ASTVผู้จัดการรายวัน-กรมทางหลวงเตรียมเคาะประมูลซ่อมถนน33สายที่ถูกน้ำท่วม 6ม.ค.ปีหน้า หลังได้งบฟื้นฟูล็อตแรก1.8พันล้านบาท ยันเสร็จในเดือนมี.ค.55ตามกำหนด "วันชัย"หวังนายกฯ ช่วยดันสร้างโครงการมอเตอร์เวย์
นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมทางหลวงได้ประกาศประกวดราคาเพื่อหาผู้รับเหมาดำเนินการฟื้นฟูบูรณะเส้นทางคมนาคมถนนสายหลักที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยรวม 33 โครงการวงเงินประมาณ1,800ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณในการดำเนินงานแล้ว โดยจะเป็นการประกวดราคาทางอิเลกทรอนิกส์ (e-Auction) เคาะราคาประมาณวันที่ 6-7 ม.ค.2555 และสรุปผลประกวดราคาได้ประมาณวันที่ 9-11 ม.ค.2555 ซึ่งสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ทันที โดยทั้ง 33 โครงการถือเป็นโครงการเร่งด่วน ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการภายใน 3เดือน หรือแล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค.2555
ทั้งนี้ ถนนของกรมทางหลวงที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมทั้งเส้นทางสายหลักและโครงข่ายที่สำคัญที่เชื่อมต่อภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งโครงข่ายต่อเนื่องรวม 708 โครงการ (สายทาง) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 11,899.071 ล้านบาท โดยส่วนที่เหลือ จะดำเนินการประกวดราคาและใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู 6เดือน หรือแล้วเสร็จภายในเดือนก.ย.2555 ตามแผนที่กำหนดแน่นอน
นายวันชัยกล่าวว่า มีหลายโครงการที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยผลักดัน และจะนำรายงานต่อนายกรัฐมนตรีที่จะเดินทางมาตรวจเยี่ยมกระทรวงคมนาคมในเดือนม.ค.2555 เช่น โครงการมอเตอร์เวย์ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ภายในรัศมี 250 กิโลเมตรรอบกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 707 กิโลเมตร ,โครงการก่อสร้างถนนเกตเวย์เชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ถนนเชื่อมท่าเทียบเรือน้ำลึกทวาย เป็นต้น และรูปแบบการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเห็นว่าควรมีการพิจารณาปรับแก้พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35) เนื่องจากมีขั้นตอนการดำเนินงานมากและเป็นอุปสรรคในการลงทุน ซึ่งโครงการดังกล่าวหากเกิดเป็นรูปธรรมจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนที่ใช้ทางเป็นจำนวนมาก
สำหรับโครงการถนนวงแหวนรอบที่ 3 ที่จะใช่เป็นเส้นทางในการระบายน้ำด้วยนั้น จากการหารือกับกรมชลประทาน มีความเห็นตรงกัน หากจะมีการดำเนินการเพื่อให้เป็นเส้นทางระบายน้ำ (ฟลัดเวย์) เป็นระบบมากขึ้น อาจจะต้องปรับปรุงบ้าง เนื่องจากแนวคิดเดิมของกรมทางหลวงจะเน้นเรื่องถนนเป็นหลัก ซึ่งกรมทางหลวงได้มีการศึกษาเบื้องต้นแล้ว แต่จะต้องศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยจะต้องรอการพิจารณาจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน ก่อนจะนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อพิจารณาต่อไป
นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมทางหลวงได้ประกาศประกวดราคาเพื่อหาผู้รับเหมาดำเนินการฟื้นฟูบูรณะเส้นทางคมนาคมถนนสายหลักที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยรวม 33 โครงการวงเงินประมาณ1,800ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณในการดำเนินงานแล้ว โดยจะเป็นการประกวดราคาทางอิเลกทรอนิกส์ (e-Auction) เคาะราคาประมาณวันที่ 6-7 ม.ค.2555 และสรุปผลประกวดราคาได้ประมาณวันที่ 9-11 ม.ค.2555 ซึ่งสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ทันที โดยทั้ง 33 โครงการถือเป็นโครงการเร่งด่วน ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการภายใน 3เดือน หรือแล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค.2555
ทั้งนี้ ถนนของกรมทางหลวงที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมทั้งเส้นทางสายหลักและโครงข่ายที่สำคัญที่เชื่อมต่อภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งโครงข่ายต่อเนื่องรวม 708 โครงการ (สายทาง) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 11,899.071 ล้านบาท โดยส่วนที่เหลือ จะดำเนินการประกวดราคาและใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู 6เดือน หรือแล้วเสร็จภายในเดือนก.ย.2555 ตามแผนที่กำหนดแน่นอน
นายวันชัยกล่าวว่า มีหลายโครงการที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยผลักดัน และจะนำรายงานต่อนายกรัฐมนตรีที่จะเดินทางมาตรวจเยี่ยมกระทรวงคมนาคมในเดือนม.ค.2555 เช่น โครงการมอเตอร์เวย์ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ภายในรัศมี 250 กิโลเมตรรอบกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 707 กิโลเมตร ,โครงการก่อสร้างถนนเกตเวย์เชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ถนนเชื่อมท่าเทียบเรือน้ำลึกทวาย เป็นต้น และรูปแบบการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเห็นว่าควรมีการพิจารณาปรับแก้พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35) เนื่องจากมีขั้นตอนการดำเนินงานมากและเป็นอุปสรรคในการลงทุน ซึ่งโครงการดังกล่าวหากเกิดเป็นรูปธรรมจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนที่ใช้ทางเป็นจำนวนมาก
สำหรับโครงการถนนวงแหวนรอบที่ 3 ที่จะใช่เป็นเส้นทางในการระบายน้ำด้วยนั้น จากการหารือกับกรมชลประทาน มีความเห็นตรงกัน หากจะมีการดำเนินการเพื่อให้เป็นเส้นทางระบายน้ำ (ฟลัดเวย์) เป็นระบบมากขึ้น อาจจะต้องปรับปรุงบ้าง เนื่องจากแนวคิดเดิมของกรมทางหลวงจะเน้นเรื่องถนนเป็นหลัก ซึ่งกรมทางหลวงได้มีการศึกษาเบื้องต้นแล้ว แต่จะต้องศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยจะต้องรอการพิจารณาจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน ก่อนจะนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อพิจารณาต่อไป