ชมรมผู้ใช้แรงงานไฟฟ้านครหลวง ยื่นนายกฯ ค้านแปรรูป ปตท.-การบินไทย ชี้ก่อผลเสียค่าครองชีพ กลุ่มทุนแสวงประโยชน์ทำประชาชนเดือดร้อน ซ้ำตรวจสอบยาก แนะเลื่อนประชานิยมแทน
วันนี้ (23 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.00 น. ชมรมผู้ใช้แรงงานการไฟฟ้านครหลวง ประมาณ 20 คน นำโดยนายเพียร ยงหนู ตัวแทนพนักงาน รวมตัวเข้ายื่นหนังสือคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีนายพันศักดิ์ เจริญ นักวิเคราะห์นโยบายแผนชำนาญการพิเศษของส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน (สปอ.) เป็นตัวแทนรับหนังสือ
ทั้งนี้ หนังสือคัดค้านระบุว่า ตามที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง มีแนวคิดแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงพลังงาน และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หน่วยงานรับวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังลงเหลือต่ำกว่า 51เปอร์เซ็นต์ และให้กองทุนวายุภักดิ์ถือหุ้นแทน เพื่อลดภาระการค้ำประกันหนี้สาธารณะ เป็นสาเหตุให้ทั้งสองบริษัท ต้องพ้นสภาพการเป็รรับวิสาหกิจ แล้วแปรสภาพเป็นเอกชน
ทางชมรมผู้ใช้แรงงานฯ ขอคัดค้านแนวคิดดังวกล่าว ตามเหตุผล 6 ข้อ คือ 1. การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีของประเทศชาติ ทำให้อำนาจการบริหารการจัดการด้านพลังงานและการขนส่งของประเทศชาติหมดไป และกลุ่มพลังงานเช่น ก๊าซ น้ำมัน ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นต้นทุนการผลิตการขนส่ง อัตราเงินเฟ้อ ทำให้มีผลต่อค่าครองชีพของประชาชนโดยตรง รัฐบาลจะไม่สามารถควบคุมได้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชน
2. การพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้กลุ่มทุนกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เข้ามาแสวงหาผลกำไรโดยยึดถือผลกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นที่ตั้ง โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนอย่างแน่นอน หากแปรสภาพเป็นบริษัทเอกชน การตรวจสอบต่างๆ โดยภาคประชาชนก็จะลดลง ซึ่งที่ผ่านมา ปตท.จะถูกตรวจสอบทั้งจากผู้ถือหุ้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกลไกของกระทรวงการคลัง ตรวจสอบตามกฎหมายของรัฐวิสาหกิจ
3. การจะลดเพดานหนี้สาธารณะของรัฐบาลเพื่อจะกู้เงินเพิ่ม โดยอ้างการค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจเป็นภาระแก่รัฐบาล รัฐบาลควรจะให้ข้อมูลด้วยว่า รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลร่วมแปรรูปนั้นได้สร้างผลกำไรให้กับประเทศชาติทุกปี อย่ามองว่าเป็นภาระการค้ำประกันหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 4. การที่รัฐบาลใช้นโยบายประชานิยม ย่อมทำให้เกิดการใช้งบประมาณจำนวนมาก หากเลื่อนระยะเวลาโครงการนโยบายประชานิยมต่างๆ ที่ไม่สำคัญออกไปก่อน ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
5. จากการอ้างที่ว่าเพื่อนำเงินมาจัดทำโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการฟื้นฟู ผลกระทบจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยน้ำท่วมที่ผ่านมา จึงมีความจำเป็นให้รัฐบาลต้องใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อลดหนี้สาธารณะ เพื่อกู้เงินมาใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ข้อเท็จจริงเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดจากรัฐบาลบริหารจัดการน้ำผิดพลาด ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก หากจะนำความเดือดร้อนของประชาชนมาเป็นข้ออ้าง เพื่อที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ขอให้โปรดพิจารณาด้วยว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจดังกล่าวในอนาคตสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับในตอนนี้ มีแต่กลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ เท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการแปรูปรัฐวิสาหกิจ
และ 6. ที่ผ่านมาประชาชนไม่เห็นด้วยต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่สำคัญโดยเฉพาะทางด้านพลังงาน หรือที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โดยประชาชนเหล่านั้นเล็งเห็นว่า หากนำรัฐวิสาหกิจดังกล่าวแปรสภาพเป็นเอกชนแล้วจะสร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมากทุกครัวเรือน รัฐบาลควรจะพิจารณาในความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ด้วย ตามเหตุผลดังกล่าว จึงขอให้ยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเร่งด่วน
