เชียงราย- ทีบีซีพม่า-ลาวร่วมถกปัญหาโจรสลัดน้ำโขง ระบุกลุ่มม้งในพม่าและ สปป.ลาว เป็นกลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวด้านการผลิตยาเสพติดค่อนข้างคึกคัก ด้านกองกำลังว้าร่อนแถลงการณ์ไม่มีเอี่ยวฆ่าลูกเรือจีน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้(18 ต.ค.)ประเทศพม่าและ สปป.ลาว ได้จัดให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการประสานงานชายแดนพม่า-สปป.ลาว ระดับท้องถิ่น(ทีบีซี) ครั้งที่ 5 ประจำปี 2554 ที่ ห้องประชุมเขตบ้านโป่ง พื้นที่เมืองพง จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ห่างจากสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ไปทางทิศเหนือประมาณ 15 กิโลเมตร โดยพม่าเป็นเจ้าภาพ และมี พ.ท.จี่ วิน ประธานทีบีซีฝ่ายพม่า เป็นประธานร่วมกับ พ.ท.ทองดา สายยอดสอน ประธานทีบีซีฝ่าย สปป.ลาว โดยมีการหารือถึงสถานการณ์ความมั่นคงตามแนวชายแดนพม่า-สปป.ลาว ซึ่งในปัจจุบันเกิดปัญหาด้านความปลอดภัยในการเดินเรือแม่น้ำโขง โดยเกี่ยวข้องกับ จ.ท่าขี้เหล็ก และแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ซึ่งอยู่คนละฝากของแม่น้ำสายดังกล่าว
ประชุมครั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการปรึกษาหารือและเน้นในเรื่องความร่วมมือ ที่จะต้องมีการสอดส่องดูแล รวมทั้งประสานข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกองกำลังต่าง ๆ ที่อยู่ตามชายแดนทั้งสองฝั่งทั้งในส่วนของชนชาติว้าแดงและกลุ่มม้งต่าง ๆ ซึ่งล้วนกำลังมีเรื่องของยาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า กองกำลังของชนชาติว้าแดงซึ่งมีอิทธิพลในพื้นที่รัฐฉาน ตั้งแต่ชายแดนจีน-พม่า ลงมาจนถึงชายแดนไทย-พม่า และได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตยาเสพติด โดยเฉพาะประเภทยาบ้ารายใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก ได้ออกมาแถลงการณ์โดยอ้างว่าเป็นกลุ่มเผยแพร่ข่าวของว้า แต่แถลงการณ์ดังกล่าวกลับไปปรากฏยังสื่อต่างๆ ในประเทศจีน
แถลงการณ์ดังกล่าว มีเนื้อหาระบุว่า กลุ่มว้าไม่ได้มีส่วนในการสังหารลูกเรือจีนจำนวนมากดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะอยู่นอกเขตเคลื่อนไหวของกลุ่มว้า และมีกองกำลังของไทยปฏิบัติการในน่านน้ำไทยอยู่อย่างเข้มงวดด้วย ในท้ายแถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า กลุ่มว้าถึงขั้นแนะนำให้รัฐบาลจีนทำการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างละเอียดรอบคอบ โดยเน้นให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่เอง รวมทั้งขอให้ฝ่ายไทยให้ความร่วมมือ และในส่วนของกลุ่มว้ามีความยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการสอบสวนเรื่องนี้ และไม่อยากให้ทั้งไทยและจีนมีความสงสัยในกลุ่มว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก อย่างไรก็ตามเอกสารแถลงดังกล่าวไม่ได้ถูกกระจายในฝั่งไทยแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ก่อนหน้านี้ฝ่ายความมั่นคงของไทย นำโดยกองกำลังผาเมืองและตำรวจระบุว่า มีกลุ่มโจรสลัดหรือกองกำลังติดอาวุธที่เคลื่อนไหวออกอาละวาดปล้นจี้เรือ เก็บค่าคุ้มครอง และขนยาเสพติดบริเวณสามเหลี่ยมทองคำลุ่มแม่น้ำโขง คือ กลุ่มของนายหน่อคำ โดยเคยก่อเหตุปะทะกับกองกำลังทหารพม่าหลายครั้ง แต่ทางการพม่าไม่สามารถปราบปรามได้เนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าเขาและแม่น้ำโขงชายแดนพม่า-สปป.