เชียงราย - กลุ่มสหฟาร์ม ขยายการลงทุนตั้งโรงงานผลิตไก่ครบวงจรชายแดนเมืองพ่อขุนฯ วางเป้าส่งไก่ชำแหละเข้าจีนตอนใต้วันละ 2 แสนตัว แถมมีแลนด์แบงก์ในมือที่เชียงของอีกร่วม 500 ไร่ พร้อมเตรียมขยายเพิ่มหากตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้น
นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ เปิดเผยว่า วันนี้(6 ก.พ.) บริษัท สหฟาร์ม จำกัด มีกำหนดทำพิธีตั้งศาลพระพรหม ขึ้นเสาเอกอาคาร ณ หน่วยรับซื้อข้าวโพด ตั้งอยู่บ้านแม่เงิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เพื่อเป็นแหล่งรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรเพื่อนำไปแปรรูปเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงไก่ โดยมี ดร.ปัญญา โชติเทวัญ ประธานในกลุ่มบริษัทสหฟาร์ม เป็นประธาน
นายพัฒนา กล่าวว่า สหฟาร์ม มีธุรกิจไก่ครบวงจรอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อเห็นศักยภาพของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือจีเอ็มเอส ด้าน จ.เชียงราย ซึ่งมีการค้าขายกับ สปป.ลาว พม่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศจีน จึงขยายการลงทุนเข้ามา
จากการสอบถามเบื้องต้นทราบว่า สหฟาร์มมีแผนลงทุนผลิตไก่ครบวงจรที่เชียงรายเพื่อจำหน่ายในตลาดสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะส่งไปยังจีนตอนใต้ ซึ่งนิยมบริโภคเนื้อไก่แช่แข็งจากไทยอย่างมากมายจนผลิตส่งไปไม่ทัน โดยนอกจากเปิดจุดรับซื้อข้าวโพดที่เชียงแสนครั้งนี้แล้ว กลุ่มสหฟาร์ม ยังได้ซื้อที่ดินบริเวณ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ เอาไว้ประมาณ 500 ไร่ และกำลังขยายออกไปอีกหลายพันไร่
ดังนั้นในอนาคตธุรกิจที่อยู่ตามชายแดนของสหฟาร์มคงจะมีทั้งการจัดตั้งไซโล ข้าวโพด ถั่วเหลือง จัดทำอาหารสัตว์ คัดลูกไก่ เลี้ยงไก่ ตั้งโรงงานชำแหละ และส่งออก ฯลฯ ที่ค่อนข้างคึกคักอย่างมาก เนื่องจากได้รับแจ้งว่าจะมีการส่งออกไก่ที่ชำแหละแล้วดังกล่าวไปยังตลาดจีนวันละกว่า 200,000 ตัว ถือเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจย่านนี้มีความชัดเจนมากขึ้น จากการลงทุนของกลุ่มทุนต่างๆ หลังจากที่เคยผลักดันกันมานานหลายปี
สำหรับการส่งออก คงจะเป็นไปได้ทั้งทางบกผ่านถนนR3aไทย-สปป.ลาว-จีนตอนใต้ ผ่านทาง อ.เชียงของ ซึ่งสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เพื่อการขนส่งก็กำลังจะแล้วเสร็จในอีกไม่กี่ปีนี้ หรืออาจจะเป็นทางเรือแม่น้ำโขง ซึ่งท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 กำลังจะแล้วเสร็จในเดือน เม.ย.55 นี้ก็ได้ และคาดว่าหลังสหฟาร์ม เข้าไปลงทุนจะมีกิจการอื่นๆ ที่เห็นช่องทางและศักยภาพของจีเอ็มเอส เข้าไปลงทุนด้านอื่นๆ มากขึ้น
ส่วนการค้าชายแดนด้าน จ.เชียงราย พบว่าในปี 2554 การค้าชายแดนกับ 3 ประเทศคือพม่า สปป.ลาว และจีนตอนใต้ มากถึง 28,956.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 37% โดยเป็นการค้ากับพม่า 42% จีนตอนใต้ 22% และ สปป.ลาว 36% โดยสินค้าส่งออกสำคัญเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าเกษตร วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ และส่วนหนึ่งคืออาหารแช่แข็งประเภทไก่แช่แข็งที่ส่งไปยังตลาดจีนตอนใต้ โดยเฉพาะมณฑลหยุนหนันที่มีประชากรบริโภคไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน และนิยมบริโภคไก่แช่แข็งจากไก่อย่างมาก นอกจากนี้ส่วนหนึ่งถูกส่งไปยังท่าเรือเมืองสบหรวย ประเทศพม่า เพื่อส่งไปยังเมืองลาเขตเศรษฐกิจพิเศษของพม่าติดชายแดนจีนอีกด้วย
