ASTVผู้จัดการรายวัน - สรส.บุกคมนาคม ยื่นหนังสือค้านขายหุ้นการบินไทย-ปตท. ชี้ทำให้หมดสภาพความเป็นพลังงานแห่งชาติและสายการบินแห่งชาติ อัดรัฐไร้เครื่องมือดูแลประชาชน ทำให้ค่าไฟ ค่าน้ำมันแพง เตรียมยื่น ”กิตติรัตน์” สัปดาห์หน้า ด้านกรุงเทพโพลชี้ชัดไม่เห็นด้วย เชื่อมีวาระซ่อนเร้น แปรรูปล้วประชาชนต้องจ่ายค่าพลังงานแพงขึ้น
วานนี้ (27 ม.ค.) สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย (สพร.ท)ได้ยื่นหนังสือถึงนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เพื่อขอให้รัฐบาลยุตินโยบายแปรรูป บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้พ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม เป็นผู้รับหนังสือแทน โดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการ สรส.กล่าวว่า กรณีที่กระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะขายหุ้น การบินไทยและปตท. 2% ซึ่งจะทำให้ทั้งรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งกลายเป็นเอกชน เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะหลังจากกระทรวงการคลังมีแนวคิดดังกล่าวยังไม่มีการออกมาชี้แจง โดยสมาชิก สรส.คือรัฐวิสาหกิจทั้ง43 แห่ง และขอให้ รมต.นำเสนอรัฐบาลเพื่อให้หยุดแนวทางการขายหุ้นดังกล่าว และหันมาปรับปรุงฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจเพื่อให้แข่งขันกับเอกชนและดูแลให้บริการประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งพนักงานทุกคนพร้อมสนองนโยบายรัฐบาล
ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้า สรส.จะยื่นหนังสือต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เพราะคลังเป็นต้นตอของเรื่องนี้ ซึ่งหากไม่ได้รับการชี้แจงที่ชัดเจนจะมีการพิจารณาเพื่อดำเนินการต่อไป โดยในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้จะมีการจัดเสวนา ที่โรงแรมมิราเคิล เพื่อแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว
“รัฐวิสาหกิจ 2 แห่งมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และช่วงที่ผ่านมาก็เป็นเครื่องมือช่วยรัฐบาลก้าวพ้นวิกฤติอุทกภัยไปได้ การแปรรูปเป็นเอกชนจะเกิดผลกระทบในภาพรวมเช่น ปตท.เป็นผู้ขายก๊าซรายเดียวให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) สำหรับผลิตไฟฟ้า ถ้าแปรรูปเป็นเอกชย ราคาก๊าซที่ขายอาจจะสูงขึ้น กระทบไปถึงต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าและทำให้ค่าไฟสูงขึ้นประชาชนได้รับผลกระทบแน่นอน”นายสาวิทย์กล่าว
นางสาวอัปสร กฤษณะสมิต ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ปตท.กล่าวว่า สหภาพฯปตท.ได้พบผู้บริหารปตท.แล้วซึ่งบอกว่ายังไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องดังกล่าว โดยสหภาพฯเป็นห่วงหากแปรรูปปตท.เป็นเอกชนแล้วรัฐจะไม่สามารถใช้ปตท.เป็นเครื่องมือและกลไกในการดูแลประชาชนได้ และจะส่งผลให้กลไกการตรวจสอบโดยรัฐ การส่งรายได้เข้ารัฐ การแทรกแซงราคา ไม่สามารถทำได้
ดังนั้นการกำหนดราคาพลังงานทั้งก๊าซและน้ำมันจะส่งผลกระทบกับประชาชนในอนาคต เพราะปตท.เป็นพลังงานแห่งชาติเป็นต้นทุนด้านพลังงานกับทุกส่วนของประเทศ ต้องหาความชัดเจน ว่าจะยังให้ปตท.เป็นพลังงานแห่งชาติหรือไม่ ถ้าบอกว่ายังเป็นอยู่ แต่ไม่ให้เป็นรัฐวิสาหกิจก็ต้องชี้แจงว่า จะมีแนวทางดูแลความเป็นพลังงานแห่งชาติอย่างไร
ซึ่งเรื่องนี้ประชาชนก็ต้องช่วยกันตรวจสอบ เพราะเมื่อ 11 ปีก่อน มีคำสัญญาจากรัฐว่าจะไม่ขายหุ้นปตท.ให้ต่ำกว่า 50%
