“เผดิมชัย” เชื่อ นโยบายค่าจ้าง 300 บาท ดึงแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาทำงานในไทย ชี้ พม่าเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ทวาย ไม่น่าห่วง ขณะที่ภาคธุรกิจ-โรงแรมเชียงราย โอดค่าจ้าง 300 บ.กระทบค่าขนส่ง ไม่จ้างแรงงานเพิ่ม
วันนี้ (31 ม.ค.) นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวถึงข้อกังวลของนักวิชาการที่กลัวประเทศไทยจะขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากประเทศพม่า จะเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เมืองทวาย และแรงงานพม่าจะเดินทางกลับประเทศเพิ่มขึ้น ว่า ในเรื่องนี้ไม่รู้สึกกังวลว่าแรงงานพม่าจะเดินทางกลับไปทำงานที่ประเทศของตน เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีค่าแรงที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยนโยบายการปรับค่าแรง 300 บาท ขณะที่ค่าแรงในพม่าเพียงวันละ 210 บาทเท่านั้น ซึ่งค่าแรงของไทยยิ่งจะเป็นแรงจูงใจให้แรงงานต่างชาติมาทำงานในไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งเราต้องมีนโยบายคัดสรรคนและตรวจสอบการเข้าเมืองอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตามในข้อกังวลของนักวิชาการ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้กระทรวงแรงงานต้องตื่นตัวและมองในหลายมุม เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรอบด้าน
รมว.แรงงาน ยังกล่าวถึงข้อกังวลของภาคเอกชนที่เกรงว่า ค่าแรง 300 บาท จะส่งผลกระทบกับการตัดสินใจลงทุนในไทย จนนักลงทุนย้ายฐานการผลิตไปทั้งในและต่างประเทศ ว่า การย้ายฐานเป็นเรื่องความพอใจของนักลงทุน ซึ่งเราห้ามไม่ได้ แต่เชื่อว่า การย้ายฐานไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ไม่น่ามี แต่ถ้าย้ายภายในประเทศเชื่อว่ามีจริง เนื่องจากนักลงทุนเกรงปัญหาอุทกภัยเกิดซ้ำ จึงต้องมองหาพื้นที่ใหม่ๆ ในไทยที่เหมาะแก่การลงทุน เพราะไทยพร้อมทั้งการขนส่ง วัตถุดิบ และแรงงานที่มีฝีมือ
นายเกรียงไกร วีระฤทธิพันธ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.เชียงราย กล่าวว่า สถานประกอบการในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียงไม่ได้คัดค้านการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท หรือการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้น 40% ทั่วประเทศ ตามมติของคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) ที่มีมติให้ปรับขึ้นในวันที่ 1 เม.ย.2555 แต่ที่นักธุรกิจในพื้นที่กังวลคือ เรื่องของผลกระทบที่จะตามมามีมากกว่าพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากเชียงรายเป็นพื้นที่อยู่ห่างไกลทำให้ต้นทุนค่าน้ำมันและค่าขนส่งสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ
ดังนั้น จึงไม่อยากให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด เพราะสถานประกอบการ โดยเฉพาะสถานประกอบการขนาดเล็กปรับตัวไม่ทัน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า คงไม่มีการปลดพนักงาน แต่ก็จะไม่มีการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 300 บาท อยากให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงานให้ดีขึ้น เพื่อผลิตสินค้าให้มากขึ้น และทำงานได้คุ้มค่ากับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำของ จ.เชียงราย อยู่ที่ 166 บาทต่อวัน หากปรับเพิ่ม 40% จะปรับขึ้นเกือบเท่าตัว เป็น 232 บาทต่อวัน
น.ส.นันทรัตน์ สุทธนะ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลโรงแรมเลอเมอริเดียน จ.เชียงราย กล่าวถึงนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 40 ของรัฐบาล ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายนนี้ และส่งผลให้ค่าจ้างของ จ.เชียงอยู่ที่ 232 บาทต่อวัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 166 บาทต่อวัน ว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ ส่งผลกระทบกับต้นทุนที่สูงขึ้นแน่นอน แต่เมื่อเป็นข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติย่อมหลีกเลี่ยงที่จะต้องปรับให้ถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ในกลุ่มธุรกิจโรงแรมของเครือเลอเมอริเดียน ใน 7 จังหวัดทั่วประเทศ อาทิ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พังงา ก็กำลังเตรียมการรองรับกับต้นทุนที่สูงขึ้น แม้ปัจจุบันจะจ่ายแค่แรงสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำก็ตาม ซึ่งแผนรองรับก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารของสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร ว่า จะดำเนินการอย่างไร ทั้งนี้ หากค่าแรงสูงขึ้นแต่ปัจจุบันธุรกิจไม่ค่อยได้รับความสนใจ ก็อาจมีการพิจารณาปรับลดคนงานได้ แต่หากธุรกิจดีกลุ่มโรงแรมของเลอเมอริเดียนก็พร้อมที่จะปรับตัว
