ตลาดหลักทรัพย์ เผย ปี 54 มีกำไรจากพอร์ตการลงทุน แม้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดติดลบ เหตุ ลงทุนในหุ้นสัดส่วนต่ำเพื่อลดความเสี่ยง “วิรไทย” ชี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยครึ่งปีแรก(2555) ทิศทางผันผวนสูงจากปัจจัยหนี้ยุโรป ขณะที่สภาพคล่องตลาดหุ้นไทยสูงสุดในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ จากนักลงทุนแกร่งไม่หวั่นแรงขายต่างชาติ ภาพรวมปีก่อนดัชนีสูงสุดที่ 1,114 จุด สูงสุดในรอบ 15 ปี
นายวิรไท สันติประภพ รองผู้จัดการ สายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า พอร์ตการลงทุนของตลาดหลักทรัพย์ในปี 2554 มีกำไรจากการลงทุน แม้ดัชนีตลาดหุ้นไทยในปีที่ผ่านมาให้ผลอตอบแทนติดลบ จากดัชนีปิดที่ 0.72% เนื่องจากมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่ต่ำ เพราะก่อนหน้านี้ ได้ทยอยลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงเพื่อลดความเสี่ยงของเงินกองทุนโดยรวม จากที่ตลาดหลักทรัพย์จะต้องมีเงินสำรองในการชำระราคาหลักทรัพย์ คุ้มครองผู้ลงทุน ฯลฯ เพื่อเป็นการรักษาเถียรภาพของเงินลงทุน
“ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการทยอยลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลง เพื่อลดความเสี่ยง โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงเยอะมากจากปัจจัยต่างประเทศ เพราะมองว่าหุ้นจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว” นายวิรไทย กล่าว
อนึ่ง ในปี 2553 ตลาดหลักทรัพย์ฯมีพอร์ตการลงทุนมูลค่า 13,987 ล้านบาท แบ่งเป็น หลักทรัพย์เพื่อค้า 2,246 ล้านบาท หลักทรัพย์เผื่อข่าว 4,459 ล้านบาท ตราสารหนี้ที่ถือจนครบกำหนด 1,370 ล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 658 ล้านบาท เงินลงทุนทั่วไป 5,227 ล้านบาท โดยในปี 2553 ตลาดหลักทรัพย์ฯมีเงินกองทุนรวมมูลค่า 17,119 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่มี 15,764 ล้านบาท
สำหรับภาวะตลาดหุ้นไทยในปี 2555 นี้ ถือว่าคาดการณ์ยากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากจะต้องติดตามสถานการณ์ยุโรป ที่หลายประเทศจะครบกำหนดในการชำระหนี้ ซึ่งทำให้จะต้องมีการกู้เงินเพื่อนำไปชำระนี้ที่จะครบกำหนด และจากการที่ฝรั่งเศสจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ก็จะมีผลต่อนโยบายในการจัดการหนี้ อีกทั้งในในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการเลือประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ก็จะทำให้มีความชัดเจนในเรื่องนโยบายการใช้จ่ายว่าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจอเมริกาอย่างไร จึงทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกปีนี้ตลาดหุ้นไทยจะมีความผันผวนสูง
ส่วนในช่วง 10 วันที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทย ถือว่ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาตามตลาดหุ้นทั่วโลกแม้จะขึ้น 2.7% ซึ่งต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ก็ตาม แต่ถือว่าเป็นทิศทางที่ดีว่านักลงทุนหันกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น มูลค่าการซื้อขายถือว่าสูงที่ 22,607.52 ล้านบาทต่อวัน
ขณะเดียวกัน แม้ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปิดติดลบ 0.72% จากสิ้นปี 2553 แต่ถือว่าตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงน้อยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นแถบเอเชีย เช่น ตลาดหุ้นเกาหลี ที่มีการปรับตัวลดลง 10.98% สิงคโปร์ มีการปรับตัวลดลง 17.04% ตลาดหุ้นฮ่องกง ที่ปรับตัวลดลง 19.97% ขณะที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (emerging market) ปรับตัวลดลง 21% และตลาดหุ้นไทยในปีที่ผ่านมามีมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ต่อมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (share turnover velocity) สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีมูลค่าการวื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 29,473.28 ล้านบาท สูงสดอันดับ 2 รองจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์
