ASTVผู้จัดการรายวัน-เช็คตัวเลขต้นทุนชาวไร่อ้อย 1,078 บาทต่อตัน สูงกว่าราคาอ้อยขั้นต้นปี 2554/55 ที่ประกาศ 1,000 บาทต่อตัน ชงกอน. 13 ธ.ค.เคาะกู้เพิ่ม 200 บาทต่อตันตามข้อเสนอชาวไร่หรือไม่ ลุ้นผลผลิตอ้อย 99.5 ล้านตันทุบสถิติสูงสุดอีกระลอก พร้อมกำหนดน้ำตาลบริโภคในประเทศ 24 ล้านกระสอบ
นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหาร (กบ.) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยหลังการประชุมกบ.วานนี้ (6ธ.ค.) ว่า จากกรณีคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.)มอบหมายให้กบ. พิจารณาข้อเท็จจริงที่ชาวไร่อ้อยเสนอขอเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2554/55 จากราคาประกาศ 1,000 บาทต่อตันอีก 200 บาทต่อตันเป็น 1,200 บาทต่อตัน ซึ่งจากการพิจารณาพบว่าราคาที่เสนอไม่ได้สูงเกินจริง เนื่องจากพบว่าต้นทุนชาวไร่อ้อยอยู่ที่ระดับ 1,078 บาทต่อตัน ซึ่งต่ำกว่าราคาประกาศ
ทั้งนี้ จะเสนอให้กอน. ที่มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน พิจารณาแนวทางการช่วยเหลือวันที่ 13 ธ.ค.นี้ โดยจะดำเนินการเช่นฤดูการผลิตปี 2553/54 ที่ให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เพื่อเพิ่มค่าอ้อย ซึ่งปีดังกล่าวต้นทุนชาวไร่อ้อยอยู่ที่ 978 บาทต่อตัน ราคาอ้อยกำหนดที่ 945 บาทต่อตันและรัฐให้กู้เพิ่มส่วนต่างราคาอีก 105 บาทต่อตันเป็น 1,050 บาทต่อตัน
“ก็คงจะเสนอแนวทางช่วยเหลือแบบเดิม แต่จะช่วยเต็ม 200 บาทต่อตันหรือไม่ อยู่ที่กอน. เพราะยอมรับว่าปีก่อนช่วยเพิ่มเพียง 105 บาทต่อตัน แต่หากช่วยครั้งนี้จะเป็น 122 บาทต่อตัน หรือคิดเป็นเงินกู้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท”นายณัฐพลกล่าว
สำหรับราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2554/55 กำหนดไว้ที่ 1,000 บาทต่อตัน คำนวณจากปริมาณอ้อยที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 99.5 ล้านตัน แม้ว่าน้ำจะท่วม แต่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ซึ่งคงจะต้องลุ้นตัวเลขหลังปิดหีบอีกครั้ง ส่วนความหวานเฉลี่ยที่ 11.78 ซี.ซี.เอส. ปริมาณน้ำตาลทรายที่จะได้ประมาณ 102.87 ล้านกระสอบ (10.28 ล้านตัน) ราคาส่งออกเฉลี่ยที่ 24.7 เซนต์ต่อปอนด์ อัตราแลกเปลี่ยนที่ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
ขณะที่กอน.ที่ผ่านมา ได้กำหนดปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ (โควตา ก.) ที่ระดับ 24 ล้านกระสอบ ที่เหลือส่งออกทั้งหมด ซึ่งโควตา ก. ดังกล่าว ต่ำกว่าฤดูการผลิตปีที่ผ่านมา ที่กำหนดไว้ 25 ล้านกระสอบ เนื่องจากความต้องการไม่ได้สูงมากนัก ประกอบกับปีที่ผ่านมา พบว่าน้ำตาลเหลือค้างกระดานเกือบ 2 ล้านกระสอบ
นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหาร (กบ.) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยหลังการประชุมกบ.วานนี้ (6ธ.ค.) ว่า จากกรณีคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.)มอบหมายให้กบ. พิจารณาข้อเท็จจริงที่ชาวไร่อ้อยเสนอขอเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2554/55 จากราคาประกาศ 1,000 บาทต่อตันอีก 200 บาทต่อตันเป็น 1,200 บาทต่อตัน ซึ่งจากการพิจารณาพบว่าราคาที่เสนอไม่ได้สูงเกินจริง เนื่องจากพบว่าต้นทุนชาวไร่อ้อยอยู่ที่ระดับ 1,078 บาทต่อตัน ซึ่งต่ำกว่าราคาประกาศ
ทั้งนี้ จะเสนอให้กอน. ที่มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน พิจารณาแนวทางการช่วยเหลือวันที่ 13 ธ.ค.นี้ โดยจะดำเนินการเช่นฤดูการผลิตปี 2553/54 ที่ให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เพื่อเพิ่มค่าอ้อย ซึ่งปีดังกล่าวต้นทุนชาวไร่อ้อยอยู่ที่ 978 บาทต่อตัน ราคาอ้อยกำหนดที่ 945 บาทต่อตันและรัฐให้กู้เพิ่มส่วนต่างราคาอีก 105 บาทต่อตันเป็น 1,050 บาทต่อตัน
“ก็คงจะเสนอแนวทางช่วยเหลือแบบเดิม แต่จะช่วยเต็ม 200 บาทต่อตันหรือไม่ อยู่ที่กอน. เพราะยอมรับว่าปีก่อนช่วยเพิ่มเพียง 105 บาทต่อตัน แต่หากช่วยครั้งนี้จะเป็น 122 บาทต่อตัน หรือคิดเป็นเงินกู้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท”นายณัฐพลกล่าว
สำหรับราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2554/55 กำหนดไว้ที่ 1,000 บาทต่อตัน คำนวณจากปริมาณอ้อยที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 99.5 ล้านตัน แม้ว่าน้ำจะท่วม แต่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ซึ่งคงจะต้องลุ้นตัวเลขหลังปิดหีบอีกครั้ง ส่วนความหวานเฉลี่ยที่ 11.78 ซี.ซี.เอส. ปริมาณน้ำตาลทรายที่จะได้ประมาณ 102.87 ล้านกระสอบ (10.28 ล้านตัน) ราคาส่งออกเฉลี่ยที่ 24.7 เซนต์ต่อปอนด์ อัตราแลกเปลี่ยนที่ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
ขณะที่กอน.ที่ผ่านมา ได้กำหนดปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ (โควตา ก.) ที่ระดับ 24 ล้านกระสอบ ที่เหลือส่งออกทั้งหมด ซึ่งโควตา ก. ดังกล่าว ต่ำกว่าฤดูการผลิตปีที่ผ่านมา ที่กำหนดไว้ 25 ล้านกระสอบ เนื่องจากความต้องการไม่ได้สูงมากนัก ประกอบกับปีที่ผ่านมา พบว่าน้ำตาลเหลือค้างกระดานเกือบ 2 ล้านกระสอบ