ASTVผู้จัดการรายวัน- “ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์” ลุยตรวจนิคมฯและเขตประกอบการ 7 แห่งที่ประสบภาวะน้ำท่วม เผยสำรวจเบื้องต้นโรงงานที่ปิดกิจการชั่วคราว 838 แห่งเพิ่งกลับมาผลิตเพียง 30% อธิบดีกสร.เผยสรุปยอดโครงการป้องกันเลิกจ้าง 15 ก.พ.นี้
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 13-14 ก.พ.นี้จะนำคณะเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมนิคมอุตสาหกรรม/เขตประกอบการที่ประสบภาวะน้ำท่วม 7 แห่งเพื่อติดตามความคืบหน้าการฟื้นฟูกิจการในแต่ละนิคมฯรวมถึงแนวทางการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า ล่าสุดพบว่าการฟื้นฟูโรงงานในนิคมฯที่ถูกน้ำท่วมดังกล่าวล่าสุดได้มีการเดินเครื่องผลิตเฉลี่ยเพียง 30% จากที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมจนต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวทั้งสิ้น 838 แห่ง
“ เดิมทีกระทรวงอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าโรงงานต่างๆที่ถูกน้ำท่วมจะมีการกลับมาเดินเครื่องผลิต 60-70% ในสิ้นเดือนมีนาคมนี้แต่จากที่เปิดล่าสุดเพียง 30% ก็ยังถือว่าห่างเป้าหมายอยู่”นายวิฑูรย์กล่าว
จากการสำรวจพบว่า 1. นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครมีโรงงานที่ปิดกิจการชั่วคราวจากน้ำท่วม 43 แห่งล่าสุดเดินเครื่องผลิต100% 7 แห่ง และเดินเครื่องบางส่วน 3 แห่ง ขณะที่แผนการก่อสร้างเขื่อนกำหนดไว้วันที่ 1 เม.ย. เสร็จ 31 ส.ค. 55 2. เขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะปิดกิจการ 198 แห่งกลับมาเดินเครื่องผลิต บางส่วนแล้ว 27 แห่ง แผนก่อสร้างเขื่อนกำหนดเริ่ม 1 ก.พ.เสร็จ 30 ก.ย. 55
3. นิคมฯไฮเทค ปิดกิจการ 143 แห่ง เดินเครื่องผลิต 100% แล้ว 32 แห่งผลิตบางส่วน 12 แห่ง มีแผนการก่อสร้างเขื่อนรอบนิคมฯเริ่ม 1 มี.ค.เสร็จ 30 ส.ค.55 4. นิคมฯบางปะอิน มีโรงงานปิดกิจการ 90 แห่งกลับมาผลิต 100% แล้ว 12 แห่ง และผลิตบางส่วน 32 แห่งมีแผนการสร้างเขื่อนรอบนิคมฯเริ่ม 1 ก.พ.เสร็จ 30 ก.ค.55 5. เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ มีโรงงานปิดกิจการ 93 แห่งเริ่มกลับมาผลิต 100% แล้ว 73 แห่งและผลิตบางส่วน 20 แห่ง ส่วนแผนสร้างเขื่อนไม่มีเนื่องจากพื้นที่ไม่เหมาะสม
6.เขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร มีโรงงานปิดกิจการ 227 แห่ง ล่าสุดกลับมาเดินเครื่องการผลิตบางสว่นแล้ว 37 แห่ง ขณะที่กำหนดสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเริ่ม 15 ก.พ.เสร็จ 31 ส.ค. 55 7. สวนอุตสาหกรรมบางกะดี โรงงานปิดกิจการ 44 แห่ง เริ่มกลับมาเดินเครื่องผลิตบางสว่นแล้ว 3 แห่ง ขณะที่แผนก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเริ่ม 14 ก.พ.เสร็จ 30 ส.ค. 55
***สรุปยอดโครงการป้องกันเลิกจ้าง 15 ก.พ.นี้
วานนี้ (8 ก.พ.) นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตนได้สั่งการให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ในพื้นที่ประสบอุทกภัย สรุปยอดสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างให้ชัดเจนภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้
ล่าสุดนายจ้างแจ้งยอดลูกจ้างที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ค่าของเงินเดือน ผ่านโครงการฯเกินเป้าที่ตั้งไว้จาก 3 แสนคน เป็นกว่า 3.1 แสนคน และมีการสั่งจ่ายไปแล้วเพื่อช่วยเหลือแรงงานกว่า 1.8 แสนคน
รัฐบาลได้จัดสรรงบโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างให้แก่กระทรวงแรงงาน 1,818 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือแรงงานในสถานประกอบการที่ถูกน้ำท่วมไม่ให้ถูกเลิกจ้าง 3 แสนคน
ทั้งนี้ จากข้อมูลของกสร.เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมามีสถานประกอบการใน 14 จังหวัดที่ร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างมี 1,665 แห่ง ลูกจ้าง 315,099 คน ได้รับอนุมัติแล้ว 772 แห่ง ลูกจ้าง 182,925 คน
.