สหฟาร์มถือเป็นหนึ่งธุรกิจขนาดใหญ่ที่เข้าไปเริ่มต้นก่อตั้งในชายแดนไทย-สปป.ลาว ด้าน จ.เชียงราย หลังจากก่อนหน้านี้มีกระแสเรื่องเขตนิคมอุตสาหกรรมหรืออื่นๆ ในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจมานานแต่ยังไม่เป็นรูปธรรม
นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ เปิดเผยว่า วันนี้(6 ก.พ.) บริษัท สหฟาร์ม จำกัด มีกำหนดทำพิธีตั้งศาลพระพรหม ขึ้นเสาเอกอาคาร ณ หน่วยรับซื้อข้าวโพด ตั้งอยู่บ้านแม่เงิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เพื่อเป็นแหล่งรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรเพื่อนำไปแปรรูปเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงไก่ โดยมี ดร.ปัญญา โชติเทวัญ ประธานในกลุ่มบริษัทสหฟาร์ม เป็นประธาน
นายพัฒนา กล่าวว่า สหฟาร์ม มีธุรกิจไก่ครบวงจรอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อเห็นศักยภาพของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือจีเอ็มเอส ด้าน จ.เชียงราย ซึ่งมีการค้าขายกับ สปป.ลาว พม่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศจีน จึงขยายการลงทุนเข้ามา
จากการสอบถามเบื้องต้นทราบว่า สหฟาร์มมีแผนลงทุนผลิตไก่ครบวงจรที่เชียงรายเพื่อจำหน่ายในตลาดสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะส่งไปยังจีนตอนใต้ ซึ่งนิยมบริโภคเนื้อไก่แช่แข็งจากไทยอย่างมากมายจนผลิตส่งไปไม่ทัน โดยนอกจากเปิดจุดรับซื้อข้าวโพดที่เชียงแสนครั้งนี้แล้ว กลุ่มสหฟาร์ม ยังได้ซื้อที่ดินบริเวณ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ เอาไว้ประมาณ 500 ไร่ และกำลังขยายออกไปอีกหลายพันไร่
ดังนั้นในอนาคตธุรกิจที่อยู่ตามชายแดนของสหฟาร์มคงจะมีทั้งการจัดตั้งไซโล ข้าวโพด ถั่วเหลือง จัดทำอาหารสัตว์ คัดลูกไก่ เลี้ยงไก่ ตั้งโรงงานชำแหละ และส่งออก ฯลฯ ที่ค่อนข้างคึกคักอย่างมาก เนื่องจากได้รับแจ้งว่าจะมีการส่งออกไก่ที่ชำแหละแล้วดังกล่าวไปยังตลาดจีนวันละกว่า 200,000 ตัว ถือเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจย่านนี้มีความชัดเจนมากขึ้น จากการลงทุนของกลุ่มทุนต่างๆ หลังจากที่เคยผลักดันกันมานานหลายปี
สำหรับการส่งออก คงจะเป็นไปได้ทั้งทางบกผ่านถนนR3aไทย-สปป.ลาว-จีนตอนใต้ ผ่านทาง อ.เชียงของ ซึ่งสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เพื่อการขนส่งก็กำลังจะแล้วเสร็จในอีกไม่กี่ปีนี้ หรืออาจจะเป็นทางเรือแม่น้ำโขง ซึ่งท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 กำลังจะแล้วเสร็จในเดือน เม.ย.55 นี้ก็ได้ และคาดว่าหลังสหฟาร์ม เข้าไปลงทุนจะมีกิจการอื่นๆ ที่เห็นช่องทางและศักยภาพของจีเอ็มเอส เข้าไปลงทุนด้านอื่นๆ มากขึ้น
ส่วนการค้าชายแดนด้าน จ.เชียงราย พบว่าในปี 2554 การค้าชายแดนกับ 3 ประเทศคือพม่า สปป.ลาว และจีนตอนใต้ มากถึง 28,956.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 37% โดยเป็นการค้ากับพม่า 42% จีนตอนใต้ 22% และ สปป.ลาว 36% โดยสินค้าส่งออกสำคัญเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าเกษตร วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ และส่วนหนึ่งคืออาหารแช่แข็งประเภทไก่แช่แข็งที่ส่งไปยังตลาดจีนตอนใต้ โดยเฉพาะมณฑลหยุนหนันที่มีประชากรบริโภคไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน และนิยมบริโภคไก่แช่แข็งจากไก่อย่างมาก นอกจากนี้ส่วนหนึ่งถูกส่งไปยังท่าเรือเมืองสบหรวย ประเทศพม่า เพื่อส่งไปยังเมืองลาเขตเศรษฐกิจพิเศษของพม่าติดชายแดนจีนอีกด้วย
สหฟาร์มถือเป็นหนึ่งธุรกิจขนาดใหญ่ที่เข้าไปเริ่มต้นก่อตั้งในชายแดนไทย-สปป.ลาว ด้าน จ.เชียงราย หลังจากก่อนหน้านี้มีกระแสเรื่องเขตนิคมอุตสาหกรรมหรืออื่นๆ ในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจมานานแต่ยังไม่เป็นรูปธรรม