ผมอ่านบทสัมภาษณ์ของด็อกเตอร์เกษียร เตชะพีระ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วขำดี จนผมไม่อาจละเลยที่จะบันทึกความเห็นต่อบทสัมภาษณ์นี้ของตัวเองไปได้ แม้การกระทำเช่นนี้จะถูกกล่าวหาด้วยข้อหาเดิมๆ ว่า ไม่ยอมรับความเห็นต่าง ซึ่งไม่รู้แปลว่าอะไร เพราะการโต้ตอบกับความเห็นต่างด้วยเหตุและผลนั้นน่าจะเป็นวัฒนธรรมและจารีตที่ดีของมนุษย์
นี่ยิ่งเป็นเกษียร เตชะพีระ เกียรตินิยมอันดับ 1 ของคณะรัฐศาสตร์ ปริญญาโทและเอกจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ด้วยแล้วการไปตอแยกับเกษียรก็เหมือนเอาคอตัวเองไปไว้ในปากจระเข้ปานนั้น
อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่อาจอดรนทนได้เมื่ออ่านบทสัมภาษณ์ของท่านด็อกเตอร์จากคอร์แนลแล้วก็เพราะว่าตรรกะของท่านอลหม่านเหลือเกิน
เกษียรพยายามอธิบายว่า คนที่ออกมาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ทุกวันนี้นั้นเป็นคนที่กำลังทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่พวกเกษียรและนิติราษฎร์กำลังทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้ในระบอบประชาธิปไตย
นัยก็คือ พวกปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ตอนนี้ต่างหากที่ “ล้มเจ้า” แต่พวกเกษียรและนิติราษฎร์ต่างหากที่ “ปกป้องเจ้า”
เกษียรพยายามอธิบายว่าสิ่งที่พวกเขากระทำอยู่นั้นกระทำด้วยความรักและความปรารถนาดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อให้พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้บนระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน คือ การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย
ส่วนพวกที่กำลังปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น กำลังหยิบฉวยและใช้สถาบันพระมหากษัตริย์ไปข่มขู่คุกคามทำให้คนอื่นกลัว
เกษียรบอกว่า องค์ประกอบของระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน คือ การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย “เวลาคุณทำรัฐประหาร คือคุณล้มทั้ง 3 อย่าง ที่แย่คือคุณบอกว่าล้มทั้ง 3 อย่างนี้ เพื่อพระมหากษัตริย์ การอธิบายแบบนี้ได้เท่ากับยกเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปตั้งไว้ตรงข้าม ในจุดที่แยกต่างหาก และตรงข้าม รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย และการเลือกตั้ง อันนี้ไม่เป็นผลดีเลยต่อความมั่นคงสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย”
สิ่งที่เกษียรอ้างคือ “ระเบียบการเมืองในโลกปัจจุบัน”
ประเด็นก็คือว่า “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน” ของเกษียรคืออะไรและใครเป็นผู้กำหนดความชอบธรรมนี้ เกษียรก็อาจบอกว่าประชาชนไง ระบอบประชาธิปไตยเสียงของประชาชนต้องเป็นใหญ่ แต่ผมถามเกษียรที่เป็นอาจารย์รัฐศาสตร์ว่า ทุกประเทศในโลกนี้ ย่อยลงไปเป็นทุกสังคม ทุกครอบครัว มีพื้นฐานที่แตกต่างกันไหม แล้ว “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน” คืออะไร มีอะไรเป็นเครื่องชี้วัดแล้วมันสามารถนำมาครอบใช้ได้ทุกสังคมจริงหรือ