การขายหุ้นโดยมุมมองทางการเงินต้องการลดหนี้สาธารณะนั้น ต้องชี้แจงให้ชัดเจน เพราะก่อนที่จะมีการขายหุ้นปตท.ในตลาดหลักทรัพย์ ก็มีการศึกษาวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียและการแก้ไขกฎหมายหลายเรื่อง ซึ่ง 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีกฎหมายควบคุมและบริหารงานมีธรรมาภิบาลภายใต้กฎหมายตลาดหลักทรัพย์ทำให้ปตท.เติบโต เป็นความมั่นคงของประเทศ การผลักให้เป็นเอกชนเพื่อลดหนี้สาธารณะเป็นเหตุผลที่รับได้ยาก ในขณะที่กลับจะมีผลกระทบทั้งเรื่อง การเงิน, กฎหมาย, ประชาชน,พนักงาน
ด้านนางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ประธานสหภาพแรงานรัฐวิสาหกิจ การบินไทย กล่าวว่า การบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติ การลดสัดส่วนหุ้นลงเพื่อให้เป็นเอกชน ไม่ทำให้การบริหารคล่องตัวจริง ซึ่งการบริหารคล่องตัวเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องขายหุ้น เพราะสามารถแก้ไขกฎหมายได้ ซึ่งการบินไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน และช่วยในเรื่องความมั่นคงของประเทศได้มาก อยู่ที่การสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาการบินไทยจะได้รับผลกระทบในทุกรูปแบบทั้งปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจโลก ภัยพิบัติ โรคระบาด เพราะทุกเรื่องจะกระทบต่อนักท่องเที่ยว แต่การบินไทยก็ยืนอยู่ได้ซึ่งแสดงถึงศักยภาพและจุดแข็งดังนั้นรัฐบาลต้องทบทวนเรื่องขายหุ้น ซึ่งเชื่อว่า กระทรวงคมนาคมยังคงต้องการให้การบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจต่อไป เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลประชาชน
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคมกล่าวว่า จะรับเรื่องความเป็นห่วงของ สรส.นำเสนอ รมว.คมนาคม พร้อมกันนี้ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีคนหนึ่งจะรายงานให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับทราบก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 31 มกราคมนี้ว่า เรื่องนี้ควรจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับพนักงานการบินไทยที่มีอยู่ประมาณ 14,000 คน และปตท. 4,000 คน ให้ทราบอนาคตของตนเองซึ่งเชื่อว่านายกฯ จะต้องเห็นด้วยกับการสร้างความชัดเจนกับคนในองค์กร ซึ่งการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจะต้องโปร่งใส ชัดเจน อธิบาย และหารือร่วมกันได้
“ผมคิดว่า นายกฯจะต้องให้มีการทำความเข้าใจก่อน เหมือนกรณีตลาดนัดจตุจักรนายกฯได้กำชับให้ทำความเข้าใจและดูแลผู้ค้าเดิมไม่ให้ได้รับผลกระทบ ซึ่งเรื่องการขายหุ้น การบินไทยกับปตท.นั้น ผมไม่มีความรู้เรื่องหุ้น เรื่องการเงิน แต่เท่าที่รับทราบมา เพราะรัฐบาลต้องการหาเงินมาใช้ในการป้องกันน้ำท่วม ซึ่งอาจต้องกู้เงิน แต่เพดานเงินกู้สูงแล้วและมีผู้เชี่ยวชาญหาวิธีให้ต้องปลดล็อคเรื่องหนี้สาธารณะ ดังนั้นการขายหุ้น เหลือ 49% จะทำให้ 2 แห่งนี้หมดสภาพรัฐวิสาหกิจ ซึ่งน่าเห็นใจ และรู้สึกหวั่นใจไปกับพนักงาน ว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงไปแล้วยังไม่รู้อนาคต"
