ASTVผู้จัดการรายวัน-กรมทางหลวงทำคู่มือออกแบบถนนใหม่ ปรับปรุงตัวเลขค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนเป็นฝน 50 ปี แก้ระบบระบายน้ำรับมือ หลังถูกน้ำท่วมใหญ่ “วันชัย”ยันประมูลซ่อมถนนน้ำท่วมโปร่งใส เปิดเผยราคากลาง ใช้ e-Auctionตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน เผยก.พ.นี้เซ็นสัญญาจ้างหมดทุกเส้นทาง
นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้จัดทำคู่มือการออกแบบการระบายน้ำของถนนใหม่ โดยมีการปรับปรุงตัวเลขปริมาณค่าเฉลี่ยน้ำฝนจากปริมาณน้ำฝน 20 ปี เป็น 50 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เนื่องจากค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 -1,400 มิลลิเมตรต่อปี จากเดิมที่มีค่าเฉลี่ยประมาณ 700-800 มิลลิเมตรต่อปีเท่านั้น เพื่อใช้สำหรับการออกแบบระบบระบายน้ำของถนนที่เป็นโครงการใหม่และการปรับปรุงถนนเดิมที่มีการสำรวจหลังน้ำท่วมแล้วพบว่าการระบายน้ำไม่ดี
“ในการออกแบบถนน ต้องใช้หลักทางวิศวกรรมหลายอย่าง ซึ่งการคำนวณปริมาณน้ำเป็นส่วนสำคัญที่จะใช้ในการออกแบบระบบระบายน้ำ ทั้งจำนวนท่อระบายน้ำ และรูปแบบของรางระบายน้ำข้างทาง เพื่อให้มีความเหมาะสมและทำให้น้ำระบายผ่านไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งกราฟที่บอกถึงปริมาณค่าเฉลี่ยของน้ำฝนที่ตกกับเวลานั้นใช้มา 20-30 ปีแล้ว ในขณะที่ปัจจุบันปริมาณน้ำฝนที่ตกเพิ่มขึ้นมากจึงต้องปรับปรุงและจะเริ่มนำมาใช้ทันที”นายวันชัยกล่าว
ส่วนกรณีที่คณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร มีความเป็นห่วงประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณฟื้นฟูของกรมทางหลวงนั้น นายวันชัยกล่าวว่า การฟื้นฟูถนนของกรมทางหลวงที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมจะประกวดราคาทางอิเลกทรอนิกส์ (e-Auction) มีการเปิดเผยราคากลาง สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน และสำนักงบประมาณจะตรวจสอบราคาอีกครั้งหลังประมูลเสร็จด้วย โดยอธิบดีมีอำนาจในการอนุมัติงานที่มีมูลค่า 30-50 ล้านบาท ส่วนงานที่มูลค่าเกิน 50 ล้านบาทเป็นอำนาจของปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1 ใน 4 จากทั้งหมด 708 โครงการ
นอกจากนี้ ได้สั่งทุกส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการประมูลหาผู้รับเหมาในการฟื้นฟูถนนและลงนามในสัญญาให้เสร็จสิ้นทุกโครงการภายในเดือนก.พ.นี้ ซึ่งจะทำให้การฟื้นฟู 33 โครงการเร่งด่วนวงเงินประมาณ1,813.874 ล้านบาท แล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค.2555 ส่วนอีก 708 โครงการ (สายทาง) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 11,899.071 ล้านบาทแล้วเสร็จภายในเดือนก.ย.2555 ตามแผนที่กำหนดแน่นอน โดยตั้งแต่เดือนมี.ค.นี้ การฟื้นฟูในบางเส้นทางที่เสียหายไม่มากจะเริ่มเสร็จ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเส้นทางที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งทำให้มีปัญหานายช่างคุมงานไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงให้มีการยืมตัวจากส่วนกลางไปช่วยเพื่อเร่งรัดการทำงานได้
นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้จัดทำคู่มือการออกแบบการระบายน้ำของถนนใหม่ โดยมีการปรับปรุงตัวเลขปริมาณค่าเฉลี่ยน้ำฝนจากปริมาณน้ำฝน 20 ปี เป็น 50 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เนื่องจากค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 -1,400 มิลลิเมตรต่อปี จากเดิมที่มีค่าเฉลี่ยประมาณ 700-800 มิลลิเมตรต่อปีเท่านั้น เพื่อใช้สำหรับการออกแบบระบบระบายน้ำของถนนที่เป็นโครงการใหม่และการปรับปรุงถนนเดิมที่มีการสำรวจหลังน้ำท่วมแล้วพบว่าการระบายน้ำไม่ดี
“ในการออกแบบถนน ต้องใช้หลักทางวิศวกรรมหลายอย่าง ซึ่งการคำนวณปริมาณน้ำเป็นส่วนสำคัญที่จะใช้ในการออกแบบระบบระบายน้ำ ทั้งจำนวนท่อระบายน้ำ และรูปแบบของรางระบายน้ำข้างทาง เพื่อให้มีความเหมาะสมและทำให้น้ำระบายผ่านไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งกราฟที่บอกถึงปริมาณค่าเฉลี่ยของน้ำฝนที่ตกกับเวลานั้นใช้มา 20-30 ปีแล้ว ในขณะที่ปัจจุบันปริมาณน้ำฝนที่ตกเพิ่มขึ้นมากจึงต้องปรับปรุงและจะเริ่มนำมาใช้ทันที”นายวันชัยกล่าว
ส่วนกรณีที่คณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร มีความเป็นห่วงประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณฟื้นฟูของกรมทางหลวงนั้น นายวันชัยกล่าวว่า การฟื้นฟูถนนของกรมทางหลวงที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมจะประกวดราคาทางอิเลกทรอนิกส์ (e-Auction) มีการเปิดเผยราคากลาง สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน และสำนักงบประมาณจะตรวจสอบราคาอีกครั้งหลังประมูลเสร็จด้วย โดยอธิบดีมีอำนาจในการอนุมัติงานที่มีมูลค่า 30-50 ล้านบาท ส่วนงานที่มูลค่าเกิน 50 ล้านบาทเป็นอำนาจของปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1 ใน 4 จากทั้งหมด 708 โครงการ
นอกจากนี้ ได้สั่งทุกส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการประมูลหาผู้รับเหมาในการฟื้นฟูถนนและลงนามในสัญญาให้เสร็จสิ้นทุกโครงการภายในเดือนก.พ.นี้ ซึ่งจะทำให้การฟื้นฟู 33 โครงการเร่งด่วนวงเงินประมาณ1,813.874 ล้านบาท แล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค.2555 ส่วนอีก 708 โครงการ (สายทาง) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 11,899.071 ล้านบาทแล้วเสร็จภายในเดือนก.ย.2555 ตามแผนที่กำหนดแน่นอน โดยตั้งแต่เดือนมี.ค.นี้ การฟื้นฟูในบางเส้นทางที่เสียหายไม่มากจะเริ่มเสร็จ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเส้นทางที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งทำให้มีปัญหานายช่างคุมงานไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงให้มีการยืมตัวจากส่วนกลางไปช่วยเพื่อเร่งรัดการทำงานได้