ASTVผู้จัดการรายวัน- หุ้นไทยพุ่ง 14 จุด เม็ดเงินนอกทะลักเข้าเอเชีย - ตลาดเกิดใหม่ ต่างชาติซื้อสุทธิอีก 5พันล้าน แถมความเชื่อมั่นหนี้กรีซจ่อเคลียร์ช่วยผลักดันวอลุ่มซื้อขายขยับขึ้น4.5หมื่นล้านบาท โบรกฯคาดหุ้นขึ้นมาแรง วันนี้มีโอกาสเห็นการเทขายทำกำไร ด้านตลาดหลักทรัพย์ฯคาดต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่อง หากวิกฤตหนี้ยุโรปไม่รุนแรง เหตุรับอานิสงส์สภาพคล่องระบบการเงินโลกล้น ทำให้ไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ ล่าสุดมกราคมดัชนีเอ็มเอสซีไอ ตลาดหุ้นเกิดใหม่พุ่งสุดสุดในรอบ 11 ปี
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (8ก.พ.) ปรับตัวอยู่ในแดนบวกตลอดทั้งวัน ก่อนมีแรงเทขายในช่วงท้ายของการซื้อขายทำให้กดดันดัชนีกลับมาปิดที่ระดับ 1,116.08 จุด เพิ่มขึ้น 14.96 จุด หรือ1.36% มูลค่าการซื้อขาย 45,369 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุด 1,121.36 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 1,107.52 จุด
ภาพรวมวานนี้ ดัชนีหลักทรัพย์ปรับขึ้นตามภูมิภาค คาดแรงซื้อต่างชาติเข้าต่อเนื่องจากสภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินทั้งภูมิภาคที่อยู่ระดับสูงมาก เชื่อมั่นกรีซรับเงื่อนไขช่วยแก้ปัญหาหนี้ โดยตลาดในต่างประเทศพบว่า ดัชนีเวทเต็ด ตลาดหุ้นไต้หวันพุ่ง 162.47 จุด หรือ 2.11% ปิดที่ 7,869.91 จุด ,ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียวพุ่งขึ้น 98.07 จุด หรือ 1.10% แตะที่ 9,015.59 จุด ,ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนพุ่ง 55.63 จุด หรือ 2.43% ปิดที่ 2,347.53 จุด และดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกงพุ่ง 319.27 จุด หรือ 1.54% ปิดที่ 21,018.46 จุด
ส่วนหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 338 หลักทรัพย์ ลดลง 171 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 148 หลักทรัพย์ หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ IVL มูลค่าการซื้อขาย 3,949.41 ล้านบาท ปิดที่ 38.25 บาท เพิ่มขึ้น 3.50 บาท PTTGC มูลค่าการซื้อขาย 3,597.86 ล้านบาท ปิดที่ 73.25 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 บาท TOP มูลค่าการซื้อขาย 2,459.52 ล้านบาท ปิดที่ 69.50 บาท เพิ่มขึ้น 4.50 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 2,315.99 ล้านบาท ปิดที่ 348.00 บาท เพิ่มขึ้น 7.00 บาท และ PTTEP มูลค่าการซื้อขาย 2,038.88 ล้านบาท ปิดที่ 182.00 บาท เพิ่มขึ้น 5.50 บาท
ขณะเดียวกัน พบว่า นักลงทุนต่างประเทศยังซื้อสุทธิสูงถึง 5,443.99 จุด ตามาาด้วยบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซื้อสุทธิ 1,976.88 จุด สถาบันขายสุทธิ 239.34 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 7,181 ล้านบาท
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดต่างประเทศ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับขึ้นตามภูมิภาคที่มีแรงซื้อจากต่างชาติเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งตลาดมีความเชื่อมั่นากขึ้นว่ากรีซจะยอมรับเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือรอบ 2 ของสหภาพยุโรปภายใน 1-2 วันนี้
สำหรับทิศทางวันนี้(8ก.พ.) หากปัญหาของกรีซออกมาตามที่คาดไว้ ก็อาจจะมีแรงขายทำกำไรออกมาบ้าง จากนั้นคงจะไปติดตามเรื่องอื่นต่อไป ซึ่งในสัปดาห์นี้ยังไม่มีประเด็นพิเศษที่จะต้องติดตาม อย่างไรก็ตามหลังความเสี่ยงเรื่องกรีซยังมี ยังมีเรื่องที่ต้องติดตามต่อ นั่นคือ การเจรจากับเจ้าหนี้ที่เป็นภาคเอกชน เรื่องของอิตาลี สำหรับพันธบัตรที่จะถึงกำหนด