ลาว ซึ่งทำให้กลุ่มนี้เคลื่อนไหวหลบหนีได้สะดวก จนถึงขั้นทำฐานปฏิบัติการด้วยแพลวดสลิงอยู่กลางแม่น้ำโขง บริเวณเหนือสามเหลี่ยมทองคำขึ้นไปประมาณ 15 กิโลเมตร โดยกลางเดือน ก.ย.ได้ปะทะกับทหารพม่าและส่วนหนึ่งหลบหนีเข้ามายังฝั่งไทย ปัจจุบันฐานกลางแม่น้ำโขงจำนวน 2 หลัง ของกองกำลังกลุ่มนี้ถูกเผาทำลายไปแล้ว และทุกฝ่ายกำลังพยายามหาวิธีปราบปรามกองโจรสลัดกลุ่มนี้ต่อไป
นอกจากการเคลื่อนไหวของกองกำลังกลุ่มนี้แล้ว พบว่ากลุ่มม้งในพม่าและ สปป.ลาว เป็นกลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวด้านการผลิตยาเสพติดค่อนข้างคึกคักเช่นกัน โดยเริ่มมีบทบาทเช่นเดียวกับกลุ่มว้าแล้วเ พราะมีการตั้งโรงงานผลิตยาเสพติดอยู่ในเขตเหนือเมืองเชียงรายขึ้นไปทางเมืองสบหรวย เขตประเทศพม่า ห่างจากสามเหลี่ยมทองคำประมาณ 200 กิโลเมตร โดยเป็นโรงงานที่มีกองกำลังติดอาวุธกว่า 200 นาย คอยคุ้มกัน
ขณะเดียวกัน มีกระแสว่า มีการนำเข้าสารตั้งต้นเพื่อการผลิตมาจากเขตเมืองสิง ชายแดน สปป.ลาว-จีน เพราะบริเวณดังกล่าวไม่มีกฎหมายห้ามสารตั้งต้นเหมือนในประเทศไทย ซึ่งยาเสพติดหลายชุดอาจขนมาจากบริเวณดังกล่าวแทนการนำมาจากกลุ่มว้าที่โรงงานเหนือเมืองปางซางในเขตว้าตอนเหนือ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้(18 ต.ค.)ประเทศพม่าและ สปป.ลาว ได้จัดให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการประสานงานชายแดนพม่า-สปป.ลาว ระดับท้องถิ่น(ทีบีซี) ครั้งที่ 5 ประจำปี 2554 ที่ ห้องประชุมเขตบ้านโป่ง พื้นที่เมืองพง จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ห่างจากสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ไปทางทิศเหนือประมาณ 15 กิโลเมตร โดยพม่าเป็นเจ้าภาพ และมี พ.ท.จี่ วิน ประธานทีบีซีฝ่ายพม่า เป็นประธานร่วมกับ พ.ท.ทองดา สายยอดสอน ประธานทีบีซีฝ่าย สปป.ลาว โดยมีการหารือถึงสถานการณ์ความมั่นคงตามแนวชายแดนพม่า-สปป.ลาว ซึ่งในปัจจุบันเกิดปัญหาด้านความปลอดภัยในการเดินเรือแม่น้ำโขง โดยเกี่ยวข้องกับ จ.ท่าขี้เหล็ก และแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ซึ่งอยู่คนละฝากของแม่น้ำสายดังกล่าว
ประชุมครั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการปรึกษาหารือและเน้นในเรื่องความร่วมมือ ที่จะต้องมีการสอดส่องดูแล รวมทั้งประสานข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกองกำลังต่าง ๆ ที่อยู่ตามชายแดนทั้งสองฝั่งทั้งในส่วนของชนชาติว้าแดงและกลุ่มม้งต่าง ๆ ซึ่งล้วนกำลังมีเรื่องของยาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า กองกำลังของชนชาติว้าแดงซึ่งมีอิทธิพลในพื้นที่รัฐฉาน ตั้งแต่ชายแดนจีน-พม่า ลงมาจนถึงชายแดนไทย-พม่า และได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตยาเสพติด โดยเฉพาะประเภทยาบ้ารายใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก ได้ออกมาแถลงการณ์โดยอ้างว่าเป็นกลุ่มเผยแพร่ข่าวของว้า แต่แถลงการณ์ดังกล่าวกลับไปปรากฏยังสื่อต่างๆ ในประเทศจีน