วันนี้ (23 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.00 น. ชมรมผู้ใช้แรงงานการไฟฟ้านครหลวง ประมาณ 20 คน นำโดยนายเพียร ยงหนู ตัวแทนพนักงาน รวมตัวเข้ายื่นหนังสือคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีนายพันศักดิ์ เจริญ นักวิเคราะห์นโยบายแผนชำนาญการพิเศษของส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน (สปอ.) เป็นตัวแทนรับหนังสือ
ทั้งนี้ หนังสือคัดค้านระบุว่า ตามที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง มีแนวคิดแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงพลังงาน และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หน่วยงานรับวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังลงเหลือต่ำกว่า 51เปอร์เซ็นต์ และให้กองทุนวายุภักดิ์ถือหุ้นแทน เพื่อลดภาระการค้ำประกันหนี้สาธารณะ เป็นสาเหตุให้ทั้งสองบริษัท ต้องพ้นสภาพการเป็รรับวิสาหกิจ แล้วแปรสภาพเป็นเอกชน
ทางชมรมผู้ใช้แรงงานฯ ขอคัดค้านแนวคิดดังวกล่าว ตามเหตุผล 6 ข้อ คือ 1. การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีของประเทศชาติ ทำให้อำนาจการบริหารการจัดการด้านพลังงานและการขนส่งของประเทศชาติหมดไป และกลุ่มพลังงานเช่น ก๊าซ น้ำมัน ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นต้นทุนการผลิตการขนส่ง อัตราเงินเฟ้อ ทำให้มีผลต่อค่าครองชีพของประชาชนโดยตรง รัฐบาลจะไม่สามารถควบคุมได้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชน
2. การพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้กลุ่มทุนกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เข้ามาแสวงหาผลกำไรโดยยึดถือผลกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นที่ตั้ง โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนอย่างแน่นอน หากแปรสภาพเป็นบริษัทเอกชน การตรวจสอบต่างๆ โดยภาคประชาชนก็จะลดลง ซึ่งที่ผ่านมา ปตท.จะถูกตรวจสอบทั้งจากผู้ถือหุ้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกลไกของกระทรวงการคลัง ตรวจสอบตามกฎหมายของรัฐวิสาหกิจ
3. การจะลดเพดานหนี้สาธารณะของรัฐบาลเพื่อจะกู้เงินเพิ่ม โดยอ้างการค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจเป็นภาระแก่รัฐบาล รัฐบาลควรจะให้ข้อมูลด้วยว่า รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลร่วมแปรรูปนั้นได้สร้างผลกำไรให้กับประเทศชาติทุกปี อย่ามองว่าเป็นภาระการค้ำประกันหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 4. การที่รัฐบาลใช้นโยบายประชานิยม ย่อมทำให้เกิดการใช้งบประมาณจำนวนมาก หากเลื่อนระยะเวลาโครงการนโยบายประชานิยมต่างๆ ที่ไม่สำคัญออกไปก่อน ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
5. จากการอ้างที่ว่าเพื่อนำเงินมาจัดทำโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการฟื้นฟู ผลกระทบจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยน้ำท่วมที่ผ่านมา จึงมีความจำเป็นให้รัฐบาลต้องใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อลดหนี้สาธารณะ เพื่อกู้เงินมาใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ข้อเท็จจริงเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดจากรัฐบาลบริหารจัดการน้ำผิดพลาด ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก หากจะนำความเดือดร้อนของประชาชนมาเป็นข้ออ้าง เพื่อที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ขอให้โปรดพิจารณาด้วยว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจดังกล่าวในอนาคตสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับในตอนนี้ มีแต่กลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ เท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการแปรูปรัฐวิสาหกิจ
และ 6. ที่ผ่านมาประชาชนไม่เห็นด้วยต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่สำคัญโดยเฉพาะทางด้านพลังงาน หรือที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โดยประชาชนเหล่านั้นเล็งเห็นว่า หากนำรัฐวิสาหกิจดังกล่าวแปรสภาพเป็นเอกชนแล้วจะสร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมากทุกครัวเรือน รัฐบาลควรจะพิจารณาในความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ด้วย ตามเหตุผลดังกล่าว จึงขอให้ยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเร่งด่วน