วานนี้(6 ก.พ.55)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง กรณีที่รัฐบาลใช้งบประมาณในการปราบยาเสพติดไปแล้วถึง 635 ล้านบาท ภายในเวลา 3 เดือน หลังจากพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2555 มีผลบังคับใช้ ว่า ถ้าทำงานได้ผลก็เชื่อว่าประชาชนไม่เสียดายเงิน ส่วนที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การปราบยาเสพติดในรัฐบาลชุดนี้ ได้ผลมากกว่าสมัยที่ตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น อยากให้พิจารณาให้ดีก่อน เพราะในสมัยที่ตนเป็นนายกฯ การปราบยาเสพติดก็ทำได้มากกว่าในยุคที่พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาล
นอกจากนี้การที่รัฐบาลระบุว่า ปราบยาเสพติดได้มากในขณะนี้ก็ต้องดูด้วยว่า เป็นเพราะปริมาณยาเสพติดมีมากขึ้นหรือเป็นเพราะเจ้าหน้าที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้รับผิดชอบในการปราบปรามยาเสพติดในยุคที่ตนเป็นนายกรัฐมนตรีกับรัฐบาชุดนี้เป็นคน ๆ เดียวกันคือ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ ผบ.ตร.คนปัจจุบัน พร้อมกับเตือนรัฐบาลว่าอย่ามุ่งเน้นแต่การปราบปรามเพียงอย่างเดียวแต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและครบวงจรทั้งการดูแลผู้เสพและงานด้านการป้องกันจะต้องทำควบคู่กันไป
"ผมเข้าใจว่าในทางการเมืองมักชอบที่จะใช้ความเด็ดขาดหรือพูดง่าย ๆ คือ ฆ่าคนใช้ยาเพราะมันได้ผลในทางสังคม จึงทำให้รัฐบาลมุ่งเรื่องนี้เป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากสมัยที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีการมอบนโยบายให้ดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องยาเสพติดแต่ฝ่ายการเมืองไม่เข้าไปนั่งแถลงด้วยตัวเองในเรื่องของการปราบปรามปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตำรวจดำเนินการ ผมจึงอยากเตือนว่าการแก้ปัญหาต้องทำต่อเนื่องให้ครบวงจรด้วย และเห็นด้วยว่าการปราบปรามจะต้องเข้มงวดกวดขัน แต่ต้องไม่ใช้วิธีนอกกฎหมาย ซึ่งผมหวังว่ารัฐบาลจะสานต่อการทลายเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติดในเรือนจำจากที่รัฐบาลที่แล้วได้เริ่มต้นเอาไว้อย่างจริงจังด้วย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**งง!เบิกจ่ายงบสุดเร็ว 36% ใน 3 เดือน
น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสาคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการติดตามงบประมาณ กล่าวว่า ในวันพุธที่ 8 ก.พ.นี้นี้จะเสนอต่อที่ประชุมกรรมาธิการฯเพื่อให้ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณปราบยาเสพติดที่มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 635.29 ล้านบาท จากงบประมาณ 1,735.22 ล้านบาท หรือประมาณ 36 % ของงบประมาณทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าเป็นการเบิกจ่ายที่รวดเร็วผิดปกติ จึงคิดว่าควรจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาชี้แจงรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร เพื่อไม่ให้มีการรั่วไหลหรือทุจริตเกิดขึ้น เพราะเป็นหน้าที่ของกรรมาธิการติดตามงบประมาณอยู่แล้ว
“ตั้งแต่เป็นกรรมาธิการติดตามงบประมาณมายังไม่เคยเห็นการเบิกจ่ายงบประมาณที่รวดเร็วเท่านี้มาก่อน ตกใจเลยใช้บ้าอะไรกัน 36 % จากงบประมาณภายใน 3 เดือน ซึ่งในปีนี้ถือว่าพ.ร.บ.งบ 55 มีผลบังคับใช้ล่าช้าไปประมาณ 4 เดือน แต่ว่าสามารถเบิกจ่ายไปก่อนได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป ที่ส่วนตัว พ.ร.บ.งบ55 เพิ่งจะมีผลบังคับใช้จริงต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ และตามกฎหมายก็ระบุไว้ว่าการเบิกจ่ายล่วงหน้าจะทำได้ 1 ใน 3 ของงบประมาณทั้งหมด หากมาดูตัวเลขการเบิกจ่ายครั้งนี้จะเห็นว่า 1 ใน 3 พอดี ถ้าจะบอกว่ามีการเบิกจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็วก็อาจจะอ้างได้ แต่ก็ต้องชี้แจงให้ได้ด้วยว่ามีความโปร่งใสหรือไม่ เพราะเท่ากับว่าใช้เฉลี่ยเดือนละ 200 ล้านบาท ถ้าใช้แบบน้ำอย่างสม่ำเสมองบประมาณก็จะหมดภายในเวลาไม่ถึง 9 เดือน" น.ส.รังสิมา กล่าว