แถลงการณ์ดังกล่าว มีเนื้อหาระบุว่า กลุ่มว้าไม่ได้มีส่วนในการสังหารลูกเรือจีนจำนวนมากดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะอยู่นอกเขตเคลื่อนไหวของกลุ่มว้า และมีกองกำลังของไทยปฏิบัติการในน่านน้ำไทยอยู่อย่างเข้มงวดด้วย ในท้ายแถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า กลุ่มว้าถึงขั้นแนะนำให้รัฐบาลจีนทำการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างละเอียดรอบคอบ โดยเน้นให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่เอง รวมทั้งขอให้ฝ่ายไทยให้ความร่วมมือ และในส่วนของกลุ่มว้ามีความยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการสอบสวนเรื่องนี้ และไม่อยากให้ทั้งไทยและจีนมีความสงสัยในกลุ่มว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก อย่างไรก็ตามเอกสารแถลงดังกล่าวไม่ได้ถูกกระจายในฝั่งไทยแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ก่อนหน้านี้ฝ่ายความมั่นคงของไทย นำโดยกองกำลังผาเมืองและตำรวจระบุว่า มีกลุ่มโจรสลัดหรือกองกำลังติดอาวุธที่เคลื่อนไหวออกอาละวาดปล้นจี้เรือ เก็บค่าคุ้มครอง และขนยาเสพติดบริเวณสามเหลี่ยมทองคำลุ่มแม่น้ำโขง คือ กลุ่มของนายหน่อคำ โดยเคยก่อเหตุปะทะกับกองกำลังทหารพม่าหลายครั้ง แต่ทางการพม่าไม่สามารถปราบปรามได้เนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าเขาและแม่น้ำโขงชายแดนพม่า-สปป.ลาว ซึ่งทำให้กลุ่มนี้เคลื่อนไหวหลบหนีได้สะดวก จนถึงขั้นทำฐานปฏิบัติการด้วยแพลวดสลิงอยู่กลางแม่น้ำโขง บริเวณเหนือสามเหลี่ยมทองคำขึ้นไปประมาณ 15 กิโลเมตร โดยกลางเดือน ก.ย.ได้ปะทะกับทหารพม่าและส่วนหนึ่งหลบหนีเข้ามายังฝั่งไทย ปัจจุบันฐานกลางแม่น้ำโขงจำนวน 2 หลัง ของกองกำลังกลุ่มนี้ถูกเผาทำลายไปแล้ว และทุกฝ่ายกำลังพยายามหาวิธีปราบปรามกองโจรสลัดกลุ่มนี้ต่อไป
นอกจากการเคลื่อนไหวของกองกำลังกลุ่มนี้แล้ว พบว่ากลุ่มม้งในพม่าและ สปป.ลาว เป็นกลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวด้านการผลิตยาเสพติดค่อนข้างคึกคักเช่นกัน โดยเริ่มมีบทบาทเช่นเดียวกับกลุ่มว้าแล้วเ พราะมีการตั้งโรงงานผลิตยาเสพติดอยู่ในเขตเหนือเมืองเชียงรายขึ้นไปทางเมืองสบหรวย เขตประเทศพม่า ห่างจากสามเหลี่ยมทองคำประมาณ 200 กิโลเมตร โดยเป็นโรงงานที่มีกองกำลังติดอาวุธกว่า 200 นาย คอยคุ้มกัน
ขณะเดียวกัน มีกระแสว่า มีการนำเข้าสารตั้งต้นเพื่อการผลิตมาจากเขตเมืองสิง ชายแดน สปป.ลาว-จีน เพราะบริเวณดังกล่าวไม่มีกฎหมายห้ามสารตั้งต้นเหมือนในประเทศไทย ซึ่งยาเสพติดหลายชุดอาจขนมาจากบริเวณดังกล่าวแทนการนำมาจากกลุ่มว้าที่โรงงานเหนือเมืองปางซางในเขตว้าตอนเหนือ