ผมคิดว่า “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน” ของเกษียรนั้น คงมิได้หมายถึงความดีความงามความถูกต้องซึ่งเป็นความหมายในเชิง “ธรรมะ” แน่เพราะธรรมนั้นอยู่ที่ไหนก็เหมือนกัน นั่นเพราะเกษียรกำกับ “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน” ไว้ด้วยว่า คือ การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตย ซึ่งตีความได้ว่าเป็นแบบที่เขานิยมกันนั่นเอง
ถ้าเราเชื่อว่าทุกประเทศในโลกนี้มีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ถ้าเกษียรอ้างว่า “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน คือ การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย” แต่เราจะพูดกับเกษียรได้บ้างไหมว่า “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมของไทย คือ การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย และพระมหากษัตริย์” ซึ่งนี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่คนไทยซึ่งยึดมั่นในระเบียบการเมืองแบบนี้ต้องออกมาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
ผมพยายามดูเหตุผลที่เกษียรและพวกอ้างว่าต้องปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 นอกจากเหตุผลเรื่องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว เหตุผลหนึ่งที่เกษียรและแก๊งนำมาอ้างคือ มีการใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือทำลายล้างทางการเมือง และต้องยกเลิกมาตรา 112 เพื่อไม่ให้ทหารเอามาเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหาร
ถ้าใครได้อ่านเนื้อหาของมาตรา 112 ในประมวลกฎหมายอาญาแล้วคงขำพิลึก
“มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
เนื้อหาและเหตุผลของมาตรา 112 ไม่มีอะไรที่โยงใยไปสู่ข้ออ้างของเกษียรได้เลย นอกจากเหตุผลเรื่องหมาป่ากับลูกแกะ
เกษียรและพวกพยายามกล่าวอ้างว่า มาตรา 112 เปิดกว้างให้ใครก็ได้สามารถนำไปฟ้องร้องกล่าวหากันได้ง่าย แต่คำถามก็คือว่า เกษียรเชื่อไหมว่าสังคมไทยนั้นมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอารยะหรือกระบวนการยุติธรรมที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบันหรือไม่
เอาเถอะเกษียรอาจจะเชื่อหรือไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของไทยก็ได้ แต่ประเด็นมันคืออะไรล่ะ คนทำผิดเยอะเพราะมีคนเขียนกฎหมายลักษณะความผิดนี้เอาไว้ ดังนั้นต้องยกเลิกเพื่อไม่ให้มีคนกระทำผิดเช่นนั้นหรือ หรือถ้าเกษียรไม่เชื่อมั่นขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมปัญหามันอยู่ที่กฎหมายผิด คนผิดหรือกระบวนการมันผิด แล้วเราควรจะต้องลบทิ้งกฎหมายหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขกระบวนการทำงาน
และเมื่อไม่นานมานี้มีคนที่ถูกดำเนินคดีในมาตรา 112 ที่ศาลสั่งยกฟ้อง
เกษียรพยายามอ้างว่า พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยต้องวิจารณ์ได้ เกษียรเองก็ยกพระราชดำรัสของในหลวงที่บอกว่าพระมหากษัตริย์ก็เป็นคนสามารถวิจารณ์ได้มาอ้างอิง แล้วมีเนื้อหาส่วนไหนในมาตรา 112 ที่ทำให้เกษียรมีปัญหาเล่า ถ้าหากเกษียรและพวกไม่มีเจตนาเปิดให้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
แล้วถามว่าการป้องกันการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อบุคคลอื่นนั้นเป็นการทำลายเสรีภาพและสิทธิในระบอบประชาธิปไตยไหม