ตลท.เชื่อต่างชาติยังซื้อต่อเนื่อง
นางเทียนทิพ สุพานิช ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ทิศทางเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศส่วนตัวเชื่อว่าจะยังคงไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ รวมถึงตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีสถานการณ์รุนแรง เช่น กรีซ ถูกให้ออกจากกลุ่มยูโรโซน อิหร่านปิดช่องแคบ เนื่องจาก สภาพคล่องในตลาดเงินมีจำนวนมาก หลังจากที่ทางคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐ (FOMC)ส่งสัญญาณนโยบายดอกเบี้ยต่ำที่ระดับ 0-0.25% ไปถึงปลายปี 2557
นอกจากนี้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำทั่วโลกมีน้อยมากที่จะสามารถเข้าไปลงทุนได้ และให้ผลตอบแทนที่ต่ำ เช่น พันธบัตร (บอนด์)องสหรัฐอายุ 2 ปี มีผลอตอบแทนต่ำเพียง 0.25% ขณะที่ผลตอบแทนบอนด์ของไทยมีผลตอบแทน 3% ทำให้มีส่วนต่างของดอกเบี้ยทำให้มีเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในบอนด์ไทยในเดือนมกราคมนี้สูงถึง 8 หมื่นล้านบาท และเข้ามาซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้น
“ในช่วงเดือนมกราคมจากเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ทำให้ดัชนี MSCI emerging market index (WEM)มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 11.24% สูงสุดในรอบ 11 ปี และหากเทียบกับ MSCI all country นั้น พบว่า WEM มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 18 ปี ที่ทางสหรัฐมีการใช้มาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลาย และ ธนาคารต่างๆมีการอัดฉีดเม้ดเงินเข้าระบบทำให้มีเม็ดเงินลงทุนสภาพคล่องสูงมากขณะนี้ที่ต้องการหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตบแทนที่ดี ”นางเทียนทิพ กล่าว
สำหรับสัดส่วนนักลงทุนนักลงทุนต่างประเทศในเดือนมกราคมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 24.46% จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ 21.30% ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 11 เดือน ขณะที่บัญชีหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง 12.47% จากเดือนก่อนที่ 15.04% ขณะที่นักลงทุนบุคคลเพิ่มขึ้น 55.24% จากเดือนก่อนที่ 54.81% ส่วนนักลงทุนสถบันปรัยลดลงอยู่ที่ 7.83% จากเดือนก่อน 8.85%
นางเทียนทิพ กล่าวว่า ในเดือนมกราคมหุ้นกลุ่มที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 3 อันดับ แรกประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% จากเดือนก่อน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้างปตัวตัวเพิ่มขึ้น 7.66% หุ้นกลุ่มเกษตรและอาหาร ที่ได้ประโยชน์จากปัญหาน้ำท่วม โดยนักลงทุนให้ความสนใจเข้าลงทุนในหุ้นขนาดเล้กในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แทนหุ้นขนาดใหญ่ในหมวดธนาคาร
สำหรับการระดมทุนในเดือนนี้ไม่มีการระดมทุนในตลาดแรก มีการระดมทุนในตลาอรองมูลค่า 367 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนของ บมจ.ทรัพย์ศรีไทย (SST) และบมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ)
ส่วนภาวะตลาดอนุพันธ์ ในเดือนมกราคม 2555 ตลาดอนุพันธ์มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 28,104 สัญญา ลดลง 6.13% จากเดือนก่อนหน้า จากปริมาณการซื้อขายของ SET50 Index futures และ Single Stock futures ที่ลดลง ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของทั้ง gold futures ขนาด 50 บาท และ gold futures ขนาด 10 บาท ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยอยู่ที่ 4,807 สัญญา และ 9,571 สัญญา ตามลำดับ และในเดือนนี้ oil futures มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 383 สัญญา สูงสุดนับตั้งแต่เริ่มซื้อขายในเดือนตุลาคม 2554