**โพลค้านแปรรูปเชื่อมีวาระซ่อนเร้น
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือกรุงเทพโพล เปิดเผย ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อแนวคิดการขายหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้กับกองทุนวายุภักษ์ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ้นจากสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจ พบว่า ประชาชนร้อยละ 77.0 ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 23.0 ระบุว่าเห็นด้วย เมื่อถามว่า แนวคิดการขายหุ้น ปตท. ดังกล่าวมีวาระซ่อนเร้นทางการเมืองหรือไม่ประชาชนร้อยละ 51.7 เชื่อว่ามีวาระซ่อนเร้นทางการเมือง และร้อยละ 8.8 ไม่เชื่อว่าจะมีว่าระซ่อนเร้นทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 39.5 ระบุว่าไม่แน่ใจ
ส่วนเรื่องที่ประชาชนเป็นห่วงและวิตก กังวลมากที่สุดหากมีการขายหุ้น ปตท. ให้กับกองทุนวายุภักษ์ โดยกลัวว่าจะต้องรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มขึ้นในอนาคต ร้อยละ 44.1 รองลงมาจะทำให้กลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เข้ามาแสวงหาผลกำไรโดยยึดผลกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นที่ตั้งร้อยละ 19.6 และกลัวว่าอาจมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง ร้อยละ 11.6
เมื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบผลดี และผลเสียถึงผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนจากการแปรรูป ปตท. พบว่าร้อยละ 66.8 เชื่อว่าจะเป็นผลเสียต่อประชาชนโดยรวม (โดยราคาพลังงานประเภท น้ำมัน ก๊าช อาจจะสูงขึ้น) มีเพียงร้อยละ 9.2 ที่เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อประชาชน (โดยราคาพลังงานประเภท น้ำมัน ก๊าซ อาจจะถูกลง) และร้อยละ 24.0 เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ (โดยราคาพลังงานขึ้นอยู่กับตลาดโลกอยู่แล้ว)
ส่วนสถานะ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ควรเป็นแบบใด ร้อยละ 62.6 ระบุว่าควรเป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐสามารถกำกับดูแลได้เหมือนในปัจจุบัน รองลงมาร้อยละ 28.0 ระบุว่าให้ยึดคืนกลับไปเป็นของรัฐแต่เพียงผู้เดียว และร้อยละ 9.4 ระบุว่า ควรเป็นของเอกชนเต็มตัว.
วานนี้ (27 ม.ค.) สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย (สพร.ท)ได้ยื่นหนังสือถึงนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เพื่อขอให้รัฐบาลยุตินโยบายแปรรูป บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้พ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม เป็นผู้รับหนังสือแทน โดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการ สรส.กล่าวว่า กรณีที่กระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะขายหุ้น การบินไทยและปตท. 2% ซึ่งจะทำให้ทั้งรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งกลายเป็นเอกชน เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะหลังจากกระทรวงการคลังมีแนวคิดดังกล่าวยังไม่มีการออกมาชี้แจง โดยสมาชิก สรส.คือรัฐวิสาหกิจทั้ง43 แห่ง และขอให้ รมต.นำเสนอรัฐบาลเพื่อให้หยุดแนวทางการขายหุ้นดังกล่าว และหันมาปรับปรุงฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจเพื่อให้แข่งขันกับเอกชนและดูแลให้บริการประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งพนักงานทุกคนพร้อมสนองนโยบายรัฐบาล
ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้า สรส.จะยื่นหนังสือต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เพราะคลังเป็นต้นตอของเรื่องนี้ ซึ่งหากไม่ได้รับการชี้แจงที่ชัดเจนจะมีการพิจารณาเพื่อดำเนินการต่อไป โดยในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้จะมีการจัดเสวนา ที่โรงแรมมิราเคิล เพื่อแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว
“รัฐวิสาหกิจ 2 แห่งมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และช่วงที่ผ่านมาก็เป็นเครื่องมือช่วยรัฐบาลก้าวพ้นวิกฤติอุทกภัยไปได้ การแปรรูปเป็นเอกชนจะเกิดผลกระทบในภาพรวมเช่น ปตท.เป็นผู้ขายก๊าซรายเดียวให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) สำหรับผลิตไฟฟ้า ถ้าแปรรูปเป็นเอกชย ราคาก๊าซที่ขายอาจจะสูงขึ้น กระทบไปถึงต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าและทำให้ค่าไฟสูงขึ้นประชาชนได้รับผลกระทบแน่นอน”นายสาวิทย์กล่าว
นางสาวอัปสร กฤษณะสมิต ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ปตท.กล่าวว่า สหภาพฯปตท.ได้พบผู้บริหารปตท.แล้วซึ่งบอกว่ายังไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องดังกล่าว โดยสหภาพฯเป็นห่วงหากแปรรูปปตท.เป็นเอกชนแล้วรัฐจะไม่สามารถใช้ปตท.เป็นเครื่องมือและกลไกในการดูแลประชาชนได้ และจะส่งผลให้กลไกการตรวจสอบโดยรัฐ การส่งรายได้เข้ารัฐ การแทรกแซงราคา ไม่สามารถทำได้
ดังนั้นการกำหนดราคาพลังงานทั้งก๊าซและน้ำมันจะส่งผลกระทบกับประชาชนในอนาคต เพราะปตท.เป็นพลังงานแห่งชาติเป็นต้นทุนด้านพลังงานกับทุกส่วนของประเทศ ต้องหาความชัดเจน ว่าจะยังให้ปตท.เป็นพลังงานแห่งชาติหรือไม่ ถ้าบอกว่ายังเป็นอยู่ แต่ไม่ให้เป็นรัฐวิสาหกิจก็ต้องชี้แจงว่า จะมีแนวทางดูแลความเป็นพลังงานแห่งชาติอย่างไร
ซึ่งเรื่องนี้ประชาชนก็ต้องช่วยกันตรวจสอบ เพราะเมื่อ 11 ปีก่อน มีคำสัญญาจากรัฐว่าจะไม่ขายหุ้นปตท.ให้ต่ำกว่า 50%
การขายหุ้นโดยมุมมองทางการเงินต้องการลดหนี้สาธารณะนั้น ต้องชี้แจงให้ชัดเจน เพราะก่อนที่จะมีการขายหุ้นปตท.ในตลาดหลักทรัพย์ ก็มีการศึกษาวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียและการแก้ไขกฎหมายหลายเรื่อง ซึ่ง 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีกฎหมายควบคุมและบริหารงานมีธรรมาภิบาลภายใต้กฎหมายตลาดหลักทรัพย์ทำให้ปตท.เติบโต เป็นความมั่นคงของประเทศ การผลักให้เป็นเอกชนเพื่อลดหนี้สาธารณะเป็นเหตุผลที่รับได้ยาก ในขณะที่กลับจะมีผลกระทบทั้งเรื่อง การเงิน, กฎหมาย, ประชาชน,พนักงาน
ด้านนางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ประธานสหภาพแรงานรัฐวิสาหกิจ การบินไทย กล่าวว่า การบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติ การลดสัดส่วนหุ้นลงเพื่อให้เป็นเอกชน ไม่ทำให้การบริหารคล่องตัวจริง ซึ่งการบริหารคล่องตัวเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องขายหุ้น เพราะสามารถแก้ไขกฎหมายได้ ซึ่งการบินไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน และช่วยในเรื่องความมั่นคงของประเทศได้มาก อยู่ที่การสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาการบินไทยจะได้รับผลกระทบในทุกรูปแบบทั้งปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจโลก ภัยพิบัติ โรคระบาด เพราะทุกเรื่องจะกระทบต่อนักท่องเที่ยว แต่การบินไทยก็ยืนอยู่ได้ซึ่งแสดงถึงศักยภาพและจุดแข็งดังนั้นรัฐบาลต้องทบทวนเรื่องขายหุ้น ซึ่งเชื่อว่า กระทรวงคมนาคมยังคงต้องการให้การบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจต่อไป เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลประชาชน
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคมกล่าวว่า จะรับเรื่องความเป็นห่วงของ สรส.นำเสนอ รมว.คมนาคม พร้อมกันนี้ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีคนหนึ่งจะรายงานให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับทราบก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 31 มกราคมนี้ว่า เรื่องนี้ควรจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับพนักงานการบินไทยที่มีอยู่ประมาณ 14,000 คน และปตท. 4,000 คน ให้ทราบอนาคตของตนเองซึ่งเชื่อว่านายกฯ จะต้องเห็นด้วยกับการสร้างความชัดเจนกับคนในองค์กร ซึ่งการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจะต้องโปร่งใส ชัดเจน อธิบาย และหารือร่วมกันได้
“ผมคิดว่า นายกฯจะต้องให้มีการทำความเข้าใจก่อน เหมือนกรณีตลาดนัดจตุจักรนายกฯได้กำชับให้ทำความเข้าใจและดูแลผู้ค้าเดิมไม่ให้ได้รับผลกระทบ ซึ่งเรื่องการขายหุ้น การบินไทยกับปตท.นั้น ผมไม่มีความรู้เรื่องหุ้น เรื่องการเงิน แต่เท่าที่รับทราบมา เพราะรัฐบาลต้องการหาเงินมาใช้ในการป้องกันน้ำท่วม ซึ่งอาจต้องกู้เงิน แต่เพดานเงินกู้สูงแล้วและมีผู้เชี่ยวชาญหาวิธีให้ต้องปลดล็อคเรื่องหนี้สาธารณะ ดังนั้นการขายหุ้น เหลือ 49% จะทำให้ 2 แห่งนี้หมดสภาพรัฐวิสาหกิจ ซึ่งน่าเห็นใจ และรู้สึกหวั่นใจไปกับพนักงาน ว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงไปแล้วยังไม่รู้อนาคต"
**โพลค้านแปรรูปเชื่อมีวาระซ่อนเร้น
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือกรุงเทพโพล เปิดเผย ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อแนวคิดการขายหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้กับกองทุนวายุภักษ์ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ้นจากสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจ พบว่า ประชาชนร้อยละ 77.0 ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 23.0 ระบุว่าเห็นด้วย เมื่อถามว่า แนวคิดการขายหุ้น ปตท. ดังกล่าวมีวาระซ่อนเร้นทางการเมืองหรือไม่ประชาชนร้อยละ 51.7 เชื่อว่ามีวาระซ่อนเร้นทางการเมือง และร้อยละ 8.8 ไม่เชื่อว่าจะมีว่าระซ่อนเร้นทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 39.5 ระบุว่าไม่แน่ใจ
ส่วนเรื่องที่ประชาชนเป็นห่วงและวิตก กังวลมากที่สุดหากมีการขายหุ้น ปตท. ให้กับกองทุนวายุภักษ์ โดยกลัวว่าจะต้องรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มขึ้นในอนาคต ร้อยละ 44.1 รองลงมาจะทำให้กลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เข้ามาแสวงหาผลกำไรโดยยึดผลกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นที่ตั้งร้อยละ 19.6 และกลัวว่าอาจมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง ร้อยละ 11.6
เมื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบผลดี และผลเสียถึงผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนจากการแปรรูป ปตท. พบว่าร้อยละ 66.8 เชื่อว่าจะเป็นผลเสียต่อประชาชนโดยรวม (โดยราคาพลังงานประเภท น้ำมัน ก๊าช อาจจะสูงขึ้น) มีเพียงร้อยละ 9.2 ที่เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อประชาชน (โดยราคาพลังงานประเภท น้ำมัน ก๊าซ อาจจะถูกลง) และร้อยละ 24.0 เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ (โดยราคาพลังงานขึ้นอยู่กับตลาดโลกอยู่แล้ว)
ส่วนสถานะ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ควรเป็นแบบใด ร้อยละ 62.6 ระบุว่าควรเป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐสามารถกำกับดูแลได้เหมือนในปัจจุบัน รองลงมาร้อยละ 28.0 ระบุว่าให้ยึดคืนกลับไปเป็นของรัฐแต่เพียงผู้เดียว และร้อยละ 9.4 ระบุว่า ควรเป็นของเอกชนเต็มตัว.