เกษียรบอกว่ามีการใช้พระมหากษัตริย์ในการทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง แต่เกษียรเองก็ให้สัมภาษณ์ว่ามีการ “ฉวยใช้พระองค์ล้มรัฐบาล ฉวยใช้อ้างว่าทำในนามพระองค์ ไปยึดทำเนียบฯ อ้างว่าทำในนามพระองค์ไปยึดสนามบิน อ้างว่าทำในนามพระองค์ ไปเที่ยวตีรันฟันแทงกัน ริมถนนรนแคมจนผู้คนบาดเจ็บล้มตายกันเยอะแยะ”
ผมก็ไม่รู้ว่าวาทะของเกษียรนี้ตีความได้ว่าเป็นการนำเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทำลายล้างทางการเมืองหรือไม่ เพราะสิ่งที่กล่าวหาพันธมิตรฯ นี้เป็นจินตนาการที่เกษียรคิดเอาเอง
น่าเสียดายที่นักประชาธิปไตย ผู้ยึดมั่นใน “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน” อย่างเกษียรถึงมองไม่เห็นถึงสิทธิของประชาชนในการขับไล่รัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม พันธมิตรฯ ออกมาขับไล่ “ระบอบทักษิณ” ซึ่งจะนิยามที่เกษียรตั้งขึ้นหมายถึงกลุ่มทุนที่เข้ามาใช้ฐานการเมืองกอบโกยผลประโยชน์ ถ้าการยึดทำเนียบฯ หรือสนามบินเพื่อขับไล่รัฐบาลที่ฉ้อฉลไม่ชอบธรรม ทำไมเกษียรถึงให้ท้ายพวกเสื้อแดงที่ปิดล้อมทุกทางเข้าออกทำเนียบฯ บุกกระทรวงมหาดไทย บุกล้มประชุมอาเซียน และติดอาวุธต่อสู้กับรัฐ หรือพวกเขามีความชอบธรรมถ้าอ้างว่าทำในนามของพระเจ้ามูลเมือง
ผมถามเกษียรว่า ใคร “ไปเที่ยวตีรันฟันแทงกันริมถนนรนแคมจนผู้คนบาดเจ็บล้มตายกันเยอะแยะ” ถ้ามีใครกล่าวหากับเกษียรแบบนี้ในเหตุการณ์ 6 ตุลาโดยมีน้ำเสียงโยนความชอบธรรมให้กับอำนาจรัฐแบบนี้บ้างเกษียรจะว่าอย่างไร เกษียรไม่ได้อ่านข่าวเลยหรือว่า ฝ่ายไหนที่ไปไล่ทุบตีและไล่ยิงพันธมิตรฯ ในสถานที่ชุมนุมต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดจนบาดเจ็บและตายจำนวนมาก
แม้เกษียรและพวกจะไม่กล้าพูดถึงเหตุผลลึกๆ ที่ซ่อนอยู่ในใจก็ช่วยหาเหตุผลที่ดีๆ มาหน่อย และทำอะไรต้องเรียนรู้ที่จะ handle with care คนอื่นบ้าง
สำหรับผมทุกอย่างในโลกนี้เปลี่ยนแปลงได้เสมอครับ ถ้าถึงเวลาและมีความชอบธรรมเพียงพอ
นี่ยิ่งเป็นเกษียร เตชะพีระ เกียรตินิยมอันดับ 1 ของคณะรัฐศาสตร์ ปริญญาโทและเอกจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ด้วยแล้วการไปตอแยกับเกษียรก็เหมือนเอาคอตัวเองไปไว้ในปากจระเข้ปานนั้น
อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่อาจอดรนทนได้เมื่ออ่านบทสัมภาษณ์ของท่านด็อกเตอร์จากคอร์แนลแล้วก็เพราะว่าตรรกะของท่านอลหม่านเหลือเกิน
เกษียรพยายามอธิบายว่า คนที่ออกมาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ทุกวันนี้นั้นเป็นคนที่กำลังทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่พวกเกษียรและนิติราษฎร์กำลังทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้ในระบอบประชาธิปไตย
นัยก็คือ พวกปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ตอนนี้ต่างหากที่ “ล้มเจ้า” แต่พวกเกษียรและนิติราษฎร์ต่างหากที่ “ปกป้องเจ้า”
เกษียรพยายามอธิบายว่าสิ่งที่พวกเขากระทำอยู่นั้นกระทำด้วยความรักและความปรารถนาดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อให้พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้บนระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน คือ การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย
ส่วนพวกที่กำลังปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น กำลังหยิบฉวยและใช้สถาบันพระมหากษัตริย์ไปข่มขู่คุกคามทำให้คนอื่นกลัว