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (8ก.พ.) ปรับตัวอยู่ในแดนบวกตลอดทั้งวัน ก่อนมีแรงเทขายในช่วงท้ายของการซื้อขายทำให้กดดันดัชนีกลับมาปิดที่ระดับ 1,116.08 จุด เพิ่มขึ้น 14.96 จุด หรือ1.36% มูลค่าการซื้อขาย 45,369 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุด 1,121.36 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 1,107.52 จุด
ภาพรวมวานนี้ ดัชนีหลักทรัพย์ปรับขึ้นตามภูมิภาค คาดแรงซื้อต่างชาติเข้าต่อเนื่องจากสภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินทั้งภูมิภาคที่อยู่ระดับสูงมาก เชื่อมั่นกรีซรับเงื่อนไขช่วยแก้ปัญหาหนี้ โดยตลาดในต่างประเทศพบว่า ดัชนีเวทเต็ด ตลาดหุ้นไต้หวันพุ่ง 162.47 จุด หรือ 2.11% ปิดที่ 7,869.91 จุด ,ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียวพุ่งขึ้น 98.07 จุด หรือ 1.10% แตะที่ 9,015.59 จุด ,ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนพุ่ง 55.63 จุด หรือ 2.43% ปิดที่ 2,347.53 จุด และดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกงพุ่ง 319.27 จุด หรือ 1.54% ปิดที่ 21,018.46 จุด
ส่วนหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 338 หลักทรัพย์ ลดลง 171 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 148 หลักทรัพย์ หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ IVL มูลค่าการซื้อขาย 3,949.41 ล้านบาท ปิดที่ 38.25 บาท เพิ่มขึ้น 3.50 บาท PTTGC มูลค่าการซื้อขาย 3,597.86 ล้านบาท ปิดที่ 73.25 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 บาท TOP มูลค่าการซื้อขาย 2,459.52 ล้านบาท ปิดที่ 69.50 บาท เพิ่มขึ้น 4.50 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 2,315.99 ล้านบาท ปิดที่ 348.00 บาท เพิ่มขึ้น 7.00 บาท และ PTTEP มูลค่าการซื้อขาย 2,038.88 ล้านบาท ปิดที่ 182.00 บาท เพิ่มขึ้น 5.50 บาท
ขณะเดียวกัน พบว่า นักลงทุนต่างประเทศยังซื้อสุทธิสูงถึง 5,443.99 จุด ตามาาด้วยบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซื้อสุทธิ 1,976.88 จุด สถาบันขายสุทธิ 239.34 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 7,181 ล้านบาท
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดต่างประเทศ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับขึ้นตามภูมิภาคที่มีแรงซื้อจากต่างชาติเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งตลาดมีความเชื่อมั่นากขึ้นว่ากรีซจะยอมรับเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือรอบ 2 ของสหภาพยุโรปภายใน 1-2 วันนี้
สำหรับทิศทางวันนี้(8ก.พ.) หากปัญหาของกรีซออกมาตามที่คาดไว้ ก็อาจจะมีแรงขายทำกำไรออกมาบ้าง จากนั้นคงจะไปติดตามเรื่องอื่นต่อไป ซึ่งในสัปดาห์นี้ยังไม่มีประเด็นพิเศษที่จะต้องติดตาม อย่างไรก็ตามหลังความเสี่ยงเรื่องกรีซยังมี ยังมีเรื่องที่ต้องติดตามต่อ นั่นคือ การเจรจากับเจ้าหนี้ที่เป็นภาคเอกชน เรื่องของอิตาลี สำหรับพันธบัตรที่จะถึงกำหนด
ตลท.เชื่อต่างชาติยังซื้อต่อเนื่อง
