

ประมาณ 800 ล้านบาทต่อเดือน และคาดว่าในปี 2560 จะสามารถ

สร้างมูลค่ามากกว่า 40,000 ล้านบาท
ขณะที่ จ.ขอนแก่น จะเสนอของบปนะมาณในโครงการมุ่ง

เน้นการแก้ไขปัญหาสำคัญในพื้นที่และประชาชนในจังหวัดและกลุ่ม

จังหวัด ทั้งการแก้ปัญหาจราจร การแก้ไขปัญหาอุทกภัย โครงการ

พัฒนาให้จังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางการบริการด้านสาธารณสุข

โดยมีมูลค่าโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนในวงเงินงบประมาณ

รวมแล้ว 9,800 ล้านบาท
ส่วน จ.อุดรธานี จะเสนอ 10 โครงการ คือ โครงการการป้องกันและ

แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งซ้ำซาก โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน

คมนาคม ขนส่งลอจิสติกส์ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว

เชิง วัฒนธรรม โครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาลในเขตภาค

อีสานตอนบน โครงการกำจัดขยะเพื่อพัฒนาสู่พลังงานไฟฟ้า
โครงการขุดลอกแก้มลิงขนาดใหญ่ โครงการย้ายเรือนจำกลางจังหวัด

โครงการอัจฉริยภาพคนอุดรสู่ประชาคมอาเซียน โครงการ

มหาวิทยาลัยอุดรธานี และโครงการศูนย์ประชุมนานาชาติและ

วัฒนธรรม โดยมีวงเงินเสนอของบประมาณจำนวน 17,281,600,650

บาท แยกเป็นวงเงินของปี 2555 จำนวน 9,322,525,650 บาท และวง

เงินอนุมัติในหลักการ ปี 2556-2558 จำนวน 7,959,075,000 บาท
รายงานข่าวแจ้งว่า ครม.จะเข้าพัก ใน 3 โรงแรมใหญ่ ได้แก่

โรงแรมเซ็นทารา อุดรฯ , โรงแรมเจริญศรี โฮเต็ล และโรงแรมนภาลัย

ขณะที่อีกส่วนจะเข้าพักที่บ้านพัก พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว

.ยุติธรรม
ขณะที่ช่วงบ่ายวันที่ 21 ก.พ. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชอนวัตร นายกรัฐมนตรี

จะเดินทางด้วยเครื่องบินเฮอร์ลิคอปเตอร์ จาก จ.เลย มาที่อ่างเก็บน้ำ

ห้วยคล้าย อันเนื่องจากพระราชดำริ ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ

.อุดรธานี เพื่อดูโครงการ “บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนบ้านโคก

ล่าม-แสงอร่าม” ภายใต้โครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระ

ราชดำริ จากนั้นจะเดินทางด้วยเฮอร์ลิคอปเตอร์ มาที่กองกำลังสุรศักดิ์

มนตรี เพื่อเดินทางต่อเข้าประชุม กรอ.ที่ มรภ.อุดรธานี และเย็นวันนั้น

ร่วมงานเลี้ยงรับรองที่บ้าน พล.ต.อ.ประชาฯ และพักแรมที่โรงแรม

เซ็นทารา
ขณะที่มรภ.อุดรธานี ประกาศปิดทำการเรียนการสอน 2 วัน ขณะที่มี

รายงานว่า ในวันประชุม ครม.จะมีสารพัดผู้ชุมนุมเดินทางมายื่น

หนังสือกับรัฐบาล.
กำลังโหลดความคิดเห็น