เกษียรบอกว่า องค์ประกอบของระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน คือ การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย “เวลาคุณทำรัฐประหาร คือคุณล้มทั้ง 3 อย่าง ที่แย่คือคุณบอกว่าล้มทั้ง 3 อย่างนี้ เพื่อพระมหากษัตริย์ การอธิบายแบบนี้ได้เท่ากับยกเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปตั้งไว้ตรงข้าม ในจุดที่แยกต่างหาก และตรงข้าม รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย และการเลือกตั้ง อันนี้ไม่เป็นผลดีเลยต่อความมั่นคงสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย”
สิ่งที่เกษียรอ้างคือ “ระเบียบการเมืองในโลกปัจจุบัน”
ประเด็นก็คือว่า “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน” ของเกษียรคืออะไรและใครเป็นผู้กำหนดความชอบธรรมนี้ เกษียรก็อาจบอกว่าประชาชนไง ระบอบประชาธิปไตยเสียงของประชาชนต้องเป็นใหญ่ แต่ผมถามเกษียรที่เป็นอาจารย์รัฐศาสตร์ว่า ทุกประเทศในโลกนี้ ย่อยลงไปเป็นทุกสังคม ทุกครอบครัว มีพื้นฐานที่แตกต่างกันไหม แล้ว “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน” คืออะไร มีอะไรเป็นเครื่องชี้วัดแล้วมันสามารถนำมาครอบใช้ได้ทุกสังคมจริงหรือ
ผมคิดว่า “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน” ของเกษียรนั้น คงมิได้หมายถึงความดีความงามความถูกต้องซึ่งเป็นความหมายในเชิง “ธรรมะ” แน่เพราะธรรมนั้นอยู่ที่ไหนก็เหมือนกัน นั่นเพราะเกษียรกำกับ “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน” ไว้ด้วยว่า คือ การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตย ซึ่งตีความได้ว่าเป็นแบบที่เขานิยมกันนั่นเอง
ถ้าเราเชื่อว่าทุกประเทศในโลกนี้มีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ถ้าเกษียรอ้างว่า “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน คือ การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย” แต่เราจะพูดกับเกษียรได้บ้างไหมว่า “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมของไทย คือ การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย และพระมหากษัตริย์” ซึ่งนี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่คนไทยซึ่งยึดมั่นในระเบียบการเมืองแบบนี้ต้องออกมาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
ผมพยายามดูเหตุผลที่เกษียรและพวกอ้างว่าต้องปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 นอกจากเหตุผลเรื่องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว เหตุผลหนึ่งที่เกษียรและแก๊งนำมาอ้างคือ มีการใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือทำลายล้างทางการเมือง และต้องยกเลิกมาตรา 112 เพื่อไม่ให้ทหารเอามาเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหาร
ถ้าใครได้อ่านเนื้อหาของมาตรา 112 ในประมวลกฎหมายอาญาแล้วคงขำพิลึก
“มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
เนื้อหาและเหตุผลของมาตรา 112 ไม่มีอะไรที่โยงใยไปสู่ข้ออ้างของเกษียรได้เลย นอกจากเหตุผลเรื่องหมาป่ากับลูกแกะ
เกษียรและพวกพยายามกล่าวอ้างว่า มาตรา 112 เปิดกว้างให้ใครก็ได้สามารถนำไปฟ้องร้องกล่าวหากันได้ง่าย แต่คำถามก็คือว่า เกษียรเชื่อไหมว่าสังคมไทยนั้นมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอารยะหรือกระบวนการยุติธรรมที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบันหรือไม่