“การที่สภาพคล่องการซื้อขายตลาดหุ้นไทยสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะ ไทยมีความแข็งแกร่งมากกว่าประเทศอื่นๆ แม้นักลงทุนต่างชาติมีการขายหุ้นทั่วโลกจำนวนมาก แต่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเพียง 0.72% เท่านั้น เพราะรายย่อยของไทยไม่อ่อนไหวต่อการขายหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ ทำให้นักลงทุนไทยได้ประโยชน์ ซึ่งในเดือน พ.ย.ปีที่ผ่านบัญชีซื้อขายเพิ่มขึ้น12.40% อยู่ที่ 6.95 แสนบัญชี และเป็นบัญชีซื้อขายสม่ำเสมอ 1.72 แสนบัญชี เพิ่มขึ้น 14%” นายวิรไทย กล่าว
ทั้งนี้ ในช่วงปี 2554 SET ทำสถิติสูงสุดในรอบ 15 ปี และ mai ทำสถิติสูงสุดหลายด้าน โดยดัชนีปรับขึ้นสูงสุดที่ 1,144.14 จุด และ 319.60 จุด ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market capitalization) ของทั้ง 2 ตลาดทำสถิติสูงสุด โดย SET อยู่ที่ระดับ 9.36 ล้านล้านบาท และ mai อยู่ที่ระดับ 86,079.17 ล้านบาท แม้ในปี 2554 ตลาดทุนไทยได้รับผลจากปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้านสภาพคล่องของตลาดหลักทรัพย์ไทยอยู่ในระดับสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 29,473.28 ล้านบาท สูงสุดตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์เริ่มซื้อขาย และสูงเป็นอันดับสองรองจากสิงคโปร์
อีกทั้งในส่วนของตลาดอนุพันธ์ ปริมาณการซื้อขายรวมปี 2554 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 10,027,116 สัญญา และมีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยรายวัน 41,145 สัญญา เพิ่มขึ้น 120.31% จากปี 2553 จากปริมาณการซื้อขาย gold futures และ SET50 Index futures ที่เพิ่มขึ้น ในปี 2554 ตลาดอนุพันธ์เริ่มซื้อขายผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ silver futures และ oil futures โดยมีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันตั้งแต่เริ่มซื้อขายถึงสิ้นปี 2554 อยู่ที่ 236 สัญญา และ 64 สัญญา ตามลำดับ
นายวิรไท สันติประภพ รองผู้จัดการ สายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า พอร์ตการลงทุนของตลาดหลักทรัพย์ในปี 2554 มีกำไรจากการลงทุน แม้ดัชนีตลาดหุ้นไทยในปีที่ผ่านมาให้ผลอตอบแทนติดลบ จากดัชนีปิดที่ 0.72% เนื่องจากมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่ต่ำ เพราะก่อนหน้านี้ ได้ทยอยลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงเพื่อลดความเสี่ยงของเงินกองทุนโดยรวม จากที่ตลาดหลักทรัพย์จะต้องมีเงินสำรองในการชำระราคาหลักทรัพย์ คุ้มครองผู้ลงทุน ฯลฯ เพื่อเป็นการรักษาเถียรภาพของเงินลงทุน
“ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการทยอยลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลง เพื่อลดความเสี่ยง โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงเยอะมากจากปัจจัยต่างประเทศ เพราะมองว่าหุ้นจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว” นายวิรไทย กล่าว
อนึ่ง ในปี 2553 ตลาดหลักทรัพย์ฯมีพอร์ตการลงทุนมูลค่า 13,987 ล้านบาท แบ่งเป็น หลักทรัพย์เพื่อค้า 2,246 ล้านบาท หลักทรัพย์เผื่อข่าว 4,459 ล้านบาท ตราสารหนี้ที่ถือจนครบกำหนด 1,370 ล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 658 ล้านบาท เงินลงทุนทั่วไป 5,227 ล้านบาท โดยในปี 2553 ตลาดหลักทรัพย์ฯมีเงินกองทุนรวมมูลค่า 17,119 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่มี 15,764 ล้านบาท
สำหรับภาวะตลาดหุ้นไทยในปี 2555 นี้ ถือว่าคาดการณ์ยากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากจะต้องติดตามสถานการณ์ยุโรป ที่หลายประเทศจะครบกำหนดในการชำระหนี้ ซึ่งทำให้จะต้องมีการกู้เงินเพื่อนำไปชำระนี้ที่จะครบกำหนด และจากการที่ฝรั่งเศสจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ก็จะมีผลต่อนโยบายในการจัดการหนี้ อีกทั้งในในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการเลือประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ก็จะทำให้มีความชัดเจนในเรื่องนโยบายการใช้จ่ายว่าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจอเมริกาอย่างไร จึงทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกปีนี้ตลาดหุ้นไทยจะมีความผันผวนสูง
ส่วนในช่วง 10 วันที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทย ถือว่ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาตามตลาดหุ้นทั่วโลกแม้จะขึ้น 2.7% ซึ่งต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ก็ตาม แต่ถือว่าเป็นทิศทางที่ดีว่านักลงทุนหันกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น มูลค่าการซื้อขายถือว่าสูงที่ 22,607.52 ล้านบาทต่อวัน
ขณะเดียวกัน แม้ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปิดติดลบ 0.72% จากสิ้นปี 2553 แต่ถือว่าตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงน้อยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นแถบเอเชีย เช่น ตลาดหุ้นเกาหลี ที่มีการปรับตัวลดลง 10.98% สิงคโปร์ มีการปรับตัวลดลง 17.04% ตลาดหุ้นฮ่องกง ที่ปรับตัวลดลง 19.97% ขณะที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (emerging market) ปรับตัวลดลง 21% และตลาดหุ้นไทยในปีที่ผ่านมามีมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ต่อมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (share turnover velocity) สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีมูลค่าการวื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 29,473.28 ล้านบาท สูงสดอันดับ 2 รองจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์
“การที่สภาพคล่องการซื้อขายตลาดหุ้นไทยสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะ ไทยมีความแข็งแกร่งมากกว่าประเทศอื่นๆ แม้นักลงทุนต่างชาติมีการขายหุ้นทั่วโลกจำนวนมาก แต่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเพียง 0.72% เท่านั้น เพราะรายย่อยของไทยไม่อ่อนไหวต่อการขายหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ ทำให้นักลงทุนไทยได้ประโยชน์ ซึ่งในเดือน พ.ย.ปีที่ผ่านบัญชีซื้อขายเพิ่มขึ้น12.40% อยู่ที่ 6.95 แสนบัญชี และเป็นบัญชีซื้อขายสม่ำเสมอ 1.72 แสนบัญชี เพิ่มขึ้น 14%” นายวิรไทย กล่าว
ทั้งนี้ ในช่วงปี 2554 SET ทำสถิติสูงสุดในรอบ 15 ปี และ mai ทำสถิติสูงสุดหลายด้าน โดยดัชนีปรับขึ้นสูงสุดที่ 1,144.14 จุด และ 319.60 จุด ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market capitalization) ของทั้ง 2 ตลาดทำสถิติสูงสุด โดย SET อยู่ที่ระดับ 9.36 ล้านล้านบาท และ mai อยู่ที่ระดับ 86,079.17 ล้านบาท แม้ในปี 2554 ตลาดทุนไทยได้รับผลจากปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้านสภาพคล่องของตลาดหลักทรัพย์ไทยอยู่ในระดับสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 29,473.28 ล้านบาท สูงสุดตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์เริ่มซื้อขาย และสูงเป็นอันดับสองรองจากสิงคโปร์
อีกทั้งในส่วนของตลาดอนุพันธ์ ปริมาณการซื้อขายรวมปี 2554 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 10,027,116 สัญญา และมีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยรายวัน 41,145 สัญญา เพิ่มขึ้น 120.31% จากปี 2553 จากปริมาณการซื้อขาย gold futures และ SET50 Index futures ที่เพิ่มขึ้น ในปี 2554 ตลาดอนุพันธ์เริ่มซื้อขายผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ silver futures และ oil futures โดยมีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันตั้งแต่เริ่มซื้อขายถึงสิ้นปี 2554 อยู่ที่ 236 สัญญา และ 64 สัญญา ตามลำดับ