xs
xsm
sm
md
lg

จับตายกเลิกกระเบื้องมุงหลังคาใยหิน นักวิชาการหวั่นเสียหาย4.64แสนล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภายหลังจาก “ศูนย์ศึกษาข้อมูลไครโซไทล์” หน่วยงานกลางที่ทำงานเผยแพร่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ ได้จัดงานแถลงข่าว “ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจหากยกเลิกใช้สารไครโซไทล์” กับประเด็นร้อน ว่าด้วยการยกเลิกใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบการผลิตสินค้าอย่างกระเบื้องมุงหลังคา

ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ได้นำงานวิจัยทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคม และทางเศรษฐกิจ ของ ดร.อิง เหวย หวัง หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือเอแบค ที่ได้เสนอตัวทำงานวิจัย ในหัวเรื่อง “ผลกระทบทางสังคม และเศรษฐกิจ กรณีการยกเลิกการใช้สารไครโซไทล์ (หรือแร่ใยหิน) เป็นส่วนผสมในการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาและส่วนประกอบวัสดุก่อสร้างในที่อยู่อาศัย” มาเปิดเผยต่อสาธารณชน แบบเป็นกลาง ระบุว่า

หากมีการยกเลิกการใช้ไครโซไทล์จริงตามข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นกลุ่มครัวเรือน อุตสาหกรรม ฟาร์มเลี้ยงสุกร โรงเรียนและโรงพยาบาลจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและติดตั้งสินค้าทดแทน มากกว่า 4.64 แสนล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายของภาครัฐในการบังคับใช้การยกเลิกการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารไครโซไทล์ และค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายและค่าสินไหมที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้ การศึกษายังพบว่าผลิตภัณฑ์กระเบื้องมุงหลังคาที่ไม่มีส่วนผสมของสารไครโซไทล์หรือกระเบื้องปลอดใยหินไครโซไทล์ มีคุณภาพและความคงทนต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารไครโซไทล์ และยังมีอายุการใช้งานที่ 2-8 ปี ซึ่งสั้นกว่ากระเบื้องที่มีส่วนผสมของสารไครโซไทล์ซึ่งมีอายุใช้งานกว่า 20 ปี ทำให้ผลิตภัณฑ์ทดแทนอาจก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นกว่า 10 เท่า ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ผู้ประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม คนงาน และผู้บริโภค

รายงานการศึกษายังเสนอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพิจารณาผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างถี่ถ้วนก่อนจะมีการยกเลิกการใช้สารไครโซไทล์ เพราะการยกเลิกใช้สารดังกล่าวอาจนำไปสู่ผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้รัฐบาลไทยควรพิจารณาถึงข้อเท็จจริงและหลักฐานของผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดขึ้นจริงจากกระเบื้องใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทย และพิจารณาว่าระหว่างการยกเลิกหรือนโยบายการใช้งานอย่างปลอดภัย อย่างไหนจะจำเป็นกว่ากัน

"ท้ายสุด หากมีการดำเนินการยกเลิก ก็มีความจำเป็นที่รัฐบาลไทยจะต้องสนับสนุนการพัฒนาสินค้าทดแทน ให้มีคุณภาพและความคงทนที่เท่าเทียมกับกระเบื้องใยหินไครโซไทล์ เพื่อลดต้นทุนและผลเสียทางเศรษฐกิจให้มากที่สุด" นักวิชาการ จากเอแบคเตือน

ยังมีอีกประเด็นที่คลุมเครือมายาวนาน คือ ผลกระทบของสารไครโซไทล์ต่อสุขภาพก็ยังคงเป็นข้อถกเถียงกันจากเหล่าบรรดาคุณหมอหลายฝั่งหลายฝ่าย เช่น ศาสตราจารย์ นพ.สมชัย บวรกิตติ เห็นว่า สิ่งที่ทุกคนควรรู้คือ กระเบื้องมุงหลังคาไครโซไทล์ยังไม่เคยถูกหยิบยกให้เป็นสาเหตุทางการตายของคนไทยแม้แต่คนเดียว นอกจากนั้นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยังบ่งบอกว่าแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย ตั้งแต่มีการใช้ไครโซไทล์ในการผลิตวัสดุคอนกรีตต่างๆ ในประเทศไทยหรือที่อื่นๆ ในโลกยังไม่มีเหตุการณ์อันตรายเกิดขึ้นต่างกับในกรณีสารทดแทนบางตัว

เป็นไปได้หรือไม่ว่า กลุ่มที่รณรงค์ให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินที่มีทั้งนักวิชาการและนายแพทย์ร่วมอยู่ด้วยนั้น เหมือนกำลังสร้างภาพด้วยความจริงแต่เพียงครึ่งเดียว แอสเบสตอสเป็นอันตราย ซึ่งเป็นความจริง ว่าแอสเบสตอสกลุ่มที่เรียกว่าแอมพิโบลนั้นมีอันตรายจริง และเป็นอันตรายที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ประเทศไทยเองก็ได้ห้ามนำเข้าและห้ามใช้แอสเบสตอสกลุ่มนี้ไปแล้วเป็นเวลากว่า 20 ปี เช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่กลุ่มที่รณรงค์ให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินนั้น กลับไม่เคยเผยแพร่ความจริงอีกด้านหนึ่งเลย ว่าไครโซไทล์ นั้นต่างจากแอสเบสตอส กลุ่มที่เป็นอันตรายทั้งในทางโครงสร้างและในทางเคมีอย่างสิ้นเชิงอันทำให้ไครโซไทล์ถูกย่อยสลายไปได้อย่างรวดเร็วด้วยกลไกทางธรรมชาติแม้เมื่อเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่าใยหินชนิดอื่น นอกจากใยหินแล้ว ปอดคนยังตอบสนองต่อเส้นธรรมชาติชนิดอื่นๆโดยการห่อหุ้มในลักษณะนี้เช่นกัน เช่นใยแก้ว ใยฝ้าย กราไฟต์ และฝุ่น รายงานจากองค์กรนานาชาติ ยังระบุว่า สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ได้อย่างปลอดภัย โดยมีวิธีการใช้ที่เหมาะสม ตามข้อควรระวังที่ระบุไว้ เช่นเดียวกับสารอื่นๆที่พึงใช้กันอยู่ในทุกวันนี้

บทสรุปปิดท้ายจากนักวิชาการ เสนอแนะก่อนที่รัฐบาลจะตัดสินใจแบบผิดๆ ขอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพิจารณาผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างถี่ถ้วนก่อนจะมีการยกเลิกการใช้สารไครโซไทล์ เพราะการยกเลิกใช้สารดังกล่าวอาจนำไปสู่ผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

รัฐบาลไทยควรพิจารณาถึงข้อเท็จจริงและหลักฐานของผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดขึ้นจริงจากกระเบื้องใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทย และพิจารณาว่าระหว่างการยกเลิกหรือนโยบายการใช้งานอย่างปลอดภัย อย่างไหนจะจำเป็นกว่ากัน

หากมีการดำเนินการยกเลิก ก็มีความจำเป็นที่รัฐบาลไทยจะต้องสนับสนุนการพัฒนาสินค้าทดแทน ให้มีคุณภาพและความคงทนที่เท่าเทียมกับกระเบื้องใยหินไครโซไทล์ เพื่อลดต้นทุนและผลเสียทางเศรษฐกิจให้มากที่สุด
กำลังโหลดความคิดเห็น