วันนี้ (31 ม.ค.) นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวถึงข้อกังวลของนักวิชาการที่กลัวประเทศไทยจะขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากประเทศพม่า จะเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เมืองทวาย และแรงงานพม่าจะเดินทางกลับประเทศเพิ่มขึ้น ว่า ในเรื่องนี้ไม่รู้สึกกังวลว่าแรงงานพม่าจะเดินทางกลับไปทำงานที่ประเทศของตน เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีค่าแรงที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยนโยบายการปรับค่าแรง 300 บาท ขณะที่ค่าแรงในพม่าเพียงวันละ 210 บาทเท่านั้น ซึ่งค่าแรงของไทยยิ่งจะเป็นแรงจูงใจให้แรงงานต่างชาติมาทำงานในไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งเราต้องมีนโยบายคัดสรรคนและตรวจสอบการเข้าเมืองอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตามในข้อกังวลของนักวิชาการ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้กระทรวงแรงงานต้องตื่นตัวและมองในหลายมุม เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรอบด้าน
รมว.แรงงาน ยังกล่าวถึงข้อกังวลของภาคเอกชนที่เกรงว่า ค่าแรง 300 บาท จะส่งผลกระทบกับการตัดสินใจลงทุนในไทย จนนักลงทุนย้ายฐานการผลิตไปทั้งในและต่างประเทศ ว่า การย้ายฐานเป็นเรื่องความพอใจของนักลงทุน ซึ่งเราห้ามไม่ได้ แต่เชื่อว่า การย้ายฐานไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ไม่น่ามี แต่ถ้าย้ายภายในประเทศเชื่อว่ามีจริง เนื่องจากนักลงทุนเกรงปัญหาอุทกภัยเกิดซ้ำ จึงต้องมองหาพื้นที่ใหม่ๆ ในไทยที่เหมาะแก่การลงทุน เพราะไทยพร้อมทั้งการขนส่ง วัตถุดิบ และแรงงานที่มีฝีมือ
นายเกรียงไกร วีระฤทธิพันธ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.เชียงราย กล่าวว่า สถานประกอบการในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียงไม่ได้คัดค้านการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท หรือการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้น 40% ทั่วประเทศ ตามมติของคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) ที่มีมติให้ปรับขึ้นในวันที่ 1 เม.ย.2555 แต่ที่นักธุรกิจในพื้นที่กังวลคือ เรื่องของผลกระทบที่จะตามมามีมากกว่าพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากเชียงรายเป็นพื้นที่อยู่ห่างไกลทำให้ต้นทุนค่าน้ำมันและค่าขนส่งสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ
ดังนั้น จึงไม่อยากให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด เพราะสถานประกอบการ โดยเฉพาะสถานประกอบการขนาดเล็กปรับตัวไม่ทัน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า คงไม่มีการปลดพนักงาน แต่ก็จะไม่มีการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 300 บาท อยากให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงานให้ดีขึ้น เพื่อผลิตสินค้าให้มากขึ้น และทำงานได้คุ้มค่ากับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำของ จ.เชียงราย อยู่ที่ 166 บาทต่อวัน หากปรับเพิ่ม 40% จะปรับขึ้นเกือบเท่าตัว เป็น 232 บาทต่อวัน
น.ส.นันทรัตน์ สุทธนะ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลโรงแรมเลอเมอริเดียน จ.เชียงราย กล่าวถึงนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 40 ของรัฐบาล ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายนนี้ และส่งผลให้ค่าจ้างของ จ.เชียงอยู่ที่ 232 บาทต่อวัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 166 บาทต่อวัน ว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ ส่งผลกระทบกับต้นทุนที่สูงขึ้นแน่นอน แต่เมื่อเป็นข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติย่อมหลีกเลี่ยงที่จะต้องปรับให้ถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ในกลุ่มธุรกิจโรงแรมของเครือเลอเมอริเดียน ใน 7 จังหวัดทั่วประเทศ อาทิ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พังงา ก็กำลังเตรียมการรองรับกับต้นทุนที่สูงขึ้น แม้ปัจจุบันจะจ่ายแค่แรงสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำก็ตาม ซึ่งแผนรองรับก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารของสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร ว่า จะดำเนินการอย่างไร ทั้งนี้ หากค่าแรงสูงขึ้นแต่ปัจจุบันธุรกิจไม่ค่อยได้รับความสนใจ ก็อาจมีการพิจารณาปรับลดคนงานได้ แต่หากธุรกิจดีกลุ่มโรงแรมของเลอเมอริเดียนก็พร้อมที่จะปรับตัว