ASTVผู้จัดการรายวัน-แกนนำชาวไร่อ้อยนัดถกหารือเพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหววันนี้ หลังผิดหวัง"อุตฯ"ชงครม.กู้ธ.ก.ส. 1.5 หมื่นล้าน เพิ่มค่าอ้อยอีก 154 บาทไม่สำเร็จ
นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (1 ก.พ. ) แกนนำชาวไร่อ้อยจะนัดหารือถึงกรณีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 31 ม.ค.ที่เห็นชอบราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2554/55 ที่ราคา 1,000 บาทต่อตัน แต่กรณีส่วนเพิ่มราคาอ้อยอีก 154 บาทต่อตัน ครม.ให้กระทรวงอุตสาหกรรมกลับไปทำการศึกษาผลกระทบรอบด้านทั้งกองทุนอ้อยและน้ำตาล ผู้บริโภค ราคาน้ำตาล เพื่อส่งกลับมายังครม.ใหม่อีกครั้ง
“แกนนำชาวไร่อ้อยคงจะนัดหารือกันวันนี้ เพื่อที่จะกำหนดท่าทีในการเคลื่อนไหว เพราะที่ผ่านมา การเพิ่มราคาอ้อยก็ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) แล้ว การนำเข้าครม.คนที่จัดทำรายละเอียด คือ นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ซึ่งเป็นประธานกองทุนฯ ด้วย แต่ที่รู้มีการเสนอกระดาษแผ่นเดียวที่ครม.ไม่ให้ก็สมควรแล้ว”นายกำธรกล่าว
ทั้งนี้ ชาวไร่เห็นว่าเลขาฯ สอน. บริหารงานที่ผ่านมา ไร้ประสิทธิภาพในหลายๆ เรื่อง จึงไม่สามารถจะทนพฤติกรรมดังกล่าวได้อีกต่อไป เพราะการขอส่วนเพิ่มราคาอ้อยโดยหลักการที่ผ่านมา ก็ทำมาตลอด โดยรัฐบาลสนับสนุนวงเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ให้กับกองทุนฯ ซึ่งไม่ได้เป็นการให้เปล่าแต่อย่างใด และอดีตก็ไม่ได้มีปัญหา แต่ฤดูหีบครั้งนี้ ชาวไร่รอคอยมาตั้งแต่พ.ย.2554 แล้ว
นายชัยวัฒน์ คำแก่นคูณ ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า วันที่ 1 ก.พ. แกนนำชาวไร่อ้อยคงจะหารือกันและคงจะต้องสอบถามกับนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะที่ผ่านมา ปลัดได้รับปากที่จะนำเข้าครม.และยืนยันว่าจะไม่มีปัญหาใดๆ ทำให้ชาวไร่หยุดเคลื่อนไหวที่จะเดินทางมาประท้วงที่กระทรวงอุตสาหกรรม
“ผมเองก็งง เกิดอะไรขึ้นกันแน่ เราคงจะต้องมาถามท่านว่าเกิดอะไรขึ้น อยากจะให้ชาวไร่อ้อยเดินทางมากระทรวงอุตสาหกรรมเหรอ ถ้ามาจริงท่านจะเหนื่อยนะ ผมผิดหวังมาก ซึ่งกอน.ก่อนหน้าก็เห็นชอบไปแล้วที่จะเพิ่มค่าอ้อย 154 บาทต่อตันหรือให้กองทุนฯ กู้ธ.ก.ส.วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท “นายชัยวัฒน์กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัญหาทั้งหมดเกิดจากการทำงานที่ขัดแย้งกันของปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกับเลขาฯ สอน. ทำให้การประสานงานเรื่องของข้อมูลของกอน.และบอร์ดกองทุนอ้อยฯ ไม่ทำไปควบคู่กัน ซึ่งทำให้ชาวไร่เบื่อหน่ายถึงพฤติกรรมการทำงานของกระทรวงอุตสาหกรรมอย่างมาก
นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (1 ก.พ. ) แกนนำชาวไร่อ้อยจะนัดหารือถึงกรณีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 31 ม.ค.ที่เห็นชอบราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2554/55 ที่ราคา 1,000 บาทต่อตัน แต่กรณีส่วนเพิ่มราคาอ้อยอีก 154 บาทต่อตัน ครม.ให้กระทรวงอุตสาหกรรมกลับไปทำการศึกษาผลกระทบรอบด้านทั้งกองทุนอ้อยและน้ำตาล ผู้บริโภค ราคาน้ำตาล เพื่อส่งกลับมายังครม.ใหม่อีกครั้ง
“แกนนำชาวไร่อ้อยคงจะนัดหารือกันวันนี้ เพื่อที่จะกำหนดท่าทีในการเคลื่อนไหว เพราะที่ผ่านมา การเพิ่มราคาอ้อยก็ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) แล้ว การนำเข้าครม.คนที่จัดทำรายละเอียด คือ นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ซึ่งเป็นประธานกองทุนฯ ด้วย แต่ที่รู้มีการเสนอกระดาษแผ่นเดียวที่ครม.ไม่ให้ก็สมควรแล้ว”นายกำธรกล่าว
ทั้งนี้ ชาวไร่เห็นว่าเลขาฯ สอน. บริหารงานที่ผ่านมา ไร้ประสิทธิภาพในหลายๆ เรื่อง จึงไม่สามารถจะทนพฤติกรรมดังกล่าวได้อีกต่อไป เพราะการขอส่วนเพิ่มราคาอ้อยโดยหลักการที่ผ่านมา ก็ทำมาตลอด โดยรัฐบาลสนับสนุนวงเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ให้กับกองทุนฯ ซึ่งไม่ได้เป็นการให้เปล่าแต่อย่างใด และอดีตก็ไม่ได้มีปัญหา แต่ฤดูหีบครั้งนี้ ชาวไร่รอคอยมาตั้งแต่พ.ย.2554 แล้ว
นายชัยวัฒน์ คำแก่นคูณ ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า วันที่ 1 ก.พ. แกนนำชาวไร่อ้อยคงจะหารือกันและคงจะต้องสอบถามกับนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะที่ผ่านมา ปลัดได้รับปากที่จะนำเข้าครม.และยืนยันว่าจะไม่มีปัญหาใดๆ ทำให้ชาวไร่หยุดเคลื่อนไหวที่จะเดินทางมาประท้วงที่กระทรวงอุตสาหกรรม
“ผมเองก็งง เกิดอะไรขึ้นกันแน่ เราคงจะต้องมาถามท่านว่าเกิดอะไรขึ้น อยากจะให้ชาวไร่อ้อยเดินทางมากระทรวงอุตสาหกรรมเหรอ ถ้ามาจริงท่านจะเหนื่อยนะ ผมผิดหวังมาก ซึ่งกอน.ก่อนหน้าก็เห็นชอบไปแล้วที่จะเพิ่มค่าอ้อย 154 บาทต่อตันหรือให้กองทุนฯ กู้ธ.ก.ส.วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท “นายชัยวัฒน์กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัญหาทั้งหมดเกิดจากการทำงานที่ขัดแย้งกันของปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกับเลขาฯ สอน. ทำให้การประสานงานเรื่องของข้อมูลของกอน.และบอร์ดกองทุนอ้อยฯ ไม่ทำไปควบคู่กัน ซึ่งทำให้ชาวไร่เบื่อหน่ายถึงพฤติกรรมการทำงานของกระทรวงอุตสาหกรรมอย่างมาก