ASTVผู้จัดการรายวัน - อุตฯเครื่องหนัง- รองเท้า โอดค่าแรง 300 บาทต่อวันพ่นพิษต้องเจรจาขอขยับราคา สินค้าเพิ่ม รองเท้าแบรนด์ดังหันลดออเดอร์ไทยไปสั่งเพื่อนบ้านแทน แนะรัฐบาลค่อยๆทยอยปรับค่าแรงไม่ใช่ขึ้นทันที 40%
นางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นายกสมาคมเครื่องหนังไทย เปิดเผยในงาน "ไลฟ์ สไตล์ ฟอร์เลิฟ 55" ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) วานนี้(6 ก.พ.) ว่า อุตสาห- กรรมเครื่องหนังกำลังได้รับผลกระทบจากนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันที่จะนำร่อง 7 จังหวัดในเดือน เม.ย. นี้ โดยส่งผลต่อการรับคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) ที่ต้องเจรจาขอปรับราคา สินค้ากับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อต้นทุนที่จะสูงในอนาคต ดังนั้นจึงเห็นว่ารัฐควรจะใช้วิธีทยอยปรับค่าจ้างมากกว่าเพราะการขึ้นดังกล่าวเป็นการปรับครั้งเดียวเพิ่มขึ้นถึง 40%
"ออเดอร์ล่วงหน้าเราต้องเจรจา เรื่องราคาใหม่เพราะต้นทุนค่าจ้างเราสูงขึ้นมาก แต่รายใดที่เน้นคุณภาพราคาสูงอยู่แล้วคงไม่มีปัญหา การเจรจาราคาที่เพิ่มขึ้นก็ต่างกันแต่ละรายแต่ภาพรวมก็ขึ้นไม่ได้มากนักแต่เอสเอ็มอียอมรับว่าลำบากมาก รัฐบาลน่าจะให้เวลาในการปรับตัวไม่ใช่ขึ้นครั้งเดียวสูงถึง 40% ขณะเดียวกันค่าเงินบาทยังมีทิศทางที่ขึ้นลงเร็วและหากเทียบภูมิภาคไทยยังมีอัตราค่าเงินที่แข็งค่ากว่าโดยเฉลี่ยจึงเป็นภาระเอกชนเพิ่มขึ้นอีก" นางเนาวรัตน์ กล่าว
ปัจจุบันแรงงานในระบบอุตสาหกรรมเครื่องหนังมีไม่ต่ำกว่า 7-8 แสนคน แต่ภาพรวมแรงงานฝีมือยังคงขาดแคลน การปรับขึ้นค่าจ้างจะมีส่วนผลักดันการเคลื่อนย้ายการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านแต่คงไม่สามารถระบุได้ว่าจะมากน้อยเพียงใดเพราะแต่ละรายย่อมมีหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ
อย่างไรก็ตาม คู่แข่งทางการค้าของอุตสาหกรรมนี้ปัจจุบันเป็นอินเดีย เนื่องจากมีวัตถุดิบคือหนังวัวทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ขณะที่ไทยต้องนำเข้าถึง 50%
นางเนาวรัตน์ กล่าวว่า อุตฯเครื่องหนังปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 15% ใกล้เคียงกับปี 2554 โดยมีมูลค่าการส่งออกไม่น้อยกว่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา โดยตลาดสหรัฐฯ ยุโรป ยังคงเป็นตลาดหลักในการส่งออกรองลงมา จีน ญี่ปุ่นและเวียดนาม
โดยสินค้าไทยยังคงเน้นคุณภาพ มากกว่าราคาจึงเชื่อมั่นว่าการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) จะทำให้อุตฯเครื่องหนังมีโอกาสทางการค้าและลงทุนมากขึ้น
นายชนินทร์ จิตต์โกมุท นายกสมาคมรองเท้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันเจ้าของสินค้ายี่ห้อดังระดับโลกเริ่มลดคำสั่งซื้อ (ออเดอร์)จากโรงงานในไทยแล้วหันไปสั่งออเดอร์จากจีน เวียดนาม และอินโดนีเซียแทน เนื่องจากไทยขาดแคลนฝีมือแรงงาน รวมถึงโรงงานในไทยขอปรับขึ้นราคาค่าจ้างในการผลิตตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันของรัฐบาล ส่งผลให้ผู้ผลิตรองเท้าระดับเอสเอ็มอีดำเนินกิจการได้ลำบากยิ่งขึ้น
"การขอปรับขึ้นราคาค่าจ้างในการผลิตรองเท้าเพียงคู่ละ 5-10 บาท ก็ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์สินค้าปฏิเสธในการสั่งออเดอร์แล้ว เพราะในการสั่งสินค้าแต่ละครั้งต้องใช้เวลาล่วงหน้านาน 1 ปี และต้องผลิตหลายแสนคู่ แต่ในส่วนของจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ต้นทุนการผลิตรองเท้ายี่ห้อเดียวกันและรุ่นเดียวกันจะมีต้นทุนต่ำกว่าผลิตในไทยคู่ละ 20%" นายชนินทร์ กล่าว
นางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นายกสมาคมเครื่องหนังไทย เปิดเผยในงาน "ไลฟ์ สไตล์ ฟอร์เลิฟ 55" ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) วานนี้(6 ก.พ.) ว่า อุตสาห- กรรมเครื่องหนังกำลังได้รับผลกระทบจากนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันที่จะนำร่อง 7 จังหวัดในเดือน เม.ย. นี้ โดยส่งผลต่อการรับคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) ที่ต้องเจรจาขอปรับราคา สินค้ากับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อต้นทุนที่จะสูงในอนาคต ดังนั้นจึงเห็นว่ารัฐควรจะใช้วิธีทยอยปรับค่าจ้างมากกว่าเพราะการขึ้นดังกล่าวเป็นการปรับครั้งเดียวเพิ่มขึ้นถึง 40%
"ออเดอร์ล่วงหน้าเราต้องเจรจา เรื่องราคาใหม่เพราะต้นทุนค่าจ้างเราสูงขึ้นมาก แต่รายใดที่เน้นคุณภาพราคาสูงอยู่แล้วคงไม่มีปัญหา การเจรจาราคาที่เพิ่มขึ้นก็ต่างกันแต่ละรายแต่ภาพรวมก็ขึ้นไม่ได้มากนักแต่เอสเอ็มอียอมรับว่าลำบากมาก รัฐบาลน่าจะให้เวลาในการปรับตัวไม่ใช่ขึ้นครั้งเดียวสูงถึง 40% ขณะเดียวกันค่าเงินบาทยังมีทิศทางที่ขึ้นลงเร็วและหากเทียบภูมิภาคไทยยังมีอัตราค่าเงินที่แข็งค่ากว่าโดยเฉลี่ยจึงเป็นภาระเอกชนเพิ่มขึ้นอีก" นางเนาวรัตน์ กล่าว
ปัจจุบันแรงงานในระบบอุตสาหกรรมเครื่องหนังมีไม่ต่ำกว่า 7-8 แสนคน แต่ภาพรวมแรงงานฝีมือยังคงขาดแคลน การปรับขึ้นค่าจ้างจะมีส่วนผลักดันการเคลื่อนย้ายการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านแต่คงไม่สามารถระบุได้ว่าจะมากน้อยเพียงใดเพราะแต่ละรายย่อมมีหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ
อย่างไรก็ตาม คู่แข่งทางการค้าของอุตสาหกรรมนี้ปัจจุบันเป็นอินเดีย เนื่องจากมีวัตถุดิบคือหนังวัวทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ขณะที่ไทยต้องนำเข้าถึง 50%
นางเนาวรัตน์ กล่าวว่า อุตฯเครื่องหนังปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 15% ใกล้เคียงกับปี 2554 โดยมีมูลค่าการส่งออกไม่น้อยกว่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา โดยตลาดสหรัฐฯ ยุโรป ยังคงเป็นตลาดหลักในการส่งออกรองลงมา จีน ญี่ปุ่นและเวียดนาม
โดยสินค้าไทยยังคงเน้นคุณภาพ มากกว่าราคาจึงเชื่อมั่นว่าการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) จะทำให้อุตฯเครื่องหนังมีโอกาสทางการค้าและลงทุนมากขึ้น
นายชนินทร์ จิตต์โกมุท นายกสมาคมรองเท้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันเจ้าของสินค้ายี่ห้อดังระดับโลกเริ่มลดคำสั่งซื้อ (ออเดอร์)จากโรงงานในไทยแล้วหันไปสั่งออเดอร์จากจีน เวียดนาม และอินโดนีเซียแทน เนื่องจากไทยขาดแคลนฝีมือแรงงาน รวมถึงโรงงานในไทยขอปรับขึ้นราคาค่าจ้างในการผลิตตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันของรัฐบาล ส่งผลให้ผู้ผลิตรองเท้าระดับเอสเอ็มอีดำเนินกิจการได้ลำบากยิ่งขึ้น
"การขอปรับขึ้นราคาค่าจ้างในการผลิตรองเท้าเพียงคู่ละ 5-10 บาท ก็ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์สินค้าปฏิเสธในการสั่งออเดอร์แล้ว เพราะในการสั่งสินค้าแต่ละครั้งต้องใช้เวลาล่วงหน้านาน 1 ปี และต้องผลิตหลายแสนคู่ แต่ในส่วนของจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ต้นทุนการผลิตรองเท้ายี่ห้อเดียวกันและรุ่นเดียวกันจะมีต้นทุนต่ำกว่าผลิตในไทยคู่ละ 20%" นายชนินทร์ กล่าว