อธิบดี กสร.เผยสรุปยอดโครงการป้องกันเลิกจ้าง 15 ก.พ.นี้ เตรียมชงของบเพิ่มหากงบมีไม่พอ หลังมียอดแรงงานเข้าร่วมกว่า 3.1 แสนคนเกินกว่าเป้ากว่า 1 หมื่นคน
วันนี้ (8 ก.พ.) นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตนได้สั่งการให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ในพื้นที่ประสบอุทกภัย สรุปยอดสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างให้ชัดเจนภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ เนื่องจากเมื่อสิ้นสุดโครงการภายใน 15 วัน กสร.จะต้องสรุปตัวเลขที่ชัดเจนว่าสามารถช่วยเหลือแรงงานได้จำนวนเท่าใด อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาจ่ายเงิน ธนาคารออมสินจะร่วมกับกระทรวงการคลังในการตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายเงินให้แก่สถานประกอบการ ซึ่งล่าสุดนายจ้างแจ้งยอดลูกจ้างที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ค่าของเงินเดือน ผ่านโครงการฯเกินเป้าที่ตั้งไว้จาก 3 แสนคน เป็นกว่า 3.1 แสนคน และมีการสั่งจ่ายไปแล้วเพื่อช่วยเหลือแรงงานกว่า 1.8 แสนคน โดยหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ จะทราบยอดที่ชัดเจนว่าจะมีสถานประกอบการใดเข้าข่ายที่ กสร.จะนำเงินโครงการที่เหลือมาช่วยเหลือต่อ
“รัฐบาลได้จัดสรรงบโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างให้แก่กระทรวงแรงงาน 1,818 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือแรงงานในสถานประกอบการที่ถูกน้ำท่วมไม่ให้ถูกเลิกจ้าง 3 แสนคน ทั้งนี้ หากเงินโครงการมีเงินเหลือไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือ ก็เตรียมเสนอรัฐบาลของบประมาณเพิ่มเติม โดยได้รับความเห็นชอบจากนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงานแล้ว” อธิบดี กสร.กล่าว
ทั้งนี้ จากข้อมูลของ กสร.เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา มีสถานประกอบการใน 14 จังหวัดที่ร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างมี 1,665 แห่ง ลูกจ้าง 315,099 คน ได้รับอนุมัติแล้ว 772 แห่ง ลูกจ้าง 182,925 คน .
ขณะเดียวกัน มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมถูกเลิกจ้าง 40,749 คน ในสถานประกอบการ 117 แห่ง แยกเป็น จ.พระนครศรีอยุธยา มีสถานประกอบการเลิกจ้าง 67 แห่ง ลูกจ้าง 21,590 คน ปทุมธานี เลิกจ้าง 35 แห่ง 18,483 คน ฉะเชิงเทรา เลิกจ้าง 2 แห่ง ลูกจ้าง 509 คน สระบุรีเลิกจ้าง 1 แห่ง ลูกจ้าง 31 คน นครปฐมเลิกจ้าง 1 แห่ง ลูกจ้าง 68 คน นนทบุรีเลิกจ้าง 9 แห่ง ลูกจ้าง 35 คน และกรุงเทพฯ เลิกจ้าง 2 แห่ง ลูกจ้าง 33 คน ทั้งนี้ ยอดแรงงานถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 7,026 คน
ส่วนสถานประกอบการที่ยังไม่สามารถเปิดกิจการได้ 284 แห่ง ลูกจ้างยังไม่ได้กลับเข้าทำงาน 164,552 คน ขณะที่สถานประกอบการที่สามารถเปิดกิจการแล้วมี 28,381 แห่ง และลูกจ้างได้กลับเข้าทำงานแล้ว 823,912 คน
วันนี้ (8 ก.พ.) นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตนได้สั่งการให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ในพื้นที่ประสบอุทกภัย สรุปยอดสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างให้ชัดเจนภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ เนื่องจากเมื่อสิ้นสุดโครงการภายใน 15 วัน กสร.จะต้องสรุปตัวเลขที่ชัดเจนว่าสามารถช่วยเหลือแรงงานได้จำนวนเท่าใด อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาจ่ายเงิน ธนาคารออมสินจะร่วมกับกระทรวงการคลังในการตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายเงินให้แก่สถานประกอบการ ซึ่งล่าสุดนายจ้างแจ้งยอดลูกจ้างที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ค่าของเงินเดือน ผ่านโครงการฯเกินเป้าที่ตั้งไว้จาก 3 แสนคน เป็นกว่า 3.1 แสนคน และมีการสั่งจ่ายไปแล้วเพื่อช่วยเหลือแรงงานกว่า 1.8 แสนคน โดยหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ จะทราบยอดที่ชัดเจนว่าจะมีสถานประกอบการใดเข้าข่ายที่ กสร.จะนำเงินโครงการที่เหลือมาช่วยเหลือต่อ
“รัฐบาลได้จัดสรรงบโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างให้แก่กระทรวงแรงงาน 1,818 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือแรงงานในสถานประกอบการที่ถูกน้ำท่วมไม่ให้ถูกเลิกจ้าง 3 แสนคน ทั้งนี้ หากเงินโครงการมีเงินเหลือไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือ ก็เตรียมเสนอรัฐบาลของบประมาณเพิ่มเติม โดยได้รับความเห็นชอบจากนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงานแล้ว” อธิบดี กสร.กล่าว
ทั้งนี้ จากข้อมูลของ กสร.เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา มีสถานประกอบการใน 14 จังหวัดที่ร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างมี 1,665 แห่ง ลูกจ้าง 315,099 คน ได้รับอนุมัติแล้ว 772 แห่ง ลูกจ้าง 182,925 คน .
ขณะเดียวกัน มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมถูกเลิกจ้าง 40,749 คน ในสถานประกอบการ 117 แห่ง แยกเป็น จ.พระนครศรีอยุธยา มีสถานประกอบการเลิกจ้าง 67 แห่ง ลูกจ้าง 21,590 คน ปทุมธานี เลิกจ้าง 35 แห่ง 18,483 คน ฉะเชิงเทรา เลิกจ้าง 2 แห่ง ลูกจ้าง 509 คน สระบุรีเลิกจ้าง 1 แห่ง ลูกจ้าง 31 คน นครปฐมเลิกจ้าง 1 แห่ง ลูกจ้าง 68 คน นนทบุรีเลิกจ้าง 9 แห่ง ลูกจ้าง 35 คน และกรุงเทพฯ เลิกจ้าง 2 แห่ง ลูกจ้าง 33 คน ทั้งนี้ ยอดแรงงานถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 7,026 คน
ส่วนสถานประกอบการที่ยังไม่สามารถเปิดกิจการได้ 284 แห่ง ลูกจ้างยังไม่ได้กลับเข้าทำงาน 164,552 คน ขณะที่สถานประกอบการที่สามารถเปิดกิจการแล้วมี 28,381 แห่ง และลูกจ้างได้กลับเข้าทำงานแล้ว 823,912 คน