ASTVผู้จัดการรายวัน – จีดีพีปี 54 หดเหลือ 1.1% จากประมาณการที่ 4.5% หลังน้ำท่วมทุบเศรษฐกิจไตรมาส 4 ติดลบถึง 5.0% ระบุเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวแล้วในช่วงเดือนธันวาคมส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไตรมาสแรกของปีนี้ มั่นในผ่านจุดต่ำสุดที่เดือนพ.ค.มาแล้ว
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)เปิดเผยถึงเศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคม 2554ว่า เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวจากวิกฤตอุทกภัย เมื่อเทียบจาก 2 เดือนก่อนหน้าที่หดตัวอย่างรุนแรงจาก ทำให้ประมาณการเบื้องต้นว่า ไตรมาส 4 เศรษฐกิจจะติดลบถึง 5% แต่เมื่อรวมทั้งปี คาดว่าจะขยายตัวได้เพียง 1.1% เท่านั้น ลดลงจากต่อเนื่องตากที่เคยประมาณการไว้สูงสุดที่ 4.5% ในช่วงต้นปี และสะท้อนว่า เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายนมาแล้ว และน่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และจะทำให้ปี 2555 เศรษฐกิจขยายตัวได้ตามที่ประมาณการที่ 5%
“เราถือว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว โดยจะเห็นการฟื้นตัวขึ้นในเดือนธันวาคม และจะต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกปีนี้ที่คาดว่าจะเป็นขยายตัว 2% และ 3% ในไตรมาสที่ 2 และ 5% ในไตรมาสที่ 3 ก่อนจะเพิ่มเป็น 7%ในไตรมาสสุดท้ายของปี เพื่อให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5% ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงกรณีเลวร้ายที่สุดคือเศรษฐกิจโลกติดลบ 0.8% จากปัญหาวิกฤติหนี้ยุโรปและสรัฐอเมริกาไม่ได้รับการแก้ไข รวมถึงการเลือกตั้งในประเทศมหาอำนาจ ที่อาจจะมีผลต่อเนื่องของการดำเนินนโยบายและความขัดแย้งรวมถึงภัยธรรมชาติ เพราะสำนักงานพยากรณ์อากาศของสหรัฐอเมริกาได้ออกมาประมาณการปรากฎการณ์ผลกระทบจากลานินยาว่าจะมีฝนตกมากในภูมิภาคเอเชีย แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวยั่งยืนคือการเมืองในประเทศต้องนิ่งด้วย” นายสมชัยกล่าว
นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค.กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ได้รับผลกระทบสถานการณ์วิกฤตอุทกภัย ส่งผลให้ภาคการผลิตมีการหดตัวลงเป็นอย่างมาก โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ติดลบถึง 34.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติติดลบ 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ผลผลิตภาคการเกษตรมีการขยายตัวเล็กน้อย ทำให้คาดว่าอัตราการมีขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 จะมีการหดตัวพอสมควร
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม สมชัยกล่าวว่า การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่สามารถกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง สะท้อนจากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 9.8% ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น 13% และการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยมูลค่าการส่งออกหดตัว 2% เมื่อเทียบกับที่ติดลบ 14.4% ในเดือนก่อนหน้าสะท้อนถึงความสามารถในการผลิตเพื่อการส่งออกเริ่มปรับตัวดีขึ้นท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป
สำหรับเครื่องชี้วัดด้านการผลิตพบว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวดีขึ้นจากช่วง 2 เดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตอุทกภัย โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมติดลบ 25.8% เทียบกับที่ติดลบถึง 47.2% ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ในขณะที่การผลิตภาคการเกษตรโดยเฉพาะยางพาราและภาคบริการที่สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างก็ปรับตัวดีขึ้นในเดือนธันวาคม 2554 เช่นกัน
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)เปิดเผยถึงเศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคม 2554ว่า เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวจากวิกฤตอุทกภัย เมื่อเทียบจาก 2 เดือนก่อนหน้าที่หดตัวอย่างรุนแรงจาก ทำให้ประมาณการเบื้องต้นว่า ไตรมาส 4 เศรษฐกิจจะติดลบถึง 5% แต่เมื่อรวมทั้งปี คาดว่าจะขยายตัวได้เพียง 1.1% เท่านั้น ลดลงจากต่อเนื่องตากที่เคยประมาณการไว้สูงสุดที่ 4.5% ในช่วงต้นปี และสะท้อนว่า เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายนมาแล้ว และน่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และจะทำให้ปี 2555 เศรษฐกิจขยายตัวได้ตามที่ประมาณการที่ 5%
“เราถือว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว โดยจะเห็นการฟื้นตัวขึ้นในเดือนธันวาคม และจะต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกปีนี้ที่คาดว่าจะเป็นขยายตัว 2% และ 3% ในไตรมาสที่ 2 และ 5% ในไตรมาสที่ 3 ก่อนจะเพิ่มเป็น 7%ในไตรมาสสุดท้ายของปี เพื่อให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5% ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงกรณีเลวร้ายที่สุดคือเศรษฐกิจโลกติดลบ 0.8% จากปัญหาวิกฤติหนี้ยุโรปและสรัฐอเมริกาไม่ได้รับการแก้ไข รวมถึงการเลือกตั้งในประเทศมหาอำนาจ ที่อาจจะมีผลต่อเนื่องของการดำเนินนโยบายและความขัดแย้งรวมถึงภัยธรรมชาติ เพราะสำนักงานพยากรณ์อากาศของสหรัฐอเมริกาได้ออกมาประมาณการปรากฎการณ์ผลกระทบจากลานินยาว่าจะมีฝนตกมากในภูมิภาคเอเชีย แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวยั่งยืนคือการเมืองในประเทศต้องนิ่งด้วย” นายสมชัยกล่าว
นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค.กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ได้รับผลกระทบสถานการณ์วิกฤตอุทกภัย ส่งผลให้ภาคการผลิตมีการหดตัวลงเป็นอย่างมาก โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ติดลบถึง 34.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติติดลบ 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ผลผลิตภาคการเกษตรมีการขยายตัวเล็กน้อย ทำให้คาดว่าอัตราการมีขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 จะมีการหดตัวพอสมควร
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม สมชัยกล่าวว่า การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่สามารถกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง สะท้อนจากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 9.8% ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น 13% และการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยมูลค่าการส่งออกหดตัว 2% เมื่อเทียบกับที่ติดลบ 14.4% ในเดือนก่อนหน้าสะท้อนถึงความสามารถในการผลิตเพื่อการส่งออกเริ่มปรับตัวดีขึ้นท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป
สำหรับเครื่องชี้วัดด้านการผลิตพบว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวดีขึ้นจากช่วง 2 เดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตอุทกภัย โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมติดลบ 25.8% เทียบกับที่ติดลบถึง 47.2% ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ในขณะที่การผลิตภาคการเกษตรโดยเฉพาะยางพาราและภาคบริการที่สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างก็ปรับตัวดีขึ้นในเดือนธันวาคม 2554 เช่นกัน