เอาเถอะเกษียรอาจจะเชื่อหรือไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของไทยก็ได้ แต่ประเด็นมันคืออะไรล่ะ คนทำผิดเยอะเพราะมีคนเขียนกฎหมายลักษณะความผิดนี้เอาไว้ ดังนั้นต้องยกเลิกเพื่อไม่ให้มีคนกระทำผิดเช่นนั้นหรือ หรือถ้าเกษียรไม่เชื่อมั่นขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมปัญหามันอยู่ที่กฎหมายผิด คนผิดหรือกระบวนการมันผิด แล้วเราควรจะต้องลบทิ้งกฎหมายหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขกระบวนการทำงาน
และเมื่อไม่นานมานี้มีคนที่ถูกดำเนินคดีในมาตรา 112 ที่ศาลสั่งยกฟ้อง
เกษียรพยายามอ้างว่า พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยต้องวิจารณ์ได้ เกษียรเองก็ยกพระราชดำรัสของในหลวงที่บอกว่าพระมหากษัตริย์ก็เป็นคนสามารถวิจารณ์ได้มาอ้างอิง แล้วมีเนื้อหาส่วนไหนในมาตรา 112 ที่ทำให้เกษียรมีปัญหาเล่า ถ้าหากเกษียรและพวกไม่มีเจตนาเปิดให้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
แล้วถามว่าการป้องกันการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อบุคคลอื่นนั้นเป็นการทำลายเสรีภาพและสิทธิในระบอบประชาธิปไตยไหม
เกษียรบอกว่ามีการใช้พระมหากษัตริย์ในการทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง แต่เกษียรเองก็ให้สัมภาษณ์ว่ามีการ “ฉวยใช้พระองค์ล้มรัฐบาล ฉวยใช้อ้างว่าทำในนามพระองค์ ไปยึดทำเนียบฯ อ้างว่าทำในนามพระองค์ไปยึดสนามบิน อ้างว่าทำในนามพระองค์ ไปเที่ยวตีรันฟันแทงกัน ริมถนนรนแคมจนผู้คนบาดเจ็บล้มตายกันเยอะแยะ”
ผมก็ไม่รู้ว่าวาทะของเกษียรนี้ตีความได้ว่าเป็นการนำเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทำลายล้างทางการเมืองหรือไม่ เพราะสิ่งที่กล่าวหาพันธมิตรฯ นี้เป็นจินตนาการที่เกษียรคิดเอาเอง
น่าเสียดายที่นักประชาธิปไตย ผู้ยึดมั่นใน “ระเบียบการเมืองที่ชอบธรรมในโลกปัจจุบัน” อย่างเกษียรถึงมองไม่เห็นถึงสิทธิของประชาชนในการขับไล่รัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม พันธมิตรฯ ออกมาขับไล่ “ระบอบทักษิณ” ซึ่งจะนิยามที่เกษียรตั้งขึ้นหมายถึงกลุ่มทุนที่เข้ามาใช้ฐานการเมืองกอบโกยผลประโยชน์ ถ้าการยึดทำเนียบฯ หรือสนามบินเพื่อขับไล่รัฐบาลที่ฉ้อฉลไม่ชอบธรรม ทำไมเกษียรถึงให้ท้ายพวกเสื้อแดงที่ปิดล้อมทุกทางเข้าออกทำเนียบฯ บุกกระทรวงมหาดไทย บุกล้มประชุมอาเซียน และติดอาวุธต่อสู้กับรัฐ หรือพวกเขามีความชอบธรรมถ้าอ้างว่าทำในนามของพระเจ้ามูลเมือง
ผมถามเกษียรว่า ใคร “ไปเที่ยวตีรันฟันแทงกันริมถนนรนแคมจนผู้คนบาดเจ็บล้มตายกันเยอะแยะ” ถ้ามีใครกล่าวหากับเกษียรแบบนี้ในเหตุการณ์ 6 ตุลาโดยมีน้ำเสียงโยนความชอบธรรมให้กับอำนาจรัฐแบบนี้บ้างเกษียรจะว่าอย่างไร เกษียรไม่ได้อ่านข่าวเลยหรือว่า ฝ่ายไหนที่ไปไล่ทุบตีและไล่ยิงพันธมิตรฯ ในสถานที่ชุมนุมต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดจนบาดเจ็บและตายจำนวนมาก
แม้เกษียรและพวกจะไม่กล้าพูดถึงเหตุผลลึกๆ ที่ซ่อนอยู่ในใจก็ช่วยหาเหตุผลที่ดีๆ มาหน่อย และทำอะไรต้องเรียนรู้ที่จะ handle with care คนอื่นบ้าง
สำหรับผมทุกอย่างในโลกนี้เปลี่ยนแปลงได้เสมอครับ ถ้าถึงเวลาและมีความชอบธรรมเพียงพอ