ASTVผู้จัดการรายวัน - ด่วน! พ.ร.ก.กู้เงิน 4 ฉบับประกาศในราชกิจจาฯแล้ว สุดแสบ! พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ มาตรา 7 (3) ยังคงให้ ครม.มีอำนาจสั่งการโอนทรัพย์สินกองทุนฟื้นฟูมากกว่าแสนล้าน เผยเฉพาะหุ้นแบงก์กรุงไทย 9.4 หมื่นล้านบาท ยังมีหุ้น BAM อีก 2.5 หมื่นล้าน ต้องตกอยู่ในมือนักการเมือง “ส.ว.คำนูณ” เดินหน้าค้าน พ.ร.ก.กู้เงินไม่เร่งด่วนจริง ขัดรัฐธรรมนูญ ยื่นศาลชี้ขาดอังคารหน้า
เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น.เมื่อวานนี้ (26 ม.ค.) ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 4 ฉบับประกอบด้วย 1. พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 2.พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 3.พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555 และ 4.พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) กล่าวว่า วันนี้ (27 ม.ค.) จะทำหนังสือแจ้งให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีรับทราบ เพื่อให้นำพระราชกำหนดส่งไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
สำหรับประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่ พ.ร.ก.ฉบับที่ 4 หรือ พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟู ในมาตรา 7 ตาม (3) จากเดิมที่ระบุว่า ให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เปลี่ยนเป็นให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เท่ากับว่าแม้จะยอมตัดคำว่า "ธนาคารแห่งประเทศไทย" ออก แต่ พ.ร.ก.ดังกล่าวยังคงให้ "อำนาจ" คณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำนดทั้งระยะเวลาและจำนวนที่ต้องโอน เท่ากับเปิดโอกาสให้นักการเมืองเป็นผู้จัดการเงินและสินทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูที่มีอยู่ทั้งหมด
สำหรับสินทรัพย์กองทุนฟื้นฟูตามงบการเงินปี 2554 หรือ ณ วันที่ 30 ก.ย. 54 พบว่ามีสินทรัพย์รวม 187,741.79 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินกองทุน 156,730.19 ล้านบาท เงินสดที่ฝากไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ 900,000 บาท เงินลงทุนระยะยาวซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นของสถาบันการเงิน และบริษัทที่ได้รับโอนมาจากธนาคารพาณิชย์ และไฟแนนซ์ที่ปิดกิจการ 188.4 ล้านบาท เงินลงทุนระยะสั้นในพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง และสินทรัพย์ระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์ 46,953.56 ล้านบาท มีลูกหนี้ที่ได้รับโอนมาจากธนาคารพาณิชย์และไฟแนนซ์ที่ปิดกิจการ 13,212.45 ล้านบาท
เงินลงทุนในบริษัทร่วม 90,057.59 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.2.หุ้นบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ (บสก.) (BAM) จำกัด 100% เป็นเงิน 25,497.28 ล้านบาท 2. หุ้นธนาคารกรุงไทย (KTB) ที่ถืออยู่ 55.05% หรือ 6,156,999,067 หุ้น คิดจากราคาหุ้น ณ วันที่ 26 ม.ค. (หุ้นละ 15.20 บาท) เป็นเงินประมาณ 9.4 หมื่นล้านบาท
ที่น่าสนใจคือสินทรัพย์ที่เป็นหุ้นธนาคารกรุงไทย 9.4 หมื่นล้าน จะตกอยู่ในมือนักการเมืองเพราะ พ.ร.ก.กำหนดให้ ครม.เป็นผู้บริหารจัดการอย่างสิ้นเชิง
ก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีต รมว.คลัง และอดีตผู้ว่าการ ธปท. เคยตั้งข้อสังเกตร่าง พ.ร.ก.ในมาตรา 7 (3) ว่า กำหนดว่า เป็นการเขียนกฎหมายปลายเปิดเพราะกำหนดให้ชำระหนี้ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ม.ร.ว.ปรีดิยาธรอธิบายว่า อันตราย ภาษาธนาคารเรียก blank cheque เสมือนการอำนาจ ครม.เขียนหรือสั่งจำนวนเงินตามใจชอบ
