xs
xsm
sm
md
lg

ศาลปค.สูงสุดยกคำขอ “หญิงเป็ด”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - ศาลปค.สูงสุดยกคำขอ “หญิงเป็ด” สั่งยืนตามศาลปค.กลาง ให้ระงับคำสั่งยกเลิกตั้งพิศิษฐ์ เป็นรักษาราชการแทนผู้ว่าสตง. พร้อมระบุรักษาราชการแทนคือผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนปธ.คตง.และคตง.

วานนี้ ( 26 ม.ค.) ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลางโดยยังคงให้ระงับการบังคับใช้คำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่184/2553 เรื่องยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นรักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไว้จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา

ทั้งนี้กรณีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากหลังศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 19 ต.ค.53 ให้เพิกถอนคำสั่งสตง.ที่ 184/2553 เรื่องยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งนายพิศิษฐ์ รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่าการฯตรวจเงินแผ่นดิน ฉบับลงวันที่ 18 ส.ค. 53 โดยยังคงให้คำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ต่อมาคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2553 และยื่นคำร้องลงวันที่ 18 พ.ย. 53 ขอทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ซึ่งศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าคำขอของคุณหญิงจารุวรรณเป็นการขอให้ศาลปกครองสูงสุดระงับคำสั่งที่ศาลปกครองกลางสั่งให้ระงับเรื่องการยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งนายพิศิษฐ์เป็นรักษาราชการแทนผู้ว่าฯสตง.

ส่วนที่ศาลมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลางระบุว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้คุณหญิงจารุวรรณไม่ได้แสดงคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งที่ให้ระงับเรื่องการยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งนายพิศิษฐ์รักษาราชการแทนผู้ว่าฯสตง.ของศาลปกครองกลางนั้นทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะหรือต่อสิทธิคุณหญิงจารุวรรณ อย่างไร อีกทั้งคำสั่งศาลปกครองกลางดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการชะลอหรือระงับการบังคับตามผลของคำสั่งที่คุณหญิงจารุวรรณเป็นผู้ออกไว้เป็นการชั่วคราวจากว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ดังนั้นโดยเหตุผลของเรื่องแล้วจึงยังไม่อาจถือได้ว่าคำสั่งของศาลปกครองกลาง ทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะหรือสิทธิของคุณหญิงจารุวรรณ จึงเห็นว่าไม่สมควรมีคำสั่งระงับคำสั่งของศาลปกครองกลางตามคำขอของคุณหญิงจารุวรรณ

สำหรับคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลางชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่าเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคุณหญิงจารุวรรณได้ออกคำสั่งสตง.ที่ 184/2553 เรื่องยกเลิกแต่งตั้งนายพิศิษฐ์เป็นรักษาราชการแทนผู้ว่าฯสตง.หลังมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์กล่าวคือหลังจากที่คุณหญิงจารุวรรณพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯสตง.ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 มาตรา 34 (2) แล้วคำสั่งสตง.ที่ 184/2553 จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยไม่มีอำนาจ และน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าพิจารณาต่อไปว่าการจะให้คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับต่อไปจะทำให้มีผลเสียหายอย่างร้ายแรง ยากแต่การเยียวยาแก้ไขภายหลังหรือไม่ เห็นว่า หลังจากที่คุณหญิงจารุวรรณออกคำสั่งสตง.ที่ 184/2553 แล้ว และคุณหญิงจารุวรรณมองว่าตนเองต้องปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าฯสตง.ไปก่อน โดยมีคำสั่งต่างๆ ขณะเดียวกันนายพิศิษฐ์ ก็ได้ใช้อำนาจในฐานะผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าฯสตง.ออกคำสั่งต่างๆเช่นเดียวกัน ซึ่งจากการกระทำของคุณหญิงจารุวรรณและนายพิศิษฐ์ สร้างความสับสนแก่ข้าราชการสตง. และหน่วยงานอื่นๆ ว่าใครมีอำนาจหน้าที่ในสตง. และจะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาคนใด หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไปก็จะมีผลทำให้การตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินต้องล่าช้า ส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายตามมา ซึ่งอาจร้ายแรงจนยากแก่การเยียวยาแก้ไขภายหลัง และเมื่อพิจารณาต่อไปว่า การให้คงคำสั่งทุเลาดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรับหรือบริการสาธารณะหรือไม่เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคุณหญิงจารุวรรณได้มีคำสั่งสตง.ที่ 75 /2552 แต่งตั้งนายพิศิษฐ์เป็นรักษาราชการแทนผู้ว่าฯสตง. ลงวันที่ 9 เม.ย. 2552 ไว้แล้ว นายพิศิษฐ์ย่อมมีอำนาจหน้าที่ทุกอย่างเสมือนตนเองเป็นผู้ว่าฯสตง. ซึ่งผู้รักษาราชการแทนย่อมเข้าไปใช้อำนาจหน้าที่ทั้งหมดแทนตำแหน่งที่ตนรักษาราชการแทน ดังนั้นจึงมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทุกอย่างที่ผู้ว่าฯสตง.มีอำนาจอยู่ในขณะนั้น นายพิศิษฐ์ ซึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าฯสตง.จึงเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน การทุเลาการบังคับตามคำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐหรือสาธารณะแต่อย่างใด ที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งโดยให้ระงับคำสั่งเรื่องการยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งนายพิศิษฐ์เป็นรักษาราชการแทนผู้ว่าฯสตง.นั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย จึงมีคำสั่งยกคำขอของคุณหญิงจารุวรรณ

ด้านนายธานี ปูหิน ทนายความของคุณหญิงจารุวรรณ กล่าวว่า คำสั่งในคดีดังกล่าวนี้ ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาและมีคำสั่งออกมาก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่าพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 มาตรา 34 (2) ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 มาตรา 36 และรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 209 ซึงหลังจากนี้ทางคุณหญิงจารุวรรณจะทำคำชี้แจงยื่นเพิ่มเติมเข้ามายังศาลปกครองสูงสุดตามที่ได้ยื่นอุทธรณ์คดีดังกล่าวเอาไว้ รวมทั้งก็จะทำคำชี้แจงไปยื่นในคดีอาญาที่มีการฟ้องว่าปฏิบัติหน้าที่มิชอบด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น