นางเทียนทิพ สุพานิช ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ทิศทางเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศส่วนตัวเชื่อว่าจะยังคงไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ รวมถึงตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีสถานการณ์รุนแรง เช่น กรีซ ถูกให้ออกจากกลุ่มยูโรโซน อิหร่านปิดช่องแคบ เนื่องจาก สภาพคล่องในตลาดเงินมีจำนวนมาก หลังจากที่ทางคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐ (FOMC)ส่งสัญญาณนโยบายดอกเบี้ยต่ำที่ระดับ 0-0.25% ไปถึงปลายปี 2557
นอกจากนี้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำทั่วโลกมีน้อยมากที่จะสามารถเข้าไปลงทุนได้ และให้ผลตอบแทนที่ต่ำ เช่น พันธบัตร (บอนด์)องสหรัฐอายุ 2 ปี มีผลอตอบแทนต่ำเพียง 0.25% ขณะที่ผลตอบแทนบอนด์ของไทยมีผลตอบแทน 3% ทำให้มีส่วนต่างของดอกเบี้ยทำให้มีเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในบอนด์ไทยในเดือนมกราคมนี้สูงถึง 8 หมื่นล้านบาท และเข้ามาซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้น
“ในช่วงเดือนมกราคมจากเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ทำให้ดัชนี MSCI emerging market index (WEM)มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 11.24% สูงสุดในรอบ 11 ปี และหากเทียบกับ MSCI all country นั้น พบว่า WEM มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 18 ปี ที่ทางสหรัฐมีการใช้มาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลาย และ ธนาคารต่างๆมีการอัดฉีดเม้ดเงินเข้าระบบทำให้มีเม็ดเงินลงทุนสภาพคล่องสูงมากขณะนี้ที่ต้องการหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตบแทนที่ดี ”นางเทียนทิพ กล่าว
สำหรับสัดส่วนนักลงทุนนักลงทุนต่างประเทศในเดือนมกราคมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 24.46% จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ 21.30% ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 11 เดือน ขณะที่บัญชีหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง 12.47% จากเดือนก่อนที่ 15.04% ขณะที่นักลงทุนบุคคลเพิ่มขึ้น 55.24% จากเดือนก่อนที่ 54.81% ส่วนนักลงทุนสถบันปรัยลดลงอยู่ที่ 7.83% จากเดือนก่อน 8.85%
นางเทียนทิพ กล่าวว่า ในเดือนมกราคมหุ้นกลุ่มที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 3 อันดับ แรกประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% จากเดือนก่อน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้างปตัวตัวเพิ่มขึ้น 7.66% หุ้นกลุ่มเกษตรและอาหาร ที่ได้ประโยชน์จากปัญหาน้ำท่วม โดยนักลงทุนให้ความสนใจเข้าลงทุนในหุ้นขนาดเล้กในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แทนหุ้นขนาดใหญ่ในหมวดธนาคาร
สำหรับการระดมทุนในเดือนนี้ไม่มีการระดมทุนในตลาดแรก มีการระดมทุนในตลาอรองมูลค่า 367 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนของ บมจ.ทรัพย์ศรีไทย (SST) และบมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ)
ส่วนภาวะตลาดอนุพันธ์ ในเดือนมกราคม 2555 ตลาดอนุพันธ์มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 28,104 สัญญา ลดลง 6.13% จากเดือนก่อนหน้า จากปริมาณการซื้อขายของ SET50 Index futures และ Single Stock futures ที่ลดลง ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของทั้ง gold futures ขนาด 50 บาท และ gold futures ขนาด 10 บาท ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยอยู่ที่ 4,807 สัญญา และ 9,571 สัญญา ตามลำดับ และในเดือนนี้ oil futures มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 383 สัญญา สูงสุดนับตั้งแต่เริ่มซื้อขายในเดือนตุลาคม 2554