***ให้ ธปท.รีดค่าต๋งแบงก์มากกว่า 0.4%
นอกจากนี้ ใน พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟู มาตรา 8 ระบุว่า ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเป็นอัตราร้อยละต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝากตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด แต่เมื่อรวมอัตราดังกล่าวกับอัตราที่กำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 1 ต่อปี ของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก เพื่อประโยชน์ในการชำระคืนต้นเงินกู้ หรือดอกเบี้ยเงินกู้ให้พอเพียง
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดในวรรคหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด แต่เมื่อรวมกับเงินที่นำส่งตามวรรคหนึ่งแล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินที่สถาบันการเงินได้รับจากประชาชน
**"ประสาร" เรียกแบงก์ถกอีกรอบ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เอกชนกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบาล เช่นเดียวกับที่คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ได้เป็นห่วง ซึ่งเรื่องนี้ ธปท.จะทำหนังสือแสดงความกังวลไปยังกระทรวงการคลัง และถ้ามีโอกาสก็คงจะเข้าหารือกับ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ด้วย
"ธปท.คงจะนัดหารือกับธนาคารพาณิชย์อีกครั้งหลังจากที่ พ.ร.ก. มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ" นายประสารกล่าว
***“ส.ว.คำนูณ” เดินหน้าค้าน
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า เนื่องจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 4 ฉบับได้ประกาศในราชกิจจาฯ แล้วทาง ส.ว.และ ตามมติของคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา ให้เข้าชื่อกันคัดค้านตามมาตรา 185 เพื่อยื่นผ่านประธานวุฒิสภาเสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก.นี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 2 หรือไม่ ในการตรา พ.ร.ก.ว่าเป็น "กรณีฉุกเฉินจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้"
ทั้งนี้ ได้รวบรวมรายชื่อ ส.ว.ได้ 1 ใน 3 แล้ว โดยจะเปิดให้ลงชื่อได้อีกในวันศุกร์ และ วันจันทร์ที่จะเป็นวันประชุมวุฒิสภาจนถึงช่วงบ่าย ซึ่งคาดว่า จะสามารถยื่นผ่านประธานฯได้ในวันจันทร์หรือวันอังคารที่จะถึงนี้เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป.
เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น.เมื่อวานนี้ (26 ม.ค.) ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 4 ฉบับประกอบด้วย 1. พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 2.พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 3.พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555 และ 4.พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) กล่าวว่า วันนี้ (27 ม.ค.) จะทำหนังสือแจ้งให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีรับทราบ เพื่อให้นำพระราชกำหนดส่งไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
สำหรับประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่ พ.ร.ก.ฉบับที่ 4 หรือ พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟู ในมาตรา 7 ตาม (3) จากเดิมที่ระบุว่า ให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เปลี่ยนเป็นให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เท่ากับว่าแม้จะยอมตัดคำว่า "ธนาคารแห่งประเทศไทย" ออก แต่ พ.ร.ก.ดังกล่าวยังคงให้ "อำนาจ" คณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำนดทั้งระยะเวลาและจำนวนที่ต้องโอน เท่ากับเปิดโอกาสให้นักการเมืองเป็นผู้จัดการเงินและสินทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูที่มีอยู่ทั้งหมด