ขณะเดียวกันก็มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมถูกเลิกจ้าง 40,749 คน ในสถานประกอบการ 117 แห่ง ส่วนสถานประกอบการที่ยังไม่สามารถเปิดกิจการได้ 284 แห่ง ลูกจ้างยังไม่ได้กลับเข้าทำงาน 164,552 คน ขณะที่สถานประกอบการที่สามารถเปิดกิจการแล้วมี 28,381 แห่ง และลูกจ้างได้กลับเข้าทำงานแล้ว 823,912 คน
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 13-14 ก.พ.นี้จะนำคณะเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมนิคมอุตสาหกรรม/เขตประกอบการที่ประสบภาวะน้ำท่วม 7 แห่งเพื่อติดตามความคืบหน้าการฟื้นฟูกิจการในแต่ละนิคมฯรวมถึงแนวทางการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า ล่าสุดพบว่าการฟื้นฟูโรงงานในนิคมฯที่ถูกน้ำท่วมดังกล่าวล่าสุดได้มีการเดินเครื่องผลิตเฉลี่ยเพียง 30% จากที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมจนต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวทั้งสิ้น 838 แห่ง
“ เดิมทีกระทรวงอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าโรงงานต่างๆที่ถูกน้ำท่วมจะมีการกลับมาเดินเครื่องผลิต 60-70% ในสิ้นเดือนมีนาคมนี้แต่จากที่เปิดล่าสุดเพียง 30% ก็ยังถือว่าห่างเป้าหมายอยู่”นายวิฑูรย์กล่าว
จากการสำรวจพบว่า 1. นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครมีโรงงานที่ปิดกิจการชั่วคราวจากน้ำท่วม 43 แห่งล่าสุดเดินเครื่องผลิต100% 7 แห่ง และเดินเครื่องบางส่วน 3 แห่ง ขณะที่แผนการก่อสร้างเขื่อนกำหนดไว้วันที่ 1 เม.ย. เสร็จ 31 ส.ค. 55 2. เขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะปิดกิจการ 198 แห่งกลับมาเดินเครื่องผลิต บางส่วนแล้ว 27 แห่ง แผนก่อสร้างเขื่อนกำหนดเริ่ม 1 ก.พ.เสร็จ 30 ก.ย. 55
3. นิคมฯไฮเทค ปิดกิจการ 143 แห่ง เดินเครื่องผลิต 100% แล้ว 32 แห่งผลิตบางส่วน 12 แห่ง มีแผนการก่อสร้างเขื่อนรอบนิคมฯเริ่ม 1 มี.ค.เสร็จ 30 ส.ค.55 4. นิคมฯบางปะอิน มีโรงงานปิดกิจการ 90 แห่งกลับมาผลิต 100% แล้ว 12 แห่ง และผลิตบางส่วน 32 แห่งมีแผนการสร้างเขื่อนรอบนิคมฯเริ่ม 1 ก.พ.เสร็จ 30 ก.ค.55 5. เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ มีโรงงานปิดกิจการ 93 แห่งเริ่มกลับมาผลิต 100% แล้ว 73 แห่งและผลิตบางส่วน 20 แห่ง ส่วนแผนสร้างเขื่อนไม่มีเนื่องจากพื้นที่ไม่เหมาะสม
6.เขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร มีโรงงานปิดกิจการ 227 แห่ง ล่าสุดกลับมาเดินเครื่องการผลิตบางสว่นแล้ว 37 แห่ง ขณะที่กำหนดสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเริ่ม 15 ก.พ.เสร็จ 31 ส.ค. 55 7. สวนอุตสาหกรรมบางกะดี โรงงานปิดกิจการ 44 แห่ง เริ่มกลับมาเดินเครื่องผลิตบางสว่นแล้ว 3 แห่ง ขณะที่แผนก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเริ่ม 14 ก.พ.เสร็จ 30 ส.ค. 55
***สรุปยอดโครงการป้องกันเลิกจ้าง 15 ก.พ.นี้
วานนี้ (8 ก.พ.) นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตนได้สั่งการให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ในพื้นที่ประสบอุทกภัย สรุปยอดสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างให้ชัดเจนภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้
ล่าสุดนายจ้างแจ้งยอดลูกจ้างที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ค่าของเงินเดือน ผ่านโครงการฯเกินเป้าที่ตั้งไว้จาก 3 แสนคน เป็นกว่า 3.1 แสนคน และมีการสั่งจ่ายไปแล้วเพื่อช่วยเหลือแรงงานกว่า 1.8 แสนคน
รัฐบาลได้จัดสรรงบโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างให้แก่กระทรวงแรงงาน 1,818 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือแรงงานในสถานประกอบการที่ถูกน้ำท่วมไม่ให้ถูกเลิกจ้าง 3 แสนคน
ทั้งนี้ จากข้อมูลของกสร.เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมามีสถานประกอบการใน 14 จังหวัดที่ร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างมี 1,665 แห่ง ลูกจ้าง 315,099 คน ได้รับอนุมัติแล้ว 772 แห่ง ลูกจ้าง 182,925 คน
.
ขณะเดียวกันก็มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมถูกเลิกจ้าง 40,749 คน ในสถานประกอบการ 117 แห่ง ส่วนสถานประกอบการที่ยังไม่สามารถเปิดกิจการได้ 284 แห่ง ลูกจ้างยังไม่ได้กลับเข้าทำงาน 164,552 คน ขณะที่สถานประกอบการที่สามารถเปิดกิจการแล้วมี 28,381 แห่ง และลูกจ้างได้กลับเข้าทำงานแล้ว 823,912 คน