ASTVผู้จัดการรายวัน - "เฉลิม" ผลักดันแก้กฎหมายให้ประหารนักโทษค้ายาภายใน 60 วัน ลั่นหากศาลชั้นต้นและอุทธรณ์สั่งประหารห้ามฎีกา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด (ผอ.ศพส.) ไปเป็นประธานในการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ “พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด” ระยะที่ 1 (11 กันยายน 2554-31 มกราคม 2555) พร้อมกำหนดแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในระยะที่ 2 โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ตัวแทนกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกองบัญชาการกองทัพไทย เข้าร่วมประชุม ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) วานนี้ (13 ก.พ.)
ร.ต.อ.เฉลิมเปิดเผยว่า ขณะนี้การนำเข้ายาเสพติดมีน้อยลงเนื่องจากเราปิดชายแดนและสกัดสารตั้งต้น รณรงค์ป้องกันปราบปรามและบำบัดรักษา ซึ่งถือว่าผลจากภารกิจที่ได้ค่อนข้างพึงพอใจและประสบผลสำเร็จ แต่ยังมียาเสพติดส่วนหนึ่งที่ตกค้างอยู่ โดยเราต้องรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น เน้นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำงานร่วมกับผู้บังคับการจังหวัด ส่วนนายอำเภอทำงานกับผู้กำกับ ให้ผู้ว่าฯและผู้การลงไปร่วมมือกับกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน แบ่งอำเภอ-ตำบล เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเราจะดำเนินการเชิงรุก ปิดสกัดกั้นชายแดน ทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน ปลุกพี่น้องประชาชนขึ้นมารับผิดชอบด้วยกัน ยกระดับการแก้ปัญหายาเสพติดจากวาระแห่งชาติเป็นวาระภูมิภาค ใช้ยุทธการความร่วมมือระหว่าง 2 ฝั่งลำน้ำโขง ได้แก่ประเทศ จีน พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย ซึ่งมีสถานการณ์ปัญหายาเสพติดเชื่อมโยงกัน โดยให้คณะรัฐมนตรีอนุมัตินำเจ้าหน้าที่ผู้มีประสบการณ์ด้านการข่าวยาเสพติดไปอยู่ในภูมิภาคและในอีกหลายประเทศเพื่อทำการปราบปราม
"นักโทษคดียาเสพติดที่อยู่ในเรือนจำจะน้นให้เจ้าหน้าที่ดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะนักโทษคดียาเสพติดที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตัดสินประหารชีวิตแล้ว ซึ่งตนจะแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้มีสิทธิยื่นฎีกา และให้ทำการประหารโดยเร็วที่สุดภายใน 60 วัน ในส่วนเฉพาะนักโทษคดียาเสพติดเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคดีอื่น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างให้กฤษฎีกายกร่างตรวจสอบ นอกจากนี้อาจจะทำเป็นกรณีศึกษาสร้างเรือนจำความมั่นคงสูงโดยทำรั้วเป็น 2 ชั้น เพื่อป้องกันโยนยาเสพติดเข้าไปภายในเรือนจำและตัดวงจรการค้ายาเสพติด ซึ่งหากได้ผลก็จะใช้เป็นกรณีศึกษาสร้างคุกอื่นๆ ต่อไป" ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวและว่า อาจจะดำเนินการเชิงรุกให้ต่างประเทศลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ประสานขอซื้อพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ทำพื้นที่การเกษตรให้ประชาชนมีรายได้เพื่อให้เศรษฐกิจดีขึ้น จะได้ไม่ไปผลิตยาเสพติด ขณะเดียวกันก็ทำการบำบัดควบคู่ขนานกันไป ซึ่งจากรายงานพบว่าขณะนี้มีผู้เข้ามาบำบัดแล้ว 1.2 แสนคน จากที่ตั้งเป้าไว้ทั้งหมด 4 แสนคน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด (ผอ.ศพส.) ไปเป็นประธานในการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ “พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด” ระยะที่ 1 (11 กันยายน 2554-31 มกราคม 2555) พร้อมกำหนดแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในระยะที่ 2 โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ตัวแทนกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกองบัญชาการกองทัพไทย เข้าร่วมประชุม ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) วานนี้ (13 ก.พ.)
ร.ต.อ.เฉลิมเปิดเผยว่า ขณะนี้การนำเข้ายาเสพติดมีน้อยลงเนื่องจากเราปิดชายแดนและสกัดสารตั้งต้น รณรงค์ป้องกันปราบปรามและบำบัดรักษา ซึ่งถือว่าผลจากภารกิจที่ได้ค่อนข้างพึงพอใจและประสบผลสำเร็จ แต่ยังมียาเสพติดส่วนหนึ่งที่ตกค้างอยู่ โดยเราต้องรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น เน้นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำงานร่วมกับผู้บังคับการจังหวัด ส่วนนายอำเภอทำงานกับผู้กำกับ ให้ผู้ว่าฯและผู้การลงไปร่วมมือกับกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน แบ่งอำเภอ-ตำบล เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเราจะดำเนินการเชิงรุก ปิดสกัดกั้นชายแดน ทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน ปลุกพี่น้องประชาชนขึ้นมารับผิดชอบด้วยกัน ยกระดับการแก้ปัญหายาเสพติดจากวาระแห่งชาติเป็นวาระภูมิภาค ใช้ยุทธการความร่วมมือระหว่าง 2 ฝั่งลำน้ำโขง ได้แก่ประเทศ จีน พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย ซึ่งมีสถานการณ์ปัญหายาเสพติดเชื่อมโยงกัน โดยให้คณะรัฐมนตรีอนุมัตินำเจ้าหน้าที่ผู้มีประสบการณ์ด้านการข่าวยาเสพติดไปอยู่ในภูมิภาคและในอีกหลายประเทศเพื่อทำการปราบปราม
"นักโทษคดียาเสพติดที่อยู่ในเรือนจำจะน้นให้เจ้าหน้าที่ดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะนักโทษคดียาเสพติดที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตัดสินประหารชีวิตแล้ว ซึ่งตนจะแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้มีสิทธิยื่นฎีกา และให้ทำการประหารโดยเร็วที่สุดภายใน 60 วัน ในส่วนเฉพาะนักโทษคดียาเสพติดเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคดีอื่น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างให้กฤษฎีกายกร่างตรวจสอบ นอกจากนี้อาจจะทำเป็นกรณีศึกษาสร้างเรือนจำความมั่นคงสูงโดยทำรั้วเป็น 2 ชั้น เพื่อป้องกันโยนยาเสพติดเข้าไปภายในเรือนจำและตัดวงจรการค้ายาเสพติด ซึ่งหากได้ผลก็จะใช้เป็นกรณีศึกษาสร้างคุกอื่นๆ ต่อไป" ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวและว่า อาจจะดำเนินการเชิงรุกให้ต่างประเทศลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ประสานขอซื้อพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ทำพื้นที่การเกษตรให้ประชาชนมีรายได้เพื่อให้เศรษฐกิจดีขึ้น จะได้ไม่ไปผลิตยาเสพติด ขณะเดียวกันก็ทำการบำบัดควบคู่ขนานกันไป ซึ่งจากรายงานพบว่าขณะนี้มีผู้เข้ามาบำบัดแล้ว 1.2 แสนคน จากที่ตั้งเป้าไว้ทั้งหมด 4 แสนคน