สำหรับสินทรัพย์กองทุนฟื้นฟูตามงบการเงินปี 2554 หรือ ณ วันที่ 30 ก.ย. 54 พบว่ามีสินทรัพย์รวม 187,741.79 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินกองทุน 156,730.19 ล้านบาท เงินสดที่ฝากไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ 900,000 บาท เงินลงทุนระยะยาวซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นของสถาบันการเงิน และบริษัทที่ได้รับโอนมาจากธนาคารพาณิชย์ และไฟแนนซ์ที่ปิดกิจการ 188.4 ล้านบาท เงินลงทุนระยะสั้นในพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง และสินทรัพย์ระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์ 46,953.56 ล้านบาท มีลูกหนี้ที่ได้รับโอนมาจากธนาคารพาณิชย์และไฟแนนซ์ที่ปิดกิจการ 13,212.45 ล้านบาท
เงินลงทุนในบริษัทร่วม 90,057.59 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.2.หุ้นบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ (บสก.) (BAM) จำกัด 100% เป็นเงิน 25,497.28 ล้านบาท 2. หุ้นธนาคารกรุงไทย (KTB) ที่ถืออยู่ 55.05% หรือ 6,156,999,067 หุ้น คิดจากราคาหุ้น ณ วันที่ 26 ม.ค. (หุ้นละ 15.20 บาท) เป็นเงินประมาณ 9.4 หมื่นล้านบาท
ที่น่าสนใจคือสินทรัพย์ที่เป็นหุ้นธนาคารกรุงไทย 9.4 หมื่นล้าน จะตกอยู่ในมือนักการเมืองเพราะ พ.ร.ก.กำหนดให้ ครม.เป็นผู้บริหารจัดการอย่างสิ้นเชิง
ก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีต รมว.คลัง และอดีตผู้ว่าการ ธปท. เคยตั้งข้อสังเกตร่าง พ.ร.ก.ในมาตรา 7 (3) ว่า กำหนดว่า เป็นการเขียนกฎหมายปลายเปิดเพราะกำหนดให้ชำระหนี้ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ม.ร.ว.ปรีดิยาธรอธิบายว่า อันตราย ภาษาธนาคารเรียก blank cheque เสมือนการอำนาจ ครม.เขียนหรือสั่งจำนวนเงินตามใจชอบ
***ให้ ธปท.รีดค่าต๋งแบงก์มากกว่า 0.4%
นอกจากนี้ ใน พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟู มาตรา 8 ระบุว่า ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเป็นอัตราร้อยละต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝากตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด แต่เมื่อรวมอัตราดังกล่าวกับอัตราที่กำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 1 ต่อปี ของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก เพื่อประโยชน์ในการชำระคืนต้นเงินกู้ หรือดอกเบี้ยเงินกู้ให้พอเพียง
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดในวรรคหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด แต่เมื่อรวมกับเงินที่นำส่งตามวรรคหนึ่งแล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินที่สถาบันการเงินได้รับจากประชาชน
**"ประสาร" เรียกแบงก์ถกอีกรอบ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เอกชนกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบาล เช่นเดียวกับที่คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ได้เป็นห่วง ซึ่งเรื่องนี้ ธปท.จะทำหนังสือแสดงความกังวลไปยังกระทรวงการคลัง และถ้ามีโอกาสก็คงจะเข้าหารือกับ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ด้วย
"ธปท.คงจะนัดหารือกับธนาคารพาณิชย์อีกครั้งหลังจากที่ พ.ร.ก. มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ" นายประสารกล่าว
***“ส.ว.คำนูณ” เดินหน้าค้าน
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า เนื่องจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 4 ฉบับได้ประกาศในราชกิจจาฯ แล้วทาง ส.ว.และ ตามมติของคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา ให้เข้าชื่อกันคัดค้านตามมาตรา 185 เพื่อยื่นผ่านประธานวุฒิสภาเสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก.นี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 2 หรือไม่ ในการตรา พ.ร.ก.ว่าเป็น "กรณีฉุกเฉินจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้"
ทั้งนี้ ได้รวบรวมรายชื่อ ส.ว.ได้ 1 ใน 3 แล้ว โดยจะเปิดให้ลงชื่อได้อีกในวันศุกร์ และ วันจันทร์ที่จะเป็นวันประชุมวุฒิสภาจนถึงช่วงบ่าย ซึ่งคาดว่า จะสามารถยื่นผ่านประธานฯได้ในวันจันทร์หรือวันอังคารที่จะถึงนี้เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป.