วานนี้ ( 28 ธ.ค.) นายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพิจารณาคำร้องกรณีที่ศาลปกครองสูงสุด ส่งคำโต้แย้งของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 มาตรา 34 (2) ที่บัญญัติ เรื่องการพ้นจากตำแหน่งของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินว่า นอกจากเป็นไปตามวาระแล้ว ( 2 ) พ้นเมื่อมีอายุครบ 65 ปี บริบูรณ์ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มาตรา 36 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 309 ที่บัญญัติว่า บรรดาการใดๆที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวพ.ศ. 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว เห็นว่า มาตรา 34 (2) ของพ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นบทบัญญัติที่ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน พ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบ 65 ปี บริบูรณ์
ส่วนประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 ก.ย. 49 และฉบับที่ 29 ลงวันที่ 30 ก.ย. 49 ทั้ง 2 ฉบับ เป็นเสมือนบทเฉพาะกาล ซึ่งยังมีผลบังคับใช้ และได้รับการรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังนั้น พ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การมีคำวินิจฉัยของรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ก้าวล่วงว่า คุณหญิงจารุวรรณ ยังคงอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าฯสตง.หรือไม่ เพราะเป็นอำนาจของศาลปกครอง ที่จะพิจารณา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ จะส่งคำวินิจฉัยนี้ให้ศาลปกครองสูงสุด ภายในกลางเดือนม.ค. 55
"กรณีการดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯสตง.ของคุณหญิงจารุวรรณ ตามประกาศ คปค.เป็นกรณีเฉพาะเท่านั้น ซึ่งประกาศ คปค.กำหนดให้อยู่ในตำแหน่งไปจนกว่าจะมีการสรรหาผู้ว่าฯสตง.คนใหม่ ที่หากเมื่อได้ผู้ว่าฯสตง.คนใหม่แล้ว ก็จะอยู่ในวาระได้แค่ 5 ปี หรือพ้นเมื่อมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์เท่านั้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ประกาศคปค.นี้ ก็จะนำมาใช้กับผู้ว่าฯ คนใหม่ไม่ได้แล้ว" นายสมฤทธิ์ กล่าว
ทั้งนี้กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากมาจากผู้ตรวจการแผ่นดิน และนายพิศิษฐ์ ลีลาวัชรโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง กรณีคุณหญิงจารุวรรณ มีคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้ง นายพิศิษฐ์ เป็นรักษาการผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการมีคำสั่งหลังจากที่คุณหญิงจารุวรรณ มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ซึ่งถือว่าคุณหญิงจารุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน 2549 แล้ว และต่อมาวันที่ 19 ต.ค. 53 ศาลปกครองกลาง ก็ได้มีคำพิพากษาว่า คำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งนายพิศิษฐ์ เป็นรักษาการผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสั่งเพิกถอน เนื่องจากขณะออกคำสั่ง คุณหญิงจารุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว ทำให้คุณหญิงจารุวรรณ ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และขอให้ศาลปกครองสูงสุด ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความในประเด็นข้อกฎหมายดังกล่าว
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว เห็นว่า มาตรา 34 (2) ของพ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นบทบัญญัติที่ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน พ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบ 65 ปี บริบูรณ์
ส่วนประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 ก.ย. 49 และฉบับที่ 29 ลงวันที่ 30 ก.ย. 49 ทั้ง 2 ฉบับ เป็นเสมือนบทเฉพาะกาล ซึ่งยังมีผลบังคับใช้ และได้รับการรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังนั้น พ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การมีคำวินิจฉัยของรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ก้าวล่วงว่า คุณหญิงจารุวรรณ ยังคงอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าฯสตง.หรือไม่ เพราะเป็นอำนาจของศาลปกครอง ที่จะพิจารณา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ จะส่งคำวินิจฉัยนี้ให้ศาลปกครองสูงสุด ภายในกลางเดือนม.ค. 55
"กรณีการดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯสตง.ของคุณหญิงจารุวรรณ ตามประกาศ คปค.เป็นกรณีเฉพาะเท่านั้น ซึ่งประกาศ คปค.กำหนดให้อยู่ในตำแหน่งไปจนกว่าจะมีการสรรหาผู้ว่าฯสตง.คนใหม่ ที่หากเมื่อได้ผู้ว่าฯสตง.คนใหม่แล้ว ก็จะอยู่ในวาระได้แค่ 5 ปี หรือพ้นเมื่อมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์เท่านั้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ประกาศคปค.นี้ ก็จะนำมาใช้กับผู้ว่าฯ คนใหม่ไม่ได้แล้ว" นายสมฤทธิ์ กล่าว
ทั้งนี้กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากมาจากผู้ตรวจการแผ่นดิน และนายพิศิษฐ์ ลีลาวัชรโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง กรณีคุณหญิงจารุวรรณ มีคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้ง นายพิศิษฐ์ เป็นรักษาการผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการมีคำสั่งหลังจากที่คุณหญิงจารุวรรณ มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ซึ่งถือว่าคุณหญิงจารุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน 2549 แล้ว และต่อมาวันที่ 19 ต.ค. 53 ศาลปกครองกลาง ก็ได้มีคำพิพากษาว่า คำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งนายพิศิษฐ์ เป็นรักษาการผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสั่งเพิกถอน เนื่องจากขณะออกคำสั่ง คุณหญิงจารุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว ทำให้คุณหญิงจารุวรรณ ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และขอให้ศาลปกครองสูงสุด ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความในประเด็นข้อกฎหมายดังกล่าว