น.ส.รังสิมา ยืนยันด้วยว่า พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนการแก้ปัญหายาเสพติด และไม่ติดใจหากการใช้งบประมาณจะเป็นไปอย่างคุ้มค่าและนำไปแก้ปัญหาอย่างแท้จริงโดยไม่มีการรั่วไหลหรือทุจริตเกิดขึ้น เพราะถ้าทำให้ยาเสพติดหมดไปได้จริงจะใช้อีกเป็นพันล้านประชาชนก็คงไม่เสียดายเงิน แต่คนที่เกี่ยวข้องก็ต้องพร้อมที่จะชี้แจงเพื่อให้เกิดความโปร่งใสต่อสาธารณชนด้วย
ก่อนหน้านี้มีการรายงานตัวเลขการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 6 มกราคมว่า มีการใช้จ่ายงบประมาณแก้ปัญหายาเสพติดไปแล้ว 635.29 ล้านบาท จากที่ตั้งงบประมาณไว้ 1,735.22 ล้านบาท หรือประมาณ 36 % ของงบประมาณทั้งหมด และยังมีการเบิกจ่ายงบประมาณแก้ปัญหาคอรัปชั่นอีก 27.36 ล้านบาท จากวงเงิน 76.01 ล้านบาท โดยงบประมาณสองส่วนนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี รวม 2 นโยบายใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,811.23 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายงบไปแล้วจำนวน 662.65 ล้านบาท
** จี้ เหลิมแจง งัดยุคมาร์คเหนือแม้ว
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเรียกร้องให้ ร.ต.อ.เฉลิม ชี้แจงการใช้งบประมาณปราบยาเสพติด โดยขอให้แจ้งรายละเอียดให้ชักเจนว่าใช้ดำเนินการเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และให้สาธารณชนได้ตรวจสอบว่ามีการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่หรือไม่
ทั้งนี้ยังตอบโต้กรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่า 2 ปี 7 เดือนรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ได้แก้ปัญหายาเสพติดว่า ไม่เป็นความจริง และนำสถิติการจับกุมยุคนายอภิสิทธิ์มาเทียบกับยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งพบว่าทั้งปริมาณการจับกุมผู้ต้องหา ของกลาง และจำนวนคดี โดยจากข้อมูลของ ปปส.การจับกุมยาเสพติดเฉลี่ยต่อปี ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ จำนวนคดี 7 9,074.39 จำนวนผู้ต้องหา (คน) 86,509.94 ของกลาง (กิโลกรัม) 58,903.20 ขณะที่ยุคอภิสิทธ์ จำนวนคดี 149,749.60 จำนวนผู้ต้องหา (คน) 164,362.80 ของกลาง (กิโลกรัม) 107,229.32. จะเห็นว่ายุคที้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นเหนือกว่ายุค พ.ต.ท.ทักษิณ 2 เท่าในทุกกรณี เพียงแต่ไม่ได้สร้างภาพประชาสัมพันธ์ผ่านโทรทัศน์ ไม่ใช้วิธีฆ่าตัดตอน ไม่หว่านงบประมาณจำนวนมาก แต่ลงมือในทำในภาคปฏิบัติ นี่คือการทำงานของนายอภิสิทธิ์ที่พรรคเพื่อไทยกล่าวหาว่า "ดีแต่พูด" จึงอยากให้ผู้ที่ออกมาโจมตีได้ดูข้อมูลด้วย จะได้รู้ว่านายอภิสิทธิ์คือคนที่ พูดดีทำได้
**เหลิม เตรียมเสนอแก้กม.โทษคดียา
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จะเสนอแก้ไขกฎหมายการปราบปรามยาเสพติด ในส่วนของบทลงโทษผู้ต้องขังคดียาเสพติด จากเดิมที่ นักโทษสามารถยื่นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ในแต่ละจังหวัดได้ทันที โดยจะเปลี่ยนมายื่นต่อศาลอุทธรณ์กลาง ซึ่งเมื่อศาลอุทธรณ์กลาง เห็นตรงกับคำตัดสิน โดยยืนตามศาลชั้นต้น ผู้ต้องขัง ก็ไม่มีสิทธิ์ยื่นฎีกาอีกต่อไป แม้ว่าจะมีโทษประหารชีวิตก็ตาม ซึ่งเชื่อว่า จะลดโอกาสที่ผู้ต้องขังในคุกจะก่อคดียาเสพติดอีก ซึ่งในส่วนนี้จะนำไปปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมกฤษฎีกา เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป โดยยืนยันว่า นโยบายปราบปรามยาเสพติด จะไม่ใช้งบประมาณแผ่นดิน รวมถึง งบประมาณของ ป.ป.ส. ด้วย เนื่องจาก ไม่ได้มีการตั้งงบในส่วนนี้มาตั้งแต่แรก เพราะมั่นใจว่า ภายใน 1 ปี จะสามารถปราบปรามยาเสพติดได้ ตามที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ จากนั้น จะตั้งเป็นวาระแห่งภูมิภาค
นอกจากนี้การที่รัฐบาลระบุว่า ปราบยาเสพติดได้มากในขณะนี้ก็ต้องดูด้วยว่า เป็นเพราะปริมาณยาเสพติดมีมากขึ้นหรือเป็นเพราะเจ้าหน้าที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้รับผิดชอบในการปราบปรามยาเสพติดในยุคที่ตนเป็นนายกรัฐมนตรีกับรัฐบาชุดนี้เป็นคน ๆ เดียวกันคือ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ ผบ.ตร.คนปัจจุบัน พร้อมกับเตือนรัฐบาลว่าอย่ามุ่งเน้นแต่การปราบปรามเพียงอย่างเดียวแต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและครบวงจรทั้งการดูแลผู้เสพและงานด้านการป้องกันจะต้องทำควบคู่กันไป
"ผมเข้าใจว่าในทางการเมืองมักชอบที่จะใช้ความเด็ดขาดหรือพูดง่าย ๆ คือ ฆ่าคนใช้ยาเพราะมันได้ผลในทางสังคม จึงทำให้รัฐบาลมุ่งเรื่องนี้เป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากสมัยที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีการมอบนโยบายให้ดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องยาเสพติดแต่ฝ่ายการเมืองไม่เข้าไปนั่งแถลงด้วยตัวเองในเรื่องของการปราบปรามปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตำรวจดำเนินการ ผมจึงอยากเตือนว่าการแก้ปัญหาต้องทำต่อเนื่องให้ครบวงจรด้วย และเห็นด้วยว่าการปราบปรามจะต้องเข้มงวดกวดขัน แต่ต้องไม่ใช้วิธีนอกกฎหมาย ซึ่งผมหวังว่ารัฐบาลจะสานต่อการทลายเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติดในเรือนจำจากที่รัฐบาลที่แล้วได้เริ่มต้นเอาไว้อย่างจริงจังด้วย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**งง!เบิกจ่ายงบสุดเร็ว 36% ใน 3 เดือน
น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสาคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการติดตามงบประมาณ กล่าวว่า ในวันพุธที่ 8 ก.พ.นี้นี้จะเสนอต่อที่ประชุมกรรมาธิการฯเพื่อให้ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณปราบยาเสพติดที่มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 635.29 ล้านบาท จากงบประมาณ 1,735.22 ล้านบาท หรือประมาณ 36 % ของงบประมาณทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าเป็นการเบิกจ่ายที่รวดเร็วผิดปกติ จึงคิดว่าควรจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาชี้แจงรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร เพื่อไม่ให้มีการรั่วไหลหรือทุจริตเกิดขึ้น เพราะเป็นหน้าที่ของกรรมาธิการติดตามงบประมาณอยู่แล้ว
“ตั้งแต่เป็นกรรมาธิการติดตามงบประมาณมายังไม่เคยเห็นการเบิกจ่ายงบประมาณที่รวดเร็วเท่านี้มาก่อน ตกใจเลยใช้บ้าอะไรกัน 36 % จากงบประมาณภายใน 3 เดือน ซึ่งในปีนี้ถือว่าพ.ร.บ.งบ 55 มีผลบังคับใช้ล่าช้าไปประมาณ 4 เดือน แต่ว่าสามารถเบิกจ่ายไปก่อนได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป ที่ส่วนตัว พ.ร.บ.งบ55 เพิ่งจะมีผลบังคับใช้จริงต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ และตามกฎหมายก็ระบุไว้ว่าการเบิกจ่ายล่วงหน้าจะทำได้ 1 ใน 3 ของงบประมาณทั้งหมด หากมาดูตัวเลขการเบิกจ่ายครั้งนี้จะเห็นว่า 1 ใน 3 พอดี ถ้าจะบอกว่ามีการเบิกจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็วก็อาจจะอ้างได้ แต่ก็ต้องชี้แจงให้ได้ด้วยว่ามีความโปร่งใสหรือไม่ เพราะเท่ากับว่าใช้เฉลี่ยเดือนละ 200 ล้านบาท ถ้าใช้แบบน้ำอย่างสม่ำเสมองบประมาณก็จะหมดภายในเวลาไม่ถึง 9 เดือน" น.ส.รังสิมา กล่าว
น.ส.รังสิมา ยืนยันด้วยว่า พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนการแก้ปัญหายาเสพติด และไม่ติดใจหากการใช้งบประมาณจะเป็นไปอย่างคุ้มค่าและนำไปแก้ปัญหาอย่างแท้จริงโดยไม่มีการรั่วไหลหรือทุจริตเกิดขึ้น เพราะถ้าทำให้ยาเสพติดหมดไปได้จริงจะใช้อีกเป็นพันล้านประชาชนก็คงไม่เสียดายเงิน แต่คนที่เกี่ยวข้องก็ต้องพร้อมที่จะชี้แจงเพื่อให้เกิดความโปร่งใสต่อสาธารณชนด้วย
ก่อนหน้านี้มีการรายงานตัวเลขการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 6 มกราคมว่า มีการใช้จ่ายงบประมาณแก้ปัญหายาเสพติดไปแล้ว 635.29 ล้านบาท จากที่ตั้งงบประมาณไว้ 1,735.22 ล้านบาท หรือประมาณ 36 % ของงบประมาณทั้งหมด และยังมีการเบิกจ่ายงบประมาณแก้ปัญหาคอรัปชั่นอีก 27.36 ล้านบาท จากวงเงิน 76.01 ล้านบาท โดยงบประมาณสองส่วนนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี รวม 2 นโยบายใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,811.23 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายงบไปแล้วจำนวน 662.65 ล้านบาท
** จี้ เหลิมแจง งัดยุคมาร์คเหนือแม้ว
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเรียกร้องให้ ร.ต.อ.เฉลิม ชี้แจงการใช้งบประมาณปราบยาเสพติด โดยขอให้แจ้งรายละเอียดให้ชักเจนว่าใช้ดำเนินการเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และให้สาธารณชนได้ตรวจสอบว่ามีการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่หรือไม่
ทั้งนี้ยังตอบโต้กรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่า 2 ปี 7 เดือนรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ได้แก้ปัญหายาเสพติดว่า ไม่เป็นความจริง และนำสถิติการจับกุมยุคนายอภิสิทธิ์มาเทียบกับยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งพบว่าทั้งปริมาณการจับกุมผู้ต้องหา ของกลาง และจำนวนคดี โดยจากข้อมูลของ ปปส.การจับกุมยาเสพติดเฉลี่ยต่อปี ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ จำนวนคดี 7 9,074.39 จำนวนผู้ต้องหา (คน) 86,509.94 ของกลาง (กิโลกรัม) 58,903.20 ขณะที่ยุคอภิสิทธ์ จำนวนคดี 149,749.60 จำนวนผู้ต้องหา (คน) 164,362.80 ของกลาง (กิโลกรัม) 107,229.32. จะเห็นว่ายุคที้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นเหนือกว่ายุค พ.ต.ท.ทักษิณ 2 เท่าในทุกกรณี เพียงแต่ไม่ได้สร้างภาพประชาสัมพันธ์ผ่านโทรทัศน์ ไม่ใช้วิธีฆ่าตัดตอน ไม่หว่านงบประมาณจำนวนมาก แต่ลงมือในทำในภาคปฏิบัติ นี่คือการทำงานของนายอภิสิทธิ์ที่พรรคเพื่อไทยกล่าวหาว่า "ดีแต่พูด" จึงอยากให้ผู้ที่ออกมาโจมตีได้ดูข้อมูลด้วย จะได้รู้ว่านายอภิสิทธิ์คือคนที่ พูดดีทำได้
**เหลิม เตรียมเสนอแก้กม.โทษคดียา
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จะเสนอแก้ไขกฎหมายการปราบปรามยาเสพติด ในส่วนของบทลงโทษผู้ต้องขังคดียาเสพติด จากเดิมที่ นักโทษสามารถยื่นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ในแต่ละจังหวัดได้ทันที โดยจะเปลี่ยนมายื่นต่อศาลอุทธรณ์กลาง ซึ่งเมื่อศาลอุทธรณ์กลาง เห็นตรงกับคำตัดสิน โดยยืนตามศาลชั้นต้น ผู้ต้องขัง ก็ไม่มีสิทธิ์ยื่นฎีกาอีกต่อไป แม้ว่าจะมีโทษประหารชีวิตก็ตาม ซึ่งเชื่อว่า จะลดโอกาสที่ผู้ต้องขังในคุกจะก่อคดียาเสพติดอีก ซึ่งในส่วนนี้จะนำไปปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมกฤษฎีกา เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป โดยยืนยันว่า นโยบายปราบปรามยาเสพติด จะไม่ใช้งบประมาณแผ่นดิน รวมถึง งบประมาณของ ป.ป.ส. ด้วย เนื่องจาก ไม่ได้มีการตั้งงบในส่วนนี้มาตั้งแต่แรก เพราะมั่นใจว่า ภายใน 1 ปี จะสามารถปราบปรามยาเสพติดได้ ตามที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ จากนั้น จะตั้งเป็นวาระแห